space
space
space
 
เมษายน 2562
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
7 เมษายน 2562
space
space
space

สรุปความผิดพลาดในการลงทุนปี 2018 ตอนที่ 1
ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเขียน content ลง blog ผิดพลาดอย่างไรต้องขออภัยด้วยครับ

ปี 2018 เป็นปีที่ผมเริ่มซื้อหุ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก และก็ประจวบเหมาะพอดีที่ดัชนีของ SET พุ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1850 จุดในช่วงไตรมาสที่ 1 แต่หลังจากนั้น ดัชนีก็เป็นแนวโน้มขาลงจนมาเหลือประมาณ 1580 ที่ช่วงสิ้นปี เรียกได้ว่าคนที่เพิ่งมาซื้อขายหุ้นในปีนี้ก็จะเสียหายหรือจ่ายค่าเรียนให้กับตลาดไปพอสมควร

ถ้ามองโลกความเป็นจริง นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอนที่คนที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เริ่มซื้อขายหุ้นอย่างจริงจังอย่างผม (และคนอื่นๆ) จะมาเริ่มเอาจริงในปีที่ดัชนีทำ new high ใหม่ เพราะคุณสมบัติแบบชาวเม่าพันธ์แท้ข้อหนึ่งคือ การเข้าหาข่าวดี เหมือนกับที่เม่าเข้าหากองไฟ และสุดท้ายก็ตายกันเป็นหมู่

อย่างไรก็ตาม ผมมีความเชื่ออย่างนึงที่ พี่แพท ภาววิทย์ กลิ่นประทุม ได้เคยพูดไว้ว่า ในตลาดหุ้น หากคุณดื้อด้านไม่ยอมเลิกเล่น แต่เรียนรู้จากความผิดพลาด ซักวันกำไรก็จะต้องกลับมาเป็นของเรา ดังนั้น keyword ที่สำคัญคือ "การเรียนรู้จากความผิดพลาด"

คิดว่าครั้งต่อๆไปจะได้พูดถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปี 2018 ซึ่งมีมากมายหลายข้อจริงๆ แต่ในครั้งนี้จะขอพูดถึงข้อที่เด่นที่สุดก่อน นั่นคือ "ไม่รู้ว่ากำลังลงทุนหุ้นอะไรอยู่"

หุ้นหลายๆตัวที่ผมต้องยอมขายขาดทุนไปนั้น เรียกได้ว่าผมหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นเพียงแค่ผิวเผินมากๆ โดยมีความคิดที่ว่า "เนี่ย ซื้อตอนคนส่วนใหญ่กำลังขาย ถ้าหุ้นดี เดี๋ยวซักพักมันก็ขึ้นไปใหม่"

แต่อย่างว่าครับ ความมั่นใจที่ว่า "เป็นหุ้นที่ดี" นั้น เกิดจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นงบการเงิน การประเมินมูลค่าหุ้น และการมองแนวโน้มเทรนด์ของธุรกิจในอนาคต ซึ่งถ้าเสาไม่มั่นคง หลังคาก็โงนเงน และที่สำคัญคือ เราต้องเป็นคนสร้างเสาด้วยตนเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นสร้างให้ นี่ก็เช่นกัน ช่วงที่ดัชนีร่วงลงดิ่งทั้งสองช่วงของปี 2018 นั้น (ช่วงเดือนมิถุนายนกับธันวาคม) ผมเกิดความไม่มั่นใจในหุ้นที่ถืออยู่ เพราะ "ราคา"ของหุ้นร่วงลงมาเร็วและรุนแรงมาก จนเกิดแง่คิดในทางลบกับหุ้นตัวนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 ปีเตอร์ ลินช์ เคยกล่าวไว้ว่า "หุ้นที่ราคาลงมา ไม่ใช่หุ้นที่ไม่ดี และหุ้นที่ราคาขึ้น ก็ใช่ว่าจะเป็นหุ้นที่ดี" พูดอีกอย่างก็คือ เราต้องแยกเยอะให้ออกระหว่างมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น กับราคาของหุ้นที่เปลี่ยนแปลงไปมารายวัน แต่ในตอนนั้นผมยังไม่ได้อ่าน One up on Wall Street เลยไม่ได้นึกถึงความจริงข้อนี้ (555)

แต่น่าแปลก ที่ผมไม่ค่อยเสียดายการ cut loss ในครั้งนั้นมากนัก เพราะเมื่อกลับมาคิดดูแล้ว ผมไม่มีความรู้พิเศษหรือความสามารถที่จะมองแนวโน้มในอนาคตของหุ้นที่ผม cut loss ไปได้เลย อาจจะเนื่องด้วยตัวโมเดลธุรกิจมีความซับซ้อน หรือว่าอยู่ในฟิลด์ที่ผมไม่ถนัด เช่น LIT ที่ทำธุรกิจสินเชื่อให้ SME หรือ JWD ที่อนาคตอาจจะมีแนวโน้มเป็นบวกจาก AEC แต่ผมก็ไม่สามารถสร้างความมั่นใจในข้อนี้ให้กับตนเองได้มากพอ จะมีก็ SCB ที่อาจจะเสียดายหน่อย เพราะค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นหุ้นที่ดี แต่ราคาของ SCB ณ ตอนนี้ (7/4/62) ก็ยังไม่กลับไปที่เดิมที่ผมเคยซื้อ หรือก็คือ ตอนนั้นผมซื้อ SCB บนยอดดอยนั่นเอง (555) ดังนั้น อาจจะมองได้ว่า การเอาเงินที่ cut loss ไปลงทุนหุ้นตัวอื่นที่ราคายังถูกอยู่เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง

ดังนั้น บทเรียนที่ผมได้รับจากการ cut loss ครั้งใหญ่ในรอบนั้นคือ
1. หาข้อมูลของหุ้นที่เราจะซื้อก่อนอย่างละเอียดและรอบด้าน
2. ไม่ซื้อหุ้นที่เราไม่เชี่ยวชาญหรือไม่มีความสามารถพอที่จะวิเคราะห์
ซึ่งทั้งสองข้อนั้นมีจุดประสงค์เดียวคือการสร้าง "ความมั่นใจ" ให้กับตัวเราเองในการถือหุ้น เพราะ 70% ของการได้กำไรหรือขาดทุนในหุ้น เกิดจากจิตวิทยาการลงทุนล้วนๆ ถ้าเรามีความมั่นใจในหุ้นตัวนั้น ถึงราคาจะย่อลงมาอย่างไร เราก็จะสามารถถือมันยาวๆได้

อย่างไรก็ตาม แนวคิดการถือยาวๆนั้นจะต้องอาศัยการหาข้อมูลเรื่อยๆไม่ใช่แค่ตอนที่เราซื้อหุ้นตัวนั้น ซึ่งจะขอพูดในครั้งถัดๆไป รวมถึงจะขอพูดถึงความผิดพลาดข้ออื่นในปี 2018 ด้วยครับ





 



Create Date : 07 เมษายน 2562
Last Update : 7 เมษายน 2562 17:52:48 น. 0 comments
Counter : 415 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

peteandfai
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add peteandfai's blog to your web]
space
space
space
space
space