13. การใช้ Excel ในตำแหน่งงานต่างๆ (นักวางแผนการเงิน3)
มาต่อกันเลยนะครับ... บทความที่แล้วเป็นการให้ภาพหน้าตาง่ายๆว่า Model มีหน้าตาเป็นอย่างไร
โดยที่ Financial Model จะเป็นการคำนวณ วิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อ..หาข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการด้านการเงิน จุดสำคัญที่สุดของการสร้าง Model คือ 1. ตอบโจทย์ที่ต้องการรู้ได้อย่างไร 2. ต้องมีความยืดหยุ่นสูง
1.1 จุดสำคัญอย่างแรก เราจะตอบโจทย์ที่เราต้องการรู้ได้อย่างไร? นั่นหมายถึง เราต้องรู้ว่าผลลัพธ์ที่เราต้องการได้ จะหาได้โดยวิธีอะไร ต้องนำข้อมูลไหนมาทำอะไร
องค์ความรู้นั้นคือ ความรู้ในงานนั่นเอง ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าต้องการหากำไร นั่นหมายถึง ต้องรู้จักว่ากำไร หาได้จากเอา รายได้ ลบด้วยต้นทุน เป็นต้น ข้อนี้สำคัญมาก!!! เพราะอะไร.. ก็เพราะว่า ต่อให้เรามี รถยนต์ที่ดีขั้นเทพ มีฝีมือขับระดับ Initial D ชนิดที่ ดริฟท์ลงเขามือเดียวเต้าหู้ไม่เละ
แต่มันไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราไม่รู้ว่าจะขับรถไปไหน หรือขับไปเพื่ออะไร ดังนั้นจุดสำคัญข้อนี้คือรากเหง้าที่จะก่อให้เกิดคุณค่า ที่จะได้จากการสร้าง Model
1.2 จากโจทย์ที่ต้องการคำตอบ --> แปลงให้เป็นการทำงานบน Excel
จากความรู้ในงาน ให้ถ่ายทอดวิธีการนั้นเป็นการทำงานบน Excel วิธีนี้ จะนำความรู้ในเรื่อง Excel มาใช้ เราต้องรู้ว่า ถ้าจะให้ได้ข้อมูลผลลัพธ์ (กับข้าว) ที่อยากกินต้องทำอย่างไร วิธีอะไร ใช้คำสั่ง หรือกำหนดการทำงานของ Excel อย่างไร
เช่น ถ้าต้องการหา IRR ใน Excel จะใช้คำสั่งอย่างไร เป็นต้น
เมื่อเราสร้างการคำนวณข้อมูลต่างๆ กำหนดการทำงานให้อยู่บน Excel แล้ว เราจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่!!~ นั่นคือผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้วัตถุดิบ สูตรเดียว วิธีเดียว
ถ้าหากว่าเราต้องการดูว่าถ้าวัตถุดิบเปลี่ยนแปลงไป หรือสูตรการปรุงเปลี่ยนแปลงไป กับข้าวที่ได้จะเป็นอย่างไร นั่นคือความสำคัญของจุดที่2
2.1 ต้องให้การทำงานยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
เมื่อได้ Excel ที่มีการคำนวณ ทำงานตามที่อยากได้
จุดสำคัญอย่างที่2 คือ ต้องให้การทำงานมันมีความยืดหยุ่นสูง
สาเหตุก็เพราะว่า..
ถ้าเราไม่กำหนดให้มันทำงานแบบยืดหยุ่น เวลาที่ข้อมูลวัตถุดิบเปลี่ยนแปลงไป แล้วการทำงานมันไม่รองรับ เราจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ตัวอย่างเช่น ถ้ากำหนดให้การหา C มาจาก เอา A หารด้วย B ดังนั้นถ้าข้อมูล A=10 B=2 เราก็จะได้ C=5 แต่ถ้า B กลายเป็น 0 ผลลัพธ์ C จะ error เพราะ C ไม่สามารถหาผลลัพธ์จากจำนวนที่หารด้วย 0 ได้
เราจึงจำเป็นต้องให้สูตรคำนวณ C คำนึงถึงกรณีที่ตัวหารเป็น 0 แล้วเกิด error เราจะให้ C มีค่าเป็นอะไร ต้องกำหนดการทำงานต่อๆไป
อีกตัวอย่างเช่น
เราหักภาษี 30% ออกจากกำไรก่อนภาษี จะได้เป็น กำไรสุทธิ
เราอาจกำหนดสูตรเป็น C1 = 30%*B1 (โดยที่ C1 เป็นกำไรสุทธิ B1 เป็นกำไรก่อนภาษี) แล้วมีการคำนวณเช่นนี้มากมายหลายตำแหน่ง ปรากฏว่าวันดีคืนดี ภาษีปรับจาก 30% เป็น 40% เราก็ต้องมานั่งไล่แก้สูตรจาก 30% เป็น 40% อีกให้เสียเวลา (แม้จะลาก copy หรือสามารถใช้เทคนิค replace ได้ แต่ก็เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และไม่แน่ว่าจะแก้หมด และแก้ได้ทุกกรณี)
ดังนั้นจะเห็นแล้วว่าความซับซ้อนของ Model จะอยู่ที่การออกแบบให้ Model มีความยืดหยุ่นมากน้อยอย่างไร
ช่วงหลังผม update ช้าไปหน่อยเนื่องจากตอนนี้งานหนักมาก ทั้งในส่วนของงานประจำและงานสอน รวมทั้งพักนี้ฝนตกบ่อย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย แต่โชคดีที่ไม่ได้เป็นโรคหวัด 2009 ทุกท่านก็อย่าลืมรักษาสุขภาพนะครับ จะได้เป็นกำลังใจกันและกันไปตลอด
อ้อ..ตอนนี้ผมกำลังหาแนวทางนำเสนอใหม่ๆ เพื่อความมีประสิทธิภาพในการใช้เวลาแต่ละวันให้มีประโยชน์ ถ้ายังไงก็คอยติดตามนะครับ
หากมีำคำแนะนำ ติชม หรือ ติดต่อสอบถาม สามารถ e-mail ได้ทีี่ LeverageSkill@hotmail.com
Create Date : 07 กรกฎาคม 2552 |
| |
|
Last Update : 7 กรกฎาคม 2552 22:45:46 น. |
| |
Counter : 744 Pageviews. |
| |
|
|