พฤศจิกายน 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
13 พฤศจิกายน 2567

: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - พุทธศาสนานิกายเซน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ :


: พุทธศาสนานิกายเซน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ :
เขียน : สมภาร พรมทา








หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2532
เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนนิสิตของวิทยาลัยสงฆ์
ผู้เรียนเป็นนักบวชในพุทธศาสนานิกายเถรวาท

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ‘พุทธศาสนานิกายเซน’ เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ถึงความแตกต่างและความเหมือนในหลักการและวิธีการของสองนิกาย
แต่ที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะนับถือนิกายใด (หรืออาจข้ามพ้นไปสู่คำว่า ‘ศาสนาใด’)
ก็ล้วนต่างมีสิทธิเข้าถึง ‘ธรรมอันแท้จริง’ ได้โดยมิต่างกัน

ดังที่ท่านเว่ยหล่าง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งจีน ได้เคยกล่าวไว้ว่า

“ท่านผู้ใฝ่ศึกษาทั้งหลาย ! เนื้อแท้แห่งจิตของเราซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์หรือแก่นของการรู้แจ้งนั้น
บริสุทธิ์อยู่แล้วตามธรรมชาติ เราจะสามารถบรรลุถึงความเป็นพุทธะ
ได้โดยตรงก็ด้วยการใช้จิตนี้ให้เป็นประโยชน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ท่านผู้ใฝ่ศึกษาทั้งหลาย ! ปัญญาสำหรับรู้แจ้งมีอยู่แล้วภายในตัวเราทุกคน
หากแต่เพราะมายาที่ห่อหุ้มจิตของเราเป็นเหตุ เราจึงไม่รู้ว่าภายในตัวเรามีปัญญาดังกล่าวนี้อยู่
เมื่อไม่รู้เราจึงต้องเที่ยวเสาะหาท่านผู้รู้ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นชี้แนะทางให้แก่เรา
ก่อนที่เราจะสามารถรู้จักเนื้อแท้แห่งจิตของเราด้วยตัวเราเอง
พึงทราบว่าเมื่อมองจากแง่ของธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะแล้ว
ย่อมไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้รู้แจ้งแล้วกับผู้ที่ยังมืดมนอยู่
ความแตกต่างนั้นอยู่ตรงที่คนแรกรู้ว่าภายในตัวของเขามีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอยู่
ส่วนคนหลังไม่รู้”


ผมเห็นด้วยกับคำอธิบายของอาจารย์สมภารที่ท่านสรุปให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
ด้วยตัวอย่างที่ว่า ‘การปฏิบัติธรรม’ ก็เหมือนเรามีทองคำสองก้อน
ก้อนแรกแวววาวไม่มีคราบฝุ่นจับ
อีกก้อนมีคราบฝุ่นจับหนาทึบจนมองไม่เห็นความเป็นทองคำ
คนแรกเมื่อมองเห็นจึงสรุปว่าทองคำสองก้อนนี้ต่างกัน ก้อนแรกแวววาว ก้อนที่สองหม่นทึบ
ส่วนคนที่สองมองว่าทองคำทั้งสองก้อนนี้ไม่ได้แตกต่างกัน ด้านในคือทองคำเหมือนกัน
ต่างกันเพียงเปลือกนอกที่มีฝุ่นจับกับไม่มีฝุ่นจับเท่านั้นเอง

จะ เถรวาท มหายาน หรือ วัชรยาน
หากมองด้วยมุมมองเช่นนี้ ก็ไม่มีสิ่งใดที่แตกต่างกันเลย

ดังนั้นในแง่ประวัติศาสตร์อาจกล่าวได้ว่า ‘นิกายเซน’ ถือกำเนิดขึ้นมา
เพราะความเบื่อหน่ายในการศึกษาตำราคัมภีร์แบบนักปริยัติ
ซึ่งมักเน้นการทำความเข้าใจหลักธรรมตามตำราตัวอักษรด้วยความคิดเชิงเหตุและผล
เน้นไปยังพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเพียงเปลือกที่ห่อหุ้มหลักธรรมที่แท้จริงเอาไว้
ความรู้มากมายเพียงใดจึงเป็นเพียง “ความรู้” จากตำราและคำบอกเล่า
และนั่นยังไม่ใช่ ‘ปัญญา’ อันเกิดจากความรู้ ความเข้าใจที่แท้จริงของตนเอง
เช่น คนซึ่งรู้เรื่อง ‘นิพพาน’ จากการอ่านพระสูตร ย่อมมิใช่คนที่รู้จัก ‘นิพพาน’ อย่างแท้จริง
“ประสบการณ์ทางธรรม” จึงเป็นเครื่องมือในการจำแนกผู้มีความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา
กับผู้ซึ่งรู้จัก รู้แจ้งในหลักธรรมออกจากกัน

เซนจึงเน้นไปยังเรื่อง ‘สติ’ ในปัจจุบันขณะ
รสชาติของความสิ้นทุกข์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นลงมือปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง
การปฏิบัติธรรม คือ การนำตนเองหยั่งลงไปในหนทางแห่งธรรม ไม่ใช่การยืนมอง
‘เหตุผลและตำรา’ มีประโยชน์และความจำเป็นในช่วงเริ่มต้นการเดินทางเท่านั้น
ตำรา คัมภีร์ ความรู้ทั้งหมด มีไว้เพื่อเป็นแผนที่นำทาง
แต่เมื่อเราเลือกหนทางและทิศทางที่ถูกต้องได้แล้ว
ในการเดินทาง ‘เหตุผลและตำรา’ มิได้เป็นสิ่งจำเป็นอีกต่อไป
เพราะเมื่อเดินถูกทิศ ถูกทาง ช้าหรือเร็ว ย่อมถึง ‘จุดหมายปลายทาง’ ได้ในที่สุด

แม้จะสรุปไว้เช่นนี้ เซนก็มิได้ปฏิเสธตำรา คัมภีร์ หรือหลักการเหตุผล
เฉกเช่นเดียวกับ “ศิลปะและศาสนา” ซึ่งเราไม่อาจเข้าใจทั้งสองสิ่งนี้ได้
ด้วย ‘เหตุและผล’ หรือ ‘หลักการและแนวคิด’
การรับสุนทรียะไม่อาจใช้หลักตรรกะ หรือหลักวิชาการใดใดเข้ามาหาคำตอบ
การวัดคุณค่า หรือ การตัดสินใจว่าแนวคิดใดควรเชื่อหรือไม่เชื่อ
ควรนับถือหรือไม่นับถือ สิ่งใดมีเหตุผล หรือไร้สาระ
เป็นสิ่งที่ต้องสืบค้นลงไปในจิตใจ ในอารมณ์ความรู้สึกซึ่งอยู่นอกเหตุเหนือผล

แม้มนุษย์จะมีความสามารถในการแสวงหาคำตอบมากมายในชีวิต
ด้วยการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ด้วยการคิดอย่างมีระบบขั้นตอน
แต่ในบางเรื่อง เราต้องพึ่งพา “การรู้ได้เอง” หรือ การหยั่งรู้ การบรรลุธรรม
เพราะมันสามารถทำให้เราค้นพบคำตอบได้โดยไม่พึ่งพาเหตุและผล
แต่เป็นการเข้าถึง ‘ความจริง’ โดยผ่าน ‘ความจริงที่จริงแท้’ ในตัวเราเอง
และในความรู้แจ้งนี้นี่เอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นบ่อเกิดแห่ง “เซน”
















Create Date : 13 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2567 5:16:48 น. 8 comments
Counter : 720 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณเริงฤดีนะ, คุณmultiple, คุณhaiku, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณThe Kop Civil, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills


 
อย่างข้อความสุดท้ายนี่ถ้าเขียนว่า
แท้จริงแล้วเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน
มันก็จะดูสมเหตุสมผลกว่ามั๊ยคุณก๋า
ไปเขียนให้มันเข้าใจยากทำไม 555
ป.ล. ใครบางคนยังไม่ปกติสุขนะคุณก๋า



โดย: หอมกร วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:6:35:02 น.  

 
เข้าใจเปรียบเทียบได้ดี เลยนะครับ
เนื้อแท้ของทองบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหนก็ทรงคุณค่าเหมือนกัน แน่นอนครับ

เรื่องวงการต้นไม้ดอกไม้ นี่ ต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและความหิวโหย หลังจากออกแรงขุดดิน ปลูกต้นไม้ละครับ แฮร่ ฮ่าๆๆๆ



โดย: multiple วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:8:49:44 น.  

 
สวัสดีครับคุณก๋า


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:10:41:46 น.  

 
ช่วงนี้ฝุ่น pm2.5 กลับมาอีกแล้วครับ ผมออกไปวิ่งวันนึงกลับมาแสบจมูก แสบคอไปหมด งดกิจกรรมกลางแจ้งกันเลยครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:11:16:07 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องก๋า

"พุทธศาสนานิกายเซน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์" สรุปจากการ
รีวิวหนังสือเรื่องนี้ คือ ไม่ว่า ศาสนาพุทธ นิกายเซน เถรวาท มหายาย มีรากฐานมาจากที่เดียวกัน และมีจุดมุ่งหมายปลายทางเดียวกัน
ว่าแล้ว ก็คือ ทุกศาสนา ล้วนสอนให้เป็นคนดี แต่จุดเน้นปลายทาง
ไม่เหมือนกัน บางศาสนาแน้นความสุขทางโลกียสุข บางศาสนาเน้น
โลกุตรสุข คือ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เช่น พุทธ และ
เซน และนิกายที่มีรากฐานมาจากศาสนาพุทธ คนเราก็สาสารถเลือก
ทางเดินของชีวิตเราเอง สนใจโลกียสุข หรือ โลกุตรสุข ก็เลือก
ตามความปรารถนา เนาะ อิอิ
โหวดหมวด แนะนำหนังสือ



โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:19:47:10 น.  

 
สวัสดีครับ
ดูแล้วหนังสือเล่มนี้อ่านเข้าใจยากกว่าเล่มที่ผ่านๆมานะครับ



โดย: กะริโตะคุง วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:21:38:24 น.  

 
พุทธศาสนาไม่ว่านิกายอะไร ล้วนต้องการบรรลุถึงความเป็นพุทธะ

อากาศยังไ่ม่เย็นครับ ที่ทำงานมีน้องเข้ามาใหม่ 2 คน ปรับแอร์ที่ 20 องศา(ต้องเอาเสื้อกันหนาวไปใส่ในห้องทำงานแล้ว มือเริ่มเย็นครับ)

เริ่มเผากันแล้ว วันนี้ ก็วิ่งพร้อมๆกับควันจากเพื่อนบ้านเผาหญ้าที่ตัดไว้



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา:22:41:55 น.  

 
"ปัญญาสำหรับรู้แจ้งมีอยู่แล้วภายในตัวเราทุกคน
หากแต่เพราะมายาที่ห่อหุ้มจิตของเราเป็นเหตุ
เราจึงไม่รู้ว่าภายในตัวเรามีปัญญาดังกล่าวนี้อยู่"

หากเปรีบทองคำที่ฝุ่นจับกับฝุ่นไม่จับกับข้อความนี้
เข้าใจขึ้นมากค่ะคุณก๋า

ราตรีสวัสดิ์นะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา:0:28:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 395 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]