สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
All blogs
 
รีวิว...เครื่องปรับอากาศ LG Dual Cool [Sponsor Review] (ตอนที่ 3 - ตอนจบ)



มาถึงรีวิวตอนที่ 3 ซึ่งจะเป็นรีวิวการนำแอร์เครื่องนี้มาติดตั้งจริงแล้ว 
ครั้งนี้ผมเลือกที่จะนำแอร์เครื่องนี้มาติดที่ห้องนั่งเล่นที่อยู่ในออฟฟิต ซึ้งเป็นห้องที่มีขนาดประมา 22.5 ตารางเมตร (4.5 x 5 เมตร) มีประตูกระจกบานสไลด์คู่อยู่สองด้าน ซึ่งถ้าติดแอร์แล้วปิดประตู ต้องมีการเปิดเข้าออกอยู่บ่อยๆแน่
ขนาดแอร์18,000 BTUของแอร์เครื่องนี้ที่ผมได้มา ก็เป็นแอร์ที่มีขนาดเหมาะสุดแล้วจะนำมาติดเข้าในห้องนี้


ขั้นตอนแรกสุดหลังจากที่หาจุดติดตั้งที่เหมาะสมได้ ก็ถอดแผงเหล็กหลังชุดคอยล์เย็น ซึ่งเป็นแผ่นติดตั้งที่ใช้รองรับชุดคอยล์เย็นเข้ากับกำแพงถอดแผงนี้ออกมาเพื่อจะนำไปวัดจุดที่จะติดตั้ง


เมื่อนำแผ่นติดตั้งชุดคอยล์เย็นมาวางแนบกับกำแพงและทำการวัดระยะ รวมไปถึงตั้งแนวตัวเครื่องด้วยระดับน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จึงทำการกำหนดจุดเจาะยึดบนกำแพงให้เหมาะสมและมีความแน่นหนาพอที่จะรับน้ำหนักชุดคอยล์เย็นทั้งชุดได้อย่างแข็งแรงปลอดภัย

หลังจากที่ยึดแผ่นติดตั้งชุดคอยล์เย็นเข้าที่อย่างแน่นหนาและตรวจสอบอีกครั้งว่ามีแนวระดับที่ถูกต้องแล้ว ก็วัดระยะห่างเพื่อเจาะรูที่จะให้ท่อแอร์ทะลุออกไปนอกตัวอาคาร



แล้วจากนั้นก็ยกชุดคอยล์เย็นขึ้นไปแขวนกับแผ่นติดตั้งที่ติดไว้ก่อนหน้าสอดท่อให้ทะลุออกไปนอกอาคารผ่านทางรูที่เจาะไว้ ส่วนสายเมนสำหรับจ่ายไฟให้แอร์ก็เดินสายไฟมารอที่ชุดคอยล์เย็นได้เลยเพราะแอร์รุ่นนี้กำหนดให้สายเมนที่จ่ายไฟเข้าต่อเข้ากับสายไฟที่ออกมาจากชุดคอยล์เย็นการติดตั้งครั้งนี้ผมเดินสายไฟแบบง่ายๆไม่ยุ่งยาก เพราะเป็นการติดใช้กันเองเลยใช้สายไฟ VAF ขนาด 2 x 2.5 เดินสายจากเบรกเกอร์ขนาด15 A โดยสายถูกเดินลอยแนบมาตามขอบกำแพง เท่านี้ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องถึงขั้นเดินสายแบบร้อยท่อหรือร้อยราง

แล้วจากนั้นก็ออกไปเตียมติดตั้งชุดคอยล์ร้อยโดยติดตั้งไว้บนขาแขวนที่ยึดเข้ากับกำแพง พอติดตั้งชุดคอยล์ร้อนเสร็จเรียบร้อยก็จัดการในส่วนของท่อน้ำยา โดยต่อท่อทองแดงเข้ากับจุดต่อท่อที่ต่อเข้าชุดคอยล์เย็นแล้วมาต่อเข้ากับจุดที่ต่อกับชุดคอยล์ร้อนและทำการเดินสายไฟเชื่อต่อเครื่องด้านนอกเข้ากับเครื่องด้านในแล้วเก็บงานพันท่อให้ดูเรียบรอยพอประมาณ เป็นอันเสร็จกระบวนการติดตั้ง

ซึ่งแอร์เครื่องนี้ก็ติดตั้งไม่ยากแถมพื้นที่ติดตั้งก็เข้าถึงได้ไม่ยาก ชุดคอยล์ร้อนก็ไม่ได้เอาไว้สูงไม่ต้องปีนบันไดขึ้นไปติด ระยะการเดินท่อแอร์ก็สั้นๆไม่ยุ่งยากใช้เวลาราวๆสองชั่วโมงการติดตั้งเดินท่อก็เสร็จ โดยการติดตั้งครั้งนี้ผมทำคนเดียวเสียส่วนใหญ่แต่ก็มีลูกมือมาช่วยในขั้นตอนที่ยกชุดคอยล์ร้อนขึ้นไปติดเพราะผมไม่มีความสามารถพอจะแบกชุดคอยล์ร้อนทั้งชุดออกมาติดบนขาแขวนได้ด้วยตัวคนเดียวสงสัยว่าสกิลการแบกของหนักของผมยังไม่พอแน่ๆ แต่วันที่แอร์เครื่องนี้มาส่งนั้น ระหว่างที่ผมกำลังตรวจเรื่องใบรับของอยู่หันไปเห็นว่าพี่คนที่ขับรถบรรทุกมาส่งแอร์เขาลากคอยล์ร้อนออกมาพอดี ทางผมก็ไม่มีคนอื่นช่วยยกเพราะตอนแอร์มาส่งยังเช้าเกินมีแต่เสมียนผู้หญิงมาช่วยเปิดร้านก่อนใครจะให้ไปช่วยยกก็จะกลายเป็นว่าผมโหดร้ายอีกผมจึงวางใบรับของที่กำลังตรวจเช็ค กำลังจะวิ่งออกไปช่วยยก แต่ไม่ทัน พี่คนที่เขาขับรถบรรทุกมาส่งแอร์ถือว่าแข็งแรงมากจัดการโซโล่ยกลังที่ใส่คอยล์ร้อนแอร์เครื่องนี้ลงมาจากรถบรรทุกยกอ้อมรถที่จอดหน้าร้านขึ้นมาวางในร้านได้ด้วยตัวคนเดียว ผมนี่นับถือเลยผมถามพี่เขาว่าทำไมไม่รอผมจะออกไปช่วยแล้ว พี่คนส่งของเขาบอกว่า “กลัวจะไม่ทันการเดี๋ยวพี่จ่าผ่านมาเจอรถบรรทุกจอดหน้าร้านแบบซ้อนเลนซ์อยู่งานเข้าแน่”ผมฟังแล้วทั้งฮาทั้งขอคาราวะในพละกำลัง


คอยล์ร้อนที่ติดตั้งเสร็จแล้วและผ่านการทำสุญญากาศระบบด้วยแว็คคัมปั๊มเป็นเวลา 30 นาที เป็นที่เรียบร้อยก็จัดการเปิดวาล์วที่เซอร์วิสวาล์ว โดยเริ่มจากเปิดวาล์ท่อเล็กจนสุดตามด้วยวาล์วของท่อใหญ่ เพื่อปล่อยให้แรงดันน้ำยา R410a ที่ใส่มาให้ในชุดคอยล์ร้อนไหลเข้าสู่ระบบครบวงจร น้ำยาที่ให้มากับแอร์เครื่องนี้นั้นมีอยู่เต็มจำนวนที่แอร์ต้องการใช้ หากเดินท่อแอร์ไม่เกิน 4 เมตรคือถ้าไม่มีการต่อท่อเพิ่ม ใช้ท่อไม่เกินความยาวของท่อที่ให้มาก็ไม่ต้องเติมน้ำยาเพิ่มเลย

หลังจากเปิดน้ำยาให้ไหลในระบบครบวงจรน้ำยาแล้วก็เอาแคลมป์มิเตอร์มาเตรียมคล้องที่สายไฟ เพื่อที่จะรอดูค่ากระแสเมื่อเครื่องทำงานแล้วก็สั่งเปิดเครื่องได้เลย



เมื่อชุดคอยล์ร้อนเริ่มทำงานคอมเพรสเซอร์จะสตาร์ทแบบค่อยๆหมุนออกตัวเพราะเข็มมิเตอร์ที่วัดค่ากระแสมันค่อยๆสวิงขึ้นถือเป็นการเริ่มเดินเครื่องแบบนิ่มนวล ค่อยๆเริ่มจากรอบต่ำๆขึ้นไปรอบสูงสุดช่วยลดไฟกระชากในช่วงสตาร์ทได้



กระแสไฟฟ้าที่วัดได้สูงสุดขึ้นไปที่ประมาณ7.2 Aซึ่งจากที่ผมเฝ้าสังเกตคือมันไม่สูงมากเกินไปกว่านี่อีกแล้วนี่เป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในช่วงที่แอร์ทำงานแบบเร่งรอบสูงสุดเพื่อเร่งให้ห้องเย็นเร็วค่ากระแสที่ใช้จริงถือว่าน้อยกว่าที่บอกไว้บนเนมแพลตเพราะบนเนมแพลตระบุว่ากระแสสูงสุดที่ 10



จากนั้นรอบการทำงานก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆซึ่งก็แสดงว่าในห้องเริ่มเย็นลงแล้วและรอบการทำงานก็ค่อยๆปรับลงลงให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิ สังเกตได้จากค่ากระแสที่วัดได้เข็มมิเตอร์ค่อยๆตกลงมาเรื่อยๆมีช่วงหนึ่งตกลงมาและค้างที่ค่านี้อยู่พักหนึ่งซึ่งก็อ่านค่ากระแสได้ 3.6 A และลงมาที่ 3.4 A แล้วผมก็ลองเข้ามาด้านในห้องเพื่อดูความเย็นในห้องซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงใกล้ๆบ่ายโมง แดดด้านนอกร้อนมากตอนเปิดเครื่องนั้นผมตั้งค่าอุณหภูมิไว้ที่ 23 องศาเซลเซียส และก็เคยออกมาวัดกระแสช่วงตอนกลางคืนหลังพระอาทิตย์ตก ช่วงที่ห้องเย็นแล้วและข้างนอกไม่ร้อนเท่าตอนกลางวันแอร์เครื่องนี้สามารถเดินรอบต่ำที่ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 2 A นิดๆ



เข้ามาด้านในห้องเย็นฉ่ำสบายเลย และท่าจะเห็นว่าที่ด้านขวาของแอร์มีตัวเลขเรืองแสงปรากฏอยู่ บอกอุณหภูมิ23 องศาเซลเซียส ซึ่งตรงนั้นมันคือตัวเลขที่มาจากการที่หลอด LEDของจอแสดงผลในชุดคอยล์เย็น ที่ส่งแสงออกมากระทบที่หน้ากากแอร์โดยจะเห็นตัวเลขเฉพาะเมื่อตอนที่เราเปิดแอร์เท่านั้น ตอนที่แอร์ยังปิดอยู่บริเวณนี้จะเป็นสีขาวไม่ต่างอะไรกับส่วนอื่นๆบนหน้ากากแต่ถ้าใครเอาแอร์รุ่นนี้ไปติดในห้องนอน หากต้องการห้องมืดๆไร้แสงรบกวน ก็สามารถปรับระดับความสว่างของแสงไฟแสดงผลลงมาได้หรือไม่ก็ปิดไฟแสดงผลไปเลยก็สามารถทำได้ครับโดยการปรับความสว่างนี้ก็สามารถทำได้โดยกดปุ่มบนรีโมทแอร์ครับ


การแสดงผลไม่ได้ทำได้แค่แสดงค่าอุณหภูมิแต่ยังแสดงผลค่าอื่นๆได้อีก อย่างในภาพคือผมสั่งให้มันทำงานแบบเต็มกำลังการแสดงผลก็จะเป็น Po และยังมีการแสดงผลตอนที่เรากดเลือกสปีทพัดลมด้วยซึ่งแอร์รุ่นนี้จะมีสปีทพัดลมให้เลือกถึง 5 ความแรง และแบบลมออโต้ซึ่งเวลาเรากดสั่งสปีทพัดลมมันก็จะบอกที่บนหน้าจอด้วยว่าตอนนี้สปีทไหนโดยแสดงผลเป็น F1, F2, F3, F4 และ F5



ส่วนของแรงดันน้ำยาR410aในระบบ ซึ่งในกรณีของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ค่าแรงดันน้ำยาในขณะที่เครื่องทำงานมันย่อมแปรผันไปตามรบการทำงานของคอมเพรสเซอร์เราคงไปยึดติดค่าแรงดันน้ำยาแบบตายตัวไม่ได้ อย่างในภาพนี้ก็เป็นค่าแรงดันในช่วงที่เครื่องทำงานไปได้สักพักหนึ่งแล้วซึ่งแรงดันก็อยู่ที่ประมาณ 125 PSIG กระแสไฟฟ้าที่วัดได้ก็ตามเกณฑ์โดยรวมทุกอย่างโอเคไม่มีปัญหาครับ



ติดตั้งเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ก็จัดการออกมาเก็บงานและเก็บเครื่องไม้เครื่องมือด้านนอกให้เรียบร้อย

สังเกตเห็นว่าชุดคอยล์ร้อนทำงานได้เงียบพอสมควรช่วงเร่งรอบนั้นอาจจะได้ยินเสียงลมแรงสักหน่อย แต่ไม่ถึงกับดังมากเท่าไหร่แต่พอห้องเริ่มเย็นในช่วงที่รอบลดลงเสียงลมจากพัดลมของชุดคอยล์ร้อนก็เหมือนจะเบาลงด้วย เสียงก็ยิ่งเงียบลงไปอีกซึ่งก็แสดงว่าพัดลมด้านนอกก็มีการออกแบบให้ปรับรอบการหมุดได้ตามความเหมาะสม



สรุปแล้วแอร์เครื่องนี้ที่เขาส่งมาให้ลองใช้ก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจครับทำงานได้ค่อนข้างเงียบ ยิ่งถ้าปรับสปีทพัดลมแบบออโต้พอห้องเริ่มเย็นพัดลมก็จะหมุนด้วยสปีทเบา เสียงพัดลมสปีทเบาก็จะเงียบลง จนบางครั้งที่ผมเองนึกได้ว่ามันเงียบจนต้องเงยดูว่ามันยังทำงานอยู่อีกหรือเปล่าส่วนเรื่องการกินไฟก็ถือว่าใช้พลังงานไม่ค่อยมาก และสุดท้ายคือเย็นฉ่ำทั่วทั้งห้องดีครับ

ในภาพจะเห็นว่าแอร์ไปติดหลบอยู่เกือบติดมุมห้องที่เอาไปติดจุดนี้ก็เพราะผนังฝั่งนี้จากมุมอีกด้านมาถึงช่วงกลางห้องก็เป็นตู้สูงจรดเพดานถัดมาก็เป็นหิ้งพระด้วย เหลือแต่บริเวณใกล้มุมห้องที่พอจะติดได้ในแนวผนังด้านนี้ แต่ถึงจะติดหลบมุมแบบนี้แต่ความเย็นก็กระจายได้ทั่วทั้งหองไม่มีปัญหาครับสำหรับแอร์เครื่องนี้


หมดแล้วครับรีวิวหวังว่าที่นำมารีวิวให้รับชม คงจะพอมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ หรือมีประโยชน์กับใครที่กำลังมองหาแอร์เครื่องใหม่อยู่นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามรับชม รีวิวชุดนี้ก็ต้องขอจบลงแต่เพียงเท่านี้สวัสดีครับ



รีวิว...เครื่องปรับอากาศ LG Dual Cool ก็ได้จบลงแต่เพียงเท่านี้

กลับไปอ่านรีวิว ตอนที่ 2 >>>CLICK<<<

กลับไปอ่านรีวิว ตอนที่ 1 >>>CLICK<<<








Create Date : 12 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2559 17:30:03 น. 1 comments
Counter : 7230 Pageviews.

 
สอบถามเรื่องคอยล์ร้อนรุ่นนี้หน่อยครับ ถ้าในระยะยาวเทียบกับคอยล์ร้อนที่เป็นทองแดง ปัญหาจุกจิก กับอายุการใช้งาน และการซ่อมบำรุ่งเป็นยังไงบ้างครับ


โดย: ปกรณ์ IP: 157.7.52.183 วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:15:02:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.