ทำได้งัยเนี่ยะ


ตอนที่แล้วเราพูดถึงการขจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพหลังพายุไปแล้ว แต่ขอบอกในสถานการณ์ปกติการขจัดขยะหรือจะพูดให้ชัดหรือระบบการจัดการกับขยะบ้านของเขาก็น่าทึ่ง

ขยะบ้านในที่นี่ หมายถึงขยะในครัวเรือน เกิดจากการใช้ชีวิตกิจกรรมของสมาชิกในบ้าน

เมื่อ 20 ปีก่อน การได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตช่วงสั้นๆ ในบางประเทศทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการกับขยะเขา อย่างเยอรมันเชิญชวนให้ประชาชนแยกขยะ แก้ว พลาสติก กระดาษ แต่เขาว่าไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เมื่อเร็วๆนี้ดูรายการ “หนังพาไป” เขาเพิ่มแรงจูงใจให้คนเอาไปคืนด้วยการคืนเงินให้หรือระบุเงินที่ได้รับคืนบริจาคให้กิจการที่ต้องการ วิธีนี้คงได้รับความร่วมมือดีขึ้นบ้างมั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันทีในอังกฤษ นิวซีแลนด์เห็นแค่การรณรงค์ให้ลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งหลังจากนั้นอีก 20 กว่าปี ไทยกำลังพยายามทำตามมาติดๆ 555

แต่ที่ไต้หวัน ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ไปอยู่ได้รับรู้ เลยว่า ระบบการจัดการกับขยะบ้านเขาดีมาก ทำครบวงจรได้อย่างอัศจรรย์ เขาจะแยกตั้งแต่ขยะเปียก คือพวกเศษอาหาร ผัก หญ้า เศษเนื้อสัตว์ กับ ขยะแห้ง แยกเป็นประเภท เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ วัตถุอันตราย ....


เมื่อหม่าอิงจิ๋ว เป็นผู้ว่าราชการไถเป่ สมัยแรก เขาก็เริ่มระบบการแยกขยะในเมืองหลวง ที่มีคนเป็นล้านๆ แต่เขาทำได้ กฎหมายก็คงมีส่วน ยังงัยก็ตามเชื่อเถอะกฎหมายอย่างเดียวคงทำไม่ได้หรอก แต่สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ นั่นน่าจะแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจคนประชาชน คนเขารักชาติและระดับการศึกษาของคนทำให้มีวินัยและตระหนักรู้ประโยชน์ของการแยกขยะ

วิธีการของเขาคือเมื่อรถขยะมา จะเปิดเพลง เดี่ยวกันกับเพลงที่รถขายติม Wall บ้านเราเปิด ผู้คนที่อยู่ตามบ้าน ตึกแถวในละแวกนั้น ก็จะหิ้วถุงขยะเปียกและขยะแห้งออกมา ขยะเปียกพวกเศษอาหาร ชาวบ้านจะเทลงในภาชนะขนาดใหญ่ที่พนักงานขยะตั้งไว้ข้างรถ ส่วนขยะแห้ง เช่นกระดาษ แก้ว พลาสติก ก็แยกใส่ถุง แล้วให้พนักงานเก็บ ขยะอื่นๆโยนเข้ารถไป ดูซิเขาต้องมายืนรอ หิ้วถุงขยะเปียกที่น่าจะมีกลิ่น แล้วก็เทใส่ถังเอง

ระบบนี้เขาน่าจะทำในเมืองใหญ่ทั่วทั้งประเทศ เพราะไปพักต่างเมือง(ใหญ่) ก็ได้ยินเสียงรถไอติม Wall เก่งไหมล่ะ ไทยเราแค่ขอให้ทิ้งขยะลงถังลงถุงก็ยากแล้ว

สำหรับผู้ที่อยู่ตามคอนโด อพาทเมนท์ มักจะมีปริการของอาคาร ซึ่งคิดเงินเข้าไปในค่าดูแลอาคารแต่ละเดือนแล้ว ทางอาคารจะจัดพื้นที่บางส่วนไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ส่วนมากอยู่ใต้ดิน ผู้อาศัยมีหน้าที่เอาขยะสดลงไปเทลงในภาชนะที่เขาเตรียมไว้ให้ ส่วนกระดาษ พลาสติก แก้ว วัตถุอันตราย ก็กองรวมๆกันไว้ หรือ แยกประเภทให้เขาถ้าเขาจัดที่ทิ้งแยกเป็นสัดส่วน

เขาทำยังงัยต่อกับขยะเหล่านี้ ขยะเปียก เอาไปเลี้ยงสัตว์ พวกที่ reccyle ได้ก็แปรรูปหรือขายไป ว่ากันว่าเงินที่ได้จากส่วนนี้ เขามามาสร้างโรงเรียนได้หลายแห่งแล้ว ขยะที่ทำอะไรไม่ได้ก็ไปทำลายแล้วเอาไปถมที่ต่อ

สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำให้ระบบการจัดเก็บขยะของเขาประสบความสำเร็จ แตกต่างจากที่ยุโรป คือ ซาเล้งรับซื้อหรือเก็บของเก่า คนที่ประกอบอาชีพนี้มีเยอะอยู่ จะช่วยเติมเต็มระบบด้วยการเก็บหรือซื้อขวดแก้ว พลาสติก กระดาษและอื่นๆ จากบ้าน ตึกแถวหรือคอนโด นำไปส่งต่อใช้ประโยชน์หรือrecycle อีกที
ถนนหนทางในไต้หวันดูสะอาด ส่วนหน้าและรอบแต่ละบ้านจะไม่มีขยะเกลื่อนกลาด แต่จะมีกะบะ ถัง กล่องที่ปลูกผักไว้กิน

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง แม้ไต้หวันจะมีโรงงานผลิตวัสดุต้นทางของพลาสติก แต่การใช้พลาสติกของเขาไม่ฟุ่มเฟือย เกินจำเป็น ซื้อของในsuper หากต้องการถุง ต้องซื้อ ภาชนะใส่อาหาร ไม่ใช้โฟม(ไม่เคยเห็นเลย)หรือพลาสติก เขาใช้กระดาษหรือกระป๋องกระดาษเคลือบไข แม้เครื่องดื่มที่ขายเป็นแก้ว เขาไม่ใช้ฝาปิด แต่ใช้ผนึกปากแก้วด้วยพลาสติกบางๆ ก็ลดขยะฝาแก้วไปเยอะแล้ว สินค้าที่เป็นพลาสติกราคาแพงกว่าบ้านเรา ขยะพลาสติกของเขาจึงไม่มากมายนัก แถมเขายังมีนวตกรรมในการนำกลับมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่าง เช่น ทำเสื้อผ้า

ก่อนหน้านี้เล็กน้อยตามถนนในบ้านเราดูเหมือนจะดีขึ้น ผู้คนให้ความร่วมมือในการทิ้ง แต่เมื่อมีแรงงานต่างชาติที่อพยพมาจากประเทศใกล้เคียงที่การสุขอนามัยเขายังไม่ดีนัก ผนวกกับความไม่มีส่วนรับผิดชอบเพราะเขาถือว่าเขาแค่ผู้อาศัย ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเขา ทำให้ความสกปรก ขยะเกลื่อนกลาดขึ้นมาอีก โทรทัศน์ช่องหนึ่งเคยไปสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่กวาดถนน กทม. บอกว่าบริเวณที่มีแรงงานต่างชาติอยู่ ทำงาน งานเขาจะหนักกว่าบริเวณอื่นเพราะสกปรกมาก

ส่วนตัวติดนิสัยแยกขยะมาจากต่างประเทศ คนเก็บจะเอาไปปนกันหรือไม่ก็ไม่สนใจ คิดแค่ว่าคนเก็บขยะที่อยากมีรายได้เพิ่มจากงานประจำ น่าจะได้ประโยชน์จาก กระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว ที่แยกไปให้ ที่เป็นห่วงก็พวกขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ กระเบื้องแตก แม้จะแยกให้อย่างชัดเจน หากคนเก็บขยะไม่ระวังก็จะเกิดอันตรายกับเขาได้ ยิ่งผู้คนที่ไปคุยกองขยะยิ่งน่าเป็นห่วง




Create Date : 29 กรกฎาคม 2561
Last Update : 29 กรกฎาคม 2561 17:09:10 น.
Counter : 2092 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3444784
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กรกฏาคม 2561

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
29 กรกฏาคม 2561