space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
9 พฤศจิกายน 2561
space
space
space

Investor Joe กับสายการบิน (3)



Investor Joe กับสายการบิน (3)


*เขียนเมื่อวันที่ 9/8/18 ที่ North Adams, MA

หลังจากได้ทำการตัดตัวเลือกสายการบินที่ดูแล้วไม่ประทับใจออกไปก็เหลือแต่ Thai AirAsia หรือ TAA ให้เรามานั่งวิเคราะห์กันแบบ Joe’s Venture (คือ แบบนักดนตรี อิมแมจิ้นเยอะ) อะไรที่หาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เช่น ประวัติความเป็นมา หรือ ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง Investor Joe จะไม่เอามากวนใจ ณ ที่แห่งนี้นะครับ

......................

เริ่มด้วยหมายเหตุก่อนเลยแล้วกัน

TAA เป็นสายการบินที่ถูกถือหุ้น 55% โดยบริษัท Asia Aviation PCL หรือ AAV ซึ่งเป็นบริษัท listed company ในตลาด (เวลาเราซื้อหุ้น AAV เราก็อยู่ในส่วน 55% นี้แหละ) และส่วนที่เหลือ 45% ถือโดย AirAsia Investment บริษัทเพื่อการลงทุนของ AirAsia Berhad ตัวแม่ที่ listed อยู่ที่มาเลเซีย เพราะฉะนั้นรายได้ที่ท่านเห็นใน balance sheet ของ AAV ไม่ได้เป็นรายได้ทั้งหมดของ TAA แต่แบ่งมาตามสัดส่วนการลงทุนอีกที TAA ทำเงินได้เท่าไรก็ต้องแบ่งไปเข้ากระเป๋าสองใบนะครับ กว่ากำไรจะตกมาถึงเราก็เหลือกระจิ๊ดเดียว ก็เราไปถือหุ้นในบริษัท holding ที่ไปถือหุ้นเขาอีกทีนี่นา

......................

โมเดลธุรกิจ

เจ้าของ AirAsia ตัวจริงคุณ Tony Fernandes เป็นคนบอกเองว่าแนวคิดของสายการบิน AirAsia นี้ ลอกมาจาก Southwest Airlines จะว่าไป AirAsia เนี่ย ก็คือ Asia’s Southwest Airlines นี่แหละ เพราะฉะนั้นวิธีการจัดการต่างๆ ของเขาจึงคล้ายกันแต่จะเอามาเปรียบเทียบกันแบบหมัดต่อหมัดคงจะยาก เนื่องจากฐานลูกค้าและกฎกติกาของธุรกิจที่เอเชียและอเมริกาต่างกันมากทีเดียว ท่านสามารถกลับไปอ่านเรื่องโมเดลธุรกิจได้ในตอนที่ 1 และ2 หรือกดดู link และรูปที่ใส่ไว้ให้ข้างล่างได้จะได้ละเอาไว้ไม่ต้องพิมพ์ให้เมื่อยกล้ามเนื้อมัดเล็ก

......................

ประสบการณ์ของ Investor Joe กับ TAA

Investor Joe เคยนั่ง TAA อยู่หลายครั้งเหมือนกัน มีความประทับใจกับระบบการจัดการและบริการของ TAA มาก จองตั๋วได้ง่าย จ่ายเงินได้ง่าย สามารถโอนผ่านแอพธนาคารได้เลยเงินหายไปจากกระเป๋าเร็วมาก คือ หากคิดจะเดินทาง ใช้เวลาแค่ 15 นาทีก็จองตั๋วได้แล้ว นั่งรถไปสนามบินใช้เวลานานกว่าเยอะ!

เมื่อถึงสนามบินที่ check-in counter จะมีเจ้าหน้าที่น้อย แต่จะมี kiosk ให้จัดการปรินท์ boarding pass, baggage tag และ load กระเป๋าเอง ถ้าไม่ได้ปรินท์ boarding pass มาก็เปิดเอาจากมือถือได้ ใช้ QR code ก็ได้ไม่ว่ากัน เมื่อเข้าไปที่ gate เขาใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเท่านั้นในการจัดการกับเครื่องบินที่เพิ่งลงมาให้สามารถรับผู้โดยสารอีกเที่ยวไปได้อย่างรวดเร็วและเครื่องบินก็ออกได้ตรงเวลาเสียด้วย AirAsia ขึ้นชื่อว่ามีความเที่ยงตรงมากครับ มี on-time performance rate ที่ 84%

นอกจากเรื่อง efficiency และความตรงต่อเวลาแล้ว Investor Joe ยังชอบ TAA ตรงที่เขาสร้างแบรนด์ขึ้นมาให้เป็นที่จดจำได้ดี มีสโลแกนที่ติดปาก “ใครๆ ก็บินได้” ไม่ว่าไปที่ไหนก็จะได้เห็นโฆษณา ได้ยินคนพูดถึง AirAsia เสมอถือว่าสอบผ่านเรื่องประสบการณ์การใช้งานและคุณภาพของแบรนด์ ส่วนวัฒนธรรมองค์กรก็ดูเร็วดูคูล ปรับปรุงระบบระเบียบให้เหมาะกับยุคสมัยและแบรนด์ของเขาดีผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่นี่เคยอยู่ในวงการดนตรีมาก่อนด้วย

.......................

ตัวเลขและอะไรๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเงินของ TAA

     1) TAA มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 33.1% และกินเพิ่มมาเรื่อยๆ ทุกปี: good

     2) TAA มีเครื่องบินมากกว่าคู่แข่ง LCC ในประเทศ มีเพิ่มทุกปี ปีละ 5-6 ลำอายุเฉลี่ย 5.6 ปี ถือว่ายังใหม่ มี hub ถึง 6 แห่ง มีเที่ยวบินให้เลือกมากกว่าคู่แข่ง: good

     3) TAA เป็นสายการบินมีค่าต้นทุนต่อหัวหลังหักค่าน้ำมัน (CASK ex-fuel) ต่ำที่สุดในบรรดาคู่แข่งในประเทศ จะสู้ไม่ได้ก็แต่ AirAsia ตัวอื่นๆ และ RyanAir นี่แหละ: good

      4) TAA มี load-factor ที่สูงเกิน 80% มาตลอด ไตรมาส 2 นี่ก็ยัง 80+%: good

      5) TAA มี utilization rate ของเครื่องบินประมาณ 12.2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งมาก ไม่เสียเวลาจอดเครื่องทิ้งเอาไว้เฉยๆ: good

      6) TAA ไม่มีสหภาพให้กวนใจ: superb!

.......................

ตัวเลขทางการเงินของ AAV

      1) AAV ทำกำไรและปันผลได้ติดต่อกันมาหลายปีขณะที่คู่แข่งนั้นแข่งกันขาดทุนบักโกรก ขาหัก แขนหักกันไปเยอะ: good

      2) AAV มีเงินสดและกำไรสะสมในมือเยอะมีเงินหมุนมาก สามารถใช้หนี้ที่มีได้สบายๆ หนี้ที่มีอยู่ตอนนี้เป็นหนี้สกุลเงินบาทและ fixed-rate จึงไม่มีปัญหาเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต ส่วนคู่แข่งกระเป๋าแห้งต้องเร่ขอเงินคนนั้นคนนี้: good

      3) AAV มีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีแต่กำไรไม่สม่ำเสมอ แสดงว่าราคาของต้นทุนโดยเฉพาะราคา jet fuel มีผลกระทบกับกำไรพอสมควร: not good

      4) AAV มีรายได้ส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมต่างๆ (ancillary revenue) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทุกปีเป็นเหมือน recurring income: good

      5) อัตราทำกำไรขั้นต้นน้อย ประมาณ 12-15% อัตราทำกำไรสุทธิ 3-4% ต่ำ ปีที่ดีก็ยังได้แค่ 5% กว่า ถ้าราคา jetfuel อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง อาจจะเสี่ยงขาดทุนได้ง่าย ROA และ ROE ก็ต่ำไป: so so

      6) ราคาปัจจุบัน P/E 14-15 P/BV 0.97 ไม่ถูก ไม่แพง ปันผลประมาณ 3% กว่า พอใช้ได้ ดีกว่าฝากแบงค์: so so

.......................

วันนี้เอาเท่านี้ก่อนนะครับ Investor Joe ง่วงแล้ว เอาไว้ Investor Joe จะมาเขียนต่อในตอนที่ 4 ว่า มีตัวเลขอื่นๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ AAV อีกไหม และท้ายสุดจะ ”อิมแมจิ้น” บทสรุปของ Investor Joe ออกมาว่า เอ . . .​ . ในเมื่อเรามีข้อมูลขนาดนี้แล้ว จะตัดสินใจในการลงทุนอย่างไรต่อไปดีหนอแล้วพบกันใหม่ครับ

ข้อมูลจาก:

https://ir.airasia.com/misc/2Q2018-presentation-airasia.pdf

https://www.credit-suisse.com/media/assets/microsite/docs/aic/presentations/2017/airasia.pdf

https://ir.airasia.com/misc/AirAsia_Prospectus_Local_English_20101029.pdf

https://aav.listedcompany.com/misc/PRES/20180810-aav-results-briefing-2q2018.pdf




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2561 19:43:41 น. 0 comments
Counter : 483 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

drparinyamusic
Location :
Ann Arbor, Michigan United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am a classical musician who conducts, arranges, composes, performs, and administers musical events. Besides classical music, I am an avid cook who specializes in Thai comfort food, as well as an amateur stock-market investor. I live in Ann Arbor, Michigan but spend summer months in Bangkok, Thailand.

Please visit https://www.joeparinya.com to learn more about me.

space
space
[Add drparinyamusic's blog to your web]
space
space
space
space
space