ตุลาคม 2563
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ตุลาคม 2563
 
 
ซิ่นตีนแดง

105เพิ่งไปเยือนอุบลราชธานี ได้พบกับเพื่อนชาวบุรีรัมย์ และได้มอบของฝากเป็นผ้าคลุมไหล่ สวยมาก เพื่อนชาวบุรีรัมย์ เล่าว่า นี่คือ ซิ่นตีนแดง เป็นการทอผ้าสไตล์ อีสานใต้

 
ผ้ามัดหมี่ตีนแดง หรือ ชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นที่ว่า “ซิ่นหัวแดงตีนแดง” หรือ “ซิ่นตีนแดง” หรือ “ซิ่นหมี่รวด” ถือได้ว่า เป็นผ้าไหมเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชาวอำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
 
 
โดยลักษณะผ้าไหมจะเป็นมัดหมี่ลายพื้นเมืองทอด้วยไหมทั้งผืน มีหัวซิ่นและตีนซิ่นของผ้าจะเป็นสีแดงสด สมัยโบราณทอด้วยฟืมเล็กแล้วนำมาต่อหัวและตีนซิ่น ปัจจุบันมีการทอต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันไม่ใช้การต่อระหว่างตัวซิ่น หัวซิ่นและตีนซิ่น ผ้ามัดหมี่ตีนแดง ทอขึ้นครั้งแรกโดยช่างฝีมือทอผ้าในคุ้มของพระยาเสนาสงคราม (เจ้าเมืองคนแรกของอำเภอพุทไธสง) เมื่อประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นผ้าซิ่นของกลุ่มชนลาว ต่อมาการทอผ้าซิ่นตีนแดงได้แพร่ขยายสู่หมู่บ้านใกล้เคียง และบ้านนาโพธิ์ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอนาโพธิ์
        


ผ้ามัดหมี่ตีนแดง แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอพุทไธสงและอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในสมัยโบราณนิยมทอผ้ามัดหมี่ตีนแดงให้เด็กและวัยรุ่นสวมใส่เพราะมีสีสดใส โดยลายหมี่ส่วนใหญ่เป็นลายดั้งเดิม คือ ลายนาค ลายแข่วเลื่อย(ลายฟันเลื่อย) ลายขอต่างๆ และต่อมาได้พัฒนาและปรับปรุงการทอเพื่อให้ผู้ใหญ่ได้สวมใส่ในงานบุญประเพณีสำคัญได้ นิยมใช้สวมใส่เฉพาะในงานพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญประเพณีและพิธีการที่สำคัญเท่านั้น
 
 
 ผ้ามัดหมี่ตีนแดง มีลักษณะพิเศษ คือ ส่วนเชิงของผ้ามัดหมี่ทุกผืนเป็นพื้นสีแดง บางผืนจกลวดลายเป็นแถบริ้วลายจกขนาดเล็ก ตีนซิ่นบางครั้งมีการใช้เทคนิคการขิดเก็บเส้นไหมสี หรือที่ชาวบ้านในพื้นที่ เรียกว่า การเก็บตีนดาว มาผสมผสานเพื่อความสวยงามและแสดงฝีมือของผู้ทอ ผ้าซิ่นมัดหมี่ตีนแดงโบราณมีการต่อหัวซิ่นและตีนซิ่น ลวดลายมัดหมี่จะทอเป็นซิ่นหมี่รวดหรือหมี่โลด ซึ่งมาจากภาษาท้องถิ่นภาคอิสาน หมายถึง การมัดและทอลวดลายมัดหมี่ต่อเนื่องไปรวดเดียว ลักษณะลวดลายผ้ามัดหมี่แบบนี้ บางท้องที่ในภาคอิสานจะเรียกว่า หมี่หว่าน
       
 
กรรมวิธีการทอผ้าผ้ามัดหมี่ตีนแดง เป็นการทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง คือมีการมัดลวดลายและย้อมสีเฉพาะเส้นพุ่ง ส่วนเส้นยืนใช้เส้นไหมย้อมสีตามที่ต้องการแต่ไม่มีการมัดทำลวดลาย ซึ่งเป็นกระบวนการในการทอผ้ามัดหมี่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย อุปกรณ์ในการมัดหมี่ ได้แก่ โฮงหมี่ มีด เชือกกล้วย แต่ปัจจุบันนิยมใช้เชือกฟางที่ทำจากพลาสติก เพราะหาง่ายสะดวกกว่ากัน มีสีให้เลือกอีกด้วย เพราะการมัดหมี่จะมัดลวดลายครั้งเดียว ซึ่งใช้เวลาหลายวันกว่าจะเสร็จ ช่างมัดจะใช้เชือกฟางมัดหมี่ที่ละสี สะดวกในเวลาที่ต้องแก้ฟาง เพราะบางจุดของลวดลายจะใช้สีขาว หรือไม่ต้องการที่จะผสมสีที่เกิดจากการย้อมทับเส้นหมี่ การย้อมยึดเป็นหลักจะต้องย้อมสีแดงก่อน ตามด้วยสีเหลือง จะย้อมสีครามเป็นสีสุดท้าย แต่จากข้อสังเกต โดยเฉพาะสีธรรมชาติที่นำมาใช้ของชาวอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ จะไม่มีสีคราม
       
 
ลวดลายมัดหมี่ส่วนใหญ่เป็นลายเก่าดั้งเดิม คือ ลายนาค ลายแข่วเลื่อย(ลายฟันเลื่อย) ลายขอต่างๆ นิยมใช้สีเหลือง แดง ขาว มีเขียวปนบ้าง



Create Date : 31 ตุลาคม 2563
Last Update : 31 ตุลาคม 2563 6:58:48 น. 0 comments
Counter : 1196 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

สมาชิกหมายเลข 5960119
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 5960119's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com