Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
มายาคติ 4 ประการ ว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ

บทความนี้นำมาข่าวจากสำนักข่าวประชาธรรม(www.newspnn.com) ซึ่งเป็นการกล่าวถึง มายาคติ 4 ประการ ว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยวลัยพร อดออมพานิช แปลและเรียบเรียง จาก The Biofuel Myths by Eric Holt-Gimenez in The International Tribune ซึ่ง มายาคติ 4 ประการนั้นประกอบด้วย
1. เชื้อเพลิงชีวภาพ มีความสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม???
2. เชื้อเพลิงชีวภาพจะไม่ส่งผลต่อการลดลงของป่าไม้???
3. เชื้อเพลิงชีวภาพจะนำมาซึ่งการพัฒนาชนบท???
และ4. เชื้อเพลิงชีวภาพจะไม่ทำให้เกิดภาวะหิวโหยและการขาดแคลนอาหาร???
เป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นกับประเทศในแถบอเมริกาใต้หลังจากมีการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ คือตั้งแต่การปรับผืนดิน จนถึงการแปรรูป เราจะพบว่า กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทำให้เกิดการรุกพื้นที่ป่า ทำให้พื้นที่ป่าลดลง เกิดการเผาป่าและพื้นที่เพื่อปลูกพืชเชื้อเพลิง และยังทำให้เกิดการทำลายหน้าดินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นภาพสะท้อนถึงนโยบายด้านพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและอาหารของบ้านเราเช่นกันในการที่จะนำบทเรียนดังกล่าวมาพิจารณาหามาตรการป้องกันต่อไป





เรื่องโดย : วลัยพร อดออมพานิช (แปล)
15 ตุลาคม 2550




เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นคำที่ถูกใช้และมีความหมายถึง หลักประกันและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ที่คำนึงถึงความสะอาด ยั่งยืนและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และด้วยภาพลักษณ์ดังกล่าวทำให้นักการเมือง ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารโลก สหประชาชาติ รวมทั้งบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ พากันออกมาอ้างว่า เชื้อเพลิงที่ผลิตจากพืชเช่น ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และพืชน้ำมันอื่นๆ คือก้าวต่อไปของปรับเปลี่ยนสู่ยุคพลังงานทางเลือก
ในความเป็นจริง การส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอาจเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นและข้อเท็จจริงบางประการโดยเฉพาะในเรื่องความไม่สมดุลระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศอุตสาหกรรมประกาศความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพแบบมักใหญ่ใฝ่สูง โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะมีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจำนวน 5.75 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพลังงานที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งทั้งหมดของสหภาพยุโรป ให้ได้ในปี ค.ศ. 2010 และเพิ่มเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นปริมาณไม่ต่ำกว่า 35 พันล้านแกลลอนต่อปี

ปริมาณความต้องการเหล่านี้เป็นปริมาณที่เกินศักยภาพของฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ประเทศเหล่านี้จะผลิตได้ และถ้าจะตอบสนองความต้องการเหล่านี้ให้ได้ ยุโรปทั้งทวีปต้องสละพื้นที่กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดมาปลูกพืชที่ให้พลังงาน หรือสหรัฐอเมริกาอาจจะต้องนำข้าวโพดและถั่วเหลืองที่ปลูกอยู่ทั้งหมดมาแปรรูปเป็นไบโอดีเซล ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่การผลิตจากการผลิตพืชอาหารมาปลูกพืชที่ให้พลังงานจริงๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบอาหารในประเทศโลกเหนือ ซึ่งทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องเสาะแสวงหาพื้นที่ทำการผลิตพืชที่ให้พลังงานในโลกใต้ เพื่อที่จะได้บรรลุความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

การรวมศูนย์อำนาจและการผูกขาดอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพมีสูงขึ้น และมีความรวดเร็วมาก เพียงแค่ระยะเวลาสามปี การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มสูงขึ้นกว่า 800 เปอร์เซ็นต์ เบื้องหลังฉากที่แท้จริงก็คือ บริษัทน้ำมัน ธัญญพืช รวมทั้งบริษัทรถยนต์และพันธุวิศวกรรมกำลังประสานความร่วมมือและผนวกรวมกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานศึกษาวิจัย การผลิต การแปรรูปและการกระจายผลผลิตของธุรกิจอาหารและน้ำมันให้อยู่ภายใต้หมวกของกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มเดียวกัน

เชื้อเพลิงชีวภาพกลายเป็นพลังงานแชมเปี้ยน ที่มีภาพลักษณ์ของพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถลดภาวะโลกร้อน และจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้แก่การพัฒนาชนบท ทั้งที่อันที่จริงแล้ว อำนาจและกลไกการตลาดที่ผูกขาดโดยบรรษัทข้ามชาติ ผนวกกับรัฐบาลที่อ่อนแอ ก็จะยิ่งนำไปสู่คำถามว่าใครจะได้ประโยชน์จากพลังงานที่ถูกมองว่าเป็นทางเลือกของสังคมโลก ดังนั้น สาธารณะชนจะต้องให้ความสนใจต่อมายาคติที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงชาวโลก

1. เชื้อเพลิงชีวภาพ มีความสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม???
เพราะว่ากระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชที่ให้พลังงานช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกและยังเป็นการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เราจึงถูกทำให้เชื่อว่า เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่หากว่าเราพิจารณาจากกระบวนการผลิตและที่มาของเชื้อเพลิงชีวภาพ ตั้งแต่การปรับผืนดิน จนถึงการแปรรูป เราจะพบว่า กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทำให้เกิดการรุกพื้นที่ป่า ทำให้พื้นที่ป่าลดลง เกิดการเผาป่าและพื้นที่เพื่อปลูกพืชเชื้อเพลิง และยังทำให้เกิดการทำลายหน้าดินเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ น้ำมันปาล์มทุกๆหนึ่งตัน ทำให้เกิดกาซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ 33 ตัน สูงกว่าน้ำมันปิโตรเลี่ยมถึง 10 เท่า การตัดไม้ในเขตป่าเขตร้อนเพื่อปลูกอ้อย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับผลิตเอธานอล ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกถึง 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันในปริมาณที่เท่ากัน

2. เชื้อเพลิงชีวภาพจะไม่ส่งผลต่อการลดลงของป่าไม้???
การปลูกพืชที่ให้น้ำมันและนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมของระบบนิเวศ แต่จะเป็นการช่วยฟื้นฟูมากกว่า บางทีนี่อาจเป็นสิ่งที่รัฐบาลบราซิลเชื่อ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ดำเนินการจัดประเภทการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยประกาศพื้นที่เพาะปลูกเพิ่ม 200 ล้านเฮคตาร์ ในพื้นที่ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ในความเป็นจริง พื้นที่ที่เรียกว่า เซอราโดและแพนทานอลเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศและหลากหลายทางชีวภาพที่เรียกว่า ป่าแอตแลนติก และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมือง เกษตรกรรายย่อยและคนเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน ดังนั้นการประกาศเพิ่มพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกพืชที่นำมาทำเชื้อเพลิง โดยเฉพาะอ้อยซึ่งมีปลูกอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก จึงเท่ากับเป็นการเบียดขับคนชายขอบเหล่านี้ให้ต้องอพยพลึกเข้าไปในเขตชายขอบติดต่อกับป่าอเมซอนมากยิ่งขึ้น

ในบราซิล มีการใช้ถั่วเหลืองปริมาณ 40 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งองค์การนาซ่าออกมาระบุว่า ราคาของถั่วเหลืองมีความสัมพันธุ์กับการลดลงของพื้นที่ป่าอเมซอนในราว 325,000 เฮกตาร์ต่อปี


3. เชื้อเพลิงชีวภาพจะนำมาซึ่งการพัฒนาชนบท???
ในเขตร้อน พื้นที่ทุกๆ 100 เฮกตาร์เป็นพื้นที่ที่สร้างงานได้มากกว่า 35 อาชีพ ขณะที่ปาล์มน้ำมันและอ้อย สร้างงานได้เพียง 10 อาชีพ ยูคาลิปตัส 2 อาชีพ และทั้งหมดเป็นการจ้างงานในราคาที่ต่ำมาก

ในอดีต ตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพเหล่านี้มีขนาดเล็กและส่วนแบ่งตลาดจำกัดอยู่แต่ในท้องถิ่น ในสหรัฐอเมริกา เจ้าของปั๊มแก๊สเอธานอลส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือเกษตรกร แต่ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาดำเนินการและสร้างเศรษฐกิจขนาดใหญ่มหึมาในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเหล่านี้

ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ จะต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์ ปัจจัยการผลิต การบริการ การแปรรูปและการตลาดซึ่งควบคุมโดยบรรษัทข้ามชาติ ขณะที่ผลกำไรตอบแทนมีน้อยมาก และมีแนวโน้มว่าผู้ผลิตรายย่อยเหล่านี้จะถูกเบียดตกจากเวที ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ ผู้ผลิตเป็นหมื่นๆรายต้องตกงานและถูกแทนที่ด้วยอาณาจักรถั่วหลวงซึ่งครอบคลุมพื้นที่การผลิต 50 ล้านเฮกตาร์ในพื้นที่ทางใต้ของบราซิล อาเจนตินาตอนเหนือ ปารากวัยและโบลิเวีย

4. เชื้อเพลิงชีวภาพจะไม่ทำให้เกิดภาวะหิวโหยและการขาดแคลนอาหาร???
ความหิวโหยไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดแคลนอาหารและความยากจน คนยากคนจนส่วนใหญ่ใช้เงิน 50 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ไปกับค่าอาหาร และคนจนจะเดือดร้อนมากขึ้นเมื่อน้ำมันมีราคาแพง ซึ่งส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้นตามไปด้วย และการที่พืชอาหารและพืชเชื้อเพลิงต้องแข่งขันกันทั้งด้านที่ดินเพื่อการปลูกและการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทำให้ราคาที่ดินและน้ำเพื่อการผลิตมีราคาสูงขึ้นเพิ่มขึ้นไปอีก

สถาบันวิจัยนโยบายอาหารนานาชาติ คาดการณ์ว่าราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น 20 ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2010 และเพิ่มขึ้น 26-135 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2020 การบริโภคแคลอรี่ลดลงเมื่อราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นที่อัตรา 1: 2
ถึงตอนนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้มีการจำกัดขนาดและการเติบโตของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ประเทศในโลกเหนือไม่ควรผลักภาระการบริโภคแบบไร้ขีดจำกัด ไปให้กับประเทศในโลกใต้ด้วยเหตุผลที่เพียงว่า ประเทศในโลกใต้ที่มีภูมิอากาศแบบร้อน มีแสงแดด ฝนและที่ดินที่เหมาะสม และถ้าจะทำให้ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพมีความเป็นมิตรต่อพืชอาหารและป่าไม้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดกฏระเบียบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเหล่านี้

มาตรฐานที่เข้มแข็งและปฏิบัติได้จริงในการจำกัดพื้นที่การปลูกพืชสำหรับทำเชื้อเพลิงถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงมีกฏหมายที่ป้องกันมิให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาครอบงำธุกรกิจด้านพลังงานโดยไร้ขอบเขต

กฏหมายและข้อตกลงสากลในการจำกัดการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพจะต้องได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน เราคงต้องการเวลาสักระยะหนึ่งในการที่จะปรับเปลี่ยนสู่แนวทางเลือกที่ดำรงไว้ซึ่งอธิปไตยทางอาหารและอธิปไตยทางด้านเชื้อเพลิงโดยรวมของประชาคมโลก


หมายเหตุ :
1. ไบโอดีเซล เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลจากน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ไบโอดีเซล คือเอสเทอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester
การเรียกชื่อ ขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเทอร์ เป็นเอสาเทอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือ เอทิลเอสเทอร์ เป็นเอสาเทอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น
ที่มา //www.wikipedia.org
2. ป่าแอตแลนติก เป็นป่าเขตร้อนที่มีพื้นที่ครอบคลุมชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นป่าที่มีพืชพรรณมากกว่า 20,000 ชนิดและกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เป็นพืชท้องถิ่น.




Create Date : 16 ตุลาคม 2550
Last Update : 16 ตุลาคม 2550 10:48:33 น. 0 comments
Counter : 1988 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.