Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
10 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
(ปาฐกถาพิเศษ)“การเมืองการบริหารของไทยในศตวรรษที่ 21”





ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน




ความจริงแล้วศตวรรษที่ 21 ยังเหลืออีก 93 ปี 24 วัน เป็นเวลานานพอสมควร ถ้าพูดถึงอนาคตที่ยาวไกลก็คงไม่ง่ายเท่าไรนัก วิธีที่จะพูดถึงอนาคต เรามองได้สองอย่างคือ หนึ่ง สิ่งที่น่าจะเป็น คือมองที่ปัจจุบันว่าจะเป็นอย่างไร สอง สิ่งที่เราอยากให้เป็น เป็นสิ่งที่เราจะแยกสองอย่างออกจากกันได้ยาก

เพราะในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ สิ่งที่เป็นความอยากและสิ่งที่อยากให้เป็นมันปะปนกัน ซึ่งก็ดีแล้ว เพราะว่าเราคงไม่สามารถเข้าใจอะไรในปัจจุบันได้ ถ้าเราไม่ใช้อัตวิสัย หรือความอยากเข้าไปวิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เฉพาะตัวเลขที่เป็นภาวะวิสัยอย่างเดียว ไม่สามารถอธิบายได้เลย นอกจากนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าอัตวิสัย ก็คือ ในทางสังคมเราแยกออกเป็นสิ่งที่น่าจะเป็น และที่เราอยากให้เป็นได้ยาก หรือแยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะว่าถ้าเราทุกคนในสังคมอยากอะไรมากๆ มันก็จะทำให้สังคมเป็นอย่างที่เราอยากด้วย

ก็เป็นเพียงความหวังว่า ในทศวรรษใหม่ที่เรากำลังเผชิญ ความอยากของมนุษย์น่าจะมีความหมายเหลืออยู่บ้าง ที่ผ่านมา 6 ปี ก็ไม่แน่ใจว่าความอยากของเราจะมีความหมายในการกำหนดโลกของเรามากแค่ไหน เพราะยิ่งนับวันโลกของเรามีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากการควบคุมของมนุษย์เข้ามากำหนดชะตากรรมของมนุษย์หรือชะตากรรมของสังคมตลอดเวลา

แต่ว่า 93 ปี 24 วัน ที่เหลือโลกเราจะเปลี่ยนบ้าง ความอยากของมนุษย์สามารถกำหนดชะตากรรมตัวเองได้บ้าง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ศตวรรษที่ 21 คงไม่ใช่ศตวรรษที่อุดมคติตายสนิท และก็หวังว่าจะเป็นศตวรรษที่อุดมคติมีความหมาย โดยการสร้างกลไกทางสังคม หรืออื่นๆ อะไรก็แล้วแต่

การที่จะเปลี่ยนทิศทางของสังคมตามที่เราอยากให้เป็น ขอเริ่มต้นที่จะพูดถึงอนาคตของประเทศไทยในเรื่องการเมืองและการบริหาร โดยการดูปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภายใต้โลกาภิวัตน์ คิดว่ามีปัญหาอยู่ 5-6 อย่างด้วยกัน

อันที่หนึ่งคือ อำนาจการตัดสินใจของประชาชนในเรื่องบางเรื่อง ผมคิดว่ามีอำนาจทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพล หลายเรื่องเราไม่สามารถกำหนดหรือตัดสินใจอะไรได้เอง ตัวอย่างนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกกลาง คนไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจในเรื่องของตนเอง แต่มีอำนาจจากข้างนอกมาเป็นผู้ตัดสินใจให้

ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจที่ผูกกับโลกาภิวัตน์มากจนเหลือทางเลือกน้อยลงไปแล้ว การเมืองในประเทศไทย ถ้าหากกลับไปสู่รัฐทหารในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นอีกได้ยากมาก เราไม่สามารถดำเนินนโยบายต่างประเทศตามใจชอบได้ บางคนอาจคิดถึง Constructive Engagement ที่ทำกับพม่า ไม่ได้เกิดขึ้นจากเราและอาเซียน ในการร่วมมือในการวางนโยบายกับพม่าในลักษณะ Constructive Engagement ถ้าไม่มีจีนอยู่เบื้องหลังสิ่งนี้ เราทนแรงกดดันของยุโรปและอเมริกาไม่ได้ ที่จะ Constructive Engagement ที่เราอ้างถึงได้

เพราะฉะนั้น การจะวางนโยบายต่างประเทศ เราทำตามใจชอบไม่ได้ เพราะมีคนอื่นเป็นผู้มากำหนดให้เรา และคนอื่นเหล่านั้นเราไม่ได้เลือกเขา เราไม่มีสิทธิ์ไปกำกับอะไรเขาเลย เพียงแต่ว่าเขาจะมากำหนดเศรษฐกิจการเมือง แน่นอนว่าจะกระทบไปสู่สังคม และวัฒนธรรมด้วย

บางเรื่องของการกำกับ ควบคุมจากภายนอกเหล่านี้ เราอาจจะรู้สึกว่าดี เป็นต้นว่า เราจะไม่กลับไปสู่รัฐประหารที่เราเคยผ่านมาได้ก็ดูว่าคล้ายๆ เป็นหลักประกันให้ประชาธิปไตยได้ดีขึ้น หมายความว่าคนที่หน้ามืด ทำการรัฐประหารในตอนนี้ ลืมตานิดเดียวก็พบว่าทำได้ในเงื่อนไขโลกาภิวัตน์ที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ฟังดูแล้วอาจรู้สึกดี ขอเตือนว่าให้ระวัง คำว่าประชาธิปไตยในปัจจุบันนี้มีปัญหามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิทธิมนุษยชน พูดได้ว่าแทบจะไร้ความหมายเลยทีเดียว คุณสามารถที่จะจับนักโทษไปกักขังตามที่ต่างๆ ทั่วโลก แล้วก็ทรมานพวกเขาอย่างไรก็ได้ โดยคุณเองก็ออกหน้าปกป้องสิทธิมนุษยชนของโลก

ประชาธิปไตยในทุกวันนี้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงไม่พัฒนาประชาธิปไตย สิ่งที่เราเรียกว่าประชาธิปไตยทุกวันนี้ก็ไร้ความหมาย แต่มันกลับคุกคามเสรีภาพประชาชนด้วยซ้ำไป

ทั้งหมดเหล่านี้ กลไกระหว่างประเทศพัฒนาถ่วงดุลกับโลกาภิวัตน์ไม่ทัน ยูเอ็นที่อยู่ภายใต้มหาอำนาจ ถามว่าเครื่องมือในการยับยั้งการแทรกแซง และการคุกคามสิทธิเสรีภาพของคนในโลกนี้ได้แค่ไหน ผมว่าได้น้อยลง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะด่าพ่อยูเอ็น ยูเอ็น ก็ยังคงเป็นองค์กรระหว่างประเทศ คิดว่าน่าจะใช้ประโยชน์จากประเทศเล็กๆ ได้ดีที่สุดนั่นเอง

เพราะฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยหนึ่งแล้ว ยูเอ็นจะประกันเรื่องสิทธิเสรีภาพของคนในโลกได้แย่ลง เพราะโลกาภิวัตน์เกิดขึ้น องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ หมายจะตั้งกติกาบางอย่างเพื่อปกป้องประเทศเล็กๆ หมายจะอิงอาศัยเป็นเครื่องมือบกพร่อง ก็ไม่ค่อยเกิดผล ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเมื่อเกิด WTO นั้น เมื่อประเทศเล็กๆ รวมตัวกันต่อรองกับประเทศมหาอำนาจได้มากขึ้นนั้น มหาอำนาจก็เลี่ยงที่จะดัน WTO แต่หันไปสร้าง FTA แทน วันหนึ่งข้างหน้าที่จะสามารถมีความสัมพันธ์กับ FTA ในประเทศต่างๆ ได้มากพอสมควรแล้ว ก็เอา FTA กลับมาถล่ม WTO แล้วก็ทำตามเงื่อนไข WTO ได้เลย

เพราะฉะนั้น องค์กรระหว่างประเทศที่เราจะสร้างขึ้นสำหรับสร้างสมดุลระหว่างอำนาจที่มีมากเกินไปและอำนาจที่น้อยเกินไปให้พออยู่ร่วมกันได้ คิดว่าจนกระทั่งนาทีนี้ ยังไม่มี หรือมีแต่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำอย่างนั้นได้ ฉะนั้น จึงจำเป็นที่ต้องพูดถึงไว้ก่อนว่า การเมืองการบริหารของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะเป็นอย่างไร

สิ่งที่รู้สึกค่อนข้างตลกคือ โลกทุกวันนี้ประชาชนสามารถหาเสรีภาพที่หมายถึงการหลุดพ้นจากการแทรกแซง ครอบงำจากต่างชาติได้ในระบอบเผด็จการ ไม่ว่าเผด็จการที่อยู่ในรูปแบบของรัฐ หรือการก่อการร้ายก็ตาม พื้นที่ตรงนั้นเป็นที่ที่เขาปกป้องประชาชนจากการแทรกแซงของมหาอำนาจที่ครอบงำโลกได้ เป็นเรื่องที่น่าประหลาดดี

พอพูดถึงเรื่องการก่อการร้าย อยากให้มองให้กว้างขึ้น เราถูกสื่อต่างประเทศครอบงำว่าการก่อการร้ายเป็นเรื่องของคนอิสลาม ซึ่งจริงๆไม่ใช่ เพราะทั่วโลกที่ใช้การก่อการร้ายเป็นเครื่องมือในการต่อสู้มีเยอะแยะที่ไม่ใช่มุสลิม เป็นต้นว่า พวกเมาดีฟในเนปาล พวกชนพื้นเมืองในแถบลาตินอเมริกา คนกลุ่มเหล่านี้เขาก็ใช้วิธีก่อการร้าย เพราะฉะนั้นไม่ได้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียวอย่างที่เราถูกครอบงำให้คิดไปอย่างนั้น

การก่อการร้าย เป็นวิธีการตอบสนองต่อสภาพของประชาชนที่ไม่มีทางออก แน่นอนว่าไม่มีใครเห็นชอบกับวิธีการนี้ ดังนั้นหากเรามองการก่อการร้ายต้องมองให้กว้าง ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องๆเดียว ต้องมองให้กว้างเพราะมันมีภาวะครอบงำบางอย่างที่ดิ้นไม่หลุดและจะส่งเสริมให้เกิดการก่อการร้ายทั้งในประเทศและนอกประเทศมากขึ้น

ช่วงศตวรรษที่ 21 สิ่งเหล่านี้จะยังอยู่หรือหายไปหรือไม่นั้น คิดว่าจะอยู่ไปอีกนาน แต่ไม่รู้ว่านานเท่าไร ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขการครอบงำจะมีอยู่ต่อไปอาจจะมีขึ้นเรื่อยๆด้วยซ้ำ ดังนั้นการก่อการร้ายจะขยายตัวขึ้นเหมือนกัน

ดังนั้นในทรรศนะ ผู้ที่ต้านทานการครอบงำโลกผ่านกระบวนการโลกาภิวัตน์ของทุนอยู่เวลานี้มีอยู่ 2 พวก คือ ผู้ก่อการร้ายและกลุ่มภาคประชาชน เพราะฉะนั้นภาคประชาชนและผู้ก่อการร้ายจะถูกเอามารวมกัน และถูกโมเมให้มารวมกันได้ง่ายมาก และหากสามารถทำให้เป็นพวกเดียวกันก็ปราบได้ง่ายเช่นเดียวกัน

กระบวนการที่ทำให้ภาคประชาชนและผู้ก่อการร้ายเข้าหากัน ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยเพียงประเทศเดียว แต่จริงๆแล้วในยุโรปจะพบการพยายามที่จะทำให้การเคลื่อนไหวภาคประชาชนเพื่อต้านทานการครอบงำของโลกาภิวัตน์โดยทุน ให้เจอกับกระบวนการก่อการร้ายเราจะพบได้ทั่วไป

อีกอันหนึ่งที่เกิดขึ้นและมีความสำคัญคือมีการสถาปนาวัฒนธรรมสากลขึ้นมา วัฒนธรรมสากลคือ การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันมีความพยายามที่สร้างวัฒนธรรมที่อ้างว่าเป็นสากลเพื่อก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเดียว มีการจัดการป่า จัดการน้ำ จัดการดินที่โดยอ้างความเป็นสากลและครอบงำไปหมดทั้งโลก จริงๆ การจัดการเรื่อง ป่า น้ำ ดิน ในแต่ละแห่งมีวิธีการจัดการที่ไม่เหมือนกัน

ปัจจุบันวัฒนธรรมสากลที่ว่าพยายามเข้ามาบังคับให้เราใช้การจัดการเพียงอย่างเดียว เดิมทีเดียวมีการกำหนดบนพื้นฐานที่หลากหลายมาก เพราะฉะนั้นก็มีความพยายามสร้างวัฒนธรรมสากลตัวนี้เข้ามาในการกำหนดเรื่องของการจัดการทรัพยากร ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนขัดแย้งกับการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น นั่นหมายถึงว่าวัฒนธรรมสากลตัวนี้กำลังพยายามขจัดคนท้องถิ่นออกไปจากทรัพยากรนั้นนั่นเอง

เพราะฉะนั้นกระบวนการที่จะตอบโต้วัฒนธรรมสากลนี้ คือการรื้อฟื้นวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นมาให้มีความเข้มแข็งเพื่อที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับการต่อสู้กับการครอบงำจากวัฒนธรรมสากลนั่นเอง

ดังนั้น การบริหารประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 ต้องสร้างสมดุลระหว่างประเทศมหาอำนาจซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะเราอยู่ในโลกของความเป็นจริงที่มีการครอบงำ การพยายามแสวงหาผลประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีผลประโยชน์ของประชาชนด้วย การเมืองและการบริหารที่สร้างสรรค์คือการเมืองการบริหารที่ต้องหาสมดุลที่พอดีระหว่างการยอมกับการกดดันของมหาอำนาจและการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน

เพราะฉะนั้นอาจจะสรุปได้ว่าโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่เปราะบางมากขึ้นและเต็มไปด้วยความรุนแรง แม้ไม่ใช่สงครามขนาดใหญ่แต่มีการต่อสู้กันในหลายรูปแบบ ขณะที่ความรุนแรงระดับท้องถิ่นอาจจะขยับขึ้นมาเป็นระดับภาค ระดับประเทศต่อไปได้

และที่สำคัญ สังคมต้องเข้าใจว่า การบริหารประเทศแบบให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่คนคนเดียวหรือซีอีโอนั้นอันตรายที่สุด เพราะการบริหารแบบนี้จะไม่เกิดการเมืองแบบประนีประนอม ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรรายย่อยจะหาทางออกยาก เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจะไปกดดันภาคการเมืองให้มีการแก้ไขไม่ค่อยได้ ซึ่งในอนาคตเกษตรกรรายย่อยของไทยจะต้องเปลี่ยนอาชีพ เพราะผลิตอย่างไรก็ไม่คุ้มทุน

ดังนั้นเขาต้องเลิกทำการผลิตส่งผลให้เกษตรกรรมเชิงพานิชย์ขยายตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุดแล้วเกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ก็จะกลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือ เรื่องนี้หากเราไม่ทำอะไรเลย ประเทศไทยก็จะคล้ายกับหลายประเทศในลาตินอเมริกา คือมีคนอยู่ในสลัมในเมืองเพิ่มขึ้น คนตกงานเพิ่มขึ้น ปีหนึ่งอาจจะมีงานทำ 3 เดือนครึ่ง ที่เหลือจะทำอะไรก็ได้ที่จะทำให้ชีวิตอยู่ได้

ปัญหาของเกษตรกรรายย่อยเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นในศตวรรษที่ 21 เราต้องให้เขาเข้าถึงทรัพยากรได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูปที่ดิน การจัดการป่า เรื่องชลประทาน ต้องคิดถึงเรื่องการคืนอำนาจให้เขาให้มากขึ้น

การเข้าถึงการศึกษาก็เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมาก แต่ไม่ใช่การศึกษาในระบบที่ฝึกความฉลาดเขาอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบให้มากขึ้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้เกษตรกรรายย่อยมีความเข้มแข็ง หากเขาจะหลุดจากการเป็นเกษตรกรเขาก็จะเป็นแรงงานฝีมือ ซึ่งจะมีอำนาจต่อรองต่อไปได้

กล่าวโดยสรุปคือ ประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะดำรงอยู่อย่างสงบสุขได้นั้นต้องพิจารณาใน 3 ประเด็นคือต้องมีความหลากหลายทางสังคม ต้องหลีกเลี่ยงความรุนแรง และต้องเลิกหมกมุ่นเชื่อมั่นในตัวผู้นำที่เชย นอกจากนี้เราต้องการความสามารถในการมองทะลุสังคมไทย รู้ว่าสังคมไทยมีจุดอ่อนและแข็งตรงไหน ต้องนำตรงนี้มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากตรงนั้น เพื่อให้เราเสียเปรียบน้อยที่สุดหรือไม่เสียเปรียบเลยก็แล้วแต่



หมายเหตุ : เรียบเรียงจากเวทีประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 (พ.ศ.2548) เรื่อง “โลก รัฐ ท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 : การปะทะทางอารยธรรม ธรรมาภิบาลและท้องถิ่นนิยม” วันที่ 7 ธ.ค.2548 ณ โรมแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่

4-10 ธันวาคม 2548

ที่มา //www.thaico.net/b_pnews/48121906.htm


Create Date : 10 กันยายน 2550
Last Update : 10 กันยายน 2550 12:31:17 น. 1 comments
Counter : 4574 Pageviews.

 
ดเเด่ด้ด


โดย: กเ IP: 61.7.190.38 วันที่: 14 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:36:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.