Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 ธันวาคม 2560
 
All Blogs
 
วัดถ้ำผาเกิ้ง


หลังจากออกมาจาก วัดป่ากิตติญานุสรณ์ วัดที่ณเดชมาบวช ก่อนมาวัดถ้ำผาเกิ้ง

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=imaginer&month=12-2017&date=13&group=14&gblog=66




วัดถ้ำผาเกิ้งเป็นสถานปฏิบัติธรรมและยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำบุญ
วัดตั้งอยู่บนเทือกเขาภูเวียง บ.โคกหนองขาม ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น
อยู่ไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่น วิ่งเข้าถนนมะลิวัลย์ และตรงไปเรื่อยๆ จนเจอสามแยกทางไป สังเกตร้านขายไก่ย่างเรียงรายเยอะๆ
เลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอภูเวียง ตรงไปอีก จะเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ผ่านอุทยานแห่งชาติภูเวียง พอใกล้ทางแยกเลี้ยวไปทางขวา
จะพบป้ายบอกไปวัด เลี้ยวขวาจะเป็นทางสู่วัดถ้ำผาเกิ้ง



ก่อนถึงวัดจะแวะกราบไหว้ศาลเจ้าจอมปากช่อง (ปู่จอม) ก่อนก็ได้ ประชาชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือและยอมรับว่าทรงความศักดิ์สิทธิ์มาก
คนชอบมาขอทั้งโชคลาภ และโดยเฉพาะการสอบเกี่ยวกับอาชีพในเครื่องแบบราชการ ทหาร ตำรวจ
พอได้สำเร็จสมปราถนาก็มักจะเอาไก่มาแก้บน ที่นี่จึงเต็มไปด้วยตุ๊กตาไก่
และที่นี่มีรูพญานาคให้ชมด้วย
เหตุที่สร้างศาลเจ้าจอม พระยานรินทร์ท่านเป็น“จอมคน”
ขอตายอย่าสมเกียรติแม่ทัพ



ประวัติ
ศาลเจ้าจอมปากช่อง (ปู่จอม)




เมื่อสมัยก่อนสภาพภูมิประเทศของเทือกเขาภูเวียงมีลักษณะเป็นภูเขารูปแอ่งคล้ายปล่องภูเขาไฟหรือกระทะคว่ำ เมื่อร้อยปีในอดีต สถานที่ราชการรวมถึงที่ว่าการอำเภอภูเวียง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มในหุบเขาภูเวียง
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2491 นายจรุง อุทะนุต นายอำเภอภูเวียงขณะนั้นได้ย้ายที่ว่าการอำเภอภูเวียงออกมาตั้ง
อยู่นอกหุบเขา (คือที่ตั้งอำเภอในปัจจุบัน) โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่ราบลุ่มในเขตหุบเขาภูเวียงประกอบ
ไปด้วย 3 ตำบล มีเทือกเขาภูเวียงล้อมรอบ มีลักษณะแปลกมาก เป็นรูปทรงรีคล้ายพญานาคยักษ์ นอนขดตัว
เป็นวงกลม เว้นช่องว่างระหว่างหัวกับหางไว้ราวหกเมตรเศษ บริเวณนี้เรียกสืบต่อกันมาว่า "ปากช่อง"

ประวัติพระยานรินทร์ “เจ้าจอมปากช่องภูเวียง”
--------------------------------------
แผ่นดินอีสานเดิมในอดีตเป็นเขตแดนของราชอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาอาณาจักรล้านช้างได้แยกเป็น
3 อาณาจักรในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย คืออาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
และอาณาจักรจำปาศักดิ์ และได้ตกเป็นเมืองประเทศราชของไทย ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อประมาณ
พ.ศ.2321- 2322 เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารแห่งกรุงเวียงจันทน์ พ่ายแพ้สงครามแก่
กองทัพเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตรย์ศึกเป็นแม่ทัพ
ตามประเพณีสงครามแต่เดิมนั้นหากเมืองใดพ่ายแพ้การศึก
กองทัพฝ่ายที่ชนะจะกวาดต้อนผู้คนพลเมืองรวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ของอีกฝ่ายหนึ่งมายังเมืองของตน
เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เป็นตัวประกันไม่ให้ฝ่ายหนึ่งตั้งตนแข็งข้อขึ้นอีก
บางส่วนก็ให้เป็นผู้ใช้แรงงานหรือประกอบอาชีพเกษตรเพื่อส่งส่วยหรือภาษีให้ฝ่ายชนะ
และในที่สุดก็ถูกกลืนกลายเป็นพลเมืองของฝ่ายนั้น
ในคราวที่กรุงเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองประเทศราชของไทยในครั้งนั้น
กองทัพไทยก็กวาดต้อนผู้คนพลเมืองของนครเวียงจันทน์
รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ของพระเจ้าศิริบุญสารมายังกรุงธนบุรี
ประชาชนพลเมืองซึ่งเป็นสามัญชนให้ปักรกรากอยู่ที่เมืองสระบุรี
เฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นที่นำไปถวายแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี ในจำนวนนี้มีเจ้าอนุวงศ์
พระโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุประมาณ 9 ชันษา รวมอยู่ด้วย
ปี พ.ศ.2346 เจ้าอนุวงศ์ ขณะอายุได้ 37 ปี ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในนครเวียงจันทน์
ตรงกับสมัยราชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามตามศิลาจารึกว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ
พระสีหะตะนุ แต่คนทั้งหลายเรียกว่าพระเจ้าอนุ
พระเจ้าอนุเป็นกษัตริย์ผู้สามารถและมีความเข้มแข็งในการสงคราม ทั้งมีความรักชาติและรักอิสระภาพ
จึงพยายามที่จะประกาศอิสระภาพ โดยคิดแยกแผ่นดินอีสานกลับไปเป็นของลาวดังเดิม ในปี พ.ศ.2369
ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์จึงสั่งให้เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพลาวลงไปกวาดต้อนครอบครัวลาวที่กองทัพไทยเคยกวาดต้อนไปไว้ที่เมือง
สระบุรีคืนนครเวียงจันทน์ ส่วนพระองค์ก็ลงไปกวาดต้อนครอบครัวเมืองโคราช ฝ่ายกรุงเทพฯ
เมื่อทราบว่าพระเจ้าอนุแข็งเมืองและยกพลลงมากวาดต้อนครอบครัวลาวคืนนครเวียงจันทน์
จึงส่งกองทัพออกติดตามตีกองทัพพระเจ้าอนุและเจ้าราชวงศ์จนถึงนครเวียงจันทน์
ในที่สุดพระเจ้าอนุก็ถูกกองทัพไทยจับได้และถูกส่งลงไปกรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
และสิ้นพระชนม์อยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2371
พระยานรินทร์ : แม่ทัพเอกของฝ่ายลาว
พระยานรินทร์ อดีตเป็นเจ้าเมืองสี่มุม (อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ในปัจจุบัน)
ในประวัติศาสตร์การรบพุ่งระหว่างไทยกับลาว ในปี พ.ศ.2369 ตามคำให้การของพระยานรินทร์สรุปได้ความว่า
เจ้าอนุวงศ์ได้แต่งตั้งให้พระยานรินทร์เป็นเจ้าเมืองหนองบัวลำภู
และให้ตั้งค่ายทัพที่หนองบัวลำภูเพื่อต่อสู้กับกองทัพกรุงเทพฯ ด้วยไม้จริงยาว 30 เส้น กว้าง 16 เส้น
ให้ท่านพร้อมปลัดหนองบัวลำภูคนเก่า อ้ายวรจักรบ้านบัว อ้ายมหาองค์บ้านเทวี อ้ายอุปราชบ้านภูเวียง
อ้ายวรวงศ์บ้านมะโดด อ้ายตะนามบ้านลำภู คุมไพร่ครัว 1,800 คน ปืนคาบศิลา 300 กระบอก อยู่รักษาค่าย
จัดครัวเมืองโคราชที่ไว้ใจได้ 30 ครัว ชายหญิงประมาณ 70 คน พร้อมกับครัวของท่านอีก 1,000 คน เศษ
และนอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ยังจัดกำลังคนและปืนคาบศิลาจากเมืองชลบท และเมืองขอนแก่น
จำนวนหนึ่งมาช่วยรักษาค่ายและตามรายทางอีกมาก
ในการรบครั้งนั้นฝ่ายเวียงจันทน์ได้รับความพ่ายแพ้แก่กองทัพกรุงเทพฯ ในที่สุด
ในนิราศทัพเวียงจันทน์ของหม่อมเจ้าทับในกรมหลวงเสนีย์บริรักษ์
แต่งเมื่อกองทัพหลวงของไทยซึ่งมีกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ 3 เป็นจอมทัพยกไปตีเวียงจันทน์
ได้กล่าวถึงภูเวียง ดังนี้

“ ทัพเดียวโดดเด่นไปกลางชัฎ
ละเลาะลัดลับที่ใบไม้หนา
ดาดาษกลาดกลางอรัญญา
พวกโยธาโห่ร้องอยู่ก้องไพร
ก็ลุล่วงภูเวียงวงสิงขร
พี่อาวรณ์พิศวงให้หลงใหล
ดูละหานธารถ้ำอันอำไพ
ที่วงในบ้านเคียงอยู่เรียงราย
มีทางเดินแห่งเดียวที่ผาขาด
ดุจเข่าคันธมาศอันเฉิดฉาย
ข้างรอบนอกพื้นผาศิลาทราย
เป็นที่หมายของอนุสำนักพล
ตั้งพลับพลาไว้ที่หน้าเนินสิงขร
พำนักนอนเมื่อดำเนินออกเดินหน
แล้วพานางนวลอนงค์ลงสรงชล
เก็บอุบลบุษบาในวารี
แล้วเล่นไล่โคถึกมฤคมาศ
เที่ยวประพาสนกไม้ในไพรศรี
สำรวญใจไพร่พลมนตรี
แล้วจรลีแรมรอนเที่ยวนอนไพร
พอทัพถึงสิงขรเป็นที่ชัน
ก็ตั้งมั่นมุ่งหาที่อาศัย
โปรดให้กองพระเสนานั้นคลาไคล
ขยับไปตั้งรับอยู่ลำพอง”

ในประวัติศาสตร์การรบพุ่งในครั้งนั้น มีการกล่าวถึงพระยานรินทร์ว่า
เป็นผู้มีฝีมือในการรบ จิตใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ต่อสู้จนไพร่พลแตกหนีหมด
เหลือแต่ตัวกับหลานชายและพลทหารอีก 6 คน จึงถูกจับได้ ฝ่ายไทยเห็นความเป็นยอดนักรบจึงเสนอขอชุบเลี้ยง
จะให้ตำแหน่งเป็นแม่ทัพตามเดิม แต่พระยานรินทร์ขอตายอย่าสมเกียรติแม่ทัพ
คือให้เอาช้างแทงเสียโดยไม่สะทกสะท้าน และได้มีการจัดการศพเหมือนเชลยทั่วไป
ภายหลังจึงได้สร้างศาลเจ้าให้เป็นที่สิงสถิตเป็นเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป ณ บริเวณปากช่องภูเวียง
เมื่อปี พ.ศ.2506 สมัยนายศิริ ปรัชญา นายอำเภอภูเวียง
ในขณะนั้น คนทั่วไปเรียกว่า “ศาลเจ้าจอม” คือเป็นศาลเจ้าของจอมคนจริงๆ
ศาลนี้ประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ไกลให้ความเคารพว่าทรงความศักดิ์สิทธิ์มาก
ต่อมาศาลเจ้าจอมปากช่องภูเวียงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่โดยการสนับสนุนของพลเอก ดร. จารุภัทร เรืองสุวรรณ
กรรมการเลือกตั้ง ได้ย้ายศาลขึ้นไปอยู่สูงขึ้นไปอีกและศาลใหม่มีความสง่างามสมเกียรติ
ได้ทำพิธีสมโภชในบุญเดือนหกเปิดฟ้าเมืองภูเวียง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2548
ในนิราศทัพเวียงจันทน์ ของหม่อมเจ้าทับในกรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ฯ
ได้กล่าวถึงพระยานรินทร์ ดังนี้

“ แต่ตัวนายโยธาพระยานรินทร์
ครั้นไพร่พลไปสิ้นก็ขัดขวาง
ขึ้นขี่ขับนางม้าเป็นท่าทาง
ออกวิ่งวางจะขึ้นบนคีรี
กองพระยากลาโหมเข้าโจมจับ
พวกกองทัพติดพันไม่ทันหนี
ก็ตกม้าลงไปขัดปฐพี
พวกโยธีกลุ้มกลัดเข้ามัดมา
ถึงถวายบังคมบรมบาท
จอมณรงค์ทรงประภาษที่ปรึกษา
ให้ซักถามตามยุบลแต่ต้นมา
ได้กิจจาแจ้งจริงทุกสิ่งอัน”

ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ได้บันทึกเรื่องราวการสู้รบของพระยานรินทร์ไว้ว่า
“ ครั้น ณ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ทัพหลวงก็ยกจากเมืองนครราชสีมาขึ้นไปตั้งอยู่น้ำเซิน
ทัพหน้าเข้าตีค่ายหนองบัวลำภู แต่ ณ วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ
พระยานรินทร์แม่ทัพลาวได้สู้รบทัพไทยเป็นสามารถ ทัพไทยตีค่ายหนองบัวลำภูแตก แต่ ณ วันศุกร์ เดือน 6
ขึ้น 9 ค่ำ ( ตรงกับวันที่ 4 พฦษภาคม 2369) จับได้พระยานรินทร์ส่งตัวมาทัพหลวง
รับสั่งให้ถามพระยานรินทร์ว่า จะเลี้ยงจะอยู่หรือไม่อยู่ พระยานรินทร์ไม่สวามิภักดิ์
ก็โปรดให้เอาช้างแทงเสีย”
----------------------------------------------------
อ้างถึง
วรพงศ์ อินทพรหม : รวบรวมและเรียบเรียง
16 กันยายน 2548
เอกสารที่ใช้ค้นคว้ารวบรวม
1. หนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ “ประวัติศาสตร์ลาว” มหาสิลา วีระวงส์ ผู้เรียบเรียง
สมหมาย เปรมจิตต์ ผู้แปล ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 : กรกฎาคม 2540
2. หนังสือภูเวียง : อุทยานประวัติศาสตร์ สุพร สิริพัฒน์ ผู้รวบรวม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 :พฤศจิกายน 2528

https://www.phuwiang.khonkaen.police.go.th/Joujom.html









เรื่อง : ประวัติความเป็นมาของพุทธอุทยานวัดถ้ำผาเกิ้ง

สถานที่ตั้ง

พุทธอุทยานวัดถ้ำผาเกิ้ง อยู่ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ตั้งอยู่ ณ อุทยานแห่งชาติภูเวียง บ้านโคกหนองขาม ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

ได้รับการแต่งตั้งเป็น "พุทธอุทยานวัดถ้ำผาเกิ้ง" เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 พื้นที่ตั้งวัดโดยประมาณ 700 ไร่ เป็นสถานเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง อาทิ มีถ้ำเล็กถ้ำน้อย หน้าผาสูงชัน และหุบเหว ในการเจริญภาวนาของผู้ปฏิบัติธรรม
ปัจจุบันมีพระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร เป็นเจ้าอาวาส

ความเป็นมา

พุทธอุทยานวัดถ้ำผาเกิ้ง จัดได้ว่าเป็นศาสนาสถานเก่าแก่มีอายุร่วม 200 ปี เนื่องจากยังปรากฏร่องรอยโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ
พระพุทธรูปแกะสลักจากวัตถุต่างๆอยู่จำนวนมาก เช่น แกะจากเขาสัตว์ แกะจากไม้ แกะจากหิน อายุโดยประมาณราว 200 ปี โดยสร้างเก็บไว้อยู่ในผาหินเกิ้งของบริเวณวัดในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับประวัติของการสร้างเมืองเวียงเก่า ซึ่งปรากฏหลักฐานจารึกทางประวัติศาสตร์ว่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 เคยเป็นที่ตั้งเมืองเก่าแก่ชื่อ “เมืองภูเวียง” ถือว่าเป็นหัวเมืองเอกฝ่ายตะวันตกขอนแก่นในขณะนั้น โดยเริ่มแรกมีประชาชนราว 10 ครอบครัวจากบ้านข่าเชียงพิณ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ) อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณด่านช้างชุม(บ้านเมืองเก่าในปัจจุบัน) เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ต่อมามีราษฎรจากเมืองยโสธร นครจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทร์ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะนั้นขึ้นการปกครองกับประเทศลาว ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชของไทย

ต่อมามีผู้ก่อการกบฏเกิดขึ้นที่เวียงจันทร์และได้หลบหนีมาที่เมืองดอนมดแดง(อุบลราชธานี) เจ้าเมืองเวียงจันทร์ยกทัพมาปราบและประหารชีวิตเสียที่เมืองดอนมดแดง พระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าเจ้านครเวียงจันทร์หมิ่นพระบรม เดชานุภาพและรุกล้ำดินแดนไทยจึงทรงพิโรธสั่งให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปปราบเจ้านครเวียงจันทร์ ยึดนครเวียงจันทร์และหลวงพระบางได้ เจ้าเมืองภูเวียงยอมอ่อนน้อมต่อพระยาจักรีจึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองภูเวียงดังเดิม แต่ให้ขึ้นกับเจ้าเมืองหนองคายซึ่งเป็นเมืองใหญ่

ในระยะแรกเริ่มในศาสนาสถานแห่งนี้ยังไม่มีพระภิกษุมาพักอยู่ประจำ เป็นเพียงแต่มีพระธุดงค์เดินทางผ่านมาปักกลดพัก เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างจากหมู่บ้านพอสมควรซึ่งเหมาะสมแก่การบำเพ็ญภาวนาและการบิณฑบาตอาหารมาขบฉัน กอรปกับชาวบ้านใช้สถานที่แห่งนี้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญ อาทิ สรงน้ำพระพุทธรูปในช่วงวันสงกรานต์ เป็นต้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร ได้เดินทางธุดงค์มาที่ถ้ำผาเกิ้ง และเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญภาวนา จึงได้พำนักอยู่เพื่อจำพรรษา ในช่วงแรกที่ได้มาจำพรรษานั้น ท่านได้พิจารณาเห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในธรรมคำสั่งสอนของพุทธเจ้ามากนัก และไม่เข้าใจว่าบุญเป็นที่พึ่งของใจได้อย่างไร ท่านได้เมตตาเทศนาโปรดญาติโยมอยู่เป็นประจำ เพื่อสร้างนิสัยให้แก่ญาติโยม จนกระทั่งเห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจในธรรมแล้ว ท่านพระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร จึงได้เริ่มเทศนาอบรมเพื่อฝึกให้ชาวบ้านให้มีที่พึ่งของใจ โดยฝึกสอนการปฏิบัติธรรมกรรมฐานให้รู้จักการลด ละ เลิก ในสิ่งที่เป็นอกุศล และยึดมั่นในกุศลจิต

เมื่อท่านพิจารณาเห็นว่าชาวบ้าน ศรัทธาและเข้าใจในเรื่องของบุญและการปฏิบัติธรรมพอสมควรแล้ว จึงได้ออกอุบายพาชาวบ้านริเริ่มทำการก่อสร้างสิ่งที่จำเป็นสำหรับใช้สอยขึ้นภายในวัดถ้ำผาเกิ้ง อาทิ สร้างแท้งค์เก็บน้ำ, กุฏิ, โรงครัว, วิหารเต่า และถาวรวัตถุทั้งหลายที่ก่อสร้างขึ้นภายในสำนักสงฆ์ถ้ำผาเกิ้งนี้ ล้วนแต่ใช้แรงกาย แรงใจจากบรรดาลูกศิษย์ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและต่อพระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร การสร้างสิ่งต่างๆ จึงไม่ได้เสียค่าแรงในการก่อสร้างเลย เป็นศรัทธาจากชาวบ้าน และเหล่าบรรดาลูกศิษย์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุปัจจัยที่มีผู้นำที่ดี เป็นแบบอย่างที่งดงาม ในเรื่องของความเพียร ความอดทน และการให้กำลังใจกันของพระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร ที่มีต่อชาวบ้าน รวมถึงข้อวัตรปฏิบัติอันงดงาม รักษาไว้ซึ่งธรรมวินัยทั้งสิ้น

https://www.facebook.com/pakeong.org/posts/720259951392742:0






ทางจะขึ้นไปวัดถ้ำผาเกิ้งต้องขับรถขึ้นเนินเขาเล็กน้อย






รูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่ด้านหน้าพระมหาวิหารประทานพร

พระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร ท่านเล่าว่า สถานที่แห่งนี้ถือว่าเป็นวังพญานาค จึงต้องสร้างสัญลักษณ์ให้เทวดาเหล่านาค โดยได้ไปเห็นต้นแบบของพญานาคมาจากจังหวัดมุกดาหาร ที่ปั้นไว้ริมแม่น้ำโขง ซึ่งดูคล้ายพญานาคที่มีชีวิตจริงมาก เมื่อสอบถามหาผู้ที่ปั้นพญานาคก็ได้ความว่าผู้ปั้นเสียชีวิตแล้ว แต่ก็ได้รับทราบว่ายังมีน้องชายอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้ปั้นพญานาคร่วมกันยังมีชีวิตอยู่จึงได้ติดตามหาจนพบ แต่เมื่อพบช่างปั้นแล้ว จึงได้ทราบว่ายังจะมาสร้างให้ไม่ได้ จนกว่าจะมีการทำพิธีตรวจสอบว่าสถานที่ซึ่งจะสร้างพญานาครูปแบบนี้นั้น จะต้องเป็นสถานที่เหมาะสม เพราะพญานาครูปแบบนี้ได้ถูกกำหนดว่า

“ในปฐพีนี้ (บนพื้นโลก) จะถูกสร้างได้เพียง ๙ แห่งเท่านั้น”

และเมื่อมาทำพิธีตรวจสอบดูแล้วพบว่าวัดถ้ำผาเกิ้งเป็นสถานที่ซึ่งถูกกำหนดไว้เป็นแห่งลำดับที่ ๓ ในทั้งหมด ๙ แห่ง ซึ่งถูกจัดให้เป็น “ธาตุดิน” ของจำนวนที่จะสร้างพญานาคทั้งหมด

หลังจากนั้นไม่นานได้มีราชองครักษ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ คือ พันตำรวจเอก สมเดช ตั้งจิตรนุสรณ์ (รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง) ได้เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร และต่อมาไม่นาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ประทานลูกแก้วผ่านราชองครักษ์ มายังวัดถ้ำผาเกิ้ง เพื่อนำมาใส่เป็นแก้วตาของพญานาคที่ได้สร้างขึ้นในสถานที่แห่งนี้

พระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร เคยเล่าว่า

“สถานที่ ที่พวกเรากำลังสร้างพระพุทธรูปใหญ่นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ตอนเรามาอยู่ใหม่ๆ เราเคยได้ยินเสียงพญานาคร้องขึ้นสามครั้ง เสียงร้องนั้นดังสะเทือนจนแผ่นหินที่นั่งกันอยู่สะเทือนเลื่อนลั่น อันนี้ไม่ได้ยินแต่เรา โยมที่มาบำเพ็ญที่วัดเค้าก็ได้ยินเหมือนกัน พากันแตกตื่นกัน เราก็เลยคิดในใจว่า ต่อไปสถานที่แห่งนี้คงจะต้องเจริญรุ่งเรืองในทางพุทธศาสนาอย่างแน่นอนทีเดียว” ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้พระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร ได้สร้างรูปปั้นพญานาคไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ด้วย

นับถึงบัดนี้รวมเป็นระยะเวลา ๕ ปี ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างมหาวิหารและพระพุทธรูปใหญ่แห่งนี้ โดยได้ใช้ปัจจัยในการก่อสร้างไปมากกว่า ๘๐ ล้านบาท ซึ่งได้รับศรัทธาจากญาติโยมทั้งแรงกายและปัจจัยต่างๆ ทั้งทางใกล้และทางไกลจากทุกสารทิศทั่วประเทศ ซึ่งการสร้างถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาครั้งนี้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้แล้ว


https://www.facebook.com/pakeong.org/posts/723949561023781





สิ่งที่โดดเด่น คือพญานาคที่สร้างเอาไว้ด้านหน้าองค์พระสัมฤทธิ์พร เป็นพญานาคคล้ายมังกรขนาดใหญ่มาก 3 ตน



















บันไดทางขึ้นพระพุทธสัมฤทธิ์พร












พระพุทธรูปองค์ใหญ่มากพระนามว่า พระพุทธสัมฤทธิ์พร


















วัดที่มีศาลาไม้หลังใหญ่และมีพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้องค์ใหญ่และงดงามประดิษฐานอยู่
มีหินเกิ้งอยู่ในศาลาเต่า มีพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้องค์ใหญ่ อยู่ในศาลาไม้หลังใหญ่


















ทิวทัศน์ป่าเขาเบื้องหน้าสวยมากกกก







ภายในฐานพระพุทธสัมฤทธิ์พร เดินเข้าไปด้านในได้







เดินขึ้นชั้นบนได้อีกมี 3 ชั้น
ชั้นที่ 1 ประดิษฐานพระมหาเศรษฐีนวโกศ พระพุทธรูปหินหยกเขียวองค์ใหญ่
ชั้น 2 ประดิษฐานพระพุทธสัมฤทธิ์พรหล่อจากทองคำ และทองสัมฤทธิ์ มีรูปหล่อทองสัมฤทธิ์สายพระกรรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานอยู่ด้วย
ชั้นที่ 3 ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระแก้วมรกตแกะสลักจากหยกเขียวจากประเทศอินเดีย







พระพุทธรูปหินหยกเขียวองค์ใหญ่













พระมหาเศรษฐีนวโกศ












มีป้าพูดไพเราะท่าทางใจดี ใจเย็น น่าจะเป็นคนของวัดบริการให้คนเช่าบูชาวัตถุมงคลหลากหลายอย่าง




























ชั้น 2 ประดิษฐานพระพุทธสัมฤทธิ์พรหล่อจากทองคำ และทองสัมฤทธิ์ มีรูปหล่อทองสัมฤทธิ์รูปเหมือนสายพระกรรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานอยู่ด้วย
ชั้นที่ 3 ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระแก้วมรกตแกะสลักจากหยกเขียวจากประเทศอินเดีย


รูปหล่อทองสัมฤทธิ์รูปเหมือนสายพระกรรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต






พระพุทธสัมฤทธิ์พรหล่อจากทองคำ และทองสัมฤทธิ์







ทิวทัศน์มองจากชั้นสอง
















ออกจากวัดถ้ำผาเกิ้ง ก็เดินทางไปทำบุญต่อที่วัด "แก้วจักรพรรดิฯ" และไปกินข้าวเที่ยงที่ "ร้าน พรไก่ย่าง"






สรุปการเดินทางเที่ยวทำบุญอ.ภูเวียงและใกล้เคียงภายในวันเดียวเที่ยวได้หลายที่

ร้าน ร่มพุทราไก่ย่าง

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=imaginer&month=12-2017&date=14&group=11&gblog=166


วัดป่ากิตติญานุสรณ์ วัดที่ณเดชมาบวช

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=imaginer&month=12-2017&date=13&group=14&gblog=66

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เจ้าจอมปากช่อง และวัดถ้ำผาเกิ้ง

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=imaginer&month=12-2017&date=15&group=14&gblog=68


วัดแก้วจักรพรรดิฯ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=imaginer&month=07-2017&date=20&group=14&gblog=65


ร้านพรไก่ย่าง

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=imaginer&month=06-2017&date=27&group=11&gblog=156


Create Date : 15 ธันวาคม 2560
Last Update : 15 ธันวาคม 2560 22:42:29 น. 0 comments
Counter : 6034 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณKavanich96, คุณnewyorknurse


ใจรัก Jairuk Channel
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 91 คน [?]








ติดตามดูต่อที่YouTube

ใจรักJairukChannel



ติดตามดูต่อที่Facebook

ใจรักJairukChannel



แนะนำให้ชม

บัวหิมะ
บัวหิมะ
วิธีเลี้ยงบัวหิมะ
เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน
บั้งไฟพญานาคที่ไปดูมา
ติดอันดับTOP Page Views
อาหารและการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยมะเร็งและคนทั่วไป
เที่ยวขอนแก่น
Michael Jackson
คอนเสิร์ตบอย Peacemaker
คลิปเจ้าขุน
การกลับมาของX Japan

ท่องเที่ยว

UFOที่เคยเห็น
บั้งไฟพญานาคที่ไปดูมา
หาดใหญ่และปัตตานี
ไข่มุกอันดามัน
อะ พีพี
เกนติ้ง
กัวลาลัมเปอร์
หาลิงเข้าถ้ำทะเลภูเขาเลยจ้า นอนดูหมอกที่ปราจีนบุรี
เที่ยวปราจีนบุรีต่อ
เลยจะถึงไหมละนี่
พักค้างแรมที่เลย
เลยจนเกือบถึงลาว
ขุดกรุเขื่อนป่าสัก
บึงแก่นนคร ขอนแก่น
พระธาตุขามแก่น
เดินทางไปลพบุรี
กินข้าวอิงภูชัยภูมิ
ลาว เวียงจันทร์
ลาว2
ปิดทริปเที่ยวลาว
ล่องเรือเจ้าพระยา
รถไฟลอยฟ้า ฟ้า ไทย
รถไฟใต้ดินไทย
ทะเลน้ำจืดหาดวังโกขอนแก่น บ้านปราสาทโคราช
วังน้ำเขียวโคราช
ชอปปิ้งหนองคาย
ตัวเมืองขอนแก่น
น้ำผุดทับลาว ชัยภูมิ
สนามหลวง2
ไปดูงานศิลป
สายน้ำกับปลาที่ไปปล่อย
งานExpro
เขื่อนอุบลรัตน์
เที่ยวป่าวัดพรไพรวัลย์
ล่องแพอ่างเก็บน้ำห้วยไร่
ทะเลหมอกภูพานน้อย
วัดเจดีย์ชัยมงคล
ครั้งหนึ่งที่เคยโบกรถ
น้ำหนาว,เพชรบูรณ์
พระพุทธชินราช,พระธาตุลำปางหลวง
น้ำพุร้อน,วัดร่องขุ่น
มหาลัยแม่ฟ้าหลวง,น้ำตกก้างปลา
เวียงแก่น,ภูชี้ฟ้า
ดอยแม่สลอง
อุทยานฯขุนแจ
สวนโลกราชพฤกษ์
วัดเจดีย์7ยอด,วัดเจดีย์หลวง
ดอยสุเทพ,ทุ่งสแลงหลวง
โครงการครูบ้านนอก
วัดหลวงพ่อโตใหญ่ที่สุดในโลก
ที่พักปากช่อง
เลย-ลาว-ท่าลี่
ถึงระยองแล้วจ้า
ทะเลตอนเช้า
งานเที่ยวภาคใต้






Friends' blogs
[Add ใจรัก Jairuk Channel's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.