space
space
space
 
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
26 ตุลาคม 2564
space
space
space

6 อาการรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

6 อาการรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

1) ข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า มีเสียงเวลาเดิน

เกิดจากกระดูกอ่อนข้อเข่า เสื่อมสภาพลง มาเป็นเวลานาน ทำให้น้ำไขข้อ ที่หล่อเลี้ยงภายในเข่าลดน้อยลง จึงเกิดแรงกระแทกของข้อเข่าง่ายมากขึ้น เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกปวดหัวเข่า เจ็บหัวเข่า หัวเข่าลั่นง่าย มีเสียงในเข่า ข้อเข่าติด ฝืด แข็ง หากไม่รีบรักษา อาจทำให้ข้อเข่าผิดรูป เดินไม่ได้ จนถึงขั้นต้องผ่าตัด

2) หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ

3) อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง

สาเหตุของอาการปวด แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะอาการ
- การปวดแบบเฉียบพลัน หรืออาการกล้ามเนื้อยอก เคล็ด อาการที่พบได้บ่อยๆ เช่น นอนตกหมอน ลักษณะของอาการคือกล้ามเนื้อมีการตึง เกร็ง หันคอได้ลำบาก เป็นต้น
- ปวดแบบกึ่งเฉียบพลัน หรือกลุ่มเรื้อรัง เป็นกลุ่มคนไข้ที่มีประวัติของอาการปวดคอ ปวดกล้ามเนื้อมาก่อน ลักษณะของอาการเกิดขึ้นแบบเป็นๆ หายๆ เกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักเป็นเวลานานๆ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ไม่เพียงพอ ทำให้กลับมาเป็นได้อีก พบมากในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ

4) ปวด ตึง ชา จากเส้นประสาทตึงตัว

อาการชาเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อย คือ บริเวณมือและเท้า เช่น มือชา เท้าชา ชาปลายนิ้วมือ โดยลักษณะของอาการชาเหล่านี้ อาจเป็นอาการของโรคหรือเป็นสัญญาณแรกของโรค เช่น อาการชาจากการขาดวิตามิน จากโรคเบาหวาน อาการชาที่เกิดจากบางสาเหตุ หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการเสียหายของเส้นประสาทอย่างถาวร

5) ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็ง หรือยืดค้างในรูปแบบเดิมบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการปวดตามมา

6) บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

การบาดเจ็บจากการออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยทั่วไปมักเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ
การกระแทกอย่างรวดเร็วและรุนแรง (contact and acute injury)
การใช้งานอวัยวะมากเกินหรือซ้ำซาก (overused injury)

https://www.mediscicenter.com/content/7066/6-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94

ฝากติดตามสาระดีๆมากมายที่ 
• Youtube : https://www.youtube.com/c/MedisciCenter
• Instagram : https://www.instagram.com/medisci
• Facebook : https://www.facebook.com/Medisci
• Website : https://www.mediscicenter.com
• Twitter : https://www.twitter.com/Medisci
• Podcast : https://doctoratchima.podbean.com




Create Date : 26 ตุลาคม 2564
Last Update : 26 ตุลาคม 2564 8:33:15 น. 0 comments
Counter : 366 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 4484959
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4484959's blog to your web]
space
space
space
space
space