กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่คุกคามสุขภาพของคนในกรุงเทพฯ มาจากไหน



บทความ โดย ธารา บัวคำศรี

วิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ปกคลุมเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่ต้นปี ทำให้คนสงสัยว่า ฝุ่นพิษ PM2.5 มันมาจากไหนกันและทำไมถึงไม่ยอมหายไปสักที

แหล่งกำเนิด PM2.5 มีทั้งแบบปล่อยโดยตรงกับแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ใดมีแหล่งกำเนิดแบบใดเป็นหลัก(Primary PM2.5 และจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น(Secondary PM2.5) ดังนั้น การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและการผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM2.5 ขั้นทุติยภูมิอีกด้วย

หลายคนมักจะพูดถึงการเผาในที่โล่งว่าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ในช่วงระยะเวลานี้ แต่จากข้อมูลดาวเทียม จุดเกิดความร้อนที่เกิดขึ้นในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาในเขตประเทศไทยมีน้อยมาก ดังนั้น PM2.5 จากการเผาในที่โล่งนั้นจึงไม่ใช่ปัจจัยหลัก เราไม่ควรโยนความผิดให้เกษตรกรที่มักถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุ

แผนที่แสดงจุดความร้อนสะสมย้อนหลัง 24 ชั่วโมง(10-11 กุมภาพันธ์ 2561)
ที่แปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียม(https://fire.gistda.or.th)

ดังนั้น ในช่วงนี้ ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่คุกคามสุขภาพของคนกรุงเทพฯ ก็ต้องมุ่งตรงไปที่แหล่งกำเนิดจากการคมนาคมขนส่ง(ให้นึกภาพถึงรถยนต์ส่วนตัวนับล้านคันบนถนน) และการเคลื่อนตัวของมลพิษจากพื้นที่อื่นๆ เช่น ผลการคำนวณแบบจำลองบรรยากาศ (Atmospheric Modeling) ที่ดำเนินการโดยทีมวิจัย Atmospheric Chemistry Modeling ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าแบบจำลองการเคลื่อนที่ของเคมีในบรรยากาศ (Atmospheric chemistry-transport model- GEOS-Chem) ซึ่งระบุว่า...."โรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีและเก็คโค-วัน ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงอย่างเกาะเสม็ด เกาะแสมสารและพัทยา รวมทั้งกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกันยายน เมื่อลมพัดจากทางทิศใต้มายังทิศตะวันตกเฉียงใต้(ดูภาพแรกแสดงทิศทางของกระแสลม) และในช่วงสภาวะอากาศที่แย่ที่สุด ในแต่ละวันฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองแห่งสามารถแพร่ กระจายเข้าสู่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในสัดส่วนร้อยละ 40 และในเขตกรุงเทพมหานครร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยรายปี"

สนธิ คชวัฒน์ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครช่วงที่ผ่านมามีสภาพอากาศนิ่ง การฟุ้งกระจายในแนวราบไม่ระบาย มีลมสงบความเร็วลมต่ำ และการฟุ้งกระจายในแนวดิ่งมีน้อย หรืออีกนัยหนึ่ง การเกิดมีสภาพอากาศเย็นหรืออุณภูมิต่ำที่พื้นดินรวมทั้งมีละอองน้ำหรือหมอกปกคลุมเหนือพื้นดินจำนวนมาก แต่ที่ระดับความสูงขึ้นไปอากาศกลับมีอุณภูมิสูงขึ้นเนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ จึงทำให้มลพิษที่พื้นดิน เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารเบนซิน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  เป็นต้น ที่ออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ซึ่งมีความร้อนมากกว่าอากาศโดยรอบจะเคลื่อนที่ลอยขึ้น(จากร้อนไปเย็น) ในระดับหนึ่งแล้วลอยต่อไปไม่ได้เนื่องจากไปปะทะละอองน้ำและความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่อุณหภูมิสูงกว่าจึงตกลงมาปกคลุมพื้นที่ใกล้เคียงทำให้มีค่ามลพิษเกินมาตรฐานบริเวณริมถนนซึ่งเปรียบเสมือนเอาฝาชีทึบครอบอาหารร้อนๆไว้ ความร้อนก็จะกระจายอยู่ในฝาชีนั่นเอง”

กรุงเทพเป็นพื้นที่ราบ อิทธิพลของลมมรสุมช่วยกระจายให้ฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ เคลื่อนตัวออกไปได้ง่าย แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณลักษณะที่สำคัญของมลพิษทางอากาศ PM2.5 ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายจากแหล่งกำเนิดไปในระยะไกลนับร้อยนับพันกิโลเมตรได้ แหล่งกำเนิด PM2.5 ขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน การผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น จึงมีส่วนสำคัญและส่งผลต่อคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครภายใต้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยา(ลม อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น) และช่วงเวลาที่เหมาะสม

บทความโดย ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/pm25/blog/61132


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2561 15:12:39 น. 0 comments
Counter : 657 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com