กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
จากถ่านหินสกปรก สู่การเมืองสกปรก



บทความ โดย David Ritter

ทุกสิ่งล้วนโยงกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์การเมืองที่บิดเบี้ยว ไม่ใช่ถ่านหิน แต่คือชีวิตของแนวปะการังของเราเชื่อมโยงกับการเมืองที่ดีและอนาคตของชุมชนของเราอย่างแท้จริง

สมาชิกชุมชนในเมืองนิวคาสเซิล รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ต่างนำเสื้อผ้าที่เปื้อนด้วยฝุ่นจากถ่านหินมาแขวนไว้ และแสดงป้ายที่มีข้อความว่า “หยุดเหมืองถ่านหินใหม่” และ “หยุดถ่านหิน” เพื่อเน้นย้ำปัญหาสุขภาพที่รุนแรงและผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจากนโยบายให้กู้ยืมเงินของธนาคาร Commonwealth Bank ในขณะเดียวกันที่ท่าเรือถ่านหินนิวคาสเทิล นักกิจกรรมกรีนพีซได้เข้ายึดท่าเรือถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลกพร้อมแสดงข้อความ “ถ่านหินของ CommBank ทำลายพวกเรา”

เมื่อสิบปีก่อน “เดอะ ไวร์” (The Wire) ละครโทรทัศน์ยอดฮิตของเดวิด ไซม่อน ได้แสดงภาพเมืองบาลติมอร์ในยุคร่วมสมัยที่พังพินาศเพราะปัญหายาเสพติด การก่ออาชญากรรมอย่างป่าเถื่อน และการศึกษาที่ล้มเหลว ทว่าสิ่งที่แฝงอยู่ภายใต้ปัญหาต่างๆกลับเป็นโครงสร้างทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ดังคำโปรยของละครเรื่องดังกล่าวที่ว่า “ทุกสิ่งล้วนเกี่ยวข้องกัน” ไซม่อนได้อธิบายว่าละครเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึง “โลกที่ทุนนิยมครอบงำทุกอย่างไว้จนหมดสิ้น ชนชั้นแรงงานถูกผลักให้เป็นกลุ่มคนชายขอบ และโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองก็ถูกเงินซื้อไปมากพอที่จะขัดขวางมิให้เกิดการปฏิรูปขึ้น”

แม้ระยะทางจะห่างกันค่อนโลก แต่แนวคิดดังกล่าวที่ว่าทุกสิ่งล้วนเกี่ยวข้องกันกับเศรษฐศาสตร์การเมืองที่ทุจริตก็ได้กลายมาเป็นหัวใจของงานเขียนประจำไตรมาสล่าสุดของแอนนา ครีน ที่มีชื่อว่า “The Long Goodbye: Coal, Coral and Australia’s Climate Deadlock” โดยบริบทออสเตรเลียในงานเขียนของครีน สิ่งที่เป็นแกนหลักของปัญหาคืออำนาจของอุตสาหกรรมถ่านหิน

จากการเดินทางไปที่ออสเตรเลีย ครีนได้ไปชมพื้นที่ที่มีแผนจะขุดเหมืองถ่านหินหลายแห่ง ทั้งบริเวณทะเล พื้นที่ชายฝั่ง และพื้นที่ดอนในเมือง อีกทั้งเธอยังได้ไปดำน้ำชมแนวปะการังเกรท แบริเออร์ รีฟ และในทุกที่ที่เธอไป เธอก็ได้พบเห็นร่องรอยอิทธิพลอันชั่วร้ายของอุตสาหกรรมถ่านหินซึ่งบิดเบือนคำโต้แย้งที่เป็นธรรมของอีกฝั่งด้วยการอ้างถึงลักษณะงานอย่างไม่บริสุทธิ์ใจ การเพิกเฉยความคิดเห็นผู้ที่ไม่เห็นด้วย การทุจริตการเมือง ด้วยการไม่ยอมให้มีการปฏิรูปเร่งด่วนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม และการสร้างมลพิษคาร์บอนที่ทำลายล้างแนวปะการังของพวกเรา

ครีนแสดงให้เห็นผ่านสายตาที่เฉียบแหลมเหนือมนุษย์ของเธอว่า นอกจากอุตสาหกรรมถ่านหินจะไม่ยั่งยืนในทางสิ่งแวดล้อมแล้ว มันยังเป็นโรคร้ายที่คอยกัดกินระบอบประชาธิปไตย โดยวงจรความผิดพลาดเดิมๆของเหล่าชนชั้นนำของประเทศก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “การเข้าถึงกันและกันอย่างสันติสุขของกลุ่มการเมือง กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล บริษัทพลังงานและเหมืองต่างๆ” ซึ่งนับเป็นการเข้าถึงที่ได้รับการหนุนหลังจากพวกนักล็อบบี้ยิสต์ที่สนับสนุนการทำเหมืองถ่านหิน (“ยินดีที่ได้พบคุณเสมอ”) ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงเกียรติกลับไม่ได้เข้าพบรัฐมนตรี

กฏหมายถูกร่างขึ้นมาเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับอุตสาหกรรมถ่านหินขนาดใหญ่ ไม่ใช่เพื่อน้ำสะอาด เพื่อที่ดินเพาะปลูก เพื่อสัตว์ป่า หรือแม้แต่เพื่อผู้คนที่ควรจะได้รับความคุ้มครองโดยกฏหมายแต่อย่างใด และเมื่อมีใครก็ตามกล้าพอที่จะต่อกรกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นชาวนา กลุ่มชนพื้นเมือง หรือนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริษัทเหมืองถ่านหินก็จะยกกฏหมายขึ้นมาอ้างอย่างเกรี้ยวกราด และเหล่านักการเมืองก็มักจะตอบแทนความเกรี้ยวกราดเหล่านั้นด้วยการเปิดช่องให้บริษัทเหล่านั้นทำอะไรได้ง่ายขึ้น

อาจฟังดูเป็นไปได้ยากสำหรับเศรษฐกิจของธุรกิจถ่านหิน แต่อย่างไรก็ดี ครีนกล่าวว่า “ทุกอย่างสนับสนุนกันหมด” เพราะว่า “มีการกำหนดเวลาจ่ายเงินไว้อย่างแน่ชัดแล้ว มีการให้คำมั่นสัญญา การแบ่งพรรคแบ่งพวก และการให้เงินบริจาคสนับสนุน” เธอสรุปว่าระบบการเมืองของออสเตรเลียนั้นเปรียบเสมือนคุกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เกิด “โรคสต็อกโฮล์มซินโดรมที่เกิดจากการบริจาค เงินหลวง ภาษี และการข่มขู่”

สำหรับครีนแล้ว อาการจากโรคร้ายที่มากับอำนาจมืดของอุตสาหกรรมถ่านหินต่อการเมืองในออสเตรเลียดูเหมือนว่าจะแพร่กระจายไปทั่วทุกสารทิศ ตั้งแต่ด้านการตอบโต้ทางการเมืองไปจนถึงการดิ้นรนอย่างสุดกำลังของเจ้าของถิ่นเดิมอย่างกลุ่มชนเผ่า Wangan และ Jagalingou เพื่อต่อต้านการทำเหมืองถ่านหินของบริษัทอดานิ (Adani) ถึงความกระหายสงครามพลังงานหมุนเวียนของโทนี่ แอบบ็อตต์ (Tony Abbott) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และไปจนถึงความผิดเพี้ยนของแผนการทางการทูตนานาชาติของออสเตรเลีย

นักกิจกรรมกรีนพีซพร้อมกองถ่านหินหน้าธนาคาร CommBank สำนักงานใหญ่ในกรุงซิดนีย์ 

ส่วนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนซึ่งมีแนวคิดที่กว้างไกลกว่าได้ชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจที่ว่า การทำธุรกิจในระบอบประชาธิปไตยและสังคมอย่างเหมาะสมนั้นควรจะมีข้อจำกัด หากกลุ่มเครือข่ายต่างๆที่ครีนกล่าวมาสามารถคลายหรือแยกออกจากกันได้ คงจะเป็นผลดีแก่ออสเตรเลีย ครีนกล่าวว่า “เราควรล้มเลิกการให้เงินสนับสนุนทางการเมืองซะ” อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายสิ่งนอกเหนือจากนั้นที่เราสามารถทำได้ ทั้งการส่งเสริมเสรีภาพของกฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) การหันหลังให้กับวงจรความผิดพลาดเดิมๆ การชี้ให้ผู้คนได้เห็นถึงวิกฤตของความหลากหลายทางสื่อกระแสหลัก การแนะนำคนรุ่นหลังถึงกฏหมายว่าด้วยการดูแลมลพิษ การสร้างความมั่นใจว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าถึงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างทั่วถึง การดูแลค่าใช้จ่ายอย่างเต็มที่ในการหยุดกลุ่มผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการทำเหมืองทำลายสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการยกเลิกการละเว้นภาษีของบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและกลุ่มตัวแทน และเรายังต้องการคณะกรรมาธิการดูแลความสุจริตแห่งชาติอย่างสหพันธ์ ICAC อีกด้วย

อาจเป็นได้ว่าการห้ามมิให้ดำเนินการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะสามารถเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายด้านการดูแลสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกยอมรับได้สำเร็จ และนอกจากการหยุดขยายกิจการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะช่วยแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนได้แล้ว ยังอาจช่วยพัฒนาและสร้างระบอบประชาธิปไตยอันใสสะอาดได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การจัดการปัญหาอิทธิพลมืดทางการเมืองในอุตสาหกรรมถ่านหินยังอาจช่วยให้กลุ่มธุรกิจในวงกว้างได้รับผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะเวลา เงิน และการใช้กลยุทธ์ที่สูญเสียไปในการล็อบบี้จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆและการเปลี่ยนผ่านอันเป็นสิ่งที่จำเป็น

แต่ในตอนนี้ การที่อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมีผลประโยชน์โดยชอบธรรมได้เข้ามาทำให้กลไกการแข่งขันในตลาดแปรปรวน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติยังคงได้รับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างน่ารังเกียจ โดยในขณะเดียวกัน ผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฏหมายของภาคส่วนอื่นๆกลับถูกเพิกเฉย ดังเช่นปริศนาที่ว่า ทำไมนักการเมืองถึงได้ให้ค่ากับผู้คนกว่าแสนในสายอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวซึ่งต้องอาศัยแนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟน้อยกว่าผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับถ่านหินมากนัก

บทความของครีนแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ปะการังเกรทแบริเออร์รีฟนั้นเกี่ยวพันกับเสถียรภาพการเมืองและอนาคตที่เจริญรุ่งเรืองของชุมชนของเราอย่างใกล้ชิด ส่วนอุตสาหกรรมถ่านหินนั้นเป็นศัตรูกับทุกสิ่งที่กล่าวมา

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกบน The Guardian วันที่ 21 กรกฎาคม 2560

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านบทความต้นฉบับได้

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/60198


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 15 กันยายน 2560
Last Update : 18 ตุลาคม 2560 12:13:18 น. 0 comments
Counter : 6401 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com