16.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร

ความคิดเห็นที่ 9-52
GravityOfLove, 30 เมษายน เวลา 02:08 น.

เคยอ่านแล้วตอนที่อ่านนานาปัญหาค่ะ คราวนี้ก็เลยดูผ่านๆ
เห็นว่าอธิบายเหมือนๆ ในอรรถกถา

ความคิดเห็นที่ 9-53
ฐานาฐานะ, 30 เมษายน เวลา 02:32 น.

GravityOfLove, 23 นาทีที่แล้ว
เคยอ่านแล้วตอนที่อ่านนานาปัญหาค่ะ คราวนี้ก็เลยดูผ่านๆ
เห็นว่าอธิบายเหมือนๆ ในอรรถกถา
2:07 AM 4/30/2013
       รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 9-54
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 03:20 น.  

GravityOfLove, 30 เมษายน เวลา 01:33 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๓. มหาโคปาลสูตร ว่าด้วยองค์แห่งนายโคบาลกับของภิกษุ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7106&Z=7246&bgc=seashell&pagebreak=0
1:32 AM 4/30/2013

             ย่อความจัดบรรทัดได้ดี แต่เนื้อความย่อเกินไป
จนทำให้อรรถของพระสูตรของย่อความ ขาดให้ไป เช่น

             องค์ ๑๑ ประการคือ
             ๑. ไม่รู้จักรูป คือ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
             รูปอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรูปทั้งปวง เป็นมหาภูตรูป ๔ (รูปใหญ่)
และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ (รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔)

             [อรรถกถา] ไม่รู้จักรูปโดยอาการ ๒ คือ
             - ไม่รู้จักนับ คือ ไม่รู้มหาภูตรูป อุปาทายรูป
             (เช่น ไม่รู้ความเบา ความอ่อนแห่งรูป ความก่อขึ้น ความสืบต่อ ความแก่
ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยง)
             - ไม่รู้สมุฏฐาน คือ ไม่รู้ว่ารูปนี้ประกอบด้วยสมุฏฐานอะไรบ้าง
หรือไม่มีสมุฏฐานเลย (รูปมี ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม ฤดู จิต อาหาร)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รูป_2

             ควรเพิ่มเติมว่า
             เมื่อไม่รู้จักรูปมีมหาภูตรูป 4 เป็นต้น ย่อมไม่สามารถจะยกลักษณะของรูป
ขึ้นสู่พระกรรมฐานได้ ... ย่อมไม่ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้.

             ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ คือ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
             คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมาย
             (คนพาลและบัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันที่
คนพาลมีอกุศลกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกุศลกรรมเป็นเครื่องหมาย)
             ควรเพิ่มเติมว่า
             เมื่อไม่รู้ ไม่ฉลาดในลักษณะของคนพาลและบัณฑิต ย่อมไม่สามารถ
แยกแยะได้ว่า นี้เป็นคนพาล นี้เป็นบัณฑิต ย่อมทำให้ไม่สามารถเลี่ยงเว้นคนพาล
และไม่สามารถเลือกคบค้าสมาคมกับบัณฑิตได้ ดังนี้แล้วย่อมถึงความเสื่อมได้.

             ข้ออื่นๆ ขอให้ดูแนวข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้วเพิ่มเติมให้ได้อรรถอีกครั้ง.

             ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก ก็เกิดอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา)
             ถ้าเห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ก็เกิดอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา))
ควรแก้ไขเป็นว่า
             ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก ก็เกิดอภิชฌา
             ถ้าเห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ก็เกิดโทมนัส
             อธิบายว่า อารมณ์อันน่าปรารถนา ถึงจะปรากฎแก่ผู้สิ้นอาสวะแล้ว
แต่จะไม่เกิดอภิชฌา และอารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ถึงจะปรากฎแก่ผู้สิ้นอาสวะ
แล้ว ก็จะไม่เกิดโทมนัส.

             คำว่า อิฏฐารมณ์, อนิฏฐารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อิฏฐารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนิฏฐารมณ์
             คำว่า อภิชฌา, โทมนัส
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิชฌา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โทมนัส

ความคิดเห็นที่ 9-55
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 12:09 น.

ขอบพระคุณค่ะ
--------------------
แก้ไขย่อความ

องค์ไม่เป็นเหตุให้เจริญของนายโคปาล คือ
             นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ ไม่ควรจะครอบครองฝูงโค ไม่ควรทำฝูงโคให้เจริญได้
             องค์ ๑๑ ประการนี้ คือ
             ๑. ไม่รู้จักรูปโค คือ ไม่รู้จักนับโคหรือสีของโค
             จึงไม่รู้ว่า โคของตนมีมากน้อยเท่าไร เมื่อฝูงโคหายไปจึงไม่ติดตามหา
เมื่อฝูงโคของผู้อื่นพลัดเข้ามาในฝูงของตนก็ไม่ทราบจึงไม่ไล่ออกไป
             ครั้นเจ้าของเขาตามมาพบเข้า เขาก็หาว่าขโมยโคของเขาไป
เป็นอันว่าโคของเขาก็หายไป ทั้งยังถูกกว่าหาว่าเป็นขโมยด้วย
             ไม่รู้สีของโค คือไม่รู้ว่าโคของตนมีสีขาวเท่าไร สีแดงเท่าไร สีน้ำตาลเท่าไร
โคด่างเท่าไร เป็นต้น เมื่อไม่รู้ โคของตนหายไปก็ไม่ทราบ
             นายโคบาลที่ไม่รู้จักรูปโคโดยการนับและโดยสี อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฉลาด
ไม่อาจรักษาฝูงโคไว้ได้

             ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะโค คือไม่รู้เครื่องหมายที่ตนทำไว้ที่โค

             ๓. ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง คือ ไม่คอยเขี่ยไข่ของแมลงวันหัวเขียวที่มาไข่ใส่แผลโค
             ถ้านายโคบาลไม่เขี่ยไข่ขังนั้นออก ไข่นั้นก็จะกลายเป็นหนอนชอนไชเข้าไปใน
ร่างกายของโค ทำให้โคถึงแก่ความตายได้

             ๔. ไม่ปิดบังแผล คือ เมื่อโคเกิดเป็นแผลขึ้นก็ไม่รู้จักทำยาปิดแผลโค
โคย่อมไม่เป็นสุข เพราะถูกแมลงวันตอมบ้าง ไข่ไว้บ้าง ในที่สุดก็ถึงแก่ความตาย

             ๕. ไม่สุมควันให้ คือ ไม่สุมควันเพื่อไล่เหลือบและยุงให้
เหลือบและยุงก็จะกัดกินเลือดโคตามสบาย
             เมื่อโคนอนไม่สบายเพราะถูกแมลงรบกวน ก็หลบจากที่ไปนอนในป่าหรือ
ตามโคนต้นไม้ รุ่งเช้าก็เที่ยวไปหาน้ำและหญ้ากินเองตามความต้องการ
แล้วอาจจะหลงฝูงหายไป
             นายโคบาลที่ไม่ฉลาดไม่รู้จักสุมไฟให้โค ก็ย่อมได้รับความเดือดร้อน
เพราะการหายไปของโคของตน

             ๖. ไม่รู้จักท่า คือ ไม่รู้จักท่าน้ำที่โคควรจะลงไปกินน้ำ ต้อนโคไปยังท่าที่ไม่ควร
เช่น เรียบหรือไม่เรียบ มีสัตว์ร้ายหรือไม่มี

             ๗. ไม่รู้จักให้โคดื่ม คือ เมื่อต้อนฝูงโคลงไปกินน้ำที่แม่น้ำแล้ว ฝูงโคก็ชิงกันลงไป
ตัวไหนที่เก่งกล้าก็ลงไปกินน้ำใสในที่ลึกได้ ตัวที่ไม่เก่งก็กินน้ำขุ่นที่อยู่ริมฝั่ง บางตัวก็ไม่ได้กินน้ำ
             ครั้นแล้วนายโคบาลก็ต้อนฝูงโคกลับเข้าป่าอีก โดยที่ไม่ได้พิจารณาว่า
โคตัวใดยังไม่ได้กินน้ำบ้าง
             โคตัวที่ไม่ได้กินน้ำก็หิวกระหายไม่อาจหาหญ้ากินได้ ฝูงโคก็ย่อยยับไป

             ๘. ไม่รู้จักทาง คือ ไม่รู้ว่าทางไหนเรียบหรือไม่เรียบ มีอันตรายหรือไม่มี
ได้ต้อนฝูงโคไปในที่มีภัยจึงถูกเสือกัดบ้าง โจรลักพาไปบ้าง
             นายโคบาลที่ไม่รู้จักทางย่อมทำความพินาศให้แก่ฝูงโค

             ๙. ไม่ฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน คือ ไม่รู้จักเว้นระยะให้หญ้าขึ้นก่อนพาโค
ไปกินซ้ำที่เดิม หญ้าก็หมดน้ำก็ขุ่น ฝูงโคย่อมถึงความพินาศ
             ควรต้อนไปยังที่อุดมสมบูรณ์แห่งใหม่ ถ้าจะกลับมาที่เก่า
ก็ควรรอเวลาให้หญ้าขึ้นเขียว น้ำใสหายขุ่นเสียก่อน

             ๑๐. รีดน้ำนมไม่ได้เหลือไว้ คือ นายโคบาลรีดนมโคเสียหมด มิได้เหลือไว้
ให้ลูกโคได้กินบ้าง เมื่อลูกโคไม่ได้กินนมก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ ถึงความตายในที่สุด
             เมื่อลูกโคตาย แม่โคก็เศร้าโศก ไม่กินหญ้ากินน้ำ ถึงแก่ความตายในที่สุด
             ฝูงโคก็ร่อยหรอน้อยลง นายโคบาลนั้นก็สูญเสียโคไปเพราะความไม่ฉลาดของตน

             ๑๑. ไม่บูชาโคที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก คือ ไม่ดูแลเป็นพิเศษ
เช่น ไม่ได้ให้อาหารที่ประณีต โคผู้นำฝูงจึงไม่ดูแลป้องกันอันตรายแก่ฝูงโค
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อดิเรก

             ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

             เมื่อประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ ก็ไม่ควรเพื่อจะถึงความเจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้
             (นายโคบาลนั้นย่อมห่างไกลจากปัญจโครสฉันใด ภิกษุนั้นก็ห่างไกลจากธรรมขันธ์ ๕ คือ
ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะฉันนั้น)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เบญจโครส

             องค์ไม่เป็นเหตุให้เจริญในธรรมวินัยนี้ ๑๑ ประการ คือ
             ๑. ไม่รู้จักรูป คือ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
             รูปอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรูปทั้งปวง เป็นมหาภูตรูป ๔ (รูปใหญ่)
และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ (รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔)
             เมื่อไม่รู้จักรูปมีมหาภูตรูป 4 เป็นต้น ย่อมไม่สามารถจะยกลักษณะของรูป
ขึ้นสู่พระกรรมฐานได้ ... ย่อมไม่ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้

             [อรรถกถา] ไม่รู้จักรูปโดยอาการ ๒ คือ
             - ไม่รู้จักนับ คือ ไม่รู้มหาภูตรูป อุปาทายรูป
             (เช่น ไม่รู้ความเบา ความอ่อนแห่งรูป ความก่อขึ้น ความสืบต่อ ความแก่
ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยง)
             - ไม่รู้สมุฏฐาน คือ ไม่รู้ว่ารูปนี้ประกอบด้วยสมุฏฐานอะไรบ้าง
หรือไม่มีสมุฏฐานเลย (รูปมี ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม ฤดู จิต อาหาร)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รูป_2

             ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ คือ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
             คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมาย
             (คนพาลและบัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันที่
คนพาลมีอกุศลกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกุศลกรรมเป็นเครื่องหมาย)
             เมื่อไม่รู้ ไม่ฉลาดในลักษณะของคนพาลและบัณฑิต ย่อมไม่สามารถ
แยกแยะได้ว่า นี้เป็นคนพาล นี้เป็นบัณฑิต ย่อมทำให้ไม่สามารถเลี่ยงเว้นคนพาล
และไม่สามารถเลือกคบค้าสมาคมกับบัณฑิตได้ ดังนี้แล้วย่อมถึงความเสื่อมได้

             ๓. ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง คือ ภิกษุมิได้ละ มิได้บรรเทากามวิตก หรือพยาบาทวิตก
หรือวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ให้ดับสูญไป ปล่อยให้อกุศลวิตกเหล่านั้นกลุ้มรุมจิตได้
ย่อมไม่อาจสำเร็จคุณวิเศษได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลวิตก_3

             ๔. ไม่ปิดบังแผล คือ ภิกษุที่ไม่สำรวมทวารทั้ง ๖ ย่อมถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะ
ในอารมณ์มีรูป เป็นต้น ที่มาปรากฎทางทวารทั้ง ๖ มีตาเป็นต้น
             เหล่าอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมครอบงำ
             เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่อาจงอกงามในธรรมวินัยนี้ได้  
             (ถือโดยนิมิต (รวบถือ) คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือชาย
เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา
ด้วยอำนาจฉันทราคะ
             ถือโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือ) คือมองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส
เช่น เห็นมือเท้าว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวา
ว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก
             ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก ก็เกิดอภิชฌา
             ถ้าเห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ก็เกิดโทมนัส)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_6&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อภิชฌา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โทมนัส

             ๕. ไม่สุมควัน คือ ภิกษุไม่แสดงธรรมตามที่ตนได้เรียนได้ฟังมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
             เมื่อไม่แสดงธรรมให้คนทั้งหลายฟัง คนทั้งหลายย่อมไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
จึงไม่สงเคราะห์ภิกษุนั้นด้วยปัจจัย ๔
             ภิกษุนั้นได้รับความลำบากเพราะปัจจัย ๔ ก็ไม่อาจเล่าเรียนและเจริญสมณธรรมได้
             ภิกษุนั้นก็ไม่อาจถึงความงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้

             ๖. ไม่รู้จักท่า คือ ไม่เข้าไปหาแล้วไต่ถามภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นพหูสูต
เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามกาลอันควรว่า
             ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร
             ภิกษุทั้งหลายนั้น จึงไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ไม่ทำข้อความที่ลึกให้ตื้น
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น
(หรือถามแต่ไม่ถูกคน)
              ภิกษุนั้นก็ไม่อาจถึงความงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้

             ๗. ไม่รู้จักดื่ม คือ ไม่รู้จักธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศแล้ว
เมื่อไปฟังธรรมก็ส่งใจไปอื่นไม่ฟังโดยเคารพ
             จึงไม่เข้าถึงอรรถถึงธรรม ไม่ได้ความปิติปราโมทย์ในธรรม
กรรมฐานของภิกษุนั้นจึงไม่เจริญ
             ภิกษุนั้นก็ไม่อาจถึงความงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้

             ๘. ไม่รู้จักทาง คือ ไม่รู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริง
             เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่อาจยังโลกุตตรธรรมให้เกิดได้
             (ไม่รู้ว่าทางใดเป็นโลกิยะ ทางใดเป็นโลกุตตระ
เมื่อไม่รู้แล้วตั้งมั่นในทางที่เป็นโลกิยะ จึงไม่สามารถทำให้โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นได้)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

             ๙. ไม่ฉลาดในสถานที่โคจร คือ ไม่รู้ชัดในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ก็ไม่อาจเข้าถึงธรรมได้ จึงไม่อาจงอกงามในธรรมวินัยนี้ได้
             (อารมณ์โคจรของภิกษุ คือ สติปัฏฐานทั้ง ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม)
             ให้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ในอารมณ์ต่างๆ ทั้ง ๔ นั้น
              อโคจร คือบุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อโคจร&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4

             ๑๐. รีดเสียหมดมิได้เหลือไว้ คือ ภิกษุไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัย ๔
ที่คหบดีที่มีศรัทธาปวารณาไว้
             เขาปวารณาเท่าใดก็รับจนหมด ไม่เหลือไว้ให้เขาเกิดศรัทธาว่า
             ภิกษุนี้เป็นผู้มักน้อยสันโดษ แม้จะให้มากก็รับแต่พอควรพอใช้สอย ไม่โลภมาก
             ภิกษุที่ไม่รู้จักประมาณย่อมทำลายศรัทธาของทายกผู้ถวาย
ย่อมไม่อาจงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจัย_4

             ๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู (บวชนาน) เป็นบิดาสงฆ์
(สังฆบิดร) เป็นผู้นำสงฆ์ (สังฆปริณายก) ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก
             คือไม่เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา
ในภิกษุนั้นทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
             เมื่อภิกษุไม่บูชาพระเถระทั้งหลายที่มีความสำคัญดังกล่าว
พระเถระทั้งหลายเหล่านั้นเห็นว่าภิกษุนั้นไม่เคารพยำเกรงท่าน ท่านก็ไม่สงเคราะห์
ช่วยเหลือบอกกล่าวสั่งสอน หรือไม่สงเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔
             ภิกษุนั้นก็ไม่อาจอยู่ในพระศาสนาด้วยความผาสุกได้
จึงไม่อาจงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ได้

ความคิดเห็นที่ 9-56
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 15:55 น.  

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
--------------------
             แก้ไขย่อความ
12:09 PM 5/1/2013

             แก้ไขย่อความได้ดีครับ อ่านแล้วทำให้จับใจความของพระสูตรได้ดี.

             คำถามในมหาโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7106&Z=7246

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. องค์ 11 ที่เป็นเหตุให้พระภิกษุเจริญในพระธรรมวินัย
คุณ GravityOfLove เลื่อมใสข้อใดมากที่สุด (2 ลำดับแรก)
             3. ในองค์ 11 ฯ ข้อใดจัดเข้าหรือสงเคราะห์เข้าในส่วน
ของสัมมัปปธาน 4 ข้อใด?
             คำว่า สัมมัปปธาน 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัปปธาน_4

ความคิดเห็นที่ 9-57
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 16:31 น.

             ตอบคำถามในมหาโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7106&Z=7246

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             องค์ ๑๑ ของนายโคบาล (คนเลี้ยงวัว) ผู้ไม่ฉลาดและฉลาด
             องค์ ๑๑ ของภิกษุที่ไม่ควรถึงและควรถึงความเจริญในธรรมวินัยนี้
โดยทรงอุปมากับนายโคปาล
------------------------------------------------------
             2. องค์ 11 ที่เป็นเหตุให้พระภิกษุเจริญในพระธรรมวินัย
คุณ GravityOfLove เลื่อมใสข้อใดมากที่สุด (2 ลำดับแรก)
            ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ << เพราะโดนคุณฐานาฐานะว่าข้อนี้บ่อย
            ๔. ไม่ปิดบังแผล << เพราะสำรวมได้ยากเหมือนกันค่ะ

             คุณฐานาฐานะล่ะคะ
------------------------------------------------------
             3. ในองค์ 11 ฯ ข้อใดจัดเข้าหรือสงเคราะห์เข้าในส่วน
ของสัมมัปปธาน 4 ข้อใด?
ปธาน 4 (ความเพียร - effort; exertion)
       1. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น - the effort to prevent; effort to avoid)
             ๔. ไม่ปิดบังแผล

       2. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
- the effort to abandon; effort to overcome)
             ๓. ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง

       3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดมี - the effort to develop)
             ๖. ไม่รู้จักท่า
             ๗. ไม่รู้จักดื่ม
             ๘. ไม่รู้จักทาง

       4. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น
และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ - the effort to maintain)
             ๙. ไม่ฉลาดในสถานที่โคจร
             ๑๐. รีดเสียหมดมิได้เหลือไว้
             ๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์
ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก

ความคิดเห็นที่ 9-58
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 16:56 น.  

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหาโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7106&Z=7246
4:31 PM 5/1/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ แต่ข้อ 2 ตอบผิดหรือไม่?
             คำถามคือ
             2. องค์ 11 ที่เป็นเหตุให้พระภิกษุเจริญในพระธรรมวินัย
คุณ GravityOfLove เลื่อมใสข้อใดมากที่สุด (2 ลำดับแรก)
             คำตอบคือ
             ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ << เพราะโดนคุณฐานาฐานะว่าข้อนี้บ่อย
             ๔. ไม่ปิดบังแผล << เพราะสำรวมได้ยากเหมือนกันค่ะ

             คุณฐานาฐานะล่ะคะ
             คำตอบควรตัดคำว่า ไม่ ออกไปเสีย.
             ๒. ฉลาดในลักษณะ
             ๔. ปิดบังแผล
             ที่ว่า เพราะโดนคุณฐานาฐานะว่าข้อนี้บ่อย ยกตัวอย่างมาให้เห็นหน่อยว่า
ที่ว่า ผมว่าบ่อย ผมนึกไม่ออกเลย.
             สำหรับผม ข้อนี้คือ
             2. ฉลาดในลักษณะ
             3. คอยเขี่ยไข่ขัง

             คำตอบข้อ 3 ในส่วนของ ๖. ไม่รู้จักท่าที่จัดอยู่ในภาวนาปธาน
             การไม่รู้จักท่า ทำให้ไม่สามารถบรรเทาความสงสัยอันเป็นอกุศลธรรมได้
อาจจัดเข้าในปหานปธานก็ได้ คือเพียรละหรือเพียรกำจัดอกุศลธรรมด้วยการสอบถามพหูสูต.
             ภาวนาปธาน พิจารณาในข้อทำให้ความรู้ความเข้าใจเกิดขึ้น
             ปหานปธาน พิจารณาในข้อทำให้ความสงสัยบรรเทาลง เพราะความรู้เกิดขึ้น.
             คำว่า สัมมัปปธาน 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัปปธาน_4

ความคิดเห็นที่ 9-59
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 17:18 น.

             ขอแก้ไขคำว่า การไม่รู้จักท่า เป็นคำว่า การรู้จักท่า
             นัยคือ การเข้าไปหาผู้เป็นพหูสูต แล้วสอบถามเนื้อความแห่งภาษิต
ทำให้เนื้อความที่ปรากฎว่าลึกเกินเข้าใจ เป็นตื้นเข้าใจได้
ทำให้บรรเทาความสงสัยต่างๆ เสียได้.

             คำตอบข้อ 3 ในส่วนของ ๖. ไม่รู้จักท่าที่จัดอยู่ในภาวนาปธาน
             การรู้จักท่า ทำให้ไม่สามารถบรรเทาความสงสัยอันเป็นอกุศลธรรมได้
อาจจัดเข้าในปหานปธานก็ได้ คือเพียรละหรือเพียรกำจัดอกุศลธรรมด้วยการสอบถามพหูสูต.
             ภาวนาปธาน พิจารณาในข้อทำให้ความรู้ความเข้าใจเกิดขึ้น
             ปหานปธาน พิจารณาในข้อทำให้ความสงสัยบรรเทาลง เพราะความรู้เกิดขึ้น.
             คำว่า สัมมัปปธาน 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัปปธาน_4

ความคิดเห็นที่ 9-60
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 17:51 น.

             ยกตัวอย่างมาให้เห็นหน่อยว่า ที่ว่า ผมว่าบ่อย ผมนึกไม่ออกเลย.

             เรื่องไม่รู้จักแยกแยะลักษณะบัณฑิต ลักษณะคนพาล
             ๑. ศิษย์สำนักหนึ่งที่ตอบคำถามดีมาก น่าเลื่อมใสทีเดียว
แต่พฤติกรรมสำนักกลับสวนทางกับคำตอบนั้น

             ๒. ศิษย์สำนักหนึ่งที่ Gravity คิดว่าเขาน่าจะไม่มีความตั้งใจชั่ว
และคิดว่า เขาน่าจะมีความสามารถดังที่พูดจริง

             ๓. ศิษย์สำนักเดียวกับข้อ ๑ พูดอิงพระไตรปิฎกดี

            ๔. ศิษย์สำนักเดียวกับข้อ ๒ เขาเรียกตัวเองว่า เป็นนักปฏิบัติ
และ Gravity ก็คิดว่าเขาเป็นนักปฏิบัติจริง ต่อมาจึงเห็นว่าเข้าใจผิดถนัด
นอกจากเขาจะไม่มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้ว ยังมักพูดเหน็บแนม
ตำหนิพระศาสนาอีกด้วย

             ๕. ศิษย์สำนักเดียวกับข้อ ๒ ดูเหมือนพูดอิงอรรถอิงธรรมดี
พูดจนลิงหลับได้ แต่พอตอบคำถามไม่ได้มักพูดเลี่ยงไปเรื่องอื่น
เบี่ยงเบนประเด็น

             ๖. เขียนข้อ ๕ แล้วทำให้นึกถึงอีกรายหนึ่งขึ้นมา
คนนี้ดูเหมือนเขียนอิงอรรถอิงธรรมดี แต่เขียนให้คนอ่านไม่รู้เรื่อง
ไม่รู้ว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด หรือว่าเจตนาให้คนอ่านไม่รู้เรื่อง จะได้
ไม่ต้องเถียงกลับ

             คิดว่าน่าจะมีเยอะอยู่ค่ะ แต่นึกเท่านี้

ความคิดเห็นที่ 9-61
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 17:54 น.

             พอนึกออกแล้วหนอ.

ความคิดเห็นที่ 9-62
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 18:04 น.  

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาโคปาลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7106&Z=7246

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคปาลสูตร [พระสูตรที่ 34].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7247&Z=7322
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=388

             จูฬสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7323&Z=7551
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=392

             มหาสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7552&Z=7914
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405

ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:19:55 น.
Counter : 442 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog