30.1 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
29.6 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-05-2014&group=4&gblog=8

ความคิดเห็นที่ 11
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 19:24 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
              อรรถกถานัตถิปุตตสมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=28&bgc=honeydew

              ส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่างอันประเสริฐ หาสิ่งอื่นเสมอมิได้
ทั้งย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย.
              หมื่นโลกธาตุสว่างด้วยแสงสว่างอันประเสริฐนี่หมายถึงปัญญาของพระผู้มีพระภาคใช่ไหมคะ
              ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว ได้บุพเพนิวาสานุสติญาณเสมอหรือไม่คะ
              ขอบพระคุณค่ะ
7:04 PM 5/11/2014
              คำนี้ น่าจะแสดงอานุภาพต่างๆ ของปัญญา
              กล่าวคือ
              ส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่างอันประเสริฐ หาสิ่งอื่นเสมอมิได้
ข้อนี้ น่าจะหมายถึงปัญญาในเข้าอาโลกกสิณ แผ่กสินแสงสว่างไปได้ ทำให้โลกธาตุตั้งหมื่นสว่างไสวได้
              คำว่า ทั้งย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย.
ข้อนี้ น่าจะหมายถึงปัญญาในบุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกถึงอดีตที่ระลึกได้ยาก.

              หมื่นโลกธาตุสว่างด้วยแสงสว่างอันประเสริฐนี่หมายถึงปัญญาของพระผู้มีพระภาคใช่ไหมคะ
              ตอบว่า น่าเป็นอย่างนั้นครับ พระสาวกน่าจะทำได้พันโลกธาตุ
ดังนั้น นัยนี้น่าจะหมายถึงปัญญาของพระผู้มีพระภาค.

              จูฬนีสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=5985&Z=6056
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=520

ความคิดเห็นที่ 12
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 19:40 น.

             เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
             มีคำถามตกหล่นค่ะ
             อรรถกถานันทิสูตรที่ ๒
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=26&bgc=honeydew

             กรุณาอธิบายค่ะ
             แม้คนมีโคก็ฉันนั้น ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 13
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 20:21 น.

GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว
...
7:39 PM 5/11/2014

             อธิบายว่า ไม่ทราบเหมือนกันว่า อาการ 9 อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง
             นัยรวมๆ ก็คือ ความทุกข์ความกังวลอันเกิดจากโคของตน หรือภัยต่างๆ
เช่น โคของตนเองหายไปบ้าง ไปทำลายเรือกสวนไร่นา หรือไปกินข้าวในนา
ของผู้อื่นบ้าง เกิดโรคระบาด น้ำท่วมพัดพาโคไปบ้างเป็นต้น เหล่านี้
ก็เป็นเหตุให้เศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายได้.

             อรรถกถาเทวธาวิตักกสูตร
             บทว่า ตโตนิทานํ ความว่า โดยเหตุนั้น คือโดยเหตุที่โคทั้งหลายที่ไม่ได้รักษาอย่างนั้น
กินข้าวกล้าของคนเหล่าอื่น. ก็นายโคบาลโง่ เมื่อไม่รักษาโคทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมถึงทุกข์
มีการฆ่าเป็นต้นจากสำนักของเจ้าของโคทั้งหลายว่า คนเลี้ยงโคนี้กินข้าวและค่าจ้างของเรา
ไม่สามารถแม้เพื่อรักษาโคทั้งหลายโดยตรง กลับให้เปลี่ยนเวรกับตระกูลทั้งหลายบ้าง
จากเจ้าของข้าวกล้าบ้าง. แต่นายโคบาลผู้ฉลาด เมื่อเห็นภัย ๔ อย่างนี้
ย่อมรักษาโคทั้งหลายให้ผาสุก.
             บทนั้น ท่านกล่าวหมายถึงเหตุนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 20:44 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 15
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 20:45 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒ (หมวดว่าด้วยสวนนันทนวัน)
             ๑๑. นันทนสูตร ว่าด้วยสวนนันทนวัน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=141&Z=158&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่ง แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร
อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์อยู่ในสวนนันทวัน กล่าวคาถาว่า
              เทวดาเหล่าใดไม่เห็นนันทวัน อันเป็นที่อยู่ของหมู่นรเทพสามสิบ
(บุรุษผู้เป็นเทพมีพวก ๓๓ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) ผู้มียศ (มีบริวาร)
เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักความสุข

             เทวดาองค์หนึ่งได้ย้อนกล่าวกับเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
             ดูกรท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
             สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
             เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ (นิพพาน) เป็นสุข
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ดาวดึงส์&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

-------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๒. นันทิสูตร ว่าด้วยความยินดี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=159&Z=169&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคทั้งหลาย
เหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิ (ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕) เป็นความดีของคน
บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่มียินดีเลย

             (พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า เทวดานี้ทำเรื่องแห่งความเศร้าโศก
ให้เป็นเรื่องน่ายินดี เราจักแสดงความที่สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องแห่งความเศร้าโศก
เมื่อจะทำลายวาทะของเทวดานั้น จึงตรัส)
             พระผู้มีพระภาคตรัส (เป็นคาถา) ว่า
             บุคคลมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย (เช่น บุตรเดินทางไปห่างไกล)
             บุคคลมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น
             เพราะอุปธิเป็นความเศร้าโศกของคน
             บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่เศร้าโศกเลย
(คือพระอรหันต์)

             [อรรถกถา]
             อุปธิ ๔ อย่าง คือ กามูปธิ (อุปธิคือกาม) ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์)
กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) และอภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร)
             ในที่นี้หมายถึง กามหรือกามคุณ ๕
//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปธิ
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

-------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๓. นัตถิปุตตสมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เสมอด้วยบุตรไม่มี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=170&Z=179&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ความรักเสมอด้วยความรักบุตรไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยโคย่อมไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลายมีทะเลเป็นอย่างยิ่ง

             พระผู้มีพระภาคตรัส (เป็นคาถา) ว่า
             ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี (เพราะบางคนทิ้งมารดาบิดา ทิ้งลูกทิ้งเมียก็มี)
             ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี (เพราะสุดท้ายก็เพื่อเอามาแลกข้าว)
             แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี
             (เพราะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์กำจัดความมืดอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น
ส่วนแสงสว่างแห่งปัญญาสามารถกำจัดอวิชชา)
             ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อวิชชา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อวิชชา

[แก้ไขตาม #16]

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 13 พฤษภาคม เวลา 20:15 น.

GravityOfLove, วันอาทิตย์ เวลา 20:45 น
...
8:43 PM 5/11/2014

              สรุปความได้ดีทั้ง 3 พระสูตร.
              มีข้อติงดังนี้ :-
              คำว่า
               ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี (เพราะบางคนทิ้งลูกเมียก็มี)
              น่าจะมาจากเนื้อความว่า
              ก็ที่ชื่อว่าความรักเสมอด้วยตนไม่มีนั้น มีอธิบายว่า
              สัตว์ทั้งหลายละทิ้งปิยชนทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นก็มี
ละทิ้งบุตรธิดาเป็นต้นให้พำนักอยู่ย่อมหาเลี้ยงชีวิตตนนั่นแหละก็มี.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=28

              คำว่า ลูกเมียนั้น มาในความหมายว่าปิยชน แต่ควรนำเนื้อความ
ในอรรถกถามาแสดงด้วย กล่าวคือ มารดาบิดา ดังนั้นควรใช้คำว่า
              (เพราะบางคนทิ้งมารดาบิดา ทิ้งลูกทิ้งเมียก็มี)

ความคิดเห็นที่ 17
ฐานาฐานะ, 13 พฤษภาคม เวลา 20:22 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๑๑. นันทนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=141&Z=158
              ๑๒. นันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=159&Z=169
              ๑๓. นัตถิปุตตสมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=170&Z=179

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. คำว่า ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี
นัยของคำนี้ เคยได้ศึกษาในพระสูตรใดมาแล้วหรือไม่?
              3. คำว่า ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี
              สันนิษฐานได้หรือไม่ว่า
              เหตุใดจึงเป็นข้าวเปลือก ไม่ใช่คำว่า ข้าวสาร.

ความคิดเห็นที่ 18
GravityOfLove, 13 พฤษภาคม เวลา 21:25 น.

              ขอบพระคุณค่ะ
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๑๑. นันทนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=141&Z=158

             ๑. เทวดาผู้เป็นอริยสาวิกากล่าวกับเทวดาองค์หนึ่งว่า
             ดูกรท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จักคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
             สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
             เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข
----------------
              ๑๒. นันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=159&Z=169

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย
             บุคคลมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น
             เพราะอุปธิเป็นความเศร้าโศกของคน
             บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่เศร้าโศกเลย
             ๒. อุปธิ สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส
             - ร่างกาย
             - สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
             ๓. กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ
ก็เพราะความที่กามเหล่านี้เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความสุข ดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
             ความสุข ความโสมนัสอันใดอาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความพอใจในกามทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=12&item=197#197

             ขันธ์ทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่ขันธ์เหล่านั้น
เป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ซึ่งมีขันธ์เป็นมูล
             กิเลสทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่กิเลสเหล่านั้น
เป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในอบาย
             อภิสังขารทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่อภิสังขารเหล่านั้น
เป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในภพ
             ๔. อุปธิเป็นความเศร้าโศกของคน โดยนัยที่ตรัสไว้ว่า
               หากว่าสัตว์นั้นมีความรักใคร่ มีความพอใจเกิดแล้ว
               กามเหล่านั้นย่อมยังเขาให้ย่อยยับไป เหมือนบุคคล
               ถูกลูกศรแทงแล้ว ย่อมพินาศ ฉะนั้น.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=25&item=408
---------------
              ๑๓. นัตถิปุตตสมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=170&Z=179

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี
             ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี
             แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี
             ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม
             ๒. ดวงอาทิตย์ย่อมส่องแสงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือย่อมกำจัดความมืด
อันเป็นปัจจุบันเท่านั้น
               ส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่างอันประเสริฐ
หาสิ่งอื่นเสมอมิได้ (ปัญญาของพระผู้มีพระภาค) ทั้งย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาล
อันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย (คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ)
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ&detail=on
----------------------------------------------
              2. คำว่า ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี
นัยของคำนี้ เคยได้ศึกษาในพระสูตรใดมาแล้วหรือไม่?
             เคยศึกษาใน มัลลิกาสูตร
             [๓๔๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้
ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า
               บุคคลค้นหาด้วยจิตตลอดทิศทั้งหมด ไม่ได้พบใครซึ่งเป็นที่รัก
               ยิ่งกว่าตนในที่ไหนๆ เลย สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นก็รักตนมาก
               เช่นนั้นเหมือนกัน ฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น ฯ
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2395&Z=2425&pagebreak=0
             ราชสูตร
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=2856&Z=2880&pagebreak=0
---------------------------------------------
              3. คำว่า ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี
              สันนิษฐานได้หรือไม่ว่า
              เหตุใดจึงเป็นข้าวเปลือก ไม่ใช่คำว่า ข้าวสาร.
             สันนิษฐานว่า สังคมสมัยก่อนค้าขายข้าวกันในรูปข้าวเปลือก

ความคิดเห็นที่ 19
ฐานาฐานะ, 13 พฤษภาคม เวลา 22:00 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
              ขอบพระคุณค่ะ
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
...
9:24 PM 5/13/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ.
              เห็นลิงค์มัลลิกาสูตร จึงขอถามเกี่ยวกับพระนางมัลลิกาว่า
              คุณ GravityOfLove พอจะยกตัวอย่างความเฉลียวฉลาด
ของพระนางมัลลิกาได้หรือไม่?

              3. คำว่า ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี
              สันนิษฐานได้หรือไม่ว่า
              เหตุใดจึงเป็นข้าวเปลือก ไม่ใช่คำว่า ข้าวสาร.
              สันนิษฐานว่า สังคมสมัยก่อนค้าขายข้าวกันในรูปข้าวเปลือก

              รับทราบการสันนิษฐานของคุณ GravityOfLove
              ผมสันนิษฐานว่า เพราะว่า ข้าวเปลือกสามารถนำไปเพาะปลูกได้อีก
กล่าวคือ จะทำไปสีเอาเปลือกออกแล้วบริโภคก็ได้ จะนำไปเพาะปลูกต่อไปอีกก็ได้
คือ 1 เมล็ดที่นำไปเพาะปลูก ได้เมล็ดข้าวกลับคืนมาเป็นรวงข้าว.
              แต่ข้าวสาร นำไปเพาะปลูกไม่ได้อีก เพิ่มพูนไม่ได้อีก.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 12 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:08:48 น.
Counter : 755 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog