สรุปดราม่า หมูแพง เรื่องร้อนแรงที่ต้องรู้

สาเหตุของปัญหาราคาเนื้อหมูแพงในตอนนี้สรุปได้ว่าเกิดจาก  


 
1. โรคระบาดในสุกรที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2561 เช่น  
โรคเพิร์ส (PRRS) ที่แสดงอาการทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ
โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู (ASF)
โรคปากและเท้าเปื่อย ที่ระบาดมาจากจีน สู่เวียดนาม ลาว กัมพูชา เมียนมา และไทย
 
ส่งผลให้
- สุกรแม่พันธุ์เสียหายมากถึง 40% จากจำนวน 1.1 ล้านตัว เหลือเพียง 6.6 แสนตัว
- ปริมาณสุกรและเนื้อหมูชำแหละออกสู่ตลาดลดลง
 
2. ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ ยารักษาโรคในสุกรปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งกัมพูชา ลาว เวียดนาม ที่ปรับขึ้นไปอยู่ในระดับ 11.20 – 12.20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 10 กว่าปี
 
3. ต้นทุนการเลี้ยงต่อตัวเพิ่มขึ้น จากการที่เกษตรกรต้องเพิ่มความเข้มงวดด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ทำให้มีค่าแรงงานในการดำเนินการเพิ่ม ต้องใช้เงินลงทุนไปกับค่าน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่จำเป็น กลายเป็นต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นประมาณ 400 – 500 บาทต่อตัว
 
ส่งผลให้
- เกษตรกรมีหนี้สินสะสม จำนวนหนึ่งต้องเลิกเลี้ยงสุกร และบางรายชะลอการเลี้ยงไว้ก่อน
 
4. สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ความต้องการหมูยิ่งมีมากขึ้น แต่ปริมาณการผลิตลดน้อยลง จากปัญหา Supply ที่ไม่เพียงพอต่อ Demand ราคาเนื้อหมูจึงดีดตัวสูงขึ้นทันที
 
- ราคาหมูแพงไม่เพียงกระทบต่อผู้เลี้ยงและผู้บริโภค แต่ส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบอาหารปรุงสำเร็จ ทำให้เมนูอาหารต่าง ๆ ที่มีเนื้อหมูเป็นหลักต้องแพงขึ้นตามไปด้วย
 
ผู้เลี้ยงสุกรต้องการให้ภาครัฐช่วย
- ลดภาระหนี้และหาเงินเสริมสภาพคล่องให้ผู้เลี้ยงรายย่อย
- ทำข้อมูลควบคุมปริมาณเลี้ยงให้สอดคล้องกับการบริโภคและส่งออกอย่างยั่งยืน
 
แนวทางแก้ปัญหาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ส่งเสริมเกษตรกรรายเล็กและรายย่อยเดิมที่เลิกเลี้ยง ให้กลับมาเลี้ยงอีกครั้ง
- ขอให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ผลิตลูกหมูเพิ่ม ป้อนให้เกษตรกรรายเล็กและรายย่อยเลี้ยง
- ขอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ภายใต้โครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร
- เตรียมหารือมาตรการลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศ
- ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเป็นพืชอาหารสัตว์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ประเทศไทยมีความต้องการ ถึง 8 ล้านตันต่อปี แต่มีกำลังการผลิตเพียง 4 ล้านตันต่อปี
- สั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งสำรวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสม และมีความเสี่ยงจากโรคระบาด เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ในการผลักดันปศุสัตว์ Sandbox หรือเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ
- ส่งเสริมการนำเข้า การผลิต และส่งออกสินค้าปศุสัตว์เป็นวาระเร่งด่วน
 
แนวทางการแก้ปัญหาจากกระทรวงพาณิชย์
- ห้ามส่งออกสุกรมีชีวิต 3 เดือน ตั้งแต่ 6 มกราคม ถึง 5 เมษายน 2565 จะทำให้หมูมีชีวิตกลับเข้าสู่ระบบการขายในประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านตัว
- ออกมาตรการคู่ขนานป้องกันการกักตุน โดยให้ผู้เลี้ยงที่เลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีเกิน 500 ตัว และห้องเย็นเก็บสต๊อกเกิน 5,000 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องแจ้งสต๊อกและราคาต่อกรมการค้าภายใน ทุก 7 วัน เริ่มวันพระแรก 10 มกราคม เพื่อเช็กปริมาณหมูทั้งหมดที่อยู่ในระบบ
- เข้มงวดให้แผงหมูเขียงปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายและห้ามขายเกินราคาป้าย
- ขอความร่วมมือตรึงราคาหมูเป็นที่หน้าฟาร์มที่ 80 บาท/กก. จะทำราคาหมูเนื้อแดงบนเขียงหมูไม่ควรเกิน กก. ละ 160 – 170 บาท
 
ความท้าทายจากการแก้ปัญหาการนำเข้าหมู
- มาตรการนำเข้าหมู จะเป็นดาบสองคม คือ ทำให้ราคาหมูในประเทศลดลง ซึ่งผู้บริโภคได้ประโยชน์ แต่จะซ้ำเติมผู้เลี้ยงหมูให้เดือดร้อนหนักขึ้น และจะกระทบต่อเนื่องในระยะยาว
- ปัญหาด้านความปลอดภัยทางอาหารจากการนำเข้า เช่น สารตกค้างต่าง ๆ สารเร่งเนื้อแดง หรือเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมา
- ไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารได้ หากต้องพึ่งพาการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับปัญหาหมูทั้งหมดที่กล่าวมานั้น มีผลกระทบชิ่งต่อเป็นลูกโซ่ เพราะนอกจากผู้เลี้ยงสุกรได้รับผลกระทบแล้ว เกษตรกรที่ทำเกษตรวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง รวมไปถึงผู้ผลิตเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การเกษตรกร ฯลฯ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย
 
การแก้หมูจึงต้องรักษาสมดุลระหว่างผู้บริโภคและผู้เลี้ยงหมู จึงไม่ใช่เรื่องหมู ๆ อย่างที่คิด




Create Date : 07 มกราคม 2565
Last Update : 7 มกราคม 2565 17:46:35 น.
Counter : 1086 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3544265
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]