แหล่งกบดาน
<<
กรกฏาคม 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
24 กรกฏาคม 2561

[Books] ยีนเห็นแก่ตัว (The Selfish Gene) - Richard Dawkins




ยีนเห็นแก่ตัว (The Selfish Gene)
Richard Dawkins เขียน
เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ แปล


ใช้เวลาอ่านอยู่สี่วัน ต้องแบ่งอ่านคราวละบท เช้าบท เย็นบท ค่ำบท อะไรงี้ ไม่งั้นจะรู้สึกว่าชั้นอ่านอะไรไป ทำไมเข้าตาซ้ายไหลออกตาขวา แต่การค่อยๆแทะทีละบทแบบนี้ทำให้พอบรรจุอยู่ในสมองได้ หัวข้อน่าสนใจตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนที่มีตัวเลขก็ไม่ซับซ้อน สมองยังคิดตามไหว รู้สึกว่าถ้าได้เรียนเรื่องนี้ในมหาลัยคงสนุกดี (ความเสียดายของเด็กที่ห่างไกลวิทยาศาสตร์)

วิธีการเล่าไม่เป็นหนังสือวิชาการ แต่ก็ไม่ได้แพรวพราวเหมือน pop-science สมัยใหม่ ศัพท์เทคนิกเยอะ ถ้าไม่เคยมีพื้นฐานชีวะมาก่อนอาจงงได้

หนังสือพูดถึง ยีน ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการตัวเองมาหลายล้านปี โดยที่จุลินทรีย์ พืช สัตว์ และแม้แต่มนุษย์ เป็นเพียงภาชนะรองรับสำหรับขับเคลื่อนเท่านั้น การที่ยีนทำทุกอย่างเพื่อโอกาสในการอยู่รอดและสืบต่อจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งนี่แหละที่ผู้เขียนนิยามว่าเป็น ความเห็นแก่ตัว แต่ก็ระบุไว้เสมอว่า ไม่มีความหมายในเชิงศีลธรรม

สำนวนการเขียนเสียดสีนิดๆ ผู้เขียนดูมี passion กับงานที่ทำอยู่ และแอบรู้สึกว่าฮีตลกดี แอบแซะคนโน้นคนนี้เป็นระยะ แต่เวลายอมรับว่าตัวเองผิดก็น่ารัก เขียนตั้งแต่ปี 1976 แต่ยังอุดมไปด้วยข้อมูลมากมายที่เราไม่รู้ เป็นหนังสือคลาสสิกที่สนุกอย่างคาดไม่ถึงจริงๆ

สิ่งที่ทำให้อ่านสนุกเป็นพิเศษคือการอุปมาและตัวอย่างทั้งหลาย อ่านแล้วนึกภาพออกได้ง่าย อย่างเช่น ใช้การแข่งพายเรือมาเทียบกับการคัดเลือกยีน พูดถึง pecking order ในฝูงไก่ สมมติประชากรเหยี่ยวกับพิราบเพื่อแจกแจงเรื่อง ESS และอธิบายว่าทำไมสิงโตไม่กินกันเอง

ตัวอย่างชีวิตสัตว์ต่างๆก็น่าทึ่ง เราสนใจเรื่องสัตว์ต่างๆอยู่แล้ว เลยอ่านไปว้าวไป อย่างมดร่มกันแดดที่ทำฟาร์ม (เชื้อรา) และเลี้ยงปศุสัตว์ (เพลี้ยอ่อน) การทดลองเรื่องหมูกดคันโยก ผีเสื้อที่หลั่งสารหลอนประสาทให้มดเป็นบอดี้การ์ด ความอำมหิตของต่อนักขุดที่ต่อยตั๊กแตนให้เป็นอัมพาตแล้วลากมาใส่รูดินไว้สี่ห้าตัว จากนั้นก็วางไข่ แล้วกลบรู พอลูกตัวเองเกิดจะได้กินตั๊กแตนพวกนั้นทั้งเป็น แถมเป็นอาหารสดใหม่ เพราะตั๊กแตนยังไม่ตายด้วย //หนูกลัวแล้ว

ชอบเกือบทุกบท แต่สนุกกับ ESS เป็นพิเศษ ระบบจะสมดุลได้ก็ต่อเมื่อประชากรทั้งหมดเห็นแก่ตัวโดยพร้อมเพรียงกัน ถ้าทุกคนสมคบคิดกันเองเพื่อประโยชน์ของทุกๆคน บทสงครามระหว่างเพศก็เฮฮามาก อ่านแล้วเห็นชัดเจนเลยว่า ใครทิ้งอีกฝ่ายไปก่อนชนะ 555 และบทยีนก้าวไกลก็ทำให้เราทึ่งมากขึ้นไปอีก

และบทที่จะไม่เอ่ยถึงเสียไม่ได้ก็คือ บทมีม คือเพิ่งรู้ว่าคุณดอว์กินส์กึ่งๆเป็นคนบัญญัติคำนี้ และหนังสือเล่มนี้แหละคือต้นกำเนิดของคำว่า meme ที่เกร่อกระจายอยู่ในปัจจุบัน

ท้ายเล่มเป็นภาคผนวก ที่ยาวมาก คุณดอว์กินส์ใช้อธิบายเพิ่มเติมจากแต่ละจุดที่ดอกจันไว้ในเนื้อหา แบบพอพิมพ์ใหม่ คุณดอว์กินส์ก็อีดิทหมายเหตุความเห็นตัวเองไว้ แล้วเล่านู่นเล่านี้แถมเต็มไปหมด จะไม่อ่านก็ไม่ได้ ไม่งั้นจะพลาดเรื่องเจ๋งๆไปมากมาย

4.5 ดาว



Create Date : 24 กรกฎาคม 2561
Last Update : 24 กรกฎาคม 2561 9:55:38 น. 3 comments
Counter : 4026 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสาวไกด์ใจซื่อ


 
น่าอ่านมากกกกกกกกกกกกกกกก

แล้วตกลงทำไมสิงโตถึงไม่กินกันเองง่าาาาา

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
Max Bulliboo Klaibann Blog ดู Blog
Froggie Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 25 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:24:33 น.  

 
เท่าที่เข้าใจ ตามหนังสือบอกว่าเพราะมันไม่ ESS (Evolutionarily Stable Strategy) อะค่ะ ประมาณว่ามีความเสี่ยงสูงเกินไปที่จะโดนเอาคืน และสู้ไปก็ไม่คุ้ม สิงโตตัวที่มียีนล่าสิงโตด้วยกัน จะตายเร็วกว่าชาวบ้าน และยีนนั้นจะถูกคัดออกจากประชากรไปเอง จึงเหลือแต่สิงโตที่ไม่ล่าสิงโตด้วยกันเท่านั้น อะไรประมาณนี้ ในหนังสืออธิบายได้ดีกว่า เชียร์ให้ลองอ่านดูค่า


โดย: Froggie วันที่: 25 กรกฎาคม 2561 เวลา:20:02:33 น.  

 
ส่งต่อมั้ยครับเล่มนี้ อยากอ่านครับ 0861462558


โดย: สมภพ IP: 49.49.229.9 วันที่: 14 มีนาคม 2566 เวลา:21:02:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Froggie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




[Add Froggie's blog to your web]