ชีวิตคน ไม่ยืนยาว เหนือกาลเวลา จงทำดี มีธรรมา ติดตัวเอย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
28 มกราคม 2561
 
All Blogs
 
การแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์

 
คำอุทิศ
                ด้วยอานิสงส์ของการเผยแพร่ความรู้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้มารดา บิดา ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เทวดาทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย จงได้บุญกุศลโดยถ้วนหน้า ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใด หากมีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ หากมีสุขขอให้มีสุข ยิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ

                โครงสร้างอาคาร จะมีส่วนสำคัญที่สุด คือฐานราก เพราะรับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร ฐานรากโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ฐานรากแผ่และฐานรากเสาเข็ม หากฐานรากมีความมั่นคงและแข็งแรง จะทำให้การใช้งานอาคาร มีความปลอดภัย
                ฐานรากแผ่ คือฐานรากที่รับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร ซึ่งถ่ายลงมาจากเสาตอม่อ ลงสู่ฐานรากแผ่ และฐานรากแผ่ถ่ายน้ำหนักให้ดิน อีกทอดหนึ่ง
                ฐานรากเสาเข็ม คือฐานรากที่รับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร ซึ่งถ่ายลงมาจากเสาตอม่อ เช่นเดียวกับฐานรากแผ่ ต่างกันตรงที่ ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็ม และเสาเข็มถ่ายน้ำหนักให้ดินที่อยู่รอบผิวเสาเข็มและปลายเสาเข็ม อีกทอดหนึ่ง
                เสาเข็ม มีหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร ซึ่งถ่ายน้ำหนักลงมาจากส่วน ต่างๆ ของโครงสร้างอาคาร เช่น หลังคา พื้น บันได คาน และเสา เป็นต้น และถ่ายน้ำหนักที่รับมาทั้งหมดนี้ ไปยังชั้นดินรอบผิวเสาเข็มและปลายเสาเข็ม อีกทอดหนึ่ง
                ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับฐานรากเสาเข็ม ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนในการตอกหรือติดตั้งเสาเข็ม ไม่สามารถตอกหรือติดตั้งเสาเข็ม ได้ตามตำแหน่งที่ออกแบบไว้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยื้องศูนย์ ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรม ( behavior ) ที่เกิดขึ้นกับเสาเข็ม ดังนั้น เมื่อตอกเสาเข็มเสร็จแล้ว จะต้องตรวจสอบตำแหน่งของเสาเข็ม เปรียบเทียบกับตำแหน่งที่ออกแบบไว้ ระยะที่คลาดเคลื่อน จะเรียกว่าระยะเบี่ยงเบน ( deviation ) เพื่อหาระยะเยื้องศูนย์ระหว่างเสาตอม่อกับเสาเข็ม ซึ่งอาจเยื้องศูนย์แกนเดียวหรือสองแกน ก็ได้ และวิเคราะห์พฤติกรรม ที่เกิดขึ้นกับเสาเข็ม จากนั้นจึงแก้ไขตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
                ผลจากการเยื้องศูนย์ของเสาเข็ม จะทำให้เกิดโมเมนต์เยื้องศูนย์เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากแรงตามแนวแกน ซึ่งโมเมนต์เยื้องศูนย์ที่เพิ่มขึ้นมานี้ จะมีผลต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเสาเข็ม ทำให้การรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละต้น ไม่เท่ากัน ตามทิศทางของโมเมนต์เยื้องศูนย์ เพราะเกิดแรงอัดและแรงดึงกระทำต่อเสาเข็ม ซึ่งไม่เป็นไปตามที่วิศวกรโครงสร้าง ออกแบบไว้ ดังนั้น จะต้องวิเคราะห์และแก้ไขตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเสาเข็ม
                การตรวจสอบและแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนจะเริ่มงานฐานราก การรับน้ำหนักที่เกิดขึ้นของเสาเข็มแต่ละต้น จะต้องไม่มากกว่า ความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็ม มิฉนั้น จะต้องแก้ไข เช่น เพิ่มเสาเข็มหรือเพิ่มโครงสร้าง เป็นต้น เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งานอาคาร รายละเอียดของการแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์ มีดังนี้
การแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์
                เนื่องจากฐานรากเสาเข็ม จะมีทั้งฐานรากเสาเข็มเดี่ยวและฐานรากเสาเข็มกลุ่ม ดังนั้น การแก้ไขจะอยู่ที่ ประเภทของฐานรากและจำนวนแกนที่เยื้องศูนย์ ดังนี้
                ฐานรากเสาเข็มกลุ่ม

 

                การแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์ ของฐานรากเสาเข็มกลุ่ม มีดังนี้
                1 ตรวจสอบระยะเบี่ยงเบน ของเสาเข็มแต่ละต้น ในแต่ละแกน
                2 คำนวณตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วง ของกลุ่มเสาเข็ม ในแต่ละแกน โดยใช้สมการทางกลศาสตร์
                3 หาตำแหน่งเยื้องศูนย์ ( eccentric ) ซึ่งอาจเยื้องศูนย์แกนเดียวหรือสองแกน ก็ได้
                4 คำนวณโมเมนต์เยื้องศูนย์ ในแต่ละแกน
                5 คำนวณน้ำหนักที่ถ่ายลงเสาเข็มแต่ละต้น ในแต่ละแกน
                6 น้ำหนักทั้งหมดที่ถ่ายลงเสาเข็มแต่ละต้น จะต้องไม่มากกว่า ความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็ม มิฉนั้น จะต้องแก้ไข เช่น เพิ่มเสาเข็มหรือเพิ่มโครงสร้าง เป็นต้น
                7 คำนวณเหล็กเสริมในเสาตอม่อ เนื่องจากมีโมเมนต์เยื้องศูนย์เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากแรงตามแนวแกน
                8 คำนวณเหล็กเสริมในฐานราก เนื่องจากแรงกระทำและระยะของเสาเข็ม มีการปลี่ยนแปลงจากเดิม
                ฐานรากเสาเข็มเดี่ยว
                การแก้ไขค่อนข้างยุ่งยากกว่า ฐานรากเสาเข็มกลุ่ม แรงดัดจากโมเมนต์เยื้องศูนย์ จะต้องไม่ทำให้เกิดหน่วยแรงดึง ในเสาเข็ม มิฉนั้น จะต้องแก้ไข เช่น เพิ่มเสาเข็มหรือเพิ่มโครงสร้าง เป็นต้น

 
 
                การหาระยะเยื้องศูนย์ ที่ไม่ทำให้เกิดหน่วยแรงดึง ในเสาเข็ม จะใช้สมการหน่วยแรงตามแนวแกนและหน่วยแรงดัด ดังนี้
                S = P/A ± M*c/I
                โดยที่ S คือผลรวมของหน่วยแรงตามแนวแกนและหน่วยแรงดัด
                P คือน้ำหนักที่ถ่ายลงเสาเข็ม
                A คือพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม
                M คือโมเมนต์เยื้องศูนย์ ในแต่ละแกน
                c คือระยะที่ต้องการหาหน่วยแรง ในแต่ละแกน
                I คือโมเมนต์อิเนอร์เชียของหน้าตัดเสาเข็ม ในแต่ละแกน
                การหาระยะเยื้องศูนย์ ที่ไม่ทำให้เกิดหน่วยแรงดึง ในเสาเข็ม จะขึ้นอยู่กับหน้าตัดของเสาเข็ม เพราะเกี่ยวข้องกับ ค่า I และ c ซึ่งระยะเยื้องศูนย์ ที่ไม่ทำให้เกิดหน่วยแรงดึง จะต้องมีผลรวมของหน่วยแรงด้านค่าน้อย ในทุกแกน เป็นศูนย์ ดังสมการ
                S = P/A-M*c/I = 0 กรณีหน้าตัดเสาเข็มเป็นสี่เหลี่ยม จะได้
                P/A-6*M/B/(L^2) = 0
                P/A-6*P*e/A/L = 0
                P/A(1-6*e/L) = 0
                1-6*e/L = 0
                e = L/6
                ดังนั้น ระยะเยื้องศูนย์ ที่ไม่ทำให้เกิดหน่วยแรงดึง ในเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยม ในแต่ละแกน จะอยู่ที่ 1/6 ของความยาวหน้าตัดเสาเข็ม ทำนองเดียวกัน ระยะเยื้องศูนย์ของเสาเข็มกลม จะอยู่ที่ 1/8 ของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม หากมีระยะเยื้องศูนย์สองแกน ระยะเยื้องศูนย์จะต้องอยู่ภายในพื้นที่เคิร์น ( Kern area )
                วิธีการแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์ คือการจัดการโมเมนต์เยื้องศูนย์และหน่วยแรงดึง เป็นหลัก ไม่ใช่ขยายฐาน ครับ

 
ตัวอย่างการแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์

Location : B8
                Loadings :
                area = 4.00*5.75 = 23.00 m^2
                estimated LL&LL = 1,200 kg/m^2
                floor loading = 23.00*1,200*3 = 82,800 kg
                roof loading = 23.00*800 = 18,400 kg
                total loading = 101,200 kg

 
 
                x = 0.13/2 = 0.065 m
                y = 1.78/2 = 0.89 m
                ex = 0.065-0.04 = 0.025 m
                My = 101,200*0.025 = 2,530 kg m

 

                C = T = 2,530*0.065/(0.065^2+0.065^2) = 19,462 kg
                Max = 70,062 kg => overload
                Min = 31,138 kg

Location : B9
                Loadings :
                area = 4.00*5.75 = 23.00 m^2
                estimated LL&LL = 1,200 kg/m^2
                floor loading = 23.00*1,200*3 = 82,800 kg
                roof loading = 23.00*800 = 18,400 kg
                total loading = 101,200 kg

 
 
                x = 0.09/2 = 0.045 m
                y = 1.70/2 = 0.85 m
                ex = 0.045 m
                ey = 0.89-0.85 = 0.04 m
                Mx = 101,200*0.04 = 4,048 kg m
                My = 101,200*0.045 = 4,554 kg m

 

                C = T = 4,048*0.85/(0.85^2+0.85^2) = 2,381 kg
                C = T = 4,554*0.045/(0.045^2+0.045^2) = 50,600 kg
                
Max = 98,819 kg => overload
                Min = 2,381 kg

UB1 ( 0.60*1.40 m )
Location : line B

 
 
                M = 5,177 kg m
                As = 3.25 cm^2 => 4.28
                use 5DB20 mm
                V = 101,886 kg
                use 2RB12 mm @0.10

UB2 ( 0.60*1.40 m )
Location : line 9
 
 
                M = 18,394 kg m
                As = 11.53 cm^2 => 15.22
                use 5DB20 mm
                V = 109,483 kg
                use 3RB12 mm @0.10

 
 

หลักการเพิ่มโครงสร้าง
                1 จะต้องให้จุดศูนย์ถ่วงของเสาตอม่อ ฐานราก และกลุ่มเสาเข็ม อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เพื่อตัดโมเมนต์เยื้องศูนย์ออกไป
                2 โครงสร้างที่เพิ่มขึ้นมา จะเป็นคานรับเสาอาคาร
                3 จำนวนคานรับเสาอาคาร จะขึ้นอยู่กับจำนวนแกนที่เยื้องศูนย์
                4 น้ำหนักที่ถ่ายลงฐานราก จะต้องไม่มากกว่า ความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็ม มิฉนั้น จะต้องเพิ่มเสาเข็ม
                ที่กล่าวมานี้ ผมหวังว่า ผู้สนใจที่เข้ามาอ่าน คงได้ความรู้และมีความเข้าใจ ในเรื่องการแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์ ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการที่ถูกต้อง ในการแก้ไขเสาเข็มเยื้องศูนย์ คือการจัดการโมเมนต์เยื้องศูนย์และหน่วยแรงดึง เป็นหลัก ไม่ใช่ขยายฐาน ครับ

 



Create Date : 28 มกราคม 2561
Last Update : 24 ตุลาคม 2562 16:11:07 น. 3 comments
Counter : 50343 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: ปุ้ย IP: 49.228.18.203 วันที่: 20 พฤษภาคม 2564 เวลา:22:36:29 น.  

 
ขอบคุณครับ อยากอ่านรู้เรื่องจังครับผม กำลังตัดสินใจเรื่องการกาอสร้างบ้านเอง ครับผม ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนกำลังศึกษา ครับผม


โดย: ์Nattiphong IP: 27.55.73.70 วันที่: 6 มกราคม 2565 เวลา:8:56:46 น.  

 
อยากถามนิดนึงครับ​ คือ​ ถ้าตอกเสาเข็มลึก​ 18​ เมตร​
1.ความยาวของเข็มยาวไม่ถึง​ 18​ เมตร​ เวลาตอกต้นต่อไปจะต้องเชื่อมยึดหัวเสาเข็มระหว่างต้นแรกกับต้นต่อไปด้วยอะไน
2.เมื่อตอกต้นแรกไปแล้วตอกต้นต่อไปเกิดไม่ได้.Center.จะแก้อย่างไร
3.ห่กตอกต้นแรกแล้วเกิดเอียงจะต้องแก้อย่างไร
4.มีวิธีไหนที่จะทำให้เจ้าของบ้านทราบได้ว่าต้องนับโบแล้วกับจะรู้ได้อย่างไรว่าควรนับโบกีโบ
ขอบคุณครับ


โดย: สมบูรณ์ IP: 124.122.30.37 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:11:04:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

วิศวกรที่ปรึกษา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




ประกอบอาชีพวิศวกรโครงสร้างและวิศวกรโยธา

ไม่สนับสนุนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร รวมทั้งงานต่อเติมที่ผิดกฎหมายต่อพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


New Comments
Friends' blogs
[Add วิศวกรที่ปรึกษา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.