มกราคม 2561

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
ต่อมอะดีนอยด์โต ภัยร้ายที่คุกคามพัฒนาการของลูกๆของเรา..ลูกใครนอนกรน สมาธิสั้น คลิกค่ะ!!!


 สวัสดีค่ะ  ตั้งกระทู้วันนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อ 4-5 ปีก่อน เราเคยสงสัยว่า ลูกสาวเราเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ สงสัยจนมาตั้งกระทู้ปรึกษา
https://pantip.com/topic/30682924 (กระทู้เมื่อหลายปีก่อน)

ตอนนี้ผ่านไปหลายปีแล้ว หลังจากที่มาตั้งกระทู้นี้เมื่อหลายปีก่อน เราก็สังเกตพฤติกรรม รวมถึงช่วงนั้นปรึกษาคุณหมอเรื่องลูกนอนกรนอยู่เนืองๆ
กุมารแพทย์ให้รอจนถึง 3 ขวบ เพราะช่วงก่อน  3 ขวบ อาจกรนเพราะยังจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก แต่หลัง  3 ขวบแล้ว ไม่ควรจะกรน
ลูกสาวเรากรนหนักขึ้น หลัง  3 ขวบก็ไม่หายค่ะ กุมารแพทย์จึงส่งตัวไปตรวจกับคุณหมอเฉพาะทาง (หู คอ จมูก)
แล้วก็ตรวจพบว่าลูกสาวเรา ต่อมอะดีนอยด์โต

"ต่อมอะดีนอยด์เป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของโพรงจมูก ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคคออักเสบ โรคโพรงไซนัสอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น" (ข้อมูลเพิ่มเติมของต่อมอะดีนอยด์โต สามารถหาไดทั่วไปในกูเกิ้ลค่ะ แต่เดี๋ยวเราจะแปะไว้ในคห. ที่1 อีกที)

ต่อมอะดีนอยด์ มันอยู่หลังโพรงจมูก พอมันโตมากๆ จะปิดกั้นทางเดินเสียง ทำให้ได้ยินไม่ชัดหรือไม่ได้ยิน
ครั้งแรก คุณหมอยังไม่แนะนำให้ผ่าออก ให้รอก่อน เพราะมันยังไม่โตมาก ให้กลับมาตรวจใหม่เรื่อยๆ
จนกระทั่งผ่านไปปีกว่า (เริ่มตรวจ  3 ขวบ ตรวจไปจนถึง 4 ขวบปลายๆ ) มันไม่มีวี่แววว่าจะเล็กลงเลย
หนำซ้ำกลับโตขึ้นเรื่อยๆ สมาธิลูกแย่ลงเรื่อยๆ กรนหนักขึ้นเรื่อยๆ  แล้วก็มีภาวะ แอพเนีย (หยุดหายใจขณะหลับ) หลายครั้งค่ะ เราไม่เคยได้นอนเต็มตาเพราะเป็นห่วง กลัวไหลตายไปเฉยๆ แต่ด้วยความที่ ช่วงที่เริ่มแอพเนีย เราเริ่มล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือทุกวัน อาการกรนเลยลดน้อยลงไปเยอะ ก็ไม่ได้คิดว่าแอพเนียเพราะต่อมมันโตขึ้น
ช่วงนั้น คุณหมอแนะนำว่า มันโตเกินจะรอแล้วล่ะ ผ่าเถอะ  แต่เราไม่ผ่าค่ะ รอด้วยความหวัง เผื่อมันจะเล็กลงเอง

สุดท้าย ในปีต่อมา (5ขวบ) ลูกสาวเป็นหวัด แล้วปวดหู (ผลข้างเคียงของต่อมอะดีนอยด์โตค่ะ)  เราจึงพาไปหาหมอหูคอจมูก
แต่บังเอิญเป็นวันหยุด หมอประจำหยุดค่ะ เลยพาไปหมอเวร

คุณหมอเวร หู คอ จมูก(คนที่สอง) ตรวจด้วยการส่องหู และ ใช้เครื่องมืออะไรไม่ทราบเป็นเหล็ก เคาะกับข้อเท้าของหมอก่อน ให้เกิดการสั่นสะเทือนนิดๆ แล้วเอาไปจ่อบนหัวลูกเรา คุณหมอเวรบอกว่า ปกติ จะไม่ได้ยินเสียงจากเครื่องมือนั้น แต่ลูกเราได้ยินค่ะ เป็นเสียงอื้อออออ อี๊ดดดด
หมอเลยแนะนำว่าควรผ่าตัดโดยด่วน เพราะมันจะมีปัญหา ปิดกั้นพัฒนาการ เนื่องจากพอ 6-7 ขวบต้องเข้า รร.
หากไม่ได้ยินที่ใครพูด จะแย่มาก เพราะเมื่อได้ยินเสียงไม่ชัด มีผลกับพัฒนาการทางภาษา ซึ่งจำเป็นอย่างมากในเด็กวัยเรียน และสมาธิจะสั้นแบบนี้

หลังจากการผ่าตัด ใช้เวลาสักพัก ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่จะค่อยๆเปลี่ยนนะคะ ไม่ใช่ว่าผ่าแล้วสมาธิดีขึ้นทันที
เพราะเราปล่อยให้เขาชินกับการอยู่ไม่นิ่ง เนื่องจากได้ยินเสียงภายนอกไม่ชัดเจน มานาน เลยต้องใช้เวลาปรับตัว
แต่สุดท้ายเขาก็ดีขึ้น สมาธิดีขึ้นมากค่ะ และนอนไม่กรนแล้ว
นานๆจะกรนสักที สองปีกรนครั้งนึง แค่เวลาไม่สบาย เป็นหวัดหรือมีน้ำมูก แต่ไม่ดังเป็นรถไฟเหมือนสมัยก่อน
ซึ่งนอนกรนเพราะเป็นหวัด ถือเป็นเรื่องปกติ พอหายหวัด ก็ไม่กรน อันนี้ไม่ต้องกังวลค่ะ

คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ลูกนอนกรนเป็นนิจสิน กรนเหมือนเป็นพรสวรรค์ติดตัวมาแต่เกิด และรู้สึกเหมือนจะสมาธิสั้น ก็อย่าลืมนึกถึงเรื่องต่อมอะดีนอยด์นะคะ สมัยนี้เป็นกันเยอะ    เวลาตรวจ คุณหมอจะให้อ้าปากค่ะ ตรวจทางปากธรรมดาๆ ไม่น่ากลัว

มีน้องคนหนึ่งพาลูกไปตรวจกับหมอเด็ก ซึ่งไม่ใช่หมอเฉพาะทางของโรคนี้ คุณหมอสั่งเอ็กซ์เรย์  
ซึ่งหมอเฉพาะทางบอกว่าจริงๆไม่จำเป็น  (พอน้องย้ายมาที่สวิตฯ น้องพาไปตรวจอีกครั้ง น้องเล่าให้หมอเฉพาะทางฟังว่า เคยเอ็กซ์เรย์ดูแล้ว
หมอถามว่าเอ็กซ์เรย์ทำไม ปกติตรวจทางปากก็เห็นแล้วว่าโตหรือไม่โต)

ลูกสาวเราก็ตรวจทางช่องปากเช่นกันค่ะ

นอกจากนี้ บางคนเห็นว่า ลูกเคยนอนกรน พาไปตรวจ เจอต่อมอะดีนอยด์โต แต่ไม่อยากให้ผ่าตัด ใช้วิธีล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทุกวัน จนลูกไม่กรน จึงคิดว่าลูกหายแล้วเลยชะล่าใจปล่อยไป ขอย้ำตรงนี้เลยค่ะ ว่า ถึงแม้ว่าการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือจะช่วยทำความสะอาดโพรงจมูกได้
แต่ไม่สามารถทำให้ต่อมอะดีนอยด์เล็กลงได้
การที่ลูกคุณจะหายจากต่อมอะดีนอยด์โตได้ ต้องให้คุณหมอเป็นคนแจ้ง
เพราะคนใกล้ตัวเรา รวมถึงตัวเราด้วย ก็ลองวิธีล้างน้ำเกลือมาเยอะแล้ว และลูกหายกรนจริง แต่ตรวจออกมาทีไร ต่อมอะดีนอยด์ก็ไม่ได้เล็กลงค่ะ
หนำซ้ำใหญ่ขึ้น และมีผลกระทบหนักขึ้น อีกต่างหาก  (ไม่ได้แย่ลงเพราะน้ำเกลือนะคะ แย่ลงเพราะเราคิดว่าลูกหายแล้ว เลยไม่ยอมผ่าตัด ทำให้การรักษาล่าช้า)

สุดท้าย ก็ต้องยอมผ่าตัด ตอนลูก 5 ขวบ (ทั้งๆที่ควรจะผ่าตั้งแต่ 3-4 ขวบ ที่คุณหมอแนะนำครั้งแรกแล้วด้วยซ้ำ)

การผ่าตัดไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ คุณหมอผ่าเข้าทางปาก เป็นผ่าตัดเล็ก
แต่ต้องวางยาสลบ เนื่องจากเด็กจะไม่ยอมให้ฉีดยาชา และไม่สามารถอ้าปากได้นาน

ดังนั้น ก่อนผ่าตัด จึงจำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร งดทุกอย่าง เป็นเวลาอย่างน้อย  8 ชม.  ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
สำคัญมากนะคะ หากไม่งดน้ำงดอาหาร ระหว่างผ่าตัด น้ำและอาหารที่ค้างในทางเดินอาหาร จะขย้อนขึ้นมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

หลังผ่าตัด คุณหมอแนะนำให้ทานไอศกรีม หรืออะไรก็ได้เย็นๆ อมน้ำแข็งก็ได้ค่ะ เด็กๆชอบกันเลยทีเดียว  

และหากคุณหมอแนะนำให้ผ่า ควรผ่าให้เร็วที่สุด อย่าปล่อยไว้นานนะคะ มีผลกับพัฒนาการของน้องมากๆ

อาการของโรคนี้ สาเหตุ และผลกระทบ เราแปะไว้ที่คห. 1 นะคะ เลื่อนลงไปดูได้

ด้วยความปรารถนาดีค่ะ



Create Date : 25 มกราคม 2561
Last Update : 25 มกราคม 2561 15:42:40 น.
Counter : 3339 Pageviews.

4 comments
  
ต่อมอะดีนอยด์ คืออะไร

ต่อมอะดีนอยด์เป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของโพรงจมูก ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคคออักเสบ โรคโพรงไซนัสอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น


ต่อมอะดีนอยด์โตได้อย่างไร สาเหตุที่ทำให้ต่อมอะดีนอยด์โต ได้แก่

1. การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

2. โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ของเยื้อบุโพรงจมูก หรือ โรคแพ้อากาศ

3. การติดเชื้อเรื้อรังของต่อมอะดีนอยด์ โดยส่วนใหญ่จะพบต่อมทอนซิลโตร่วมกับต่อมอะดีนอยด์โต เนื่องจากต่อมทอลซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับต่อมอะดีนอยด์




เด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์โตจะมีอาการอย่างไร

เด็กที่มีต่อมอะดีนอยด์โตจะมีอาการของทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น เช่น หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง นอนอ้าปาก เนื่องจากมีการหายใจทางปาก นอนกรน สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือมีภาวะหยุดหายใจ เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงตอนกลางคืนขณะที่เด็กมีการหลับสนิท




ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคต่อมอะดีนอยด์โต

1.เด็กจะรู้สึกง่วง หรืออ่อนเพลียในช่วงเวลากลางวัน จากการนอนหลับไม่เต็มที่ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง

2. มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น

3. มีการหลั่งของฮอร์โมนที่จำเป็นในการเจริญเติบโตลดน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวจะหลั่งในขณะที่เด็กมีการนอนหลับสนิท

4. มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกใบหน้า ทำให้รูปใบหน้ารีเป็นรูปไข่ จากการโก่งตัวสูงขึ้นของกระดูกเพดานปาก และมีการยื่นออกของฟันหน้าจนผิดรูป ซึ่งเกิดจากการที่เด็กหายใจทางปาก



ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การขาดออกซิเจนในช่วงของการนอนตอนกลางคืนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตในปอดสูง เป็นต้น


การรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต

นอกจากการรักษาโรคที่พบร่วมด้วยแล้ว แนวทางการรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธี

1.การรับประทานนาปฏิชีวนะ ร่วมกับการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ผ่านจมูก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามเด็กอาจมีอาการกลับเป็นซ้ำได้หากมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีการกำเริบของโรคแพ้อากาศ

2.การผ่าตัดรักษา ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือ
- กรณีที่เด็กไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการรับประทานยา และยาสเตียรอยด์
- กรณีที่เด็กมีภาวะหยุดหายใจ
- กรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังร่วมกับมีน้ำคั่ง หรือโรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น


การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ จะเกิดผลเสียต่อเด็กหรือไม่

การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์จะไม่เกิดผลเสียในด้านลดความสามารถของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากร่างกายมีระบบต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถทำงานทดแทนต่อมอะดีนอยด์ที่ถูกตัดออกไป รวมถึงบทบามของต่อมอะดีนอยด์ก็จะลดน้อยลงและต่อมจะมีขนาดเล็กลงในเด็กที่อายุมากกว่า 5-7 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sanook.com/women/9499/
โดย: elin วันที่: 25 มกราคม 2561 เวลา:15:36:13 น.
  
แวะมาทักทายจ้าา ^__^ อิอิ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ Cover Paint สักไรผม 3D Eyebrow ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: สมาชิกหมายเลข 4507140 วันที่: 29 เมษายน 2561 เวลา:16:14:43 น.
  
ผ่าได้1วัน นอนเสียงกรนดังกว่าก่อนผ่ามากเลยค่ะ
ลูกคุณหลังจากผ่าตัดมีอาการแบบนี้หรือเปล่าค่ะ
โดย: เบญ IP: 101.109.149.180 วันที่: 28 มิถุนายน 2561 เวลา:19:57:22 น.
  
คุณ เบญ
ขออภัยค่ะ ตอบช้าไปปีนึงเลยทีเดียว
หลังผ่ายังไม่หยุดกรนค่ะ แผลอาจบวม
แต่จะค่อยๆดีขึ้นนะคะ
โดย: elin วันที่: 8 มิถุนายน 2562 เวลา:16:44:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

elin
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments