space
space
space
<<
ตุลาคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
5 ตุลาคม 2561
space
space
space

โทรทัศน์ กับ เด็กวัยเรียนรู้


พี่เลี้ยงเด็ก

จากเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่เล็งเห็นความสำคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เพิ่มบทบาทสื่อของรัฐ และขอความร่วมมือสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคเอกชนในการจัดทำรายการ เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสรรช่วงเวลาดีๆ ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงงานวิจัยทั่วโลกเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์ว่า

นอกเหนือจากการกำหนดช่วงเวลาเหมาะสมในการออกอากาศรายการโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเนื้อหาสาระของรายการที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และที่สำคัญคือ ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของพ่อแม่ ผู้ปกครอง จะต้องไม่ปล่อยให้โทรทัศน์เป็นพี่เลี้ยงเด็กแทนตนเอง


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ซึ่งยังไม่พร้อมทั้งด้านประสาทสัมผัส ความเข้าใจในภาษาสื่อสาร และการแยกแยะเนื้อหาสาระที่ได้รับ

ผลการสำรวจต่างประเทศพบว่า เด็กใช้เวลาอยู่หน้าโทรทัศน์ 1,500 ชั่วโมง/ปี แต่กลับมีเวลาอยู่ในห้องเรียนเพียง 900 ชั่วโมง/ปี

ส่วนเด็กไทยก็ไม่แพ้กัน กล่าวคือ จากข้อมูลการสำรวจครอบครัวและเด็กอายุ 1-18 ปี ทั่วประเทศ จำนวน 9,488 ราย ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2544 ของโครงการวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทยฯ พบว่าเด็กใช้เวลาดูโทรทัศน์ถึง 1 ใน 5 ของเวลาตื่น หรืออาจฯ พบว่าเด็กใช้เวลาดูโทรทัศน์ถึง 1 ใน 5 ของเวลาตื่น หรืออาจถึงครึ่งหนึ่งของเวลาว่างจากการทำกิจวัตรส่วนตัวและการไปโรงเรียนโดยพบว่า

 เด็กอายุ 1 ขวบ-ต่ำกว่า 6 ขวบ ร้อยละ 96.7 ได้ดูโทรทัศน์ เฉลี่ยวันละ 1.9 ชั่วโมง เด็กในเขตเมืองใช้เวลาดูโทรทัศน์มากกว่าเด็กชนบท เด็กกรุงเทพมหานครใช้เวลาดูโทรทัศน์มากที่สุด วันละ 2.1 ชั่วโมง ผู้เลี้ยงดูเด็ก ร้อยละ 40.1 ไม่เคยเลือกรายการโทรทัศน์ให้เด็กดู ร้อยละ 23.7 ให้เด็กดูเหมือนกับตนเอง มีเพียงร้อยละ 36.2 เลือกรายการโทรทัศน์ให้เด็ก รายการที่เลือกให้เด็กดู 3 อันดับแรก ได้แก่ รายการการ์ตูน ร้อยละ 56.6 รายการสำหรับเด็ก ร้อยละ 16.0 และละครหรือภาพยนตร์ ร้อยละ 7.8

 เด็กอายุ 6 ขวบ 1-8 ปี ใช้เวลาว่างในการดูโทรทัศน์หรือวีดีโอมากที่สุด เด็กอายุ 6 ขวบ-ต่ำกว่า 13 ปี ดูโทรทัศน์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 19.6 ชั่วโมง เฉลี่ยวันธรรมดา 2.5 ชั่วโมง วันหยุดเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมง เด็กในเขตเมืองใช้เวลาดูโทรทัศน์มากกว่าเด็กในชนบท ไม่มีความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง รายการโทรทัศน์ที่นิยม 3 อันดับแรก คือละครหรือภาพยนตร์ (ร้อยละ 41.6) ละคร (ร้อยละ 28.5) และเกมโชว์ (ร้อยละ 12.4)

 เด็กอายุ 13-18 ปี ดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันธรรมดา 3.3 ชั่วโมง วันหยุดเฉลี่ย 4.9 ชั่วโมง เด็กในเขตเมืองใช้เวลาดูโทรทัศน์มากกว่าเด็กในชนบท รายการโทรทัศน์ที่นิยม 3 อันดับแรก คือละครหรือภาพยนตร์ (ร้อยละ 32.2) เกมโชว์ (ร้อยละ 21.1) และรายการเพลง (ร้อยละ 13.9)

แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทยกล่าวว่า

ผลการวิจัยโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทยชี้ว่า นอกจากพ่อแม่ในกรุงเทพฯ จะให้ลูกอายุไม่ถึง 1 ขวบ ดูโทรทัศน์แล้วพ่อแม่ยังมีทัศนคติที่ผิดคิดว่าโทรทัศน์จะช่วยให้ลูกฉลาดขึ้น

นอกจากนี้ ผลวิจัยจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เรื่องความถี่ในการดูทีวีของเด็กไทย พบว่ากว่าครึ่งของเด็กดูโทรทัศน์บ่อย กล่าวคือ

 กลุ่มเด็กอายุ 8-12 เดือน ดูโทรทัศน์บ่อยร้อยละ 60

 กลุ่มเด็กอายุ 12-18 เดือน ร้อยละ 63

 กลุ่มเด็กอายุ 18-24 เดือน ร้อยละ 53


ผลกระทบจากโทรทัศน์ที่มีต่อเด็ก

จากหลักฐานการวิจัยในปัจจุบันชี้ว่าโทรทัศน์มีทั้งผลดี และผลเสียต่อเด็ก การเลือกรายการที่ดีและเหมาะสมตามวัยจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมสังคม และพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก ในขณะเดียวกันหากเลือกรายการไม่เหมาะสมจะเกิดผลลบต่อความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

นอกจากนี้การดูโทรทัศน์มากยังสัมพันธ์กับปัญหาอ้วนและน้ำหนักเกิน ระหว่างดูโทรทัศน์ นอกจากเด็กจะนั่งหรือนอนแล้ว ส่วนใหญ่ยังมักกินขนมขบเคี้ยวไปด้วย ประกอบกับโฆษณาที่เด็กเห็นในโทรทัศน์มักเป็นขนมขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำแต่อุดมด้วยไขมันและน้ำตาล กระตุ้นให้เด็กอยากกินมากขึ้นและเกิดภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น

แล้วครอบครัวจะทำอย่างไร?

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรทัศน์ในการเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ จำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์น้อยกว่า 1-2 ชั่วโมงต่อวัน เลือกรายการโทรทัศน์ให้เหมาะสมกับวัยและเน้นรายการที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (ซึ่งขณะนี้ยังมีน้อยมากในประเทศไทย) แม้ในเด็กโตและเด็กวัยรุ่นพ่อแม่ก็ควรมีส่วนร่วมในการเลือกรายการด้วยการพูดคุยชี้แนะเด็ก พ่อแม่ต้องดูรายการพร้อมกับเด็ก เพื่อแนะนำและสอนให้เด็กรู้จักแยกแยะภาพที่เห็นกับโลกที่เป็นจริง เป็นการฝึกทักษะในการรับสื่ออย่างมีวิจารณญาณให้กับเด็ก การับภาพสื่อโทรทัศน์ที่ก้าวร้าวรุนแรงมีผลส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวและต่อต้านสังคม ทำให้เด็กชาชินต่อความรุนแรงจนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา และอาจทำให้เด็กบางคนมีความเข้าใจรับรู้ที่ผิดว่าโลกที่อาศัยอยู่มีความโหดร้ายและอันตราย ซึ่งอาจเกิดปัญหาต่อตนเองและสังคมในอนาคต

แม้โทรทัศน์จะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก และสร้างความบันเทิง ให้กับครอบครัว แต่โทรทัศน์ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมในครอบครัวอีกมากมาย ที่พ่อแม่สามารถเลือกเพื่อส่งเสริมลูกรักมีพัฒนาการที่สมวัยได้ ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย การเล่นกับเด็ก ร้องเพลง หรือเล่านิทาน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสานสายใยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูกแล้ว ยังเป็นการฝึกให้เด็กมีทักษะทางสังคม จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่มีชีวิตไม่ใช่โทรทัศน์ที่เป็นสื่อไร้ชีวิต


ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต

หากสนใจหาพี่เลี้ยงเด็ก สามารถติดต่อสอบถามปรึกษาเรื่อง พี่เลี้ยงเด็ก, พี่เลี้ยงฟิลิปปินส์ ได้ที่
เว็บไซต์ : https://www.kidnario.com
Facebook : https://www.facebook.com/KiDNARIO




Create Date : 05 ตุลาคม 2561
Last Update : 5 ตุลาคม 2561 23:27:16 น. 0 comments
Counter : 352 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4742812
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4742812's blog to your web]
space
space
space
space
space