All Blog
ธรรมะเดือนสิงหา
620801  เหตุให้เกิดวิปัสสนา ความบริสุทธิ์ของศีลและจิต
620802  สังขารเป็นทุกข์จากเพลิงทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย และเพลิงกิเลสโลภโกรธหลง
620803  ความพอใจด้วยของที่มีแห่งตน เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง ทำให้เกิดความปลื้มใจ
620804  สันโดษ พอใจในของ ๆ ตนที่มีอยู่ และได้มา ยินดีตามมีตามได้ ตามกำลัง ตามสมควร
620805  ศีลมีมารยาทเรียบร้อยสำรวม สมาธิมีจิตใจมั่นคงเข้มแข็งสงบ ปัญญาไม่หวั่นไหวเมื่อประสบโลกธรรม
620806  ปกติจิตเป็นประภัสสรแต่ขุ่นมัวด้วยนิวรณ์ 5 ความรักใคร่ ปองร้ายอาฆาต ท้อแท้ ฟุ้งซ่านรำคาญ สงสัยลังเลใจ
620807  การเจริญมรณัสสติ ให้มีสติระลึกถึงความตาย เพื่อเกิดสังเวชสลดใจ ไม่ประมาทในชีวิต จะได้รีบเร่งทำความดี
620808  นอกจากเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์แล้ว ความโศกความแห้งใจ ความรัญจวนคร่ำครวญ ไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ล้วนเป็นทุกข์เช่นกัน
620809  การแผ่เมตตาเพื่อให้จิตใจอ่อนโยนปราศจากความโกรธแค้นพยาบาท เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและให้พ้นอันตรายจากสัตว์ทุกประเภท
620810  เมื่อทำอานาปานสติถึงจุดที่ลมหายใจไม่ปรากฏให้กำหนดได้ อย่าตกใจ เสียใจ หรือลุกหนี เพราะปฏิบัติได้ถูกวิธีแล้ว
620811  โดยปรมัตถ์แล้ว ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครอยู่ ไม่มีใครตาย มีแต่กระแสแห่งสังขาร การปรุงแต่งตามกฎอิทัปปัจยตา
620812  ปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
620813  โทสะนำมาซึ่งความฉิบฉายและเผาผลาญ ซึ่งลดทอนได้ด้วยขันติความอดทนอดกลั้น
620814  เมื่อกายและจิตกระวนกระวายลมหายใจหยาบ เมื่อกายและจิตสงบลมหายใจจะละเอียด
620815  การฝึกจิตด้วยอานาปานสติทำได้ใน 4 รูปแบบ คือ นั่ง ยืน เดิน และนอน
620816  ศีลปราบกิเลสอย่างหยาบ สมาธิปราบกิเลสอย่างกลาง ปัญญาปราบกิเลสอย่างละเอียด
620817  เอกัคคตา เพื่อให้จิต ผ่องใส สุข เข้มแข็ง มีพลัง
620818  เอกัคคตาคือการที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรือเป็นองค์ฌาน
620819  ช่วงที่จะเกิดเอกัคคตา  จิตมีอาการตกวูบ แล้วจึงรวมตัวเป็นหนึ่ง
620820  คนฉลาดจะคอยดักลมหายใจที่ปลายจมูก ขณะทำอานาปานสติ
620821  อินทรีย์ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา การปรับอินทรีย์มีผลต่อการทำกรรมฐาน
620822  ก่อนทำกรรมฐานต้องชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้สงบ
620823  ศัตรูของเมตตาคือราคะและพยาบาท
620824  ศัตรูของกรุณาคือโทมนัสความเศร้าโศกไม่สบายใจ และวิหิงสาความเบียดเบียน
620825  มุทิตา ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ศัตรูคือโสมนัสที่มีกามคุณเจือปน กับริษยาทุกข์ใจเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
620826  อุเบกขา คือเข้าใจและยอมรับในโลกธรรม จนวางเฉยต่อสิ่งที่จะเกิดด้วยใจสงบ
620827  อภิญญา 5 จิตที่ฝึกจนแสดงฤทธิ์ได้ หูทิพย์ รู้ใจผู้อื่น ระลึกชาติได้ ตาทิพย์
620828  ผูกพยาบาทเหมือนผูกเงื่อนเป็น จองเวรเหมือนผูกเงื่อนตาย แก้ยาก
620829  หิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัว ไม่ประพฤติชั่วที่ผิดทางกายวาจาใจ
620830  เมื่อจิตบริสุทธิ์สิ้นกิเลสทั้งปวง จะทำให้ไม่เกิดอีก เรียกนิพพาน
620831  คนโทสจริตโกรธง่าย ให้ปฏิบัติในพรหมวิหาร 4 และวัณกสิณสี 4



Create Date : 31 สิงหาคม 2562
Last Update : 31 สิงหาคม 2562 5:57:40 น.
Counter : 531 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments