All Blog
กำแพงเบอร์ลิน อัปยศแห่งอำนาจ
601130 กำแพงเบอร์ลิน อัปยศแห่งอำนาจ
Berlin Wall Shame of power by DrPK
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่ชนะสงครามแบ่งสมบัติที่พึงได้ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้คนในประเทศผู้แพ้
 ผู้เข้าสู่สงครามคือผู้นำประเทศ ไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา แต่เมื่อเข้าสู่สงคราม คนล้มหายตายจากคือชาวบ้าน และเมื่อแพ้สงคราม ใครคือผู้รับกรรม ก็ชาวบ้านอีกนั่นแหละ
 อำนาจเป็นความถูกต้องเฉพาะผู้มีอำนาจเท่านั้น ไม่เคยรับเคราะห์กรรมแม้แต่น้อย ส่วนชาวบ้านรับเคราะห์กรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อแม้แต่น้อย ซวยไปที่ต้องอยู่ใต้อำนาจของคนอื่น
 ที่เบอร์ลินเมืองหลวงเยอรมันมีรัสเซียคุมทางตะวันออก อเมริกาคุมทางตะวันตก
 ชาวบ้านมีชีวิตแบบเดิมในช่วงแรก คนทางตะวันตกไปทำงานทางตะวันออก ผู้คนยังคงมีเสรีภาพในการเดินทาง จนมาวันหนึ่งที่ครุสชอฟเกิดความคิดแบบคอมมิวนิสต์ สร้างแนวลวดหนามโดยปิดกั้นไม่ให้คนเดินทางเข้าออก
 ต่อจากนั้นได้สร้างกำแพงที่หนาขึ้น แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อปิดกั้น นี่เป็นวิธีคิดเพื่อแก้ปัญหา น่าแปลกที่ฝั่งตะวันตกไม่ได้จัดการแก้ปัญหานี้ ดูเหมือนต่างฝ่ายต่างยอมกัน แต่ชาวบ้านไม่ยอมที่จะอยู่ภายใต้การปกครองที่ตนไม่ปรารถนา จึงเกิดการหลบหนีจากตะวันออกไปยังตะวันตก
 สงครามเย็นระหว่างรัสเซียกับอเมริกา หรือคอมมิวนิสต์กับทุนนิยม ความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ยิ่งสร้างความแตกแยกให้ถ่างขยายมากขึ้น ครุสชอฟและเคนเนดี้คือผู้นำที่ยอมความกันและคิดว่าน่าจะดีแล้วในการสร้างกำแพง
 ผู้คนตายนับร้อย บาดเจ็บนับพัน ผู้คนที่พยายามหนีในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการเพื่อแสวงหาโลกใหม่ที่ดีกกว่า จนมาถึงยุคที่กอร์บาชอฟและเรแกนเป็นผู้นำ ความคิดที่หยุดยั้งสงครามเย็นและทลายกำแพงเบอร์ลินเริ่มเป็นจริงขึ้น
 ความคิดของคนที่สกัดกั้นเสรีภาพและทำลายล้างคนที่คิดต่างจากตนได้ยุติลง ผู้ที่มีอำนาจและสั่งยิงคนที่คิดหนีได้รับการลงโทษ
 สิทธิและเสรีภาพของชาวบ้านธรรมดาสมควรได้รับการปกป้องอย่างจริงจัง ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้มีอำนาจไม่กี่คนมาบงการ แต่บอกแล้วต้องรับความซวยที่ตนไม่ได้ก่อ มันคืออัปยศแห่งอำนาจ ที่คนธรรมดาไม่มีสิทธิ์จะหลีกหนีให้พ้น
 



Create Date : 16 มิถุนายน 2562
Last Update : 16 มิถุนายน 2562 4:29:41 น.
Counter : 852 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments