เรื่องเล่าจากห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (ตอนที่ 1)




ก่อนที่จะเรียนจบชั้นม.3นั้น สิ่งที่หลายๆคนต้องคิดไว้ก่อนเสมอก็คือที่เรียนต่อบางคนก็อยากจะต่อสายอาชีพ บางคนก็เลือกที่จะต่อสายสามัญหรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ “มอปลาย” เนื่องด้วยเหตุผลต่างๆกันผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เลือกจะต่อสายสามัญ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่อยากจะต่อสายอาชีพสำหรับสายสามัญนั้น มันก็มีแผนการเรียนให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์คณิตหรือสายศิลป์ สำหรับผมนั้นเลือกที่จะต่อสายวิทย์ เนื่องจากผมถนัดและชอบในเรื่องนี้และอีกอย่างที่หลายๆคนที่เลือกสายนี้ก็คือ เมื่อต่อมหาวิทยาลัยมันเลือกเรียนได้มากกว่าสายศิลป์

แต่มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแผนการเรียน ผมนั้นก็ได้รู้จักกับ“ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์” ในฐานะสายการเรียนของเด็กที่เก่งในวิชาวิทย์และคณิตและแน่นอนว่าก็มีครูหลายท่านแนะนำให้ผมเรียนห้องเรียนนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเรียนแล้วมีโอกาสได้เปิดหูเปิดตามากกว่าสายวิทย์ธรรมดา แล้วก็จะได้ลดหย่อนค่าเล่าเรียนทุกคน ตอนนั้นผมก็ไม่รู้หรอกว่ามันเป็นอย่างไรแต่ก็ได้ตัดสินใจเลือกเรียนห้องเรียนพิเศษนี้ไปด้วยเหตุผลข้างบน

ด้วยความที่ค่าสมัครเรียนมันก็ไม่ต่างกับห้องวิทย์อื่นๆ(ของโรงเรียนที่ผมเรียน)ต่างกันเพียงแค่ต้องสอบเข้าเท่านั้น เลยไม่ได้สงสัยอะไร ก่อนที่จะเริ่มการเรียนครูประจำชั้นก็ได้เรียกผู้ปกครองเข้าประชุมชี้แจงถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะต้องจ่ายเพื่อร่วมกิจกรรมในเครือของห้องเรียนพิเศษค่า ใช้จ่ายบางอย่างก็ดูเหมือนจะแพงเกือบเท่าค่าเทอมอยู่ แต่ก็ยอมรับ

และแล้วกิจกรรมแรกก็ได้เริ่มขึ้นในระดับชั้นมอสี่ผมเองก็ตื่นเต้นกับมัน สำหรับกิจกรรมนี้เป็นการตอนรับน้องใหม่เข้าสู่โครงการนี้เป็นการพาไปเที่ยว ชมคณะต่างๆในสายวิทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยจะเป็นการสุ่มว่าใครจะได้ เข้าชมคณะอะไร โดยผมนั้นได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ก็พอโอเคอยู่ แต่ใจจริงอยากไปดูคณะวิทยาศาสตร์ไม่ก็คณะแพทย์มากกว่าแต่หลังจากได้เที่ยวชม แล้วก็มีอะไรที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน

มอห้าเทอมหนึ่งมาถึงผมก็เริ่มได้ยินคำว่า “โครงงานวิจัย” บ่อย ขึ้นและเริ่มได้ยินรุ่นพี่หลายๆคนที่อยู่ชั้นมอหกเล่าถึงความยากและลำบากของ การทำวิจัย อันที่จริงน่าจะได้ยินตั้งแต่เริ่มเข้ามอสี่แล้วแหล่ะเพราะตอนนั้นก็ได้มี โอกาสเข้าฟังการวิภาคโครงงานของรุ่นพี่มอหก ซึ่งดูค่อนข้างน่ากลัวน่ากลัวอย่างไรหรือ?

ตอนวิภาค นั้น ครูกลุ่มสายวิทย์และคณิตรวมทั้งคอมฯทั้งหลายก็จะเริ่มหาข้อผมพลาดของงานและ ติไปเรื่อยๆยิ่งถ้าตอบไม่ได้ บรรยากาศก็จะเริ่มเคร่งเครียดมากขึ้นเรื่อยๆแม้แต่ข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยอย่าง เช่น งานวิจัยของรุ่นพี่กลุ่มหนึ่ง ที่ทำเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์เฟิร์นก้านดำโดยมีภาพการทำงานภาพหนึ่ง ที่รุ่นพี่นั้นนำเสนอไป แล้วครูวิชาชีวะคนหนึ่งก็ได้สังเกตเห็นกล่องที่ใช้เพาะเฟิร์น และแน่นอนว่ามันมีข้อผิดพลาดอยู่ในการทดลองก็คือเขาไม่ได้แกะฉลากบนกล่องที่ ใช้เพาะบางกล่องออก และจึงต้องทำการทดลองใหม่เพราะฉลากนั้นบังแสงในบางกล่อง ซึ่งเป็นผลทำให้การทดลองนั้นตัวแปรควบคุม(สิ่งที่ต้องทำให้เหมือนกัน)มันต่างกัน

งานวิจัยนั้นเป็นสิ่งที่จะไม่เจอในห้องเรียนวิทย์ปกติเช่นกันแต่ผมได้คิดเรื่อง นี้ไว้ตั้งแต่มอสี่เทอมสองแล้ว และได้เลือกเพื่อนที่คิดว่าน่าจะทำงานด้วยกันได้ดีมาทำงานด้วยกัน พอถึงมอห้าก็บอกเพื่อนและรวมกลุ่มกันทันทีโดยไม่ได้คิดถึงนิสัยส่วนตัวของเพื่อนและความสามารถของเขาเลย

สำหรับเทอมแรกเป็นการเรียนระเบียบวิธีในการทำวิจัยและเริ่มคิดหัวข้อโครงงาน ส่วนเทอมสองนั้นเป็นการเริ่มต้นการทำวิจัยจริงๆ ซึ่งต้องมีการนำเสนอโครงร่างซึ่งแน่นอน มันก็ไม่ได้ต่างจากที่เคยเห็นตอนมอสี่เลย เมื่อเวลาได้เดินผ่านไป สิ่งที่ครูที่เคยชวนผมเข้าห้องเรียนพิเศษฯเคยพูดไว้ก็ไม่ได้ผิดเท่าใด ผมมีโอกาสมากกว่าห้องอีกจริงๆ เพียงแต่มันก็ได้เสียเงินและเหนื่อยมากกว่าห้องอื่นเช่นกัน

จนถึงวันแรกของชั้นมอหก ที่เป็นจุดไคลแมกซ์ของการเรียนห้องเรียนพิเศษฯนี้ งานวิจัยที่เคยทำๆปล่อยๆก็ ต้องรีบทำให้จบ แต่มันก็ไม่ใช่จะจบได้ง่ายๆ เพราะในแต่ละบทที่ทำนั้นต้องถูกตรวจอย่างละเอียดจากครูที่ปรึกษาและครูที่เป็นผู้ตรวจรูปเล่มโดยตรง ข้อผิดพลาดต่างๆนั้นต้องถูกแก้และมันก็ไม่ใช่จะแก้รอบเดียวผ่านแก้รอบแรกก็จะมีแก้รอบสอง รอบสาม รอบสี่ต่อไปเรื่อยๆ จนบางทีก็ท้อกับมันและคิดย้อนไปว่า ถ้ารู้ว่ามันต้องเจอแบบนี้ก็คงเลือกห้องเรียกวิทย์ปกติไปแล้วแต่ในเมื่อผมได้“เลือก”ไปแล้ว มันก็ต้องดำเนินต่อไป...

(ติดตามต่อตอนที่ 2)




Create Date : 06 สิงหาคม 2560
Last Update : 31 สิงหาคม 2560 22:09:15 น.
Counter : 480 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1208501
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2560

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30