เพื่ออรรถรสอันครบถ้วนย่าขอเอาคำตอบป้าพริมพลอยมาลงไว้ในที่นี้
ตอบย่าดาค่ะอันนี้หนูก็ไม่ทราบว่าทำไมถึงออกแบบอย่างนั้น แต่พอจะหลับตานึกภาพออกว่า กว่าที่พระท่านจะไต่บันไดขึ้น กว่าจะหมุนตัวบนพื้นที่แคบเพื่อหันหน้ามาหาญาติโยมทุลักทุเลขนาดไหน หนูเคยเรียนหนังสืออยู่ที่ จว.น่านค่ะ จำได้ว่าลุ้นมาก กลัวท่านจะหงายเงิบลงมาน่ะค่ะ หนูทราบแต่ว่าธรรมมาสน์แต่ละท้องที่จะทำไม่เหมือนกันแล้วแต่วัฒนธรรมและฝีมือช่างในท้องถิ่น ที่วัด...(จำไม่ได้) ที่ จ.สมุทรสาคร ไม่ได้เป็นพระยานาค แต่เป็นมังกรแบบศิลปะจีนค่ะส่วนรูปนี้ หนูเอาจากในเวปนะคะ จำไม่ได้ (อีกแล้ว) พระท่านเหยียบตรงตั่ง แล้วไม่ได้ก้าวข้ามไปนะคะด้านหน้าเป็นประดูเล็กๆ เปิดได้ค่ะ พอท่านนั่งเรียบร้อยก็ปิดบานพับ กันญาติโยมเห็นความไม่เรียบร้อย ดูภูมิปัญญาคนโบราณแล้ว ทึ่งจัดเลยจากคุณ : พริมพลอย - [ 29 มิ.ย. 49 15:34:36 ] ส่วนรูปนี้ ใครที่เคยไปโบสถ์คริสต์ "อาสนวิหารแม่พระบังเกิด" ที่บางนกแขวก สมุทรสงคราม คงจำได้ อันนี้สะดวกหน่อยเพราะบาทหลวงท่านยืนเทศน์จากคุณ : พริมพลอย - [ 29 มิ.ย. 49 15:38:30 ] ส่วนแบบนี้ คงจะชินตากันดี เพราะเห็นบ่อย และน่าจะสะดวกที่สุด พระท่านขยับตัวได้คล่องหน่อย พอเทศน์เสร็จ ก็นั่งปุจฉา-วิปัสนา กับญาติโยมต่อได้เลยภาพทั้งหมด หนูเอามาจากในเวปนะคะ รูปแบบใน คห.60 ก็เคยถ่ายไว้เหมือนกัน แต่หาไม่เจอค่ะ ไม่ได้ให้เครดิตเจ้าของภาพไว้ ต้องขออภัยด้วย ขอบคุณค่ะ ป้าพริม ย่าเคยเห็นทั้งสามแบบน่านแหละค่ะ แบบที่ย่าถ่ายมา(บันไดขึ้นธรรมมาสน์)เคยเห็นแต่เป็นมีแค่สองข้างไม่มีตรงกลางก็เลยแปลกใจว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น เห็นแล้วนึกถึงสมัยเด็กๆ ไปฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดเน้อะภาพเก่าๆ มันย้อนให้ระลึก ได้เลือนลานเลยหล่ะค่ะ จากคุณ : ดา ดา - [ 29 มิ.ย. 49 18:42:12 ]
Glittery texts by bigoo.ws