space
space
space
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
5 เมษายน 2563
space
space
space

ดอนปู่ตา ๒๕๒๘ ตอน ขี้ยาง
        ครั้งก่อนคงได้เห็นภาพของดอนปู่ตาแล้วว่าเป็นอย่างไร คราวนี้จะมาเล่าสู่กันฟังถึงการใช้ประโยชน์ของพวกเราว่าเราได้อะไรบ้างจากดอนปู่ตา  พวกเราเชื่ออย่างหนึ่งว่า ดอนปู่ตา เป็นสถานที่ส่วนรวมที่ทุกคนใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ดังนั้น ก็กลายเป็นที่ทำมาหาหินของชาวบ้านที่อยากเข้าไปหากินและไม่กลัวผีปู่ตา (เน้น)
        เริ่มจากผลงานชิ้นเอกก็แล้วกัน  "ขี้ยาง" หรือ น้ำมันยางนา  คนละอย่างกับยางพารานะ ไม่ใช่น้ำยางพารา ไม่ใช่ขี้ยางพารา อันนี้เป็น น้ำๆๆ อย่างที่บอกว่าดอนปู่ตามีต้นยางนาจำนวนมากและต้นใหญ่ๆทั้งนั้น บางต้น 10 คนโอบ จึงกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของดอนปู่ตา
                มีชาวบ้านหลายคนที่ไปทำน้ำมันยาง หรือเจาะต้นยางนาเอาน้ำมันยาง วิธีการก็คือ เอามีด พร้า ขวาน เจาะเข้าไปในต้นยางนา ทำเป็นหลุมๆ เราเรียกว่า "หลุมยาง" ไม่ใช่วิธีกรีดยางนะ เพราะมันเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกหนามาก การเจาะต้องเจาะเข้าไปในต้นเลยทีเดียว บางต้นเจาะห่างกัน 4-5 หลุม หากหลายหลุมไปต้นยางอาจตายได้ เดี๋ยวคนจะว่าจะด่าได้  เมื่อได้ขนาดที่พอใจแล้ว ไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป หากเล็กไปก็ได้น้ำยางน้อย หากใหญ่ไปก็ต้นยางตายหรือได้หลุมน้อย  หากต้นเล็กก็ยังไม่ทำการเจาะ  ส่วนมากจะเจาะต้นที่ 2-3 สามคนโอบขึ้นไปนะ  
          เมื่อทำหลุมเสร็จก็เอาไฟเผาในหลุมให้ไฟลุกไปรนต้นยางในหลุม มองภาพตอนเผาจะเหมือนกับต้นยางก็จะคายยางออกมา เมื่อเผาเสร็จก็เอาใบไม้หรือกิ่งไม้ปิดไว้ไม่ให้นำ้หรือแมลงเข้า ปล่อยไว้วันหนึ่งหรือสองวัน ดูที่ปริมาณว่าได้มากหรือยัง เต็มหลุมหรือยัง ก็มาตักเอาน้ำยางไปใช้ประโยชน์ต่อไป แล้วก็เผาใหม่ไปเรื่อยๆแบบนี้ละ หากภายในหลุมมันโดนเผาบ่อยๆก็จะตายก็ต้องถากภายในหลุมเอาถ่านออกมาทิ้ง คือทำให้สดใหม่เสมอๆนั้นละ
           น้ำยางที่ได้จะมีส่วนบนที่ใสๆและส่วนล่างที่ตกตะกอน เอาช้อนสังกะสีที่เราทานข้าวนั้นละมาตักใส่ขวดใส่คุหรือถังแล้วแต่คน จากนั้นก็เอาไปใช้ต่อไป
               วิธีการใช้น้ำมันยางนานี้ สมัยนั้นทำ 2 อย่าง
              1.คือการเอาไปผสม "ขี้ซี" เอาไปทาเรือ ยาเรือ ทาคุไม้ และเครื่องจักรยานต่างๆไม่ให้น้ำรั่ว สมัยนั้นพวกเราทำคุไม่ไผ่กันเอง ไม่ค่อยได้ซื้อคุถังสังกะสีหรือคุถังพลาสติก เพราะทำเป็นทุกบ้าน พอสานสอก็มาขี้ซีมายามาทากันน้ำ ก็ได้คุแล้ว พอมันเก่าไป 2-3 ปี คุพัง ไม้ไผ่พัง ก็เอามาเชื้อไฟตอนนึ่งข้าว ทำอาหารมห้ถ่านมันติด เหมือนกับ เกิบขาดนั้นละ เป็นเชื้อไฟอย่างดี  แต่ข้อเสียคือ มันจะหนักมากกว่าปกติ เพราะขี้ซีน้ำมันหนางัย ขี้ซีนี้พวกเราไปเก็บเอาตามต้นไม้เช่น ไม้เต็ง ไม้บาก ไม้พยอม มันคือ ยางไม้ที่เกิดจากแมลงเข้าไปเจาะไสกินเนื้อไม้ มันพยามรักษาต้นเอง หรือคือเหลืดต้นไม้นั้นละ พอมันออกมาจากต้นไม้ก็จะจับตัวกันแข็งๆ เป็นแท่งๆเป็นกาบๆย้อยหรือไหลมาตามเปลือกไม้ พวกเราก็ไปเก็บมาไว้ผสมน้ำยางเป็นขี้ซีเอาไว้ยาต่างๆ เวลาจะผสมกันก็ตำให้ละเอียดก่อนค่อนผสมน้ำยาง แบบให้เหนียวหนืดก็เอาไปใช้ได้เลย ทาเสร็จปล่อยให้แห้งสนิทก็เอาไปใช้ประโยชน์ต่อไป สมัยนั้น พวกเรามีเรือไม้เอาไว้ทำมาหากินตามหนองต่างๆนะ หรือไปนาตอนน้ำท่วม เป็นเรือขุดจากไม้ ดังนี้เลยต้องใช้ ขีซีนี่เป็นตัวยาเรือไม่ให้น้ำรั่วเข้าเรือ  
          2. ขี้ยางหรือน้ำมันยางนานี้ส่วนมากเอาไปผสมกับ "ไม้ผุ" จนได้ "ขี้ใต้" หรือ "ขี้ตะบอง" มันก็คือไม้ผุผสมน้ำมันยางนั้นละ  พอได้ขี้ใต้เสร็จก็เอาใบตองชาติใบใหญ่มารองและมามัดเป็นท่อนเท่าแขนนี้ล่ะ เอาเก็บไว้เป็นไฟส่องสว่าง ทำเชื้อไฟ มันคือ "ไฟฉาย" สมัยนั้น บางคนไม่เอาใบตองมามัดก็ใส่คุหรือตระกร้าเอาไว้เป็นเชื้อไฟข้างๆเตานะ ขี้ตะบองนี้จำเป็นมากในสมัยก่อนเพราะบ้านเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน  มีหลายครอบครัวทำทำอาชีพทำขี้ตะบองนี้เอาไว้ขาย ส่วนบ้านเราก็ซื้อเขาอย่างเดียว สบายดี  เวลาจุดขี้ตะบองหรือเชื้อไฟแต่ละที ควนโขมงเลยละ กลิ่นก็ฉุนๆ ดำๆ ชัดเจน ขี้ตะบองที่ดีต้องมีขี้ยางมากๆเคลือบกับไม้ผุให้หมด เห็นชัดเจน แต่หากไม่ดี ก็จะมีขี้ยางนิดเดียว ส่วนมากมีแต่ไม้นะ 555 
        กลิ่นของควันที่เผาหลุมยางก็จะคล้ายกับขี้ยาง สาปๆน้ำมัน ส่วนกลิ่นน้ำมันยางหรือขี้ยางนี้ ฉุนนะ เหนียวติดมือ กลิ่นติดมือเลยละ ภาชนะที่เอามาใส่หรือช้อนที่มาตักหากนานๆไปก็จะมีคราบติดอยู่ชัดเจนและกิล่นตลอดเวลารู้เลยว่าของใส่ขี้ยาง เอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากทำเชื้อไฟ  
       คนเจาะยางขเาจะแบ่งกันไปว่าของใครต้นไหน หลุมไหน ไม่แย่งกัน เพราะมีต้นยางมาก แต่ก็ไม่ทุกต้นที่เขาเจาะกัน เอาที่ใกล้มือตนเองหรือใกล้บ้านตนเอง เพราะหากเจาะไว้ไกลๆ เพื่อนในหมู่บ้าน จะแอบตักเอาขี้ยงไปใช้ แม้ตนเองไม่ได้ทำก็ตาม เลยต้องเอาต้นที่ดูแลง่ายๆเข้าไว้ 555  แต่มีอยู่ต้นหนึ่งที่เขาไม่เจาะเด็ดขาดคือ ต้นที่ "ศาลเจ้าปู่" อยู่นะ ต้นนี้เขาไม่กล้านะกลัว  
      ครานี้พอทำไปหลายๆปีต้นยางมันก็ปรับตัวเปลือกมันจะพยายามหุ้มหลุมเอาไว้ จะเป็นนูนออกมารอบขอบหลุมทุกทาง มันพยายามหุ้มแผลของมัน หากเราไม่ทำปีสองปีมันจะหุ้มจนเกือบหมดเลยละต้องเจาะหลุมใหม่ ต้นยางก็จะเป็นตะปุ่มตะป่ำน่าเกลียดไป
         หลายครั้งที่เราเดินผ่านหลุมยางเหล่านี้ก็แอบมองดูว่ามันได้เยอะมัย มิใช่จะแอบเอาของเขานะ อยากรู้เฉยๆ บางครั้งก็แอบเอาไม้เอามือไปจิ้มเล่นก็บ่อยไป หรือเอามาดม แม้จะฉุนแต่ก๋หอมเนื้อไม้นางนานะ 555 
         ปัจจุบันนี้การเจาะต้นยางนา โดนห้ามแล้ว ไม่มีคนทำแล้ว เพราะป่าไม้ห้ามทำ ต้นยางนาเป็นไม้อนุรักษ์ ที่ห้ามตัด ห้ามซื้อขาย ห้ามเจาะ เขาว่าอย่างนั้น หากเขาเห็นโดนจับได้เลย หรือ หากจะตัดต้องขออนุญามากมายๆ ว่าอย่างนั้นนะ จนคนเลิกเจาะกัน ประกอบกับความเจริญมากขึ้นไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันยางนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ขีซีแล้ว ไม่ต้องใช้ขี้ใต้แล้ว หรือเจาะมากๆต้นยางก็ตายไป ก็มี เลยไม่ทำกัน
          ต้นยางนาในดอนปู่ตาของเราเลยรอดตาย รอดโดยทำร้าย แต่มีแผลเป็นเต็มไปหมด ให้เป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งเคยมีการทำ ขี้ยาง กัน  



Create Date : 05 เมษายน 2563
Last Update : 6 เมษายน 2563 9:13:13 น. 1 comments
Counter : 400 Pageviews.

 
ต้นยางนา เห็นที่ อ.ท่ายาง เพชรบุรีอยู่บ้างเคยอ่านว่า ในหลวง
ร.9 ของพวกเราให้อนุรักษ์ไว้

แต่ที่เห็นยางนาต้นใหญ่มากก็ถนน จากเชียงใหม่ไปลำพูน..ผมว่า
เป็นต้นไม้ที่ใหญ่ ลำต้นตรง น่าอนุรักษ์.. ตอนเป็นเด็กเห็นเขา
เจาะลำต้นยาง แล้วเอาไฟสุมให้น้ำมันยางไหลลงมา

แต่นั่นไกลจากถนนสายที่ว่านะครับ..

ปัจจุบันผมว่าถนนเส้นนี้ เป้นถนนที่ร่มรื่นสวยงามดีจริง ๆ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 6 เมษายน 2563 เวลา:16:29:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Dr Chang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




- เป็น เป็นวิทยากร เป็นคนบรรยาย เป็นผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ
- ชอบ ชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายใน ชอบป่า ชอบน้ำ
- ทำ ทำงานพัฒนา ทำงานท่องเที่ยว ทำสวนเกษตร
- ขาย ขายประกัน ขายของทะเลแห้ง ขายเกลือ ขายคอนโด
- เรียน จบ ป.เอก ม.โพธิศาสตร์ ป.โท นิด้า ป.ตรี ม.ราม

space
space
space
space
[Add Dr Chang's blog to your web]
space
space
space
space
space