Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เส้นเอ็นร้อยหวาย...ขาด [ Achilles tendon ruptures ]







เส้นเอ็นร้อยหวายขาด Achilles tendon ruptures

พบบ่อยในผู้ชาย อายุ 30 – 50 ปี โดยที่ไม่เคยมีปัญหาของเอ็นร้อยหวายมาก่อน

อาจพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตอรอยด์ ฉีดยาสเตอรอยด์ที่เอ็นร้อยหวาย ผู้ที่ออกกำลังกายมากเกินไปทันทีทันใด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รูมาทอยด์ เกาต์ หรือ เกิดอุบัติเหตุ

ตำแหน่งที่ขาด จะอยู่สูงกว่า กระดูกส้นเท้า 2 – 6 ซม. เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยที่สุด



อาการและอาการแสดง

รู้สึกลั่น และ ปวดมากทันทีทันใด (คล้ายถูกเตะ หรือ ถูกยิง) ที่เอ็นร้อยหวาย ด้านหลังข้อเท้า

ยืนเขย่งปลายเท้า (ยกส้นเท้าขึ้น) ไม่ได้ ขึ้นบันไดลำบาก เดินกะเผลก

ปวดบวมที่เอ็นร้อยหวาย และน่อง อาจคลำได้ รอยบุ๋ม (ช่องว่าง)ที่เส้นเอ็น

ส่วนใหญ่ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องเอกซเรย์ มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่ อาจต้องตรวจ อัลตร้าซาวน์เส้นเอ็น หรือ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )



แนวทางรักษา

ไม่ผ่าตัด เช่น ยาบรรเทาอาการ ใส่เฝือก ( 6 - 8 อาทิตย์) จะต้องเปลี่ยนเฝือกให้ปลายเท้ากระดกขึ้น เป็นระยะ(ทุก 2 อาทิตย์) เมื่อถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัดต่ออีก 4-6 เดือน

โดยทั่วไป จะใช้ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมนอกบ้าน อยู่กับบ้าน ทำงานบ้าน หรือในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น


ข้อดี ไม่ต้องเสี่ยงกับการผ่าตัด การให้ยาดมยาสลบหรือบล็อกหลัง ประหยัดค่าใช้จ่าย

ข้อเสีย เส้นเอ็นแข็งแรงน้อยลง มีโอกาสเกิดเส้นเอ็นขาดซ้ำสูง ( 40 %)


ผ่าตัด

โดยทั่วไป จะแนะนำให้ผ่าตัดในคนหนุ่มสาว กลุ่มนักกีฬา มีช่องว่างระหว่างเส้นเอ็นที่ขาดมากกว่า 5 ซม.

หลังผ่าตัด ก็จะต้องใส่เฝือก ( 6 - 8 อาทิตย์) เปลี่ยนเฝือกให้ปลายเท้ากระดกขึ้น เป็นระยะ(ทุก 2 อาทิตย์) เมื่อถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัดต่ออีก 4-6 เดือน

ข้อดี ความแข็งแรงของเส้นเอ็นใกล้เคียงปกติ โอกาสเกิดเส้นเอ็นขาดซ้ำต่ำ (5 %)

ข้อเสีย แผลติดเชื้อ (1-2 %) เส้นประสาทบาดเจ็บ (1-2 %)



อ้างอิง ...

//www.emedicinehealth.com/achilles_tendon_rupture/article_em.htm

//emedicine.medscape.com/article/85024-overview

//www.mayoclinic.com/health/achilles-tendon-rupture/DS00160

//www.bosta.ac.uk/article.asp?article=21




บทความเรื่อง " กลุ่มอาการปวดส้นเท้า .... เอ็นร้อยหวาย อักเสบ "

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-07-2008&group=5&gblog=34


Create Date : 21 มิถุนายน 2552
Last Update : 22 มิถุนายน 2552 15:00:46 น. 2 comments
Counter : 29053 Pageviews.  

 
แวะมาทักทายค่ะ


โดย: CrackyDong วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:20:47:32 น.  

 

วิธีบริหาร เท้า ข้อเท้า และ ขา

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=4


โดย: หมอหมู วันที่: 25 มิถุนายน 2555 เวลา:13:41:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]