Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เสนอ 10 มาตรการลดเหตุรุนแรงในโรงพยาบาลสหรัฐฯ (เน้น สหรัฐอเมริกา...ไม่ใช่ไทยแลนด์)

เสนอ 10 มาตรการลดเหตุรุนแรงในโรงพยาบาลสหรัฐฯ

แรงงานชาวอเมริกันตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในที่ทำงานราวปีละ 2 ล้านคน จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีมาตรการเพื่อยกระดับความปลอดภัยของลูกจ้าง fiercehealthcare.com เสนอมาตรการ 10 ข้อเพื่อปกป้องผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และญาติผู้ป่วยจากความรุนแรงในที่ทำงาน

fiercehealthcare.com รายงานข่าว ผลการศึกษาโดยสถาบันความเครียดอเมริกัน American Institute of Stress ชี้ว่าพนักงานราวร้อยละ 25 มีความรู้สึกเครียดจนอยากกรีดร้อง ขณะที่ร้อยละ 10 กังวลว่าเพื่อนร่วมงานอาจก่อเหตุรุนแรง

ความหวาดกลัวต่อเหตุรุนแรงใช่ว่าจะเกิดขึ้นโดยไม่มีที่มา และในแวดวงการรักษาพยาบาลด้วยแล้วเหตุรุนแรงอาจไม่ได้เกิดจากเพื่อนร่วมงานเท่านั้น

เมื่อปี 2557 ที่รัฐมิเนโซตามีกรณีผู้ป่วยวัย 68 ปีหวดเจ้าหน้าที่พยาบาลด้วยราวกันตก และที่ชิคาโกเมื่อปีก่อนเกิดเหตุยิงกันในโรงพยาบาลทำให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ถูกลูกหลงเสียชีวิตไปด้วยและยิ่งทวีความหวาดกลัวต่อเหตุรุนแรงในสถานพยาบาลมากขึ้นไปอีก

ข้อมูลทางสถิติชี้ว่าแรงงานชาวอเมริกันร้อยละ 9 รู้ว่ามีการประทุษร้ายหรือพฤติกรรมรุนแรงในที่ทำงานของตน และร้อยละ 18 เคยโดนข่มขู่หรือคุกคามเมื่อปีก่อน

อย่างไรก็ดีการศึกษาเมื่อปี 2559 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine รายงานว่าร้อยละ 80 ของเจ้าหน้าที่แผนกฉุกเฉินล้วนเคยพานพบกับเหตุรุนแรงจากการปฏิบัติงาน พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินทั้งหมดรายงานว่าถูกประทุษร้ายด้วยวาจาเมื่อปีก่อน และร้อยละ 82.1 โดนประทุษร้ายทางกาย และเมื่อดูสถิติระหว่างปี 2545-2556 สถิติการเกิดเหตุรุนแรงในที่ทำงานในภาคการรักษาพยาบาลนั้นสูงกว่าภาคธุรกิจอื่นถึงสี่เท่า

เหตุรุนแรงในที่ทำงานหมายถึง “การกระทำหรือการคุมคามด้วยความรุนแรง ประทุษร้าย ข่มขู่ หรือพฤติกรรมคุมคามซึ่งเกิดขึ้นในที่ทำงาน”

จากสถิติซึ่งชี้ว่าแรงงานชาวอเมริกันตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในที่ทำงานราวปีละ 2 ล้านคน จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีมาตรการเพื่อยกระดับความปลอดภัยของลูกจ้าง บทความนี้ได้เสนอมาตรการ 10 ข้อเพื่อปกป้องผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และญาติผู้ป่วยจากความรุนแรงในที่ทำงาน ดังต่อไปนี้

1. ฝ่ายบริหารต้องเป็นผู้นำ โครงการความปลอดภัยในที่ทำงานต้องเริ่มต้นจากระดับบนขององค์กร เมื่อฝ่ายบริหารเป็นผู้นำก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างดำเนินรอยตาม ผู้บริหารจะต้องไม่เพียงสนับสนุนงบประมาณโครงการแต่จะต้องพบปะกับทีมเจ้าหน้าที่และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติของโครงการอย่างเคร่งครัด (เช่น ติดป้ายชื่อในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน)

คณะกรรมาธิการร่วมได้สรุปปัจจัยหลัก 6 ข้อที่เป็นสาเหตุนำไปสู่เหตุรุนแรงในสถานพยาบาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยชี้ว่าร้อยละ 62 ของเหตุรุนแรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับจุดยืนของฝ่ายบริหาร

2. จัดตั้งทีมรับมือเหตุวิกฤติสถานพยาบาลจะต้องพร้อมรับมือกับเหตุรุนแรง โดยจัดตั้งทีมเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำหรือเป็นผู้นำในเหตุวิกฤติ โดยควรเป็นทีมสหวิชาชีพประกอบด้วยผู้บริหาร แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรม เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล ตัวแทนพนักงาน และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงท้องถิ่น ทีมควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อทำความเข้าใจ ประเมิน และให้คำแนะนำสำหรับเหตุรุนแรง การกลั่นแกล้ง การประทุษร้าย เหตุกราดยิง ฯลฯ

3. จัดทำแผนแจ้งเตือน สำคัญอย่างยิ่งที่บุคลากรจะต้องตระหนักถึงโครงการลดความรุนแรงในสถานพยาบาลและแนวทางปฏิบัติ เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นจะต้องไม่รีรอที่จะแจ้งให้บุคลากรทราบสถานการณ์ปัจจุบัน และหากทำได้ก็ควรสรุปสิ่งที่บุคลากรควรทำระหว่างเกิดเหตุโดยเฉพาะกรณีที่จะต้องปกป้องตัวเองในเสี้ยววินาที การแจ้งเตือนจะต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและหากทำได้ก็ควรจะแจ้งเตือนหลายภาษาเพื่อให้ทุกคนที่อยู่ในสถานพยาบาลทราบว่าเกิดอะไรขึ้นและรู้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุรุนแรงฉุกเฉิน

มีความเข้าใจผิดว่าภาษาที่ตรงไปตรงมาอาจทำให้เกิดการตื่นตระหนก ข้อมูลจากการศึกษาล้วนชี้ตรงกันว่าในช่วงที่เกิดเหตุฉุกเฉินนั้นประชาชนไม่ได้ตระหนกเพราะเนื้อหาข้อความ หากแต่หวาดกลัวที่ไม่รู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นและควรทำอย่างไรต่อไประหว่างเกิดเหตุ

4. กำหนดให้แผนรับมือเหตุรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งในแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน แผนปฏิบัติการณ์เหตุฉุกเฉินควรมีแผนงานสำหรับรับมือกับอันตรายทั้งหมดซึ่งรวมถึงการสื่อสาร ทรัพยากรและทรัพย์สิน ความปลอดภัยและความมั่นคง บุคลากรผู้รับผิดชอบ รวมถึงกิจกรรมและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนผู้ป่วย แม้เหตุรุนแรงในที่ทำงานส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องอาศัยศูนย์สั่งการประจำโรงพยาบาล แต่ในกรณีที่เกิดเหตุการมีศูนย์สั่งการก็จะช่วยให้ประสานงานกับทีมบริหารสถานการณ์ได้อย่างราบรื่น

5. ฝึกอบรมบุคลากร การมีบุคลากรเพียงหยิบมือที่ผ่านการฝึกอบรมรับมือสถานการณ์รุนแรงเป็นข้อบกพร่องที่มักพบจากโครงการรับมือเหตุรุนแรง ต้องไม่ลืมว่าผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรหลายแผนกของโรงพยาบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่เพียงสามารถระบุและรายงานแนวโน้มที่จะเกิดเหตุรุนแรงเท่านั้น แต่ยังแน่ใจได้ว่าจะไม่กระพือให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น โรงพยาบาลควรมีการฝึกอบรมตั้งแต่ขั้นตระหนักถึงเหตุรุนแรงไปจนถึงขั้นการรับมือกับเหตุรุนแรง ตลอดจนตรวจสอบศักยภาพของบุคลากรเป็นประจำทุกปี

6. ใช้คำที่ชัดเจน บุคลากรอาจสับสนกับความหมายของ ‘ปิดการเข้าออก’ ‘หลบอยู่ในที่ตั้ง’ และ ‘กีดขวาง’ เมื่อพบอยู่ในแผนเดียวกัน ‘ปิดการเข้าออก’ หมายถึงไม่มีผู้ใดสามารถผ่านเข้าออกอาคารได้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่มักมีอาคารหลายหลัง โดยข้อมูลสถิติรายงานว่าเหตุยิงกันในโรงพยาบาลราวร้อยละ 40 มักเกิดขึ้นนอกอาคาร

นอกจากนี้ ‘มือปืน’ ยังหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีอาวุธปืนและพยายามก่อเหตุสังหารหมู่ อันเป็นคนละความหมายกับ ‘บุคคลต้องสงสัย’ (บุคคลที่มีอาวุธอื่นหรือวัตถุต้องสงสัย) ซึ่งมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกัน ดังนั้นการกำหนดนิยมที่ชัดเจนจึงมีนัยสำคัญต่อการสื่อสารสถานการณ์

7. ฝึกฝนทักษะ จำเป็นอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลจะต้องฝึกฝนทักษะบรรเทาและควบคุมเหตุรุนแรง รวมถึงกระบวนการสร้างสิ่งกีดขวางและการหลบหนี/อพยพเป็นประจำ กรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงที่สุด (เช่น เหตุกราดยิง) บุคลากรในจุดเกิดเหตุจะต้องอพยพออกโดยทันทีและมุ่งหน้าไปยังบริเวณที่ปลอดภัยหรือจุดรวมพล การฝึกฝนให้บุคลากรคุ้นเคยกับเส้นทางหลบหนีสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้

8. จัดตั้งความร่วมมือในท้องถิ่น โรงพยาบาลควรประสานงานกับสถานพยาบาลอื่นและหน่วยงานความมั่นคงในท้องถิ่นระหว่างเกิดเหตุรุนแรง โดยแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์สั่งการ บุคคลที่ติดต่อได้ และแผนที่โรงพยาบาล การจัดเตรียมข้อมูลไว้เป็นชุดเดียวกันจะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุรุนแรงและช่วยให้ทีมเหตุฉุกเฉินรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีในห้วงเวลาที่ทุกวินาทีมีความสำคัญอย่างยิ่ง

9. ประเมินประสิทธิภาพ รวบรวมข้อมูลทั้งจำนวนและประเภทของเหตุรุนแรงในโรงพยาบาล ประเภทของการบาดเจ็บ และผลลัพธ์เพื่อประเมินความสำเร็จ (หรือล้มเหลว) ของโครงการ บุคลากรจะต้องสามารถรายงานเหตุทั้งหมดรวมถึงกรณีที่เกือบจะเกิดเหตุรุนแรง และจะต้องมีการทบทวนเหตุรุนแรงแต่ละครั้งเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแผนปัจจุบันทั้งในแง่ความสำเร็จ อุปสรรค การลดจำนวนเหตุรุนแรงและการบาดเจ็บ

ทีมบริหารเหตุวิกฤติของโรงพยาบาลควรประเมินแผนรับมือเหตุรุนแรงและปรับปรุงแก้ไขตามที่จำเป็นเพื่อให้แผนมีประสิทธิภาพดีขึ้นและยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

10. ทำอย่างต่อเนื่อง การฝึกอบรม ทบทวนเหตุรุนแรง และรับฟังความเห็นจากบุคลากรจะช่วยให้โครงการรับมือเหตุรุนแรงประสบความสำเร็จและเดินหน้าต่อไป

การฝึกอบรมไม่ควรจำกัดอยู่ในแบบเดียว การฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งการบรรรยาย ดูวิดิโอ จดหมายข่าว และการฝึกฝนจะช่วยผู้เข้าร่วมการอบรมจะต้องตระหนักในบทบาทและความคาดหวังของตน ทีมรับมือเหตุวิกฤติควรจัดการประชุมเดือนละครั้งเพื่อทบทวนเหตุรุนแรงและปรับแผนตามความจำเป็น

การวางแผนและกำหนดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทเป็นพื้นฐานสำคัญของการลดเหตุรุนแรงในที่ทำงานและความรุนแรงต่อบุคลากรสาธารณสุข ขณะเดียวกันก็ช่วยให้แน่ใจได้ว่ามีแนวทางรับมือสถานการณ์วิกฤติได้อย่างเหมาะสม การปกป้องผู้ป่วย บุคลากร และญาติผู้ป่วยจากเหตุรุนแรงนั้นทำได้ยากแต่ก็สามารถบรรลุผลได้หากทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกัน

แปลและเรียบเรียงจาก

Industry Voices -10 steps to reduce workplace violence in healthcare [www.fiercehealthcare.com]


 




Create Date : 17 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2562 20:17:54 น. 0 comments
Counter : 1612 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]