Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เตือน "ยาทรามาดอล" อันตรายถึงชีวิต



เตือน "ยาทรามาดอล" อันตรายถึงชีวิต

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ เตือนภัยยาทรามาดอล อันตรายนำไปสู่การเสียชีวิต พร้อมแนะผู้เสพที่ไม่สามารถหยุดใช้ยาได้ควรเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ 

ทรามาดอล อันตราย!

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มโอพิออยด์ ออกฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน มีทั้งแบบยาเม็ดและยาแคปซูล ในทางการแพทย์ใช้รักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ผลข้างเคียงที่พบจากการใช้ ยาทรามาดอล เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มือสั่น ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึมหากใช้ในปริมาณมากอาจเกิดประสาทหลอน ชักและนำไปสู่การเสียชีวิต นอกจากนี้ยังพบอาการกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกร่วมกับความดันโลหิตสูง ภาวะลิ่มเลือดกระจายในหลอดเลือด ไตวายเฉียบพลัน หากใช้ยาหลายตัวร่วมกันโดยเฉพาะยาอี ยาบ้า จะส่งเสริมทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาทรามาดอลเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ทรามาดอล จัดเป็นยาอันตราย การใช้ยาต้องควบคุมโดยแพทย์และห้ามขายให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ในทุกกรณี แต่พบว่ามีการลักลอบขายให้กลุ่มวัยรุ่นเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด ทั้งการใช้เสพแบบยาเดี่ยวและผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุขและหากใช้อย่างต่อเนื่องทำให้มีความต้องการปริมาณยาที่เพิ่มมากขึ้น จนเกิดอาการติดยาในที่สุด

ทรามาดอล กับการเสพติด

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยาทรามาดอล ทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับฝิ่น เฮโรอีน หากได้รับเป็นเวลานานและหยุดยาทันทีจะเกิดอาการถอนยาได้ ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดใช้ยาได้เองควรเข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งแพทย์จะบำบัดอาการถอนยาและรักษาภาวะแทรกซ้อนทางกายและทางจิตควบคู่กันไป เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นจะส่งต่อเข้าสู่ขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยเน้นการแก้ไขพฤติกรรมและเจตคติของผู้ป่วยเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้สามารถเลิกใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ขอย้ำเตือนกลุ่มวัยรุ่นที่นำ ยาทรามาดอล มาใช้ในทางที่ผิดให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวให้มาก ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน หากพบมีพฤติกรรมเสี่ยงควรพูดคุยและบอกกล่าวถึงอันตรายและผลกระทบที่จะตามมา ทั้งนี้สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmindat.go.th

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์

ภาพ :iStock

https://www.sanook.com/health/14229/?fbclid=IwAR2vfFoteqTlQAJitLkBGU17hc8EQUyAYt_A2e1qs_4JuYJT4J47P9mMHVc





Create Date : 11 มกราคม 2562
Last Update : 11 มกราคม 2562 6:59:25 น. 1 comments
Counter : 739 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร


 
หมอหมู Health Blog ดู Blog
น่าจะมีรูประกอบนะคุณหมอ ชื่อจำยากจัง



โดย: หอมกร วันที่: 11 มกราคม 2562 เวลา:9:59:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]