Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ผลของ การรักษาโรค


ผลของการรักษาโรค

เมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทุกคนอยากทราบก็คือ เจ็บป่วยด้วยโรคอะไร และผลการรักษาจะเป็นอย่างไร ซึ่งบางครั้งแพทย์เองก็ไม่สามารถให้คำตอบที่ชี้ชัดได้ว่าจะเป็นอย่างไร หรือ อาจให้คำตอบที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันขึ้นระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลของการรักษาโรคว่าจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งอาจพอสรุปได้ว่าขึ้นอยู่กับ

1. ชนิดของโรค

ซึ่งอาจพอจำแนกชนิดของโรคได้เป็น 4 ประเภทคือ

1. โรคที่เป็นแล้ว รักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย (หายได้เอง) ซึ่งโรคโดยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้

2. โรคที่เป็นแล้ว รักษาจึงหาย ถ้าไม่รักษาก็หายแต่หายช้า

3. โรคที่เป็นแล้ว รักษาจึงหาย ถ้าไม่รักษาก็ตาย หรือมีความพิการ

4. โรคที่เป็นแล้ว ถึงรักษาก็ไม่หาย


2. ความสามารถของแพทย์ ที่ให้การรักษาพยาบาล นอกจากแพทย์แล้วก็ยังมีเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ นักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่เอ๊กซเรย์ เจ้าหน้าที่ห้องตรวจปฏิบัติการ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการรักษาความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ต้องใช้เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายมาร่วมมือกันเพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


ถ้าเป็นโรคในกลุ่มที่ 1 ซึ่งรักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย ประชาชนทั่วไปก็สามารถหาความรู้เพื่อรักษาตัวเองได้

โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น หวัด ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อหลังจากการทำงานหนักหรือจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

โรคกลุ่มที่ 2 และ 3 ซึ่งต้องได้รับการรักษาจึงจะหาย เป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถของแพทย์ในการรักษาโรคให้หายโดยเร็วที่สุด มีภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการน้อยที่สุด ความรู้ของแพทย์จึงมีความสำคัญในการรักษาโรคในกลุ่มนี้

โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น กระดูกหัก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไส้ติ่งอักเสบ

โรคกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มที่แพทย์ยังต้องให้การรักษาอยู่ ถึงแม้ว่าจะรักษาแล้วไม่หาย มีความพิการ หรือ มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แพทย์ก็ต้องพยายามให้เกิดความพิการหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด

ถ้าผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวมากที่สุดและทรมานน้อยที่สุด

โรคในกลุ่มนี้เองที่มักจะเป็นปัญหาระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งผู้ป่วยและญาติก็มีความหวังที่จะให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ แต่ในความรู้ความสามารถของแพทย์ในปัจจุบันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

โรคที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น



3. ผู้ป่วยและญาติ

ในการรักษาโรคส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมากก็คือ ผู้ป่วยและญาติ

ถึงแม้ว่าแพทย์จะเก่งหรือใช้ยาดีขนาดไหน ถ้าผู้ป่วยและญาติไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ดูแลตนเอง ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ โรคก็ไม่มีทางหายได้

ความร่วมมือในการรักษาทั้งจากผู้ป่วยเอง และจากญาติ ก็จะทำให้การรักษาได้ผลดีตามที่ ทุกคนต้องการ ถึงแม้ว่าโรคบางอย่างอาจรักษาไม่หายแต่ถ้าญาติและผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษา ก็ทำให้ผลการรักษาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 




Create Date : 05 มกราคม 2551
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:34:27 น. 0 comments
Counter : 1450 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]