Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

12 โรค " กินน้ำแก้วเดียว " ก็ติดได้ ... จัดงาน "รับน้อง" ก็ต้องระวัง



เตือนภัย กินน้ำแก้วเดียวกันเสี่ยงติด 12 โรค

ช่วงนี้กำลังเข้าสู่เทศกาล “รับน้อง” จะพบว่ากิจกรรมรับน้องในหลายมหาวิทยาลัยสร้างความสามัคคีในหมู่คณะด้วยการให้เด็กดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน หรือกินอาหารจากช้อนเดียวกัน ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ก็จำยอมทำตามรุ่นพี่ แต่การดื่นน้ำหรือกินอาหารจากภาชนะเดียวกันอาจเสี่ยงติดโรค 12 โรค

1.ไข้หวัด

อาการ ไข้ต่ำ ๆ หรืออาจไม่มีไข้เลยก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีอาการแสดงออกถึงการเป็นหวัดจากทางจมูกและทางเดินหายใจ อันได้แก่ ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมาจากจมูก

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน

ป้องกัน พักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 
2.โรคอตีบ

อาการ มีอาการคล้ายหวัด ไข้ต่ำ ๆ พบแผ่นเยื่อสีขาวบริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ รายที่รุนแรง เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้เสียชีวิตได้

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน

ป้องกัน ให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน 4 ปี และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ 6

 
3.โรคเริม

อาการ ชนิดที่ 1 มักเกิดบริเวณริมฝีปาก

ติดต่อโดย การดื่มน้ำหรือกินอาหารร่วมกัน

ป้องกัน ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาต้านไวรัสรักษาโรคเริมชนิดรับประทานทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ไม่ล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำลาย เพราะอาจมีการแพร่เชื้อเริมที่ปากไปที่ดวงตาได้

 
4.โรคไอกรน

อาการ 1-2 สัปดาห์แรกมีอาการคล้ายวัด ต่อมาไอถี่ ๆ หายใจลึกมีเสียงดัง ไปจนมีเลือดออกที่ตาขาวได้

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน

ป้องกัน ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งแพทย์จะฉีดวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี เริ่มฉีด 3 เข็มแรกเมื่อเด็กที่มีอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และเข็มที่ 4 เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน จากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบชุด 4 ครั้งแรกแล้ว ตอนอายุ 4-6 ปี และเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี

ผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กจะหมดลงในช่วงวัยรุ่น และในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนในช่วงสัปดาห์ที่ 27 และ 36 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจช่วยปกป้องทารกจากโรคไอกรนในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการคลอดอีกด้วย

 
5.โรคคางทูม

อาการ ร้อยละ 30 ของผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ มีอาการไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมา 2-3 วันจะมีอาการปวดหู บริเวณขากรรไกร จากนั้นบริเวณขากรรไกรบวมและลามไปยังหลังใบหู ประมาณ 1 สัปดาห์จะค่อย ๆ ลดขนาดลง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ หรือกินอาหารน้ำร่วมกัน

ป้องกัน รับวัคซีนป้องกันคางทูม ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 1 ครั้งในเด็กชั้นป.1

 
6.โรคหัด

อาการ โรคหัดจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับหวัด อาการแรกเริ่มของโรคหัดที่จะเริ่มขึ้นประมาณ 10 วันหลังติดเชื้อ จะมีอาการคล้ายหวัด ตาแดง ไข้สูง เบื่ออาหาร เกิดจุดขาวในกระพุ้งแก้ม

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลายผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน โดยเชื้อแพร่กระจายผ่านละอองขนาดเล็กในอากาศ

ป้องกัน กลุ่มเด็กแรกเกิด – 4 ปี ให้นำบุตรหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง

 
7.โรคหัดเยอรมัน

อาการ ไข้สูง น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง มีผื่นหรือตุ่มที่เยื่อบุช่องปาก กระพุ้งแก้ม (Koplik spots) หลังมีอาการ 3 – 7 วันจะมีผื่นทีไรผม ซอกคอ หน้า ลำตัว

ติดต่อโดย รับเชื้อที่อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยผ่านทางการหายใจ จากการไอจาม ทารกที่เป็นโรกจะมีเชื้ออยู่ในลำคอและขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้นาน 1 ปี

ป้องกัน การฉีดวัคซีน ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน

 
8.โรคอีโบลา

อาการ  ระยะแรก ไข้ขึ้นสูง (39-40 ?C) อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ                                         ระยะที่2 ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหารโดยจะเริ่มแสดงอาการ 2-4 วันและจะคงอยู่นาน 7-10 วัน                                                                                            
ระยะที่3 ความดันเลือดต่ำส่งผลให้อวัยวะเสื่อมหน้าที่

ติดต่อโดย การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลังจากผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ของใช้ของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วยป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย หรือหากมีอาการให้พบแพทย์ทันที

 
9.โรคไข้หวัดใหญ่

อาการ ไข้ขึ้นทันที (38.5-40?C)ติดต่อกัน 3-4 วัน อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย มีน้ำมูกใส เมื่อตามกล้ามเนื้อ ปวดหัว เบื่ออาหาร

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน

ป้องกัน ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี ล้างมือบ่อย ๆ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสจมูก ตา ปากของตัวเองหากสัมผัสกับผู้ป่วย

 
10.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)

อาการ ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ไม่ได้แสดงอาการทุกราย ควรจะต้องระมัดระวังสังเกตตนเองเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ อาการสำคัญที่คือ ไข้สูงกว่า 38?C และปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดหัวมาก หนาวสั่นหลังจากนั้นประมาณ 3-7 วันก็จะเริ่มมีอาการเจ็บคอ ไอแห้ง ๆ ผู้ปวยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 อาการจะทุเลาอย่างช้า ๆ หลังจาก 7 วัน ไปแล้วและหายเป็นปกติ บางรายอาจอาการป่วยรุนแรง เนื่องจากมีอาการแทรกซ้อนที่ปอด ทำให้เกิดปอดบวมอักเสบ

ติดต่อโดย ผ่านน้ำมูก น้ำลาย ผ่านทางการหายใจ ไอ จามรดกัน

ป้องกัน เลี่ยงเดินทางไปประเทศเขตโรคระบาด เลี่ยงไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการของโลก และรักษาสุขภาพดีอยู่เสมอ

 
11.มือ เท้า ปาก

อาการ มีไข้ตํ่า ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1 – 2 วัน มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมกินอาหารเพราะมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย ตุ่มจะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบๆ อักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกเป็นแผลหลุมตื้นๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7 – 10 วัน

ติดต่อโดย กินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ

ป้องกัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยได้
 

12.ไวรัสตับอักเสบ A และ E

ติดต่อโดย กินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ

หมายเหตุ: โรคไวรัสตับอักเสบBและไวรัสตับอักเสบC

ติดต่อโดย โดยการสัมผัสกับเลือด สารกัดหลั่งของผู้ป่วย ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพศสัมพันธ์ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

 
*** สำหรับ โรควัณโรค

ติดต่อโดย ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ ไม่ติดต่อผ่านการกิน

ป้องกัน ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ในเด็กหรือบุคคลที่แสดงผลลบต่อทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันวัณโรค

 
ทั้งนี้ช่วงแรกของอาการป่วย ไม่มีอาการบ่งบองได้ว่าอาการนั้นเป็นอาการของโรคอะไร ดังนั้นเราสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ได้ด้วยหลักง่าย ๆ อย่าง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ของกระทรวงสาธารณสุข


ที่มา
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มวิชาพัฒนาสุขภาพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เขียนโดย   WorkpointShorts   28 มิถุนายน 2019
https://workpointnews.com/2019/06/28/infectious_diseases_in_saliva-02/


Create Date : 01 กรกฎาคม 2562
Last Update : 1 กรกฎาคม 2562 12:58:56 น. 0 comments
Counter : 2317 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]