Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2560
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
7 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
ตอนที่ 2 อยากจะเสนอความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง





อยากจะเสนอความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 






เรื่องที่อยากจะเสนอคือ

1.สมมุติว่า บ้านมรดกจากรุ่นปู่-รุ่นพ่อ เมื่อก่อนบ้านหลังนี้อยู่นอกเมือง ชนบทมาก ที่ดินแทบไม่มีราคา เมื่อเวลาผ่านไป กลายเป็นว่าบ้านหลังนี้อยู่ในเมืองทำเลดีไปเสียแล้ว ราคาประเมินเกิน 50 ล้าน แล้วแบบนี้ ไม่เสียภาษีกันตายหรือครับ เป็นแค่มนุษย์เงินเดือน จะจ่ายยังไงไหว หรือไม่ ก็ต้องขายบ้าน แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือครับ งั้นกฎหมายฉบับนี้ก็แค่บีบคนที่มีที่ดินจากมรดก ที่ทำเลดีๆ ไปให้นายทุนใหญ่ๆหรือครับ





2.กฏหมายฉบับนี้ มองในมุม “ปัจเจกบุคคล” มากเกินไป ทั้งๆที่โครงสร้างครอบครัวของคนไทย เป็นสังคมแบบครอบครัวขยาย เช่น พ่อจะซื้อบ้านเผื่อไว้ให้ลูกอยู่อาศัยในอนาคต ต้องมาเสียภาษี หรือถ้าไม่อยากเสียภาษีก็ต้องโอนให้ลูก แต่ปัญหาคือ ถ้าโอนให้ลูกไปแล้ว พ่อจะไม่มีอำนาจในการปกครองลูกเลย ลูกจะไม่ฟังพ่อ-แม่แล้ว กฎหมายฉบับนี้กำลังทำลายโครงสร้างทางสังคมที่เรียกว่า “ครอบครัว” หรือไม่ครับ

ทางแก้ที่พอจะนึกออกคือ ถ้าครอบครัวไหนมีลูก 4 คน ก็สามารถใช้สิทธิมีบ้านโดยไม่ต้องเสียภาษี 4+1 เท่ากับ 5 หลัง รวมของพ่อด้วย




3.บ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษีทันที ข้อนี้มีจุดอ่อนครับ ควรจะเก็บแบบฐานขั้นบันได เพื่อรักษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เอาไว้ไม่ให้ล้มละลาย เช่น มี บ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษี 200บาท ต่อปี , บ้านหลังที่ 3 เสียภาษี 300บาท ต่อปี ..... บ้านหลังที่ 10 เสียภาษี 1,000 บาท ต่อปี เพราะเป็นการแยกคนมีทรัพย์สินมากและทรัพย์สินน้อย ได้อย่างชัดเจน เช่น หาก ใครก็ตามที่มีบ้านถึง 10 หลัง โดยที่ไม่ได้ใช้สิทธิ์ลูกในการซื้อ แนวโน้ม อาจจะเป็นบ้านเช่า ดังนั้น บ้านหลังที่ 10 ของเขา ต้องเก็บ 1,000 บาท ต่อปี และหลังที่ 11 ของเขา ก็จะต้องเก็บ 1,100 บาท ... ไปเรื่อยๆครับ เป็นแบบขั้นบันได




4.การประเมินราคาที่ดิน ไม่ควรมีข้อโต้แย้ง ไม่ว่าใครก็ประเมินได้เท่ากันหมด ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศมาเลเซีย เขาจะวัดความยาวหน้าบ้านที่ติดถนนใหญ่ วัดได้เท่าไหร่ ก็เสียภาษีเท่านั้น ถนน 4 เลนก็แพงหน่อย ถนน 2 เลนก็ลดลงมา เพราะ ที่ดินที่ติดถนนถือว่าใช้สิทธิมากกว่าคนอื่น เช่น ที่จอดรถหน้าบ้าน ขายของหน้าบ้านแม้กฎหมายจะไม่เขียนไว้ว่าเป็นสิทธิของเจ้าของบ้าน แต่โดยมารยาท ก็เป็นที่รู้กัน ส่วนที่ดินที่ไม่ติดถนนก็คูณเป็นตารางวา ตารางเมตรไป




5.บ้านราคาต่ำกว่า 50 ล้าน ไม่ต้องเสียภาษี สำหรับข้อนี้ผมคิดว่ามีจุดอ่อนครับ เพราะ ถ้ากฎหมายบอกว่า ประชาชนทุกคน มีหน้าที่เสียภาษี งั้นก็หมายความว่า บ้านทุกหลังต้องเสียภาษี แต่เมื่อประชาชนมีรายได้น้อย ก็ให้เก็บภาษีในเชิง “สัญลักษณ์” เช่น บ้านทุกหลังต้องเสียภาษีหลัง ละ 20 บาท ต่อปี และเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ประชาชน ควรให้เจ้าหน้าที่เทศบาล ไปเก็บภาษีถึงที่บ้าน ข้อดีคือเป็นการให้เทศบาลตรวจสอบฐานข้อมูลประชากรไปด้วยในตัว

หากว่าบ้านไหนไม่มีเงินจริงๆ จนมากๆ แม้แค่ 20 บาท ก็ไม่มี งั้นก็ให้บ้านนั้นแสดงหลักฐานการ “ขึ้นทะเบียนคนจน” ให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน

ข้อดีของการทำแบบนี้คือ เพื่อให้ประชาชน มีความคุ้นเคยกับระบบการจ่ายภาษี แม้ว่าจะเป็นในเชิงสัญลักษณ์ก็ตาม ซึ่งอารมณ์จะต่างกับภาษี 7 เปอร์เซ็นส์ ที่เก็บโดยคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้ประชาชนรู้สึกถึงการว่า ตัวเองเป็น “เจ้าของภาษี” เมื่อมีความรู้สึกว่า ตัวเองเป็นเจ้าของภาษี การติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณรัฐ จากภาคประชาชนจะเข้มข้นมากขึ้น ลดการคอรัปชั่นได้เยอะมาก (ก็ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นเงินของตัวเอง ไม่ใช่เงินฟรีๆ)




จบแล้วครับที่จะเขียน เยอะมาก ขอบคุณที่อ่านนะครับ ช่วยเสนอไปยังรัฐบาลด้วยครับ




Create Date : 07 พฤษภาคม 2560
Last Update : 7 พฤษภาคม 2560 13:49:15 น. 0 comments
Counter : 1737 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.