Group Blog
ตุลาคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยวอยุธยา - พระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน อยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยว : พระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน อยุธยา, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 14' 2.83" N 100° 34' 50.45" E

 






ช่วงนี้ไม่ได้ออกไปเที่ยวที่ไหนเลยตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม  อยู่บ้านตลอดครับ  ออกไปหน้ารั้วบ้านยังไม่ค่อยออกไปเพราะก่อนเข้าประตูบ้านจะต้องพ่นแอลกอฮอร์ทั้งตัว  ถูเจลทีมือถึงข้อศอก  แล้วก็รีบเข้าไปล้างมือด้วยสบู่พร้อมกับร้องเพลง  “ช้าง  ช้าง  ช้าง”  2 รอบ  อิอิอิ
 



 
ช่วงนี้เลยเป็นการเคลียร์คลังรูปสถานที่ท่องเที่ยวที่เคยไปมา  (นาน)  แล้ว  แต่ยังไม่ได้เอามาโพสครับ



 
 
บล็อก  “ท่องเที่ยวไทย”  ในซีรี่ย์นี้เราจะพาไปเที่ยวพระราชวังบางปะอินกันครับ  ....  อย่าเพิ่งเบื่อนะครับที่พาเที่ยวทีละสถานที่  อยากให้ทราบประวัติความเป็นมาให้ละเอียดครับ  หรือถ้าใครขี้เกียจอ่านก็เลื่อนเร็วๆ  ดูรูปไปอย่างเดียวก็ได้ครับ



 
 
 
 
บล็อกที่แล้วเจ้าของบล็อกได้พาเที่ยวชมพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร  อันเป็นพระที่นั่งประธานในพระราชวังบางปะอิน  สถานที่ท่องเที่ยวในบล็อกนี้ก็อยู่ติดๆกับพระที่นั่งอุทยาภูมิเสถียรครับ
 



 
 

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ  พระราชวังบางปะอิน
 
 
 



ในพระราชวังแห่งนี้มีพระที่นั่งองค์หนึ่งเป็นที่รู้จักกันดี  ด้วยเพราะรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แปลกออกไป ทำให้ 
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ  หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า  พระที่นั่งเก๋งจีน  กลายเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของพระราชวังบางปะอินไปโดยปริยาย
 
 
 

พระที่นั่งองค์นี้มีนามในภาษาจีนว่า 
เทียน  เม่ง  เต้ย   (天明殿  อ่านแบบจีนกลางว่า  เทียน  หมิง  เตี้ยน) แปลเป็นไทยว่า  พระที่นั่งฟ้าสว่าง  (เทียน  แปลว่า  เวหา ,  เม่ง  แปลว่า  จำรูญ ,  เตี้ยน  แปลว่า  พระที่นั่ง)  ใช้เวลาในการสร้างประมาณ  10  ปี  และเป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5
 


 

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2432  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพื่อใช้เป็นพระที่นั่งสำหรับประทับในฤดูหนาว  พระที่นั่งนี้เคยใช้เป็นที่รับรองเจ้านายต่างประเทศหลายคราวในสมัยรัชกาลที่ 5
 


 

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย คือ พ่อค้าใหญ่ชาวจีน โดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี  (ฟัก โชติกสวัสดิ์)  เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม พิศลยบุตร)  หลวงโภคานุกุล  (จื๋ว) เป็นผู้ควบคุมในการก่อสร้าง  และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถม กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ  เป็นผู้ควบคุมดูแล
 



เมื่อพระที่นั่งสร้างเสร็จ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมขึ้นพระที่นั่งตามแบบจีน เมื่อวันที่ 27 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2432
 












 





 

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ   มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีน  เป็นอาคาร  2  ชั้น  พระที่นั่งก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาทรงอ่อนโค้ง  มุงกระเบื้องลอนเคลือบสีเหลือง  และประดับสัญลักษณ์มงคลแบบจีน  กลางสันหลังคาประดับรูปมังกรดั้นเมฆ
 
 



ชั้นล่างของ
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนั้น  ใช้เป็นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่ง  และใช้เป็นท้องพระโรง  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ  ท้องพระโรงล่าง  และท้องพระโรงบน




 
บริเวณทางขึ้นท้องพระโรงบนนั้นมีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ลัทธิเต๋าของจีนรูปหยินหยางประดับไว้   




พระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ตรงกลาง
 
 



ท้องพระโรงล่างปูกระเบื้องเคลือบจากจีน  มีลายรูปสัตว์  ต้นไม้และบุคคลจากเทพปกรณัมจีน  คานด้านบนท้องพระโรงติดป้ายอักษรไทยเลียนแบบอักษรจีนว่า  เทียนเม่งเต้ย  ประดับโดยรอบอาคารด้วยไม้แกะสลักเป็นเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่องสามก๊ก     พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดี  9  บท  17  แผ่นป้าย  มาประดับไว้ด้วย






 














 

ส่วนท้องพระโรงบน  เป็นห้องประชุมเสนาบดี  และใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่  5  โดยมีการตั้งป้าย  8 เหลี่ยมซึ่งเขียนเป็นภาษาจีนว่า  "เทียน เหมง เต้ย"  และ  "ว่าน ว่าน ซุย"  ซึ่งแปลว่า  ทรงพระเจริญหมื่น ๆ ปี  และที่เพดานท้องพระโรงมีอักษรไทยที่เขียนเลียนแบบอักษรจีนเป็นคำว่า  "กิม หลวน เต้ย"  ซึ่งแปลว่า โอรสจากสวรรค์
 


 
ห้องชั้นบนของ
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ  ประกอบด้วย  4  ห้องใหญ่  ได้แก่  ห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ห้องทรงพระอักษร  และห้องพระป้าย
 
 


(ครั้งล่าสุดที่เจ้าของบล็อกไปเที่ยวบางปะอิน  ชั้นบนพระที่นั่งห้ามขึ้นครับ  แต่ตอนเด็กๆจำได้ว่าขึ้นไปชมข้างบนได้ครับ)
 
 


 

ห้องทรงพระอักษรตั้งอยู่ในทางทิศใต้ของพระที่นั่ง  ภายในห้องมีโต๊ะทรงพระอักษรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่  ปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บหนังสือภาษาจีนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
 
 



ห้องพระป้าย  อยู่ติดกับห้องทรงพระอักษรเป็นที่ประดิษฐานพระวิมาน  3  องค์ติดต่อกัน  เรียงจากทิศตะวันตกไปตะวันออก  ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ  ลงรักปิดสีทอง




 
ช่องตะวันตกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก  (อักษรจีน)  พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และ  พระนามาภิไธย  สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี  สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่  30  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2433
 
 


ช่องกลางเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
 


 
ช่องตะวันออกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก  (อักษรจีน)  พระปรมาภิไธย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และ  พระนามาภิไธย  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2470




นอกจากนี้เสาด้านหน้าพระวิมานได้แขวนป้ายสุภาษิตจีนได้  ด้ายซ้ายแปลว่า
"ในหมู่ชนจะหาความสามัคคีธรรมเสมอพี่น้องได้ยาก"  และด้านขวาแปลได้ว่า  "ในใต้หล้าจะหาความผิดในพ่อแม่ไม่มี"
 
 


 
นอกจากนี้ยังมีห้องอีก  2  ห้อง ได้แก่ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  โดยห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถนั้น  ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่ง ภายในมีพระแท่นบรรทม  2  องค์  สำหรับทรงใช้ในฤดูร้อนและฤดูหนาว  เพดานเหนือพระแท่นมีการแกะสลักลายมังกรดั้นเมฆ  ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ที่คอยปกป้องคุ้มครองพระมเหสี
 
 



 
ปัจจุบัน 
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายเป็นประจำทุกปี
 












 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
 
 



พระป้ายหรือที่ชาวจีนเรียกว่า  เกสิน  หมายถึง  ป้ายชื่อของบรรพบุรุษ  บุพการีที่ตั้งไว้สำหรับบูชาประจำบ้าน เพราะธรรมเนียมจีนเคารพนับถือความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ  การบูชาเซ่นสรวงแสดงว่าเป็นคนดีมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ปฏิบัติ
 


 
พระป้ายดังกล่าวมีอยู่  2  ที่  พระป้ายแรกคือพระป้ายที่เป็นพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับพระนามาภิไธยสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี  และพระป้ายที่สองเป็นพระปรมาธิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับพระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  จารึกไว้เป็นภาษาจีนบนแผ่นไม้จันทน์ปิดทอง  ขอบไม้จันทน์จำหลักลายจีน  พระป้ายทั้ง 2  คู่  ประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีน  ทำด้วยไม้จันทน์จำหลักลายลงรักปิดทอง  ตั้งอยู่  ณ ชั้นสองของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ  พระราชวังบางปะอิน  
 


 
ส่วนอีกแห่งนั้นเป็นพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต  มีลักษณะเป็นเทวรูปหล่อทรงเครื่องกษัตริยาธิราช  พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์  พระหัตถ์ซ้ายจีบเสมอพระอุระ  เหมือนกับองค์พระสยามเทวาธิราช แต่พระพักตร์ลักษณะเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีน ทำด้วยไม้จันทน์จำหลักลงรักปิดทองมีฉัตรทอง  4  ชั้น ตั้งอยู่  2 ข้าง จารึกพระปรมาภิไธย  ด้านหลังซุ้มเรือนแก้วเป็นภาษาจีน
ส่วนพระราชพิธีสังเวยพระป้ายนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  กำหนดการแต่เดิมจะสังเวยที่พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญก่อน  1  วัน  ซึ่งตรงกับวันไหว้ของจีน  ส่วนที่พระที่นั่งอัมพรสถานจะสังเวยในวันขึ้น  1  ค่ำ เดือน  1  ของจีน ซึ่งเป็นวันตรุษจีน
 


 
เครื่องสังเวยจะเป็นเครื่องคู่ประกอบด้วย  หัวหมู  เป็ด  ไก่ ขนมเข่ง  ขนมเปี๊ยะ  ซาลาเปา  ผลไม้  กระดาษเงิน  กระดาษทอง  วิมานเทวดาทำด้วยกระดาษผ้าสีชมพู  ประทัด  ดอกไม้  ธูป  เทียนเงิน  เทียนทอง
 


 
กำหนดการพระราชพิธีนั้น  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถึง  จะทรงจุดธูปเทียน  เครื่องราชสักการะ  และธูปหางปักที่เครื่องสังเวย  พนักงานประโคมฆ้องชัย  สังข์  แตร  ดุริยางค์  ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับจะทรงเผากระดาษเงิน  กระดาษทอง  เมื่อธูปที่เครื่องสังเวยหมดดอก  เจ้าหน้าที่จึงถอนเครื่องสังเวยและนำวิมานเทวดาไปปักในแจกันที่ใต้เครื่องบูชาพร้อมทั้งผูกผ้าสีชมพู  เป็นเสร็จพิธี
 
 

 
สำหรับความสำคัญของห้องทรงพระอักษรนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ทรงใช้เป็นที่ทรงพระอักษร พระราชนิพนธ์บทละครคำฉันท์เรื่องที่เยี่ยมที่สุดในประเทศไทยเรื่องหนึ่งคือ “มัทนะพาธา” หรือที่ถูกเรียกขานกันว่า “ตำนานรักดอกกุหลาบ” นั่นเอง
 



 

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ  ได้เริ่มดำเนินการซ่อมแซมในปีพ.ศ. 2534 แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2536 หลังคาพระที่นั่งได้เปลี่ยนกระเบื้องเป็นสีเดียวกันคือสีเหลือง โดยสั่งทำขึ้นใหม่และคงรูปแบบเดิมไว้ พื้นรองรับหลังคาดำเนินการเทปูนทับแผ่นไม้ ฝ้าเพดานรื้อลงมาซ่อมและเปลี่ยนในส่วนที่ชำรุดทั้งหมด ดำเนินการปั้นปูนประดับหลังคาและเขียนสีขึ้นใหม่ตามแบบเดิม ส่วนพื้นห้องทรงพระอักษรชั้นบน เดิมเป็นปูนและปูพื้นด้วยกระเบื้องกังไสเขียนลายรองรับด้วยไม้แกะสลักลาย ได้ทำการรื้อกระเบื้อง เนื้อปูนและแผ่นไม้ออก ให้ชักร่องหลังไม้ให้ลึกพอประมาณและใช้เหล็กรูป T ฝังลงไปในร่องไม้ให้แข็งแรง จากนั้นจึงปูพื้นกลับไปตามเดิม ใต้ชั้นต่ำของพระที่นั่งส่วนทางเดินด้านในกะเทาะปูนที่หมดอายุออกและทำการฉาบปูนใหม่ทั้งหมด ห้องเล็กได้ทำชั้นเหล็กปูพื้นไม้ไว้จัดของและเก็บกระถางและกี๋สำหรับตั้งต้นไม้ นอกจากนี้ก็ยังเสริมคานรองรับพื้นระเบียงและขัดพื้นทาน้ำมันใหม่ เครื่องเรือนภายในพระที่นั่งได้นำมาทำความสะอาด
 
 
 


กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524


































 
135134136
 



Create Date : 18 ตุลาคม 2564
Last Update : 18 ตุลาคม 2564 12:02:59 น.
Counter : 1515 Pageviews.

16 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณKavanich96, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณกะว่าก๋า, คุณtoor36, คุณอุ้มสี, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสองแผ่นดิน, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณhaiku, คุณเริงฤดีนะ, คุณSertPhoto, คุณSweet_pills

  
ขแบคุณที่พาไปเที่ยวจ้าคุณบอล


โดย: หอมกร วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:14:07:02 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:14:24:47 น.
  
เพิ่งรู้เลยครับว่าพระราชวังบางปะอินมาศิลปะจีนแบบนี้ด้วย
ถึงว่าตอนทำรายงานส่งอาจารย์ถึงได้เกรด 3 เพราะไม่รู้อะไรเลยนี่เอง 5555555
สงสัยโควิดซา ต้องหาเวลาไปเที่ยวใหม่ซักรอบ 2 รอบครับ โตแล้วน่าจะดูรู้เรื่องขึ้นมาก
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:15:02:10 น.
  
ว้าวๆๆๆ
สวยงามมากๆเลยครับคุณบอล
เพิ่งเคยทราบและเคยเห็นภาพเป็นครั้งแรกเลย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:15:10:28 น.
  
วันที่ไปคนเยอะเหมือนกันนะครับ ตอนผมไปคนไม่เยอะเท่าไหร่
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:16:09:03 น.
  
ปักหมุดตาม
โดย: อุ้มสี วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:16:58:48 น.
  
ตามมาเที่ยวบางปะอินต่อครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:22:15:54 น.
  
พระราชวังบางประอินนี่
ไปที ได้ครบเลยนะคะ
จีนก็ได้ ฝรั่งก็ได้
บ้านแบบไทยๆก็มี
อยากไปอีกจัง

ปล ขอบคุณสำหรับคำอวยพรนะคะ
เวเลซไปนวดมา ตอนนี้ดีขึ้นมานิดนึงแล้วค่ะ
โดย: VELEZ วันที่: 18 ตุลาคม 2564 เวลา:23:00:23 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:6:09:53 น.
  
น่าจะมีให้ยืมชุดจีน
แต่งเดินถ่ายภาพ
อยากแปลงร่างเป็นนางในวังหลวง
คริ คริ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:6:35:17 น.
  
เมื่อก่อนตอนเรียนจบใหม่ๆผมขี้อายมาก
ไม่ค่อยพูด
แต่พอทำงานที่ร้านต้องเจอคนเยอะมาก
ก็เลยฝึกพูดบ่อยครับ

โควิดสองปีนี้ ทำให้ปิดร้านไป
ไม่ได้พูดกับใครเลยนอกจากคนในครอบครัวครับ 555

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:13:09:56 น.
  
จากบล๊อก
กับ ยอด ให้ตามหามาคุยกัน คงไม่อ่ะครับพี่ 5555 แต่ถ้าบังเอิญเจอก็พยักหน้าให้ได้ครับ เหอะๆ
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:14:39:25 น.
  
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมค่า
โดย: ป้าทุยบ้านทุ่ง วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:17:28:16 น.
  
ตามมาเที่ยว
โดย: Noppamas Bee วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:20:31:57 น.
  
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญสวยสดใสสไตล์จีนนะคะ
รายละเอียดแต่ละส่วนก็งดงามน่าชมมากค่ะคุณบอล

ขอบคุณคุณบอลที่พาเที่ยว
ขอบคุณที่แวะชมเมนูที่บ้านนะคะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 19 ตุลาคม 2564 เวลา:22:53:52 น.
  

สวัสดียามเช้าครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 ตุลาคม 2564 เวลา:6:07:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]