"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
118. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 4



การปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์

คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ ๘” สู่ความดับทุกข์

***************
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ ๘” สู่ความดับทุกข์

คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา

เพื่อปรับเปลี่ยน การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม

ที่เป็นอกุศล (มิจฉา) ให้เป็นกุศล (สัมมา)

โดยการชำระล้าง หรือ การขจัด หรือ การดับ “กิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมทั้งหลาย (ทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์)
 
***************
 
ศีล คือสิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อปรับเปลี่ยน การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ที่เป็นอกุศล (มิจฉา) ให้เป็นกุศล (สัมมา)

ศีล เป็นสิ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติของตน หรือ ให้เป็นปกติวิสัยของตน (ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ)
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา
 
ต้องใช้ “การเจริญสมถะ (การอบรมจิต) และ “การเจริญวิปัสสนา (การอบรมปัญญา)” ร่วมกัน
 
เพื่อทำให้ “ศีล” เป็นปกติ (ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ)
 
***************
 
การเจริญสมถะ (การอบรมจิต) คือ การเพียรทำความมีสติ เพื่อทำจิตให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้ไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล (มูลเหตุของอกุศลกรรม)
 
การเจริญสมถะ (การอบรมจิต) เป็นการทำให้ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต ระงับดับลง (ยังไม่ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจ) เพื่อไม่ให้เกิด “การละเมิดศีล
 
***************
 
การเจริญวิปัสสนา (การอบรมปัญญา) คือ การเพียรทำความมีสติ เพื่อเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล และ เพื่อเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ “สิ่งที่หลงยึดมั่นถือมั่น” และของ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่คอยชักนำจิตใจ ให้ละเมิดศีล เป็นการทำให้เกิด “ปัญญา” ล้างอวิชชา หรือ ทำให้เกิด การ ”พ้นวิจิกิจฉา
 
การอบรมปัญญา (วิปัสสนา) ดังกล่าว เป็นการทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย” และ ทำให้เกิด “การปล่อยวางได้” คือ “ทำให้ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นไปตามอำนาจของกิเลส (ทำให้อุปาทานดับ)” ส่งผลให้ “ตัณหาและกิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจ (พ้นสักกายทิฏฐิ)
 
เมื่อกิเลสที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจแล้ว ก็จะทำให้ “ศีล” เป็นปกติ (พ้นสีลัพพัตตปรามาส)
 
***************
 
การเจริญสมถะ และ การเจริญวิปัสสนา ต้องอาศัย “ผัสสะ” เป็นปัจจัย จึงจะสามารถทำให้ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ลดลง จางคลายลง และ ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจ ได้จริง


ถ้าไม่มีผัสสะเป็นปัจจัย จะทำให้เกิด “การนอนเนื่องของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน (กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ยังไม่ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจจริง)” และ จะทำให้เกิด “การหลงผิดคิดไปว่า ตนเองได้บรรลุธรรมแล้ว”
 
ผัสสะ คือความประจวบกันของสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และ วิญญาณ (ความรับรู้)


***************
ผัสสะ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์

ผัสสะ เปรียบเสมือน แบบฝึกหัด หรือ แบบทดสอบ

ถ้าไม่มีผัสสะ เราจะไม่รู้ว่า เราสามารถดับกิเลสได้แล้ว จริงหรือไม่?


***************
 
ถ้าไม่มีผู้ใด หรือ สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา "โกรธ"

เราจะไม่สามารถ ทำความดับ “ความโกรธ” ที่มีอยู่ในจิตใจของเราได้จริง

เพราะ เราจะไม่มี “ความโกรธ” มาเป็นปัจจัย ในการเจริญสมถะ (อบรมจิต) และเจริญวิปัสสนา (อบรมปัญญา)

และเราจะไม่รู้ว่า เราสามารถดับ “ความโกรธ” ได้แล้ว จริงหรือไม่?
 
***************

 ถ้าไม่มีผู้ใด หรือ สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา "เกิดความอยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต (ความโลภ)"

เราจะไม่สามารถ ทำความดับ “ความโลภ” ที่มีอยู่ภายในจิตใจของเราได้จริง

เพราะ เราจะไม่มี “ความโลภ” มาเป็นปัจจัย ในการเจริญสมถะ (อบรมจิต) และเจริญวิปัสสนา (อบรมปัญญา)

และเราจะไม่รู้ว่า เราสามารถดับ “ความโลภ” ได้แล้ว จริงหรือไม่?

***************

ถ้าไม่มีผู้ใด หรือ สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา "รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นชอบใจ เป็นไม่ชอบใจ เป็นรัก เป็นเกลียดชัง เป็นกลัว เป็นกังวล เป็นห่วง เป็นหวง ฯลฯ (ความหลงใหล และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น)"

เราจะไม่สามารถ ทำความดับ “ความหลงใหล และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น” ที่มีอยู่ในจิตใจของเราได้จริง

เพราะ เราจะไม่มี “ความหลงใหล และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น” ทั้งหลาย มาเป็นปัจจัย ในการเจริญสมถะ (อบรมจิต) และเจริญวิปัสสนา (อบรมปัญญา)

และเราจะไม่รู้ว่า เราสามารถดับ “ความหลงใหล และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น” ได้แล้ว จริงหรือไม่?
 
***************

การปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์

ต้องมี “ผัสสะ” เป็นปัจจัย

จึงจะทำให้เกิด การบรรลุธรรมจริง

ดังนั้น

เราจึงไม่ควรหลีกหนี “ผัสสะ

และ เราควรใช้ ผัสสะ ที่เกิดขึ้นมาในชีวิต

เพื่อทำให้เกิด “ความปราศจากราคะ หรือ วิราคะ (ดับราคะ)”

อันจะนำพาชีวิตไปสู่  “ความดับแห่งกองทุกข์

***************

จงรู้จักเก็บเกี่ยวเอาประโยชน์จากผัสสะ

จงเพียรหมั่น เก็บเกี่ยวบุญ (ชำระล้างกิเลสออกจากจิต) และ เก็บเกี่ยวกุศล (สร้างวิบากกรรมดี) จากบุคคลรอบๆข้าง และ จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

ถ้าไม่มีผู้ใด มากระทำให้เราโกรธ เราคงไม่มีโอกาส ได้ทำอภัยทาน

***************

ผัสสะ น. การกระทบ การถูกต้อง เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
 

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

***************
 
บุญ” นั้น มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า “ปุญฺญ
บุญ แปลว่า ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด


ความหมายจาก “ก้าวไปในบุญ” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

ชาญ คำพิมูล
 


Create Date : 22 เมษายน 2566
Last Update : 22 เมษายน 2566 6:59:16 น. 0 comments
Counter : 287 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.