"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
33. ทำความเข้าใจ ความเกิดแห่งทุกข์ และ ความดับแห่งทุกข์ ให้ชัดแจ้ง


 
[๑๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ความเกิดและความดับแห่งทุกข์
เธอทั้งหลาย จงฟัง

ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
 
คือ เพราะอาศัย จักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด
ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
 
เพราะอาศัย ชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด
ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
 

*** (ละในส่วนของ ฆานะ... โสตะ... และ กาย...)
 
เพราะอาศัย มโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด
ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล
            

ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอาศัย จักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด
ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแล ดับไม่เหลือ ด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติ (ความเกิด) จึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และ อุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ

เพราะอาศัย ชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด
ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแล ดับไม่เหลือ ด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ
เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
***(ละในส่วนของ เพราะภพดับ...จนถึง...และ อุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงดับ)
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ”
 

*** (ละในส่วนของ ฆานะ... โสตะ... และ กาย...)
 
เพราะอาศัย มโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด
ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแล ดับไม่เหลือ ด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ ด้วยประการฉะนี้
 
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล

*** จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (๓. ทุกขสมุทยสูตร ว่าด้วยความเกิดแห่งทุกข์)

***************

ความทุกข์ เกิดขึ้นจาก ความหลงใหลติดใจ และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์สุขเวทนา อันเกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์ (อวิชชา) จนเกิด ความกำหนัด ความยินดี (ราคะ)

การทำความดับทุกข์ คือ การทำให้เกิด “วิราคะ” หรือ การทำให้เกิด “ความปราศจากราคะ”

วิราคะ หมายถึง ความคลายกำหนัด ความหน่าย ความไม่ยินดี ความไม่ไยดี ความไม่พึงใจ ในอารมณ์สุขเวทนา อันเป็น “เคหสิตเวทนา”

อารมณ์สุขเวทนา อันเป็น เคหสิตเวทนา หมายถึง อารมณ์สุขเวทนา อันเกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์

การดับของ “อารมณ์สุขเวทนา อันเป็น เคหสิตเวทนา” จะทำให้เกิด “อุเบกขาเวทนา อันเป็น เนกขัมมสิตเวทนา”

***************

เพราะเกิดวิราคะ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จึงดับ

***************


การทำความดับทุกข์ หมายถึง การเพียรหมั่น “อบรมจิต (สมถภาวนา)” และ การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” เพื่อทำให้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของสิ่งที่เราหลงใหลติดใจ และ หลงยึดมั่นถือมั่น จนเกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้

(เป็นการทำให้เกิด “ปัญญา” ล้าง “อวิชชา” หรือ เป็นการทำให้เกิด “วิราคะ”)

ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 17 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2562 10:25:12 น. 0 comments
Counter : 2600 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.