สิวฮอร์โมน หรือ (Hormonal Acne) เป็นสิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยฮอร์โมนเพศชาย เช่น เทสโทสเตอโรน มีส่วนกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน และเกิดสิวได้ในท้ายที่สุด โดยมากมักเป็นในกลุ่มวัยรุ่นหรือผู้หญิงที่มักเกิดสิวฮอร์โมนขึ้นในช่วงใกล้ของรอบเดือน ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาให้รู้จักกับ สิวฮอร์โมนกันมากขึ้น ว่าสิวฮอร์โมนมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง รักษาอย่างไร หรือใช้อะไรในการรักษาดี
สิวฮอร์โมนมีสาเหตุมาจากอะไร ปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายตามธรรมชาติ เช่น ในช่วงวัยรุ่น ขณะตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคจิต สภาวะเครียด หรือกรรมพันธุ์ โดยอาการของสิวฮอร์โมนที่ปรากฏในแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน บางคนอาจเกิดสิวขึ้นที่ใบหน้า สิวหน้าอก สิวแผ่นหลัง สิวขึ้นคอ หรือสิวขึ้นที่คาง โดยลักษณะของสิวฮอร์โมนมักเป็นตุ่มหนองหรือตุ่มแดง มักเป็นเม็ดเดียวหรือเป็นกลุ่ม บางครั้งอาจเกิดเป็นก้อนใหญ่หรือเป็นหนองอักเสบได้
ประเภทของสิวฮอร์โมน - สิวอุดตัน ลักษณะเป็นสิวอุดตันขนาดเล็กที่ไม่มีการอักเสบ แต่จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาเล็กน้อย
- สิวอักเสบ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนด้วยน้ำมัน จนเกิดเป็นตุ่มนูนแดง ถ้าสัมผัสจะรู้สึกมีตุ่มนูนแดงและเจ็บเล็กน้อย มักเป็นประเภทสิวพบได้บ่อยในวัยรุ่นของเกิดสิวฮอร์โมน
- สิวหัวหนอง คือสิวอักเสบที่เกิดการรบกวน เช่น การบีบสิว หรือแกะสิว จนเกิดมีหัวหนอง บริเวณตุ่มสิว
วิธีรักษาสิวฮอร์โมนการรักษาสิวฮอร์โมนสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวและสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว - การรักษาด้วยยาทา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาสิวกลุ่มเรตินอยด์ ยารักษาสิวกลุ่มกรดซาลิไซลิก
- การรักษาด้วยยารับประทาน เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด ยารักษาสิวกลุ่มเรตินอยด์
- การรักษาด้วยเลเซอร์หรือแสง เช่น Plasma Acne
- การรักษาด้วยยาฉีดสิวโดยผู้เชี่ยวชาญ
วิธีป้องกันสิวฮอร์โมนลดระดับความเครียดลง เพราะความเครียดเป็นส่วนหนึ่งในการเกิดสิวฮอร์โมน แนะนำให้หากิจกรรมให้เกิดความผ่อนคลายเพื่อลดระดับความเครียด พักผ่อนอย่างเพียงพอ การนอนหลับให้เต็มอิ่มสามารถลดการเกิดสิวฮอร์โมนได้ โดยแนะนำว่าควรนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับสมดุลของฮอร์โมน อาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารที่มีไขมัน และควรเน้นอาหารในกลุ่มผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด หรือโปรตีน เป็นต้น รักษาความสะอาดบนใบหน้าอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำให้ทำความสะอาด วันละ 2 ครั้ง สำหรับคนที่ชอบแต่งหน้าควรทำความสะอาดเครื่องสำอางให้หมดจด และล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดสิวหรือแพ้ ไม่บีบ แคะ หรือแกะสิว บ่อยครั้งที่มีสิวปรากฎที่ใบหน้า เราก็เผลอเอามือไปลูบไปจับบริเวณที่เกิดสิว โดยการสัมผัสสิวด้วยมืออาจทำให้สิวหายช้า หรือเป็นสิวอักเสบ หรือสิวหัวหนองเกิดขึ้นบนใบหน้าเราได้
ข้อมูล : https://www.apexprofoundbeauty.com/hormonal-acne-like
Create Date : 19 กันยายน 2566 |
Last Update : 19 กันยายน 2566 11:09:03 น. |
|
0 comments
|
Counter : 41 Pageviews. |
 |
|