บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
26 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
ชีวิตบนทางเดินที่มั่นคง...








ความจริงของชีวิตที่เผชิญหน้า
มันจะปรากฏภาพเช่นใดก็ตาม
หากยิ่งจิตใจว้าวุ่นและขาดสมาธิ
ไม่ใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญ
การออกจากวังวนนั้น
ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้...

อุบายหรือวิธีใดเล่าที่จะไปสู่หนทางใหม่
ที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
การเอาแต่คิดแต่ไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง
ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาต่าง ๆ เลวร้ายมากขึ้น
ไม่มีใครตายเพราะการเผชิญปัญหาชีวิตที่หนักหน่วง
แต่เขาจะตายเพราะความอ่อนปวกเปียก
และอยู่อย่างซังกะตาย
ไม่ยอมเผชิญหน้ากับปัญหา
และรีบลงมือทำเพื่อทำให้ปัญหาต่าง ๆ เบาบางลง
และเบิกทางไปสู่อนาคตที่สดใส

สำเร็จหรือล้มเหลว
เป็นเพียงด้านสองด้านที่เราต่างเผชิญกับมันอยู่ตลอดเวลา
อย่าติดยึดแต่จงปล่อยวาง
เพราะความสำเร็จอาจเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว
เช่นเดียวกับความล้มเหลว
ก็เป็นเพียงความพ่ายแพ้ชั่วคราวของคนเราเท่านั้น
หากเรามุ่งมั่นเพียงพอ
ชัยชนะย่อมอยู่ไม่ไกลห่าง
และความสำเร็จชั่วคราวนั้น
ก็อาจจะเป็นความสำเร็จในชีวิตที่มั่นคงและถาวร

ชีวิตบนทางเดินที่มั่นคง
ด้วยใจที่กล้าฟันฝ่าอุปสรรค
ยืนอยู่บนฝันที่เป็นจริง
และก้าวไปใกล้ฝันนั้นทุก ๆ วัน
ไม่ช้าไม่นานความฝันนั้นจักเป็นจริงในที่สุด !!










บล็อกที่แล้ว คลิกที่นี่









Create Date : 26 กันยายน 2550
Last Update : 8 ตุลาคม 2550 22:05:32 น. 14 comments
Counter : 987 Pageviews.

 
สวัสดีครับ

ขอพักการเขียนบันทึกไว้ก่อนนะครับ สัญญาว่าจะเขียนให้จบ แต่ช่วงนี้จิตใจมันว้าวุ่นและขาดความมั่นคง ขอแวบเขียนอะไรตามใจตัวเองก่อนนะครับ

หวังว่าในยามนี้ชีวิตของเพื่อน ๆทุกคนคงพบกับความสุขในชีวิตตามอัตภาพ

ขอเป็นกำลังใจให้พบและประสบกับความสำเร็จกับสิ่งที่คิดฝ้นในทุก ๆ วันนะครับ


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:0:02:12 น.  

 
เราสามารถแสวงหาความสุขได้เสมอค่ะ
จะรอนะค่ะมิตรคนดี..

เพลงเพราะอีกแล้วค่ะ
แล้วจะแวะมาทักทายเสมอนะค่ะเมื่อจิตใจไม่ว้าวุ่น
และมีความมั่นคง..
เราทำได้ค่ะ...ขอให้สิ่งที่คุณมอบให้ทุกคนจงสนองหาคุณนะค่ะ



โดย: catt.&.cattleya.. วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:14:51:26 น.  

 
คัดจากประชาชาติธุรกิจ


ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้บริหารต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

โดย อนัญญา มูลเพ็ญ




หากต้องกล่าวถึงการพัฒนาศักยภาพบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการพัฒนาคนในระดับปฏิบัติการ น้อยครั้งที่ระดับผู้บริหารซึ่งเป็น กลุ่มคนสำคัญที่สุดและต้องได้รับการพัฒนาอยู่อย่างสม่ำเสมอจะถูกกดดันให้ต้องแสวงหาความรู้ใหม่อย่างเป็นกิจจะลักษณะและต่อเนื่อง แต่ด้วยตำแหน่งหน้าที่ทำให้รูปแบบการเรียนรู้ของคนกลุ่มนี้อาจต้องเป็นแบบเฉพาะตัว หรืออยู่ในแนวการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ในงานปัจฉิมนิเทศผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ ส่งเสริมการจัดการที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รุ่นที่ 3 ภายใต้โครงการ "K SMEs Care" ของธนาคารกสิกรไทย "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ได้ถ่ายทอดให้เห็นความสำคัญว่าทำไมผู้บริหารจึงต้องพัฒนาความรู้อยู่เสมอ และกระบวนการเรียนต่างๆ นั้นจะเริ่มขึ้นและดำเนินไปอย่างไร...

"ประสาร" ชี้ว่า คำถามหลักๆ 4 ข้อที่ผู้บริหารจำเป็นต้องตอบได้ก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้อย่างเป็น ขั้นตอน นั่นคือ 1.การเรียนรู้ด้วยตนเอง (independent learners) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้บริหารจะเกิดขึ้นได้อย่างไร 2.วิชาการด้านบริหารนั้นๆ มีประโยชน์สามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ 3.ความรู้ด้านการบริหารที่จะเรียนรู้นั้นมีอะไรบ้าง และ 4.ผู้บริหารที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร

ในการเรียนรู้แบบ independent learners มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น คือ (1) แรงดลใจ (motivation) ที่ต้องเกิดจากภายใน ไม่ต้องมีแรงบังคับจากภายนอก (2) เครื่องมือหรือวิธีการศึกษา (skills) โดยผู้บริหารที่ดีต้องมีทั้ง 2 ส่วนนี้เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ที่ต้องการเรียนรู้ตลอดเวลา (active learners) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (longlife learning)

"สมองของเราเป็นกล้ามเนื้อประเภทหนึ่งที่ต้องมีการบริหาร ยิ่งเราใช้สมองมากก็ยิ่งเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ มีการเก็บสถิติของการใช้เวลาในการเรียนรู้ว่า การที่เราอ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง เทียบเท่ากับการอ่านหนังสือสัปดาห์ละเล่ม และ 50 เล่มต่อปี และการเลือกฟังโปรแกรมพัฒนาความรู้ (audio program) ขณะรถติด 500-1,000 ชั่วโมงต่อปี เท่าๆ กับเวลาเราทำงาน 3-6 เดือน นอกจากนี้การเรียนรู้จากคอร์สหรือการสัมมนาต่างๆ ก็เป็นการเพิ่มพูนความรู้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้หลักทางพุทธคืออิทธิบาท 4 เป็นหลักที่ผู้บริหารควรยึดถือ"

ในคำถามที่สอง วิชาการด้านบริหารนั้นๆ มีประโยชน์สามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ "ประสาร" เห็นว่าแม้ปัจจุบันความรู้ด้านการบริหารจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากปัญหาฉ้อโกงของระดับผู้บริหารหลายกรณี เช่น กรณีของเอนรอน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลักสูตร บริหารธุรกิจระยะหลังถูกพัฒนาให้ห่างออกไปจากโลกของความเป็นจริง จนทำลายวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในอดีต ที่นอกจากให้ความรู้ด้านการบริหารแล้วยังสอนผู้บริหารให้เป็นผู้มีคุณธรรมและรับผิดชอบ

แต่ข้อดีของหลักสูตรหรือความรู้ด้านการบริหารคือมีแนวทางที่เหมือนกันในทุกๆ ที่ทั่วโลก (commoditization) ทำให้ผู้บริหารทุกแห่งและทุกระดับสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองในแนวทางที่ผู้บริหารคนอื่นเรียนรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือตำราที่สอนหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดได้โดยง่าย

"ดังนั้นคำตอบในข้อนี้คือ ความรู้ด้านการบริหารมีประโยชน์อย่างมาก หากผู้บริหารมีดุลพินิจในการเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ซับซ้อน รู้จักตั้งคำถามที่ถูกต้อง เพราะถ้าตั้งคำถามผิด ต่อให้ขยันแค่ไหน คำตอบที่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ และที่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีความสามารถด้านการเป็นผู้นำและการตัดสินใจ นอกจากนี้วิชาการด้านบริหารยังช่วยให้มองเห็นปัญหาบางอย่างที่มองไม่เห็น เช่นเรื่องของ EQ ที่แต่ก่อนเราไม่เคยสนใจ นอกจากนี้องค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ยังได้ผ่านการทดลองมานาน มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้และช่วยให้มั่นใจในการนำมาใช้"

เขากล่าวถึงคำถามที่ 3 คือ องค์ความรู้ด้านการบริหารมีอะไรบ้างว่า โดยหลักแล้วองค์ความรู้ด้านการบริหารแบ่งออกได้ 4 ส่วนหลักๆ คือ 1.ส่วนย่อย-ส่วนย่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้กระบวนการทำงานในด้านปฏิบัติการ แต่ผู้บริหารต้องสามารถเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไปคือ 2.ส่วนย่อย-ส่วนใหญ่ คือต้องสามารถเรียนรู้ที่จะผูกส่วนย่อยๆ ให้รวมกันเป็นพลังขององค์กรที่มีทิศทางชัดเจนว่าจะเดินไปทางไหน 3.ส่วนใหญ่- ส่วนย่อย ส่วนนี้ก็สำคัญในแง่ที่ว่า ผู้บริหารต้องสามารถแปลงเป้าหมายใหญ่ขององค์กร (ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์) ไปสู่ระดับย่อยให้สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายองค์กรได้ และ 4.ส่วนใหญ่-ส่วนใหญ่ คือความรู้ต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างองค์กร ผู้บริหารต้องเรียนรู้และสามารถเชื่อมองค์กรให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

"องค์ความรู้ 4 แบบสามารถแปรออกมาเป็นองค์ความรู้ด้านการทำงาน 3 อย่าง คือ กระบวนการด้านยุทธศาสตร์ ด้านการปฏิบัติงาน และเรื่องของคน แต่กระบวนการทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ซึ่งจากสถิติพบว่ามี 9 ใน 10 องค์กรที่ ล้มเหลวในเรื่องนี้"

และอุปสรรค 4 ด้านที่เป็นต้นเหตุของความ ล้มเหลวขององค์กรส่วนใหญ่ อุปสรรคแรกคือเรื่องวิสัยทัศน์ ซึ่งข้อมูลระบุว่าบริษัทส่วนใหญ่มี พนักงานเพียง 5% เท่านั้นที่เข้าใจในยุทธศาสตร์ขององค์กร ต่อมาคืออุปสรรคจากผู้บริหารเอง ที่มีข้อมูลระบุว่า 85% ของผู้บริหารเวลามีน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อเดือนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องยุทธศาสตร์ เนื่องจากหมดเวลามากมายไปกับงานเฉพาะหน้า

ถัดมาคืออุปสรรคด้านทรัพยากร ที่องค์กรธุรกิจกว่า 60% ไม่ได้มีการเชื่อมโยงงบประมาณเข้ากับยุทธศาสตร์องค์กรว่า ในอนาคตจะจัดงบประมาณอย่างไรให้เหมาะสม สุดท้ายคืออุปสรรคจากพนักงาน ที่มีข้อมูลบ่งบอกเช่นกันว่ามีพนักงานระดับผู้จัดการเพียง 25% ที่มีการเชื่อมโยงเป้าหมายการทำงานส่วนตัวและผลตอบแทนเข้ากับยุทธศาสตร์ขององค์กร

ดังนั้นกรอบแนวคิดที่จะแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติได้ต้องมีขั้นตอนที่ชัดเจน เริ่มจากการกำหนดภารกิจ (mission) ขององค์กรให้ชัดเจน ให้เหมือนกับคนที่รู้ตัวว่าเกิดมาเพื่ออะไร จากนั้นต้องรู้จักคุณค่าที่มุ่งหวัง (core value) เพราะองค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเป็นองค์กรที่มีระบบคุณค่า รู้ว่าองค์กรจะต้องให้ค่า กับอะไร ขั้นตอนสำคัญที่ถัดมาคือ การ กำหนดวิสัยทัศน์ (vision) นั่นคือการกำหนดว่าองค์กรจะเดินไปสู่ทิศทางใดภายใต้ภารกิจที่กำหนดไว้

จากนั้นคือการกำหนดเครื่องมือในการติดตามระดับต่างๆ ทั้งองค์กรและหน่วยงานภายใน แต่ประการสำคัญต้องเชื่อมเป้าหมายส่วนบุคคลของคนในองค์กรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร

คำถามสุดท้าย คือ ผู้บริหารที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร ประสารได้อธิบายให้มุมมองว่า ผู้บริหารนั้นต้องเป็นผู้ที่รู้จักคนและรู้จักธุรกิจที่ตัวเองอยู่ ต้องยืนอยู่บนความจริงแม้บางครั้งการคิดนอกกรอบนำมาซึ่งไอเดียต่างๆ แต่สุดท้ายแล้วผู้บริหารก็ต้องกลับมาอยู่กับความจริง

เป็นผู้วางเป้าหมายและลำดับความสำคัญ ให้ชัดเจน มีการติดตามงานต่างๆ อย่างเหมาะสม ให้รางวัลแก่ผู้ทำงานดี หรือหากทำไม่ดีต้อง ลงโทษ

และสุดท้ายคือต้องรู้จักตนเอง ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ โดยเฉพาะการมีความเข้มแข็งทางอารมณ์ เข้าใจผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะการมองสิ่งเดียวกันในมิติของคนอื่นจะช่วยให้ผู้บริหารหาทางออกของปัญหาได้ นอกเหนือจากมิติของ ตัวเอง


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:22:43:22 น.  

 
คัดจากประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3932 (3132)

เปลี่ยนตัวเราเอง

คอลัมน์ BOOK IS CAPITAL

การจะเปลี่ยนตัวเราเองนั้นเขาว่าเป็นเรื่องยากนักยากหนา แต่หากใครข้ามพ้นจุดนี้ได้ เราจะได้พบ สิ่งใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่า

ในหนังสือ "แนวทางสู่ความสุข" ของ "ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา" ซึ่งได้ได้รับรางวัลดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมศึกษา ขั้นพื้นฐาน หรือ รางวัลงานสัปดาห์หนังสือ แห่งชาติในปีนี้

มีบางแง่มุมที่เราน่าเอาไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเอง

ดร.อาจองยกตัวอย่างเป็นนิทานว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นคนเจ้าอารมณ์และมักจะปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ วันหนึ่ง เขาประกาศว่าจะให้รางวัลอย่างงามแก่คนที่สามารถรักษาอาการปวดศีรษะของเขาได้ หลายคนรวมทั้งหมอที่เชี่ยวชาญต่างก็มาเสนอแนะวิธีรักษาโรคปวดศีรษะของเศรษฐีผู้นี้ แต่ก็ไม่มีใครสามารถทำให้เขาดีขึ้นได้

อยู่มาวันหนึ่ง มีนักบุญท่านหนึ่งเดินทางมาเยี่ยมเศรษฐีผู้นี้ เศรษฐีได้บอกเกี่ยวกับโรคประจำตัวของเขาให้นักบุญทราบ นักบุญจึงบอกกับเศรษฐีว่า...

"โธ่เอ๊ย วิธีรักษาอาการปวดหัวของเจ้ามันง่ายนิดเดียวเอง นั่นก็คือ เจ้าจะต้องมองทุกอย่างให้เป็นสีเขียวตลอดเวลา แล้วอาการของเจ้าก็จะหายเป็นปลิดทิ้ง..."

เศรษฐีดีใจมากและคิดว่าสิ่งที่นักบุญแนะนำเขานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมาก

วันรุ่งขึ้น เศรษฐีผู้นี้จึงจ้างช่างทาสีหลายร้อยคนมาช่วยกันทาสีหมู่บ้านให้เป็นสีเขียวทั้งหมด และด้วยความที่เป็นคนรวยมาก เขาจึงซื้อเสื้อผ้าให้คนในหมู่บ้านทุกคนได้ใส่ด้วย ในตอนนี้ไม่ว่าเศรษฐีผู้นี้จะมองไปทางไหนก็จะเป็นสีเขียวตลอดเวลาตามคำแนะนำของนักบุญ อาการปวดศีรษะของเขาก็เริ่มดีขึ้นๆ เขาเริ่มเป็นคนยิ้มง่ายและมีความสุขมากขึ้น

สองสามเดือนถัดมา ท่านนักบุญก็ได้กลับมาเยี่ยมเศรษฐีอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ต้องเผชิญกับ ช่างทาสีคนหนึ่งซึ่งตะโกนร้องว่า...

"หยุดก่อน ! ท่านเข้ามาในหมู่บ้านในชุดนี้ไม่ได้ เดี๋ยวผมจะต้องทาสีท่านให้เป็นสีเขียวก่อน" นักบุญตกใจและรีบวิ่งหนีเข้าไปในบ้านของเศรษฐีได้ในที่สุด

นักบุญได้พบกับเศรษฐีและก็ได้ตำหนิว่า...

"ทำไมเจ้าถึงต้องเสียเงินเสียทองและเสียเวลาไปมากมายเพื่อเปลี่ยนสิ่งต่างๆ รอบตัวเจ้าเล่า เราไม่ได้บอกให้เจ้าไปเที่ยวทาสีทุกอย่างให้เป็น สีเขียวเลย" เจ้าเพียงแค่สวมแว่นตาสีเขียวเท่านั้นเอง เจ้าก็จะมองเห็นทุกสิ่งรอบตัวเป็นสีเขียวแล้ว"

หากเราต้องการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกคนหรือเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง เราเพียงแต่เปลี่ยนตัวของเราเองก่อน แล้วเราก็จะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

หรือในเรื่อง "ฉันต้องการความสุข"

เรามักจะพูดกันอยู่เสมอว่า "ฉันต้องการ ความสุข" แต่เราจะหาความสุขกันได้อย่างไร ? คำตอบก็อยู่ที่คำพูดของเรานั่นเอง

ลองมาพิจารณาคำพูดของเราที่ว่า "ฉันต้องการความสุข" เราอยากจะให้เลือกแต่คำว่า "ความสุข" อย่างเดียว

เราจะต้องทำอย่างไร ? ง่ายนิดเดียว...ต้องตัดออกไป 2 คำ

"ฉัน" คือตัวกูของกู (ego) คือการยึดมั่นถือตน เมื่อมีคนมาวิพากษ์วิจารณ์เรา เสียงเข้ามาทางหูของเราและกระทบกับตัวกูของกู (ego) ของเรา เราก็เคือง เราก็โกรธ แต่เมื่อเราขจัดตัว "ฉัน" ออกไป เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ก็ไม่ไปกระทบกับอะไร เราก็จะมีแต่ความสงบสุข

"ฉัน" จึงเป็นตัวทำลายความสงบสุข เราจำเป็นต้องขจัด "ฉัน" ออกไปเพื่อให้ได้ความสงบสุขกลับคืนมา

สำหรับคำว่า "ต้องการ" คือ ต้นเหตุแห่งความทุกข์ เพราะจิตใจคือกองกิเลส จิตใจมันจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ มันจะไม่ยอมหยุดนิ่งเพราะมันมีความต้องการ เราจะไม่มีความสงบสุขได้หากเราไม่ทำให้ใจของเราหยุดนิ่ง ถ้าเราสามารถทำให้ใจของเราสงบ เราก็จะมีความสงบสุข ดังนั้นเราต้องกำจัด "ความต้องการ" หรือกิเลส

คนเราเมื่อไม่ได้หวังอะไรก็จะไม่มีความ ผิดหวังเกิดขึ้น ซึ่งก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขในชีวิต แต่แน่นอนคนเราจะตัดความต้องการออกไปหมดทันทีย่อมไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องกำหนดเพดานแห่งความต้องการคือ อย่าให้ความต้องการของเราทะลุเพดานออกไป รู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี เมื่อเรามีความพอใจ เราก็จะมีความสุข

เมื่อเราตัดออกไปได้ทั้งสองคำ "ฉัน" และ "ต้องการ" เราก็จะมีแต่คำว่า "ความสุข" เพียงอย่างเดียว

แม้จะเป็นมุมมองง่ายๆ แต่ก็น่าคิด เพราะบางทีเราก็มองข้ามมันไปโดยไม่ทันคิด


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:23:18:54 น.  

 
วันนี้กทม..
อากาศดีจังค่ะ..ช่วงนี้ธุรกิจเริ่มเบาบางแล้วสิ
ชีวิตเราต้องเหนื่อยอีกแร้วววววววววว

แต่ก็สู้ๆๆกันต่อไป
เมื่อชีวิตยังไม่สิ้น..ก็ขอดิ้นให้สุดๆๆไปเลยค่ะ
คุณสบายดีนะค่ะ..ขอให้ใช้ชีวิตในช่วงได้พัก
ต้องกอบโกยแต่ความสุขมากๆๆนะค่ะถึงจะชั่วขณะ
ขอถือว่ามีสุขค่ะ


เพลงเพราะค่ะ..

อีก 3เดือนอาจมีอะไรที่ดูดีขึ้นก็ได้นะ
กคงได้แต่หวังนะค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะความรู้ที่นำมาเสนอ
ภาคปฎิบัติพอมีแต่ขาดทฤษฎี



โดย: catt.&.cattleya.. IP: 58.9.62.115 วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:8:01:45 น.  

 
คัดจากกรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์กายใจ

พักใจ



: ทะเลป่วน

ความเงียบ

คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเงียบ เพราะเมื่อใดที่ความเงียบครอบงำพื้นที่ ก็จะทำให้มนุษย์รู้สึกกลัวและอ้างว้าง ต้องรีบวิ่งไปทำลายความเงียบเปิดทีวี วิทยุ และหาคนคุยด้วย เพื่อใช้เสียงเป็นเพื่อนแก้เหงา

บ่อยครั้งที่ฉันเห็นเพื่อนๆ พยายามทำลายความเงียบ ความเหงาที่มีอยู่ในใจด้วยวิธีการดังกล่าว

ทำให้ฉันนึกถึงการแสดงเมื่อสองวันที่ผ่านไป ในงานมหกรรมศิลปการแสดงและดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 9 ฉันไปนั่งดูการแสดงจากคณะกอมปาเญีย อาแตร์บัลเลตโต ประเทศอิตาลี ในบางช่วงนักแสดงเล่นกับความเงียบ แม้จะเป็นช่วงไม่กี่นาที แต่ฉันก็สังเกตถึงความอึดอัดของผู้ชมหลายคน เมื่อไม่มีเสียงดนตรีประกอบการแสดง

ฉันคิดว่า ความเงียบเป็นบททดสอบจิตใจอย่างหนึ่งในชีวิต

แล้วทำไมเราถึงหวั่นเกรงกับความเงียบ

เพราะห้วงเวลาแห่งความเงียบ ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากเป็นพิเศษ จินตนาการจึงเกิดขึ้นมากมาย นอกจากความคิดสร้างสรรค์ดีๆ แล้ว มนุษย์ยังสร้างภาพแห่งความกลัวในสมอง

ความเงียบจะทำให้เรารู้สึกอึดอัด ก็ต่อเมื่อเราทะเลาะกับเพื่อน ขณะนั้น ในใจของเราและเพื่อนต่างก็มีความทุกข์ นั่นหมายถึง เราต้องทลายความเงียบด้วยการปรับความเข้าใจ

เพราะมนุษย์มักนึกถึงตัวเองก่อนอื่นใด "ฉันไม่ผิด เธอนั่นแหละผิด"

ฉันจำคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์ ได้ ท่านเคยพูดเรื่องวาจาแห่งสติที่ออกมาจากใจ จะช่วยเราปรับความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

ในบางห้วงเวลา เราต้องเงียบเพื่อฟังคนอื่น และบางครั้งเราต้องเงียบเพื่อฟังเสียงธรรมชาติ

อย่างเช้านี้ฉันนอนฟังเสียงฝนตกและนกร้องท่ามกลางความเงียบ ธรรมชาติรอบตัวทำให้ฉันรู้สึกดีๆ กับชีวิต

ทุกๆ เช้าฉันพบว่า ความเงียบเป็นสิ่งวิเศษสุดที่หาได้ และฉันหลงรักมันเหลือเกิน เพราะความเงียบทำให้ฉันได้พัก หลบความวุ่นวาย และได้ฟังเสียงธรรมชาติด้วยความซาบซึ้ง

แต่อีกไม่กี่ชั่วโมง ฉันก็ต้องออกไปพบกับความอึกทึก ปะทะสังสรรค์ทางความคิด และอารมณ์กับผู้คน ฉันคงต้องเตรียมใจเพื่อรับสิ่งเหล่านี้

เพราะในความเงียบทำให้เราได้สำรวจใจตัวเอง


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:23:30:39 น.  

 
สวัสดีค่ะ

สุข คู่กับ ทุกข์
คละเคล้า ปะปน
ยิ้มหัว กับ ร้องไห้
หมุนเวียน..

ชีวิต.

มาแลกเปลี่ยนกำลังใจค่ะ


โดย: นกแสงตะวัน วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:5:58:18 น.  

 
คัดจากกรุงเทพธุรกิจ Bizweek

เศรษฐกิจโลกอ่อนล้า... เศรษฐกิจไทยอ่อนแรง

ECO-NO-MISS : ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย



“ยังไม่ดีขึ้น” ผมรำพึงกับตัวเองเมื่อนึกถึงภาพเศรษฐกิจไทย พร้อมๆ กับเสียง “เฮ้อ” ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ภายหลังจากอ่านข่าวเศรษฐกิจของไทยและของต่างประเทศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา และคิดอยู่ในใจว่า “อนาคตจะเป็นอย่างไร และเราควรจะทำอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจโลกอ่อนล้าและเศรษฐกิจไทยอ่อนแรง”


นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่มักมีความเห็นต่อทิศทางการปรับตัวทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ว่า สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน ยอดขายสินค้าภายในประเทศยังคงมีสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่จะมาจากการใช้จ่ายในช่วงการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงปลายปี แต่เสถียรภาพทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งในปัจจุบันและภายหลังการเลือกตั้งคือความเสี่ยงที่สำคัญ

คนไทยยังเชื่อว่า รัฐบาลผสมที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง อาจมีระยะเวลาการบริหารประเทศไม่นานนัก ดังนั้นทุกคนจึงได้แต่เฝ้ารอความชัดเจนทางการเมืองว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล และนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่จะเป็นอย่างไร การลงทุนและการจ้างงานใหม่ๆ ของภาคเอกชนในขณะนี้จึงยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลหรือที่เราคุ้นชื่อกันว่า “เมกะโปรเจค” โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะมีการประมูลและก่อสร้างได้เมื่อไร ทำให้ประเทศไทยขาดการหนุนนำโดยภาครัฐ

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน เช่น การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงขาดความคึกคัก

เมื่อภาคธุรกิจและภาคการเมืองไม่ขยับเขยื้อน ภาคประชาชนจึงขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนชะลอการบริโภค ยอดขายของสินค้าหลายประเภทชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดตามที่ปรากฏเป็นข่าว

จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะเห็นข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ทางธุรกิจในช่วงต้นสัปดาห์นี้ว่า แม้ว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วงนี้แต่ก็มีธุรกิจที่เฟื่องฟูธุรกิจหนึ่งก็คือ ธุรกิจทวงหนี้ เพราะหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL เกิดขึ้นมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์จึงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ

สถานการณ์ขณะนี้ เข้าทำนอง เศรษฐกิจไทยอ่อนล้าจนอ่อนแรง ยังดีที่ยังพอมีความหวังจากการที่การส่งออกในเดือนสิงหาคมนี้มีอัตราการขยายตัวกลับมาที่ระดับ 18% หลังจากที่มีอัตราการขยายตัวเพียง 6% ในเดือนกรกฎาคม จนทำให้กระทรวงพาณิชย์ยังคงยืนยันเป้าหมายอัตราการขยายตัวของการส่งออกในปีนี้ที่ระดับ 12.5%

เมื่อเศรษฐกิจโลกอ่อนล้าลงเช่นปัจจุบัน ทำให้ความกังวลเริ่มมีมากขึ้นว่าการส่งออกอาจชะลอตัวลงและไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีหน้าที่อาจมีปัญหามากขึ้นกว่านี้

เมื่อมองออกไปนอกประเทศ ประเทศคู่ค้าหลักที่สำคัญของประเทศไทย ก็คือ สหรัฐอเมริกา ที่ปัจจุบันเศรษฐกิจเริ่มที่จะส่งสัญญาณของการอ่อนล้าลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัญหา Sub-Prime เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อใน Sub-Prime ในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ ที่มีปัญหาจนทำให้เกิดลุกลามไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะจำนวนผู้กู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ในตลาดสินเชื่อคุณภาพต่ำในภาคอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 12.56% ของผู้กู้ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เป็น 13.33% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 และสู่ระดับ 13.80% ในไตรมาสแรกปี 2550

อีกทั้งสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ในตลาดที่ต้องปิดกิจการไปแล้วเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลกระทบลุกลามไปสู่การลงทุนในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ทำให้ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การปรับลดการจ้างงานในภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนแรงลง

นอกจากนั้น ปัญหา Sub-Prime ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นของสหรัฐอย่างยากจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และส่งผลให้ดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐปรับตัวลดลง ซึ่งย่อมบ่งบอกได้ถึงสถานการณ์ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐมีสัญญาณของการชะลอตัวลง

เนื่องจากการใช้จ่ายของภาคเอกชนของสหรัฐ มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 70 ของ GDP ของสหรัฐ ดังนั้น การชะลอการบริโภคของสหรัฐ ย่อมทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวลงได้เช่นกัน

ดังนั้น สหรัฐจึงได้มีการเร่งปรับตัวโดยการฉีดยาที่แรงเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ลง 0.5% จาก 5.25% เป็น 4.75% ซึ่งเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งเดียวที่รุนแรง สะท้อนให้เห็นว่าปัญหา Sub-Prime ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ ทำให้ Fed ต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน หวังพยุงเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ให้ชะลอตัวลงมาก

ปัญหา Sub-Prime ที่เกิดในสหรัฐ ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวลงเพียงประเทศเดียว แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลกโดยรวมต้องชะลอตัวลงเช่นกัน

จากการศึกษาของ IMF พบว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 จะทำให้เศรษฐกิจโลกในปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.75 ซึ่งต่ำกว่าที่ IMF เคยคาดการณ์ไว้เดิมที่ร้อยละ 4.90

ประเทศไทย หากมองว่าในปีนี้การส่งออกเป็นพระเอกที่ช่วงพยุงเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวยังอยู่ในระดับสูง ทำให้เราต้องเพิ่มความเป็นห่วงในการปรับตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต

หากเรามองไปในปีหน้า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนล้าจากปัญหาการชะลอตัวของสหรัฐ และเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแรง จากสถานการณ์ความผันผวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ปีหน้าความอ่อนล้าและอ่อนแรงคงจะต้องทวีความรุนแรงขึ้นอีก

ในปีหน้าสิ่งที่ประเทศไทยคงต้องเผชิญหน้ายากที่จะหลีกเลี่ยง ก็คือ เรื่องของน้ำมันที่มีแนวโน้มราคาสูงต่อเนื่อง ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ดูเหมือนจะนิ่งๆ แต่ก็แฝงไปด้วยความไม่แน่นอน การส่งออกที่เป็นพระเอกในปีนี้ ก็น่าจะลดความร้อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจของสหรัฐที่ชะลอตัวลง

ดังนั้นพระเอกในปีนี้ ก็คงไม่ได้เป็นพระเอกในปีหน้า เราคงต้องหาพระเอกตัวใหม่ที่จะมาช่วยเศรษฐกิจของไทยแทนการส่งออก

ในใจของผม ผมคิดว่าพระเอกปีหน้าคงต้องพึ่งตนเอง โดยรัฐบาลจะต้องพยายามที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศไทยให้ได้มากที่สุด เพราะการใช้จ่ายจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าอย่างมั่นคง

โครงการต่างๆ ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ หนีไม่พ้นโครงการเมกะโปเจค การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจให้กลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง นั่นคือทางออกเดียวที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาแข็งแกร่ง และก้าวเดินได้อีกครั้งหนึ่งในปีหน้า

ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรทำให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการส่งออก และปรับตัวใกล้เคียงคู่แข่ง ซึ่งภาคธุรกิจมองว่าควรอยู่ในระดับประมาณ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3-6 เดือนนี้

เศรษฐกิจโลกอ่อนล้า...เศรษฐกิจไทยอ่อนแรง จะเผชิญหน้าได้ก็ต้องอาศัยสุภาษิตไทยที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ปีหน้า "ต้องสู้" ครับ ความอ่อนแรงของเรา เราแก้ไขได้ แต่ความอ่อนล้าของโลก เราคงไปทำอะไรไม่ได้มาก

รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันและรัฐบาลไทยชุดใหม่จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับภาคประชาชนและภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุนให้ฟื้นตัวขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งมากขึ้นในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เริ่มอ่อนล้า

////


"เศรษฐกิจโลกอ่อนล้า....เศรษฐกิจไทยอ่อนแรง จะเผชิญหน้าได้ก็ต้องอาศัยสุภาษิตไทยที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ปีหน้า "ต้องสู้" ครับ ความอ่อนแรงของเรา เราแก้ไขได้ แต่ความอ่อนล้าของโลก เราคงไปทำอะไรไม่ได้มาก"


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 3 ตุลาคม 2550 เวลา:22:07:38 น.  

 
คัดจากประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3936 (3136)

ซีเอสอาร์ เพียงเปลี่ยนวิธีคิด

คอลัมน์ CSR Knowledge

โดย พิมพร ศิริวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายแบรนด์ เอเยนซี่

สัปดาห์ก่อน มีโอกาสได้ดูละครไต้หวัน เรื่อง The Hospital เกมชีวิต ลิขิตหัวใจ ทางช่อง 3 ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของหมอในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่ควรจะมีชีวิต ความเป็น ความตาย ของคนไข้ที่เข้ามารักษาเป็นเดิมพัน แต่บนความเป็นมนุษย์ แล้วยังมีตัวแปรอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองในโรงพยาบาล ศักดิ์ศรีของแพทย์ที่เก๋า กับแพทย์มือใหม่ ตำแหน่งผู้อำนวยการแผนก ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล เงินทอง ชื่อเสียง และความเกลียดชัง มาทำให้เดิมพันชีวิตคนไข้ต้องเปลี่ยนไป จากความมุ่งมั่นและจุดยืนในการรักษาที่ต้องการมุ่งให้คนไข้อยู่รอดก็ถูกบดบังด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ตนเองอยู่รอด คิดแต่เพียงความก้าวหน้าในตำแหน่งบริหาร และต้องการเห็นฝ่ายตรงข้ามพลาดพลั้ง ในขณะที่ผู้ได้รับผลกระทบคือคนไข้

จากละครสู่โลกแห่งความเป็นจริง เชื่อว่าทุกคนที่ได้ดูละครเรื่องนี้ คงอยากเห็นเรื่องราวใน The Hospital เป็นเพียงเรื่องสมมติเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน เราได้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์ไทยในทางที่ดี ที่แต่ละแห่งมีการแข่งขันการให้บริการกับคนไข้ โดยเปลี่ยนวิธีคิด มามุ่งเน้นความสุขของคนไข้เป็นศูนย์กลาง มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในโรงพยาบาล ให้คนไข้ และครอบครัวได้รับความสะดวกทุกอย่าง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแต่เพียงภายนอกคงจะไม่เพียงพอ สิ่งที่คนไข้อยากได้รับเมื่อก้าวเข้าไปในโรงพยาบาลนั้น คือ การดูแลเอาใจใส่ของแพทย์ พยาบาล ที่เมื่อก้าวเข้าไปในห้องตรวจแล้ว ได้รับการเอาใจใส่จากหมอ มีการไต่ถามอย่างเป็นมิตร ให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องให้คำอธิบายที่ชัดเจน รวมถึงจ่ายยาที่ดี และเมื่อต้องนอนในโรงพยาบาล ก็ต้องการได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด มีการดูแลรับผิดชอบในพัฒนาการ หลังการรักษาจนหายจากการป่วยไข้ กลับจากโรงพยาบาลไปอยู่บ้าน

เมื่อเร็วๆ นี้ มีโอกาสได้คุยกับหมอหลายคน เป็นที่น่าดีใจที่ได้รับทราบว่า ปัจจุบัน วิธีคิด และการทำงานของหมอเริ่มเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยหมอยอมรับว่าไม่มีใครเชี่ยวชาญไปทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นในการดูแลคนไข้ในหลายๆ กรณี เช่นคนไข้ผ่าตัด อัตตาที่หมอแต่ละคนเคยแบกไว้ ก็จะถูกวางลง เปลี่ยนบรรยากาศสู่การทำงานร่วมกันเป็นทีมของแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้คนไข้ เพื่อให้คนไข้ได้มีโอกาสหายมากที่สุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด แม้ว่าในการรักษาหลายครั้ง แพทย์อาจจะต้องทำงานยากลำบากขึ้น ผลจากการเปลี่ยนวิธีคิดของแพทย์มายึดคนไข้เป็นศูนย์กลาง ยังทำให้คุณหมอได้ค้นพบวิธีใหม่ๆ ในการรักษา ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในวงการแพทย์อีกด้วย

หันกลับไปดูกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมในขณะนี้เห็นได้ชัดว่า การเริ่มต้นดูแลและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น การปรับวิธีคิด จะเป็นเรื่องสำคัญ อันดับแรกๆ ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นได้ก่อน ซึ่งหากเป็นธุรกิจก็ต้อง เปลี่ยนจากเอากำไรของผู้ถือหุ้นเป็นตัวตั้ง หรือเป็นศูนย์กลาง มาเป็นความสุขของพนักงาน ครอบครัวพนักงาน สังคมรอบข้าง ลูกค้า และสังคมในวงกว้าง แต่หากผู้บริหารองค์กรยังมองแคบๆ ไม่เปลี่ยนมุมมอง วิสัยทัศน์ และวิธีคิด ต่อให้บริจาคเงินนับล้านบาทและถ่ายรูปส่งข่าวไปทั่ว ก็ยังไม่ใช่คำตอบในการทำซีเอสอาร์ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน

เรื่องของวิธีคิดเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กร ซีเอสอาร์ มีกรณีหนึ่งที่อยากให้ผู้อ่านลองพิจารณา และช่วยกันให้ความเห็นว่า วิธีคิดจะช่วยทำให้องค์กรนี้ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ทำซีเอสอาร์ตาม ที่ประกาศไว้คือไม่ นั่นคือองค์กรระดับโลก อย่างเช่น บริษัทรถยนต์ (มียี่ห้อแต่ไม่ขอระบุ) ซึ่งบริษัทแม่ได้มีการประกาศชัดเจนถึงนโยบาย ในการเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

แต่หากผู้บริหารที่อยู่ในประเทศไทย กลับมองว่า ตนเองเป็นเพียงสำนักงานภูมิภาค ในขณะที่โชว์รูมและศูนย์บริการเป็นเพียง ดีลเลอร์ ที่มีเพียงแค่ทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์ให้แก่กันเท่านั้น การตัดสินใจที่จะแสดงความรับผิดชอบ เมื่อได้รับรายงานว่าโชว์รูมและศูนย์บริการ ที่เป็นดีลเลอร์ของตนนั้น มีกระบวนการซ่อมสีรถยนต์ ที่ปล่อยมลพิษสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน จึงมีเพียงคำ ตอบว่า "ไม่เกี่ยวกัน เพราะเป็นเรื่องของ ดีลเลอร์"

ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนี้ หากผู้บริหารเปลี่ยน วิธีคิดเสียใหม่ และยอมรับว่า ไม่ว่าเหตุจะเกิด ที่ดีลเลอร์ หรือที่ใครก็ตาม ในเมื่อเป็นองค์กร ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องซีเอสอาร์แล้ว การ ดูแลสังคมด้วยใจ ที่มากกว่าหน้าที่ตามที่ระบุ ในหนังสือสัญญา ก็น่าจะทำให้คำตอบใน เรื่องนี้เปลี่ยนไป และถ้าหากคิดทบทวนอีกที การรู้จักยึดสังคมเป็นตัวตั้งพัฒนาการของ เรื่องราวที่อาจนำไปสู่ "น้ำผึ้งหยดเดียว" ดังที่เคยเกิดขึ้นตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็จะไม่เกิดขึ้น

การทำ CSR จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก สำคัญเพียงต้องเริ่มที่การเปลี่ยนวิธีคิด !!



โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 3 ตุลาคม 2550 เวลา:23:15:06 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ยามเช้าวันเสาร์ค่ะ

คุณสบายดีนะค่ะ..
จิตใจแข็งแกร่งแล้วนะค่ะ
บางครั้งอายุก็เป็นเพียงตัวเลขที่สร้างความไหวหวั่นให้จิตใจเราถดถอย
แต่สำหรับเราอายุคือการเสริมสร้างให้เรามีประสบการณ์ที่มากขึ้นเสมอค่ะ

มันอาจจะไม่ทันในสถานการณ์ของเรา
แต่เราชอบเก็บไว้นำเป็นวิทยาทานให้คนรุ่นหลังได้เก็บเกี่ยวจากตัวเราเสมอค่ะ

บางครั้งมันก็อาจจะเป็นเหมือนคนละยุคละสมัยในสิ่งที่เขาได้รับรู้จากเรา
แต่การที่จะรู้อะไรมันย่อมดีกว่าการไม่ได้รู้อะไรเลยไม่ใช่เหรอค่ะมิตรที่รัก

เราเป็นคนที่ชอบอยู่กับความเงียบจังเลยค่ะ
ใช่เลยค่ะมันอาจจะทำให้เราจินตนาการณ์อะไรเกี่ยวกับตัวเราได้มากขึ้น

เรามักโทษตัวเราเองผิดเสมอนะค่ะ
มันเลยทำให้เรามีความรู้สึกดีนะ
เพราะมันจะแก้ไขตัวเราเองได้ง่ายกว่า
การที่ต้องโทษคนอื่นผิดนะค่ะ
ตัวเราย่อมรู้จักตัวเองได้ดีเสมอ

เพราะด้วยสัญชาติญาณมนุษย์..
น้อยคนนักที่จะยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองทำ...ผิด
เราจึงมีแง่คิดให้ตัวเองเสมอว่า
แม้อะไรที่เกิดแล้วผิดพลาดเพราะตัวเราก็จบ
เพราะมันย่อมก็จะยุติได้เร็วกว่าเสมอค่ะ..
ถ้าคิดว่าเราไม่ผิดย่อมหาจุดจบได้ยาก
มันจะนำพาพฤติกรรมหลายอย่างให้เกิดขึ้น
และยิ่งทำให้เราล้าได้ค่ะ...เพราะใครก็ไม่ยอมรับผิด

เพลงได้อารมณ์ดีนะค่ะ..สู้ๆๆนะค่ะ
ช่วงนี้งานเรายุ่งมากๆๆจนอ่อนล้าแต่ไม่เคยถดถอยนะค่ะ
ลำบากไม่ก็ลำบากค่ะ..แต่ก็จะขอเผชิญค่ะ

ถ้าหลักที่หลายคนต้องยึด..แสดงความหวั่นไหวโอนเอนเมื่อไหร่
เราคงทนไม่ได้แน่เลยค่ะที่เห็นแววตาที่หวาดกลัวจากคนที่หวังพึ่งเราค่ะ
จะทำให้ถึงที่สุดค่ะ

ระลึกถึงกันเสมอค่ะมิตรคนดี
ดูแลสุขภาพบ้างนะค่ะ...




โดย: catt.&.cattleya.. IP: 58.9.60.219 วันที่: 6 ตุลาคม 2550 เวลา:7:35:57 น.  

 
ปาฐกถา 31 ปี 6 ตุลา จอน อึ๊งภากรณ์ : “เราหวังว่า คนเดือนตุลา จะคงเส้นคงวาบ้าง”


ปาฐกถา 31 ปี 6 ตุลา จอน อึ๊งภากรณ์ : “เราหวังว่า คนเดือนตุลา จะคงเส้นคงวาบ้าง”

เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 50 โครงการกำแพงประวัติศาสตร์ : ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับโครงการหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานรำลึก 31 ปี 6 ตุลาคม 2519 ณ สวนประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนายจอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "บทเรียน 6 ตุลา 2519 กับการปฏิรูปการเมืองไทย"

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า เขาไม่ใช่คนเดือนตุลา ในช่วงเกิดเหตุการณ์ไม่ว่าจะ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ก็ไม่ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ ดังนั้น จึงอาจไม่ค่อยเหมาะเท่าไรในงานนี้

"ดังนั้น สิ่งที่ผมพูดในวันนี้ จะเป็นการพูดแบบไม่เกรงใจใคร คิดยังไงก็จะพูดแบบนั้น และก็เชื่อว่าหลายคนในนี้คงไม่เห็นด้วยกับผม ซึ่งนั่นก็เป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตย"

"ที่จริงๆ ไม่ชอบพูดปาฐกถาพิเศษ เพราะพูดคนเดียว คนที่ไม่เห็นด้วยแล้วอยากจะมาแย้งได้ยาก ผมไม่ชอบระบบที่มาพูดคนเดียวในตอนเช้า ไม่ว่าจะพูดคนเดียวในวันเสาร์ของคุณทักษิณ หรือของนายกฯ คนปัจจุบัน มันไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย" นายจอนกล่าว

เขาเล่าว่า แม้ว่าไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์เดือนตุลา แต่เหตุการณ์เดือนตุลาก็มีผลกระทบชีวิตผมมากพอสมควร หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เขาได้สัมผัสความคิดสมัยใหม่ สมัยนั้นกระแสความคิดในหมู่นักศึกษาและอาจารย์คิดว่าต้องทบทวนหลักสูตรของมหาวิทยาลัยให้มีการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ทันสมัย แต่มาสมัยนี้ ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนที่มีแนวคิดเช่นนี้

จอนกล่าวว่า นอกจากเรื่องแนวคิดในการทบทวนหลักสูตรแล้ว ยังได้เจอแนวคิดสองแนวทางคือ แนวทางแรกคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตย แนวทางที่สองคือ อุดมการณ์ด้านสังคมนิยม

"ผมคิดว่าถ้าเราจะพูดถึงแก่นของขบวนการ 14 ตุลา 2516 เราจะต้องเน้นในประวัติศาสตร์ว่ามีอุดมการณ์ 2 ส่วน คืออุดมการณ์ประชาธิปไตย และสังคมนิยม สำหรับผมนั้น ความคิดเรื่องประชาธิปไตย และสังคมนิยม ยังมีความหมายและความสำคัญอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน"

"สิ่งที่ผมสัมผัสหลัง 14 ตุลาคือ ได้เรียนรู้วิธีคิดนักศึกษา และได้รวมกลุ่มกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ร่วมงานกับอาจารย์มหาวิทยาลัย 6 สถาบัน และได้มีโอกาสเข้าไปดูงานในโรงงานฮาร่า ซึ่งมีการเรียกร้องของแรงงานหญิงที่เข้าไปยึดโรงงานแล้วเอาของมาขายที่ตรงนี้ (ชี้มือไปที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ก็ขายได้ ผมว่านั่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญอันหนึ่ง"

"ความคิดนักศึกษาตอนนั้นคือ ขอไปอยู่ชนบท ต้องพูดว่ากระแสความคิดตอนนั้น มาจากอิทธิพลของประธานเหมา (เหมาเจ๋อตุง) ผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ความคิดประธานเหมาในแง่ว่า ให้ปัญญาชนไปเรียนรู้ชีวิตกับผู ้ยากไร้ ชาวไร่ชาวนา ผมคิดว่าเป็นความคิดที่ดี เรามีอะไรหลายอย่างจากยุคนั้นมาใช้ในวันนี้ได้ แต่น่าเสียดายไม่มีใครประยุกต์ใช้"

"แม้เรื่องโรงงานฮาร่าที่ว่าคนงานไม่ควรเป็นแค่ลูกจ้างของนายทุน แต่ควรเป็นผู้ร่วมกิจการ มีส่วนในผลประโยชน์ของกิจการชัดเจน แนวคิดนี้ก็พบได้ในประเทศตะวันตกบางประเทศ เช่น เยอรมัน ผมคิดว่าเราก็มองอะไรจากฮาร่าได้ อย่ามองว่าเป็นเรื่องล้าสมัย"

"แต่ตอนนี้ อะไรๆ กลับตาลปัตร" นายจอนกล่าว

จอนเล่าถึงประเทศจีนที่เคยเข้าใจว่าน่าจะเป็นประเทศที่มีสวัสดิการสุขภาพฟรี แต่เมื่อทุกวันนี้ พบว่ามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงมาก มีคนที่จนมาก สิ่งพื้นฐานต่างๆ ที่เคยเป็นสวัสดิการ มาวันนี้เก็บค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาทิ ค่าเรียนหนังสือ ค่ารักษาพยาบาล เขากล่าวว่า จีนกลายเป็นประเทศที่ปฏิเสธแนวคิดดีๆ ของสังคมนิยมหมด

"ที่ผมคิดว่า ทุกอย่างมันกลับตาลปัตร ผมจำได้ว่า หลัง 6 ตุลา ตอนนั้นผมอยู่ต่างประเทศ ทำหน้าที่รณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมืองและเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย คุณสมัคร สุนทรเวช ไปอังกฤษแล้วพูดว่า เหตุการณ์ 6 ตุลานั้น ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแหล่งซ่อนอาวุธ เหตุการณ์ที่มีภาพถ่ายการแขวนคอ การฆ่าประชาชนที่สนามหลวง คุณสมัครบอกว่า ไม่ใช่ฝีมือคนไทย เป็นฝีมือคนญวน"

จอนกล่าวว่า นี่คือคนที่เป็นปรปักษ์กับเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ชัดเจน แต่ก็มาร่วมมือทางการเมืองกับคนเดือนตุลา

จอนเล่าว่า จากนั้น ในกรณีเหตุการณ์ที่ตากใบที่สื่อถูกปิดกั้น ไม่สามารถรายงานได้ จึงมีแต่ม้วนวิดีโอที่แจกไปทั่ว 'สุธรรม แสงประทุม' (อดีตคนเดือนตุลา และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย) ก็บอกว่า นั่นเป็นของต้องห้าม พอได้เจอคุณสุธรรมอีกครั้ง จึงถามว่า แล้วภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา นี่ ห้ามแจกจ่ายไหม?

"อย่างน้อย เราอาจคาดหวังคน 14 ตุลา และ 6 ตุลา ว่าคงจะคงเส้นคงวาบ้าง แต่หลายคนก็เพี้ยนไปแล้ว นี่พูดตรงๆ ว่า เพี้ยนไปแล้ว"

"กระบวนการภาคประชาชนตั้งแต่ 14 ตุลา 6 ตุลา จนถึงพฤษภาโหด ผมคิดว่า กระบวนการภาคประชาชนโดยรวมคงเส้นคงวา ยังออกมาในลักษณะต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ เรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม แต่ความแตกแยกเริ่มเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ"

"ตอนจุดเริ่มต้นของรัฐบาลทักษิณ ผมจำได้ว่ามีคนตื่นเต้นมากๆ คนหนึ่งคือ พิภพ ธงไชย (ที่ปรึกษาคณะกรรมการรณรงค์เพื่ ่อประชาธิปไตย- ครป. และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ที่ตื่นเต้นมากว่ารัฐบาลนี้จะทำงานเพื่อประชาชน"

จอนกล่าวถึงโครงการเด่นของรัฐบาลทักษิณ คือเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่แท้จริงแล้ว มาจากการผลักดันของหมอก้าวหน้า คือ นพ.สงวน นิตยารัมพงษ์ ซึ่งก็เป็นคนเดือนตุลาที่ผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพ โดยเชื่อมกับภาคประชาชน 11 เครือข่าย ผ่านการร่วมกันล่าห้าหมื่นรายชื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชน มิได้เริ่มมาจากรัฐบาลทักษิณ

"รัฐบาลทักษิณมีความสามารถมาก ต้องให้เครดิตหลายคนในเดือนตุลาที่มีความสามารถในการทำงานกับมวลชน การเริ่มต้นหลายอย่างเป็นการเริ่มต้นที่ดี เช่นเริ่มที่กินข้าวกับสมัชชาคนจน เราเห็นปรากฏการณ์น่าตื่นเต้นที่เห็นคนสองฝ่ายมาโต้กันออกทีวีเรื่องเปิดประตูเขื่อน แต่จากนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลย"

นายจอนกล่าวว่า สิ่งที่ดีของพรรคไทยรักไทยคือ มีนโยบายที่ดี แล้วก็ปฏิบัติ ขณะที่พรรคอื่นไม่เคยทำอะไรให้ประชาชน เช่นพรรคประชาธิปัตย์ แต่หลายอย่างของไทยรักไทยก็ไม่ดี เช่นการยกเลิกเงินกู้เพื่อการศึกษาของคนยากจน เรื่องนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลสุรยุทธ์เช่นกัน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จริงใจกับประชาชน

เขากล่าวถึงการจัดการพรรคไทยรักไทยในทุกวันนี้ว่า ส่วนใหญ่จะพูดกันแต่เรื่องคอรัปชั่น ซึ่งนายจอนกล่าวว่า ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่เด่น เพราะเกิดกับทุกๆ รัฐบาล แต่ที่เด่นคือ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย ซึ่งตรวจสอบได้ยาก และพูดตรงๆ ว่า ผมไม่เชื่อในคุณธรรม

"ผมคิดว่าคำว่า 'คุณธรรม' เป็นคำน่าอ้วก ที่เรียกร้องคนอื่น สิ่งที่เราเรียกร้องไม่ใช่เรื่องคุณธรรม แต่เป็นเรื่องจริยธรรมที่ต้องชัดเจนในการตรวจสอบผู้กระทำผิด แต่สังคมไทยมันไร้จริยธรรมหมดแล้ว ทุกอย่างมันซื้อได้ด้วยเงิน"

"รัฐบาลทักษิณ อาจดูเป็นรัฐบาลสมัยใหม่ แต่ใช้กลไกเก่าคือ ซื้อคน และใช้กลไกอุปถัมภ์ หลัง 19 กันยา กลไกอุปถัมภ์ก็ยังอยู่ แล้วคนจำนวนมากไปร่วม ขณะที่รัฐบาลทักษิณทำลายระบบตรวจสอบ ก็เกิดกระบวนการล้มรัฐบาลทักษิณ นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตรงนี้ล่ะ ที่เริ่มเกิดรอยร้าวในภาคประชาชน"

"ผมมีคำถามว่า ทำไมคนเดือนตุลา จึงอยู่กับรัฐบาลทักษิณมาตลอด เขาฆ่าคนในเหตุการณ์ฆ่าตัดตอน ฆ่าคุณสมชาย นีละไพจิตร ฆ่าคนที่ภาคใต้ แต่คนเดือนตุลาก็ยังทำงานก ับเขาต่อ ส่วนใหญ่เมื่อถามว่าทำไมถึงอยู่ต่อ ก็จะได้คำตอบว่า ถ้าเขาไม่อยู่ตรงนั้น เหตุการณ์จะยิ่งเลวร้าย คนอย่างเนวิน (ชิดชอบ) และยุทธ์ ตู้เย็น (ยงยุทธ์ ติยะไพรัช) ก็จะขึ้นมา"

เขากล่าวว่า คนก็จะตอบแบบเดียวกันว่า ถ้าไม่อยู่กับ คมช. ก็จะเลวร้ายกว่านี้ นักวิชาการจำนวนมากจึงไปอยู่กับ คมช. การที่เสือสิงห์กระทิงแรดไปรวมอยู่ด้วยกันได้ การผลักดันกระบวนการมาตรา 7 การแก้สถานการณ์โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้น ก็เข้าใจว่าคนธรรมดาไม่สามารถเอาทักษิณออกได้ จนเกิดกระบวนการอย่างที่ผ่านมา

นายจอนกล่าวว่า ผมเองก็ไม่ได้บริสุทธิ์ในเรื่องนี้ เพราะก็รู้สึกโล่งใจเมื่อทักษิณออกไป คิดว่ารัฐบาลทักษิณอันตราย เพราะมาจากการเลือกตั้ง ได้รับความนิยม และมีความแนบเนียนในการจัดการปัญหา

เขากล่าวต่อว่า ทุกคนไม่มีใครคิดเลยว่า การแก้ปัญหาทักษิณ โดย คมช. ก็คือการกลั่นแกล้งจนเขาเป็นฮีโร่ ใครทำเขาเป็นฮีโร่ ก็คือ คมช. ทุกอย่างที่ทำกับเขา ไม่ชอบธรรม เช่นการถอนสิทธิ์ทางการเมืองของผู้บริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ก็ไม่ชอบธรรม

"หลังเลือกตั้ง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ล่าหนึ่งหมื่นรายชื่อเพื่อยกเลิกประกาศ คมช.ทุกฉบับ" นายจอนกล่าว

"แทนที่จะเกิดรัฐประหาร ผมเชื่อว่าถ้าประชาชนต่อสู้กับทักษิณไปเรื่อยๆ เชื่อว่า ถ้ามีเลือกตั้งอีกครั้ง แม้จะได้รับเลือก แต่คะแนนจะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน การแก้ปัญหา มันแก้ด้วยการรัฐประหารไม่ได้ มันแก้ได้ด้วยประชาธิปไตย"

"แต่แม้แต่ผู้นำพันธมิตรก็มีค่ายแล้ว จึงต้องสนับสนุนรัฐธรรมนูญเฮงซวย ใจเขาไม่ได้สนับสนุนหรอก แต่เขามีค่ายแล้ว ต้องบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้สวนทางกับประชาธิปไตย ไม่ไว้ใจประชาชน ต่อไปตำแหน่งตุลาการจะมีราคาสูงสุด แล้วอย่าคิดว่าซื้อไม่ได้ คดีซุกหุ้นก็ซื้อมาแล้ว"

"สิ่งเลวร้ายที่รัฐบาลทักษิณทำ คมช.ก็ทำ จำได้ไหมว่าทักษิณชอบย้ายผู้ว่าฯ ในพื้นที่ที่เสียงไทยรักไทยไม่ขึ้น คมช.ก็ย้ายผู้ว่าฯ ในพื้นที่ที่ไม่รับรัฐธรรมนูญ"

นายจอน สรุปว่า เราอยู่ในวิกฤตสามวิกฤต คือ วิกฤตการเมือง วิกฤตการศึกษา ที่มุ่งผลิตมนุษย์ออกมาทำงานเฉพาะด้านในอาชีพต่างๆ แต่ไม่มีส่วนร่วมกับสังคม และวิกฤตสื่อ ที่สื่อไม่ยอมเป็นอิสระเสียที

จอนกล่าวว่า ภาคประชาชนต้องเป็นตัวของตัวเอง และอุดมการณ์เดือนตุลามีความหมาย มาก คืออุดมการณ์ประชาธิปไตย และอุดมการณ์สังคมนิยม

ทั้งนี้ สิ่งที่เราต้องร่วมกันต่อสู้คือ

หนึ่ง ทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบรากหญ้า ไม่ใช่แค่สิทธิของชุมชนที่จะไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง แต่เราต้องคิดเรื่องสิทธิชุมชนในการกระจายทรัพยากร และสังคมไทยต้องเลิกเป็นอาณานิคมจากกรุงเทพฯ

สอง ทำให้เกิดระบบรัฐสวัสดิการ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะสร้างความเป็นธรรมในสังคมได้ ซึ่งไม่ต้องถามว่าเงินจะมาจากไหน เพราะต้องเก็บภาษีประชาชน เพื่อสวัสดิการด้านต่างๆ อาทิ การศึกษาเรียนฟรี ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกด้าน ไม่เฉพาะแค่ค่าเรียน มีหลักประกันสุขภาพ ที่แม้มีอยู่แล้ว แต่ต้องพัฒนาคุณภาพถึงในจุดที่คนชนชั้นกลางยอมมาใช้บริการ ประชาชนทุกคนต้องได้รับบำนาญ ต้องมีการปฏิรูปที่อยู่อาศัย รวมถึงต้องมีหลักประกันการมีงานทำ หรือที่ อ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เคยเสนอว่าต้องมีหลักประกันรายได้ขั้นต่ำ

สาม ต้องปรับปรุงโครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างสถาบัน หน่วยงานภาคประชาชน โดยเฉพาะระบบสหภาพแรงงาน ซึ่งแบบที่เป็นอยู่นั้น ทำให้คนแตกแยก จะต้องสร้างระบบสหภาพที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ นอกจากนี้ ยังต้องปฏิรูปการศึกษาและสื่ออย่างจริงจัง โดยเฉพาะสื่อภาคประชาชน

ทั้งหมดนี้ คือวาระภาคประชาชนที่เชื่อในอุดมการณ์เดือนตุลา และเชื่อในสังคมที่เป็นธรรม

ก่อนจบปาฐกถา จอน อึ๊งภากรณ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ความจริงแล้วต้องมีพรรคการเมืองภาคประชาชน คือไม่มีนายทุน แต่เรื่องนี้ ต้องเริ่มและใช้เวลา ไม่สามารถใช้เวลาเพียงข้ามคืนได้

-------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 7/10/2550


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 7 ตุลาคม 2550 เวลา:18:31:18 น.  

 
//www.prachatai.com/05web/th/home/page2_comment.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9833&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ลิ้งค์ความเห็นจากเนื้อหาการอภิปราย


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 7 ตุลาคม 2550 เวลา:18:34:58 น.  

 
คัดจากกรุงเทไธรกิจ คอลัมน์ กายใจ

Happiness



พงษ์ ผาวิจิตร


กฎพาเรโต้กับชีวิต

กฎง่ายๆ กับการลงทุนในชีวิตคือ ปัจจุบัน 80 อนาคต 20

บางคนคงเคยสงสัยว่า ผึ้งตัวเล็กๆ มีวิธีบริหารจัดการกับแหล่งน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ได้อย่างไร ไม่ให้ขาดแคลน ในขณะที่คนตัวใหญ่ๆ อย่างเรา บางคนหาเช้าไม่ทันกินถึงค่ำ ถึงกับต้องกู้หนี้ยืมสิน จนธุรกิจให้กู้ยืมทั้งในระบบและนอกระบบเจริญรุ่งเรือง

ความจริงนั้นง่ายนิดเดียว เพราะผึ้งรู้จักประยุกต์หลักของพาเรโต้ ไปใช้โดยไม่ต้องเรียนเอ็มมีเอ กฎที่มีสาระสำคัญว่า "คนส่วนน้อย 20% คือ คนที่หารายได้ส่วนใหญ่ 80% เพื่อเลี้ยงคนส่วนใหญ่ 80%" แต่ผึ้งประยุกต์ไปใช้โดยไม่ต้องมีใครสอน..

•ผึ้งส่วนใหญ่ (80%) จะอยู่ดูดดื่มแหล่งน้ำหวานในปัจจุบัน

•ในขณะที่จัดสรรผึ้งอีกส่วนหนึ่ง (20%) ท่องผจญภัยไปหาแหล่งน้ำหวานใหม่ บ้างก็หลงทางไม่มีวันกลับ บ้างก็กลับมาตัวเปล่า แต่สรุปคือ มีการตรวจสอบ 360 องศา เพื่อหาแหล่งน้ำหวานสำหรับอนาคต

สรุปคือ ผึ้งไม่ได้ฉลาด หรือจัดการเก่งกว่าเรา เพียงแต่ผึ้งมีสัญชาตญาณที่เป็นระบบง่ายๆ แต่มีวินัย คือไม่ประมาทแม้วันที่มีกิน ตามภาษิตฝรั่งที่ว่าไว้ว่า เราต้องเผื่อสำรองไว้กินในวันที่ฝนตก ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่เรื่องกินอยู่เท่านั้น แต่รวมถึงการเตรียมตัวสำหรับอนาคตด้วย ที่เราต้องลงทุนในความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ เพื่อรองรับความรู้เดิมล้าสมัย เหมือนทุ่งดอกไม้เฉา จนไม่สามารถเป็นแหล่งน้ำหวานได้อีกต่อไป...

ด้วยหลักเดียวกัน ทุกครั้งที่มีวิกฤติปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้เขียนจะนั่งลงทำสิ่งต่อไปนี้..

....สิ่งแรกคือ นั่งลงไล่ทุกอย่าง ทุกด้านในชีวิตว่า เราจะ ละ เลิก ทิ้ง อะไรในชีวิตได้บ้าง ไม่ว่าจะละความฝัน ละสิ่งที่จะซื้อ จะลงทุน ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ทิ้งขยะเหรียญตราสังคม อันหมายถึงสิ่งที่ทำให้เรามีหน้าตาในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ รถ บ้าน ..

... ถัดมาเป็นอันดับสองคือ มีอะไรที่เปลี่ยนได้ ทั้งวิถีชีวิต เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน จากกุ้งก็เหลือแค่ปลา จากร้านอาหารก็เหลือแค่ถุงอาหาร (ข้าวแกงถุง) แม้โรงเรียนของลูกก็ต้องเตรียมเปลี่ยนไปถ้าจำเป็น บ้านที่อยู่ (ถ้าจำเป็นต้องทิ้งก็ต้องขายทิ้ง หรือทิ้งดาวน์

....อันดับสาม คือ ค่อยมาไล่ดูว่ามีช่องทางใดที่จะหาเงินเข้ามาให้ได้มากที่สุด ขายของเก่า เขียนหนังสือ สอนหนังสือ เปิดบ้านให้เช่า ปลูกผัก เลี้ยงไก่ ขายบ้างกินบ้าง แปลงสินทรัพย์เป็นหนี้ก็ทำ เพราะในวินาทีนั้นเงินทองหายาก ต้องสำรองไว้ในมือก่อน หนี้คือ สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือเป็นหนี้ 100 บาท หากมีการจัดการอย่างมีวินัย หนี้ 100 บาทก็เป็น 100 บาทวันยังค่ำ แต่ถ้าเป็นโอกาสอื่นๆ อาจจะมีมากกว่า 100 หรือขาดทุนทั้ง 100 ก็ได้

.... และอันดับถัดมาคือ ปรับใจให้อยู่กับสภาพนิเวศน์ใหม่ของชีวิต ตอนนี้มีเป้าหมายเดียวคือ อยู่ให้รอดนานที่สุด เพื่อรอโอกาสใหม่

... สุดท้ายคือ ไม่ทิ้งความซ่า เจียดทรัพยากร / เวลาสัก 10-20% สร้างสิ่งใหม่ เพื่อรอจังหวะ แม้แต่การจำนองทรัพย์สินบางอย่างถือเป็นเงินไว้ ก็เพื่อโอกาส ในจังหวะนี้ มักจะมีของดีราคาถูกเข้ามาเสมอ

ครั้งหนึ่ง รุ่นน้องคนหนึ่งเคยถามว่า "พี่มีเทคนิคอะไรในการดำเนินชีวิต" ผู้เขียนตอบว่า "ทำตัวเหมือนไวรัส" น้องคนนั้นฟังแล้วก็งง! เลยขยายความว่า ไวรัสคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งสัตว์และพืชไม่มีเทคนิคอะไรในการดำเนินชีวิต แม้แต่โครงสร้างก็ยังไม่แน่นอน มันยังปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม

การคิดค้นยาฆ่าไวรัส ถึงทำได้ยาก ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ส่วนหนึ่งขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถกำหนดกะเกณฑ์อะไร เอาแค่เราปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เราอยู่ได้ แล้วค่อยมาดูแลอัตตาที่มักจะเบ่งโตเกินตัว

เสียดายที่น้องคนเดิมไม่ได้ถามว่า "แล้วถ้าเราจะพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ จะต้องทำอย่างไร" อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง การพัฒนา กับการอยู่มันต่างกัน สำหรับผู้เขียนแล้ว เชื่อในกฎของพาเรโต้ดังกล่าว..

กฎพาเรโต้ในส่วน 20% มีหลักธรรมสำหรับยุคสมัยใหม่ ดังนี้...

•เราต้องเข้าใจว่า สิ่งที่เป็นเครื่องมือหากินของเรา (80%) มีวันเสื่อมสลาย ไม่สามารถพึ่งพาได้ตลอด จึงต้องหาเครื่องมือใหม่ ความรู้ใหม่อีก 20%

•แม้แต่ความหวังของเราก็ต้องปรับเปลี่ยน ตอนหนุ่มอย่างหนึ่ง ตอนแก่ ที่เรามีความต้องการน้อยลง ก็ต้องปรับเปลี่ยนไป แต่การเปลี่ยนทัศนคตินิสัยไม่ใช่ของง่าย จึงใช้หลักเปลี่ยนทีละ 20%

•อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้จริงว่า อะไรจะแจ๊คพ็อต แต่หากเรามีบทเรียนมากพอ ก็จะทำให้เราบีบตัวเลือกได้แม่นยำขึ้น นั่นหมายความว่า เราต้องมีการลงทุนในตัวเลือกมากพอ เหมือนกับผึ้ง

บางครั้งเราอาจต้องเสียเวลาในการหาไอ้เจ้า 20% อย่างเช่นในช่วงนี้ ผู้เขียนยังมองไม่เห็น 20% ใหม่เลยในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ต้องคิดอย่างผึ้งว่า ถึงแม้จะมีน้ำหวานหรือไม่ ก็ต้องออกไปสำรวจ


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 7 ตุลาคม 2550 เวลา:19:13:22 น.  

 
ใจสู้เหมือนเพลงหรือเปล่าคะ ทำไมถึงหายไป จะเป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ๆคะ

จากเพื่อนบน web


โดย: ชื่ออยู่สูงตัวติดดิน IP: 113.53.5.62 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:19:47:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.