4-8 กุมภาพันธ์ 2566 มาเที่ยวงาน สดุดีวีรชนค่ายบางระจัน วัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
พระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านระจัน ร่วมกันจัดงานพิธีบวงสรวงอัญเชิญดวงญาณชาวบ้านระจัน ก่อนที่จะมีการจัดงานประจำปีสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน ระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี มาเยือนชุมชนโบราณวิถีชีวิตชาวบ้าน และที่สำคัญมีการแสดงแสงสีเสียง สดุดีวีรชนค่ายบางระจัน มีการจัดมหรสพสมโภชและสักการะบรรพชนอันศักดิ์สิทธิ์ ต้องห้ามพลาดแวะมากิน ช้อป เที่ยวกันได้ที่วีดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ขอบอกว่า ต้องมาชมงานแสง สี เสียงให้ได้นะคะ แล้วคุณสัมผัสถึงความรักชาติรักแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน
วัดโพธิ์เก้าต้น หรือวัดไม้แดง ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลบางระจันอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ลักษณะเด่นของวัดโพธิ์เก้าต้น นั่นก็คือ "กำแพงวัด" ที่สร้างจำลองกำแพงค่าย เพราะวัดนี้เดิมเป็นฐานที่มั่นของชาวบ้านบางระจัน ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจัน ได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านพม่า ที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2308 มีวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติรังสี ประดิษฐานรูปปฏิมากรรมอยู่ ซึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นที่เคารพสักการะของชาวสิงห์บุรี เนื่องจากท่านเป็นมิ่งขวัญและพลังใจแก่เหล่าวีรชนชาวบ้านบางระจัน ทำให้วีรชนเข้าต่อสู้ป้องกันข้าศึกและได้รับชัยชนะ บริเวณกุฏิพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นสถานที่ ที่ประชาชนเข้ามากราบไหว้บูชา ต่างมาขอพรบนบานศาลเกล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง โดยมีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งผู้คนมักเดินทางมาขอพรหรือบนขอสิ่งที่ต้องการ เมื่อได้ตามที่ได้ตามที่ขอพรไว้ก็จะมาแก้บนด้วยการ ด้วยการหาบน้ำตามจำนวนหาบที่บนไว้เพื่อแก้บนเมื่อขอพรได้สมดังที่อธิษฐานไว้
พระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระที่มีอาคมชั้นเลิศ และชำนาญเรื่องเกี่ยวกับยาสมุนไพร พระอาจารย์ธรรมโชติเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจ ของเหล่านักรบแห่งค่ายบางระจัน พระอาจารย์ธรรมโชติเดิมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมบางนางบวช เมืองสุพรรณบุรี พอเกิดสงคราม ชาวบ้าน ศรีบัวทองโดยมีนายเมือง เป็นผู้ไปนิมนต์ท่านมาอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้นแห่งนี้ ในสมัยที่พม่ายกทัพเข้ามา ประชาชนต่างหนีเอา ตัวรอดและเข้ามาอยู่รวมกันที่วัดโพธิ์เก้าต้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นเป็นจำนวนมาก จากความต้องการยาสมุนไพรและน้ำมนต์ของ พระอาจารย์ธรรมโชติมากขึ้นด้วย พระอาจารย์ท่านไม่มีภาชนะที่ใหญ่เพียงพอกับความต้องการของชาวบ้าน โดยเฉพาะเหล่านักรบที่ต้องการน้ำมนต์เพื่อเป็นกำลังใจในการรบ พระอาจารย์ท่านจึงทำน้ำมนต์ใส่สระน้พขนาดใหญ่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชาวบ้าน ดังนั้น น้ำในสระจึงมีความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน
สังเกตที่สไบของชาวบ้านระจัน มีดอกไม้ 3 ดอกปักอยู่บนสไบ มาจากดอกไม้ 3 ดอก ที่อยู่บนอิฐที่เป็นสัญญลักษณ์ของชาวบ้านบางระจัน
พระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น และเจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งมวลของงานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน พระผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจและที่พึ่งทางใจของชาวบ้านระจันทุกคน โดยพระครูวิชิตวุฒิคุณ เห็นถึงช่วงสองสามปีที่ผ่านมาชาวบ้านประสบปัญหาความยากจน เนื่องจากภัยแล้ง ต่อมาพอจะทำการเพาะปลูกได้ ราคาผลผลิตก็ตกต่ำลงไปอีก ส่งผลให้ชาวบ้านที่เป็นคนชนบทไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากนัก ก่อให้เกิดปัญหาการมีรายได้และปัญหาหนี้สิน ดังนั้นจึงมีความคิดที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชนบริเวณรอบๆวัดและพื้นที่ไกล้เคียง จึงได้เริ่มให้จัดงานอนุรักษ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบโบราณ ในงานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน เมื่อปี พ.ศ. 2558 ณ บริเวณสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นงานแสดงแสงสีเสียงและกินอาหารแบบไทย และมีตลาดวัฒนธรรมแต่งตัวแบบโบราณ
สิ่งที่ตามมาส่งผลดีในการพัฒนาชุมชนในหลายๆ ด้าน อาทิ 1.การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจในระดับครอบครัว ชุมชน การมีรายได้ของประชาชน 2.การอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านอาหารไทยพื้นบ้านอันทรงคุณค่าที่หลากหลาย 3.การรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์อย่างน่าสนใจ 4.การนำอัตลักษณ์ในชุมชนมาพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน 5.การส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน ตามหลัก บ ว ร. ให้มีความรัก ความภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด อันเป็นพื้นฐานการพัฒนาที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน 6.การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 นำมารับใส่เกล้าลงมือทำอย่างเห็นผลได้ชัด อาทิ การถ่ายทอดปลุกจิตสำนึก ภูมิปัญญา ทัศนคติแนวความคิดและความรู้สึก ที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนภายใต้จิตสำนึกและความเป็นเจ้าของ 7.การตอบแทนคุณแผ่นดินของบรรพบุรุษที่ปกปักษ์รักษาแผ่นดินด้วยความกล้าหาญ อุทิศตนด้วยความเสียสละชีพเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินเอาไว้ให้ลูกหลาน 8.การสืบทอดมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ในใจของชาวสิงห์บุรีได้สำนึกและภาคภูมิใจ สามสิ่งที่ยึดเป็นแนวทางการพัฒนานั่นก็คือ ความสามัคคี เสียสละ และอดทน
พระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านระจัน ร่วมกันจัดงานพิธีบวงสรวงอัญเชิญดวงญาณชาวบ้านระจัน ก่อนที่จะมีการจัดงานประจำปีสดุดีวีรชนค่ายบางระจันในวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566
นายคงเดช ทองนุ้ย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผยว่า ผมเป็นตัวแทนผู้นำชุมชนตำบลบางระจัน อยู่เขตอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ผมมีความตั้งใจกับงาน "สดุดีวีรชนชาวบ้านระจัน ณ บริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566" ชาวตำบลบางระจันได้รวมกลุ่มเพื่อน้อมสำนึกถึงวีรชนค่ายบางระจัน โดยเป็นการรวมกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน, กำนัน และประชาชนทุกคน ต่างร่วมใจพร้อมใจกันเป็นตัวแทนจัดงานนี้ขึ้นมาด้วยความเต็มใจ ทำด้วยความตั้งใจ หลวงพ่อพระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ให้โอวาทว่า งานนี้พวกเราห้ามทิ้งวีรชนค่ายบางระจัน และฝากฝังผู้นำชุมชนและชาวบ้านระจันเข้มแข็งและรวมกลุ่มกันช่วยกันจัดงานนี้ขึ้นมา ต้องกราบขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อให้กำลังใจและสนับสนุนทุกเรื่องจนมีงานนี้ขึ้นมา ขอเชิญชวนมาเที่ยวกันครับ
นายนุกูล โปรยเงิน ที่ปรึกษา ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน เปิดเผยว่า สำหรับวันนี้วันที่ 26 มกราคม 2566 คณะผู้จัดงานได้เตรียมประกอบพิธีอย่างยิ่งใหญ่ ประกอบไปด้วยริ้วขบวนอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษบางระจัน ที่อยู่ตามสถานที่รบต่างๆ กลับเข้ามาในพิธีบวงสรวง ปีนี้มีความพิเศษกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีถึง 2 ริ้วขบวน ประกอบด้วย ขบวนที่ 1 อัญเชิญดวงญาณบริเวณสมรภูมิรบ คือบริเวณวัดโพธิ์เก้าต้นในปัจจุบัน ส่วนขบวนที่ 2 เชิญดวงวิญญาณปู่ขุนสรรค์จากอำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท โดยในริ้วขบวนนั้นจะมีการแสดงแสง สี เสียง และสื่อผสม ในชุด "พ่อขุนสรรค์ สมทบบ้านระจัน เพื่อนำชัย"
สำหรับในวันที่ 4 - 8 กุมภาพันธ์ 2566 ศกนี้ จะเป็นการงานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน ซึ่งตามกำหนดจะมีงานทั้งสองฝั่ง คือฝั่งอนุสาวรีย์วีรชนและฝั่งวัดโพธิ์เก้าต้น เป็นการจัดงานให้มีความสอดึล้องเชื่อมโยงกัน ส่วนของกิจกรรมฝั่งวัดโพธิ์เก้าต้นนั้น จะมีการแสดงแสง สี เสียง อย่างตระการตา เป็นการสื่อถึงวีรชนคนกล้า ตลอดถึงสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมและวิถีขีวิตความเป็นอยู่ในยุคนั้นทุกค่ำคืน นอกจากนี้ยังมีลิเกพรเทพ พรทวี ในคืนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ชมอีกด้วย จึงขอเชิญชวนมาเที่ยวงานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน
ขบวนแรกเริ่มเดินในเวลา 17.00 น.
เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 17.00 - 19.00 น. ได้มีการจัดงานแถลงข่าวการจัดงานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน ประจำปี 2566 ณ บริเวณ ณ บริเวณด้านหน้าสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดโพธิ์เก้าต้น ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีนายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์ในงานนี้ด้วย และมีนางภรณี ธนาคมานุสรณ์ คุณแม่ดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565 และเป็นคุณแม่ของ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในการแถลงข่าว โดยมีนายอภิศักดิ์ กิติเรียงลาภ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี และนายคงเดช ทองนุ้ย นายก อบต.ค่ายบางระจัน ตลอดทั้งนายนุกูล โปรยเงิน ที่ปรึกษาตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน ร่วมในการแถลงข่าว เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการสดุดีวีรชนค่ายบางระจันรั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของเหล่าผู้กล้าชาวบ้านบางระจัน ด้วยความเสียสละ กล้าหาญ และความรักภักดีต่อชาติ ซึ่งแม้จะเป็นเพียงชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ ที่มีหัวใจอันยิ่งใหญ่ แต่มีเจตนารมณ์ที่ต้องการปกป้องผืนแผ่นดินไทย ได้ผนึกรวมพลังกันก่อตั้งค่ายขึ้นมาต่อต้านกองทัพพม่าข้าศึก ต่อสู้จนถึง 7 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 5 เดือน ก่อนที่จะพ่ายแพ้แก่กองทัพพม่าในครั้งที่ 8 เมื่อวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 ซึ่งชาวบ้านทุกคนมีหัวใจที่แข็งแกร่งปักหลักสู้อย่างกล้าหาญจนตัวตาย แม้จะล่วงเลยมากว่า 200 ปี แต่ลูกหลานชาวสิงห์บุรีและชาวไทยทุกคนก็ไม่มีวันลืม ต่างจดจำวีรกรรมความกล้าหาญของวีรชนคนกล้าตลอดมา ดังนั้นจึงกำหนดให้ทุกวันที่ 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน และมีการจัดงานเฉลิมฉลองทุกปีอย่างต่อเนื่อง
ภายในวันแถลงข่าววันที่ 26 มกราคม 2566 จะมีพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณวีรชน มาจากอนุสรณ์สถานวีรชนคนสีบัวทอง จังหวัดอ่างทอง วัดขุนสงค์ อำเภอบ้านค่ายบางระจัน วัดประดับ อำเภอบ้านค่ายบางระจัน โดยจัดเป็นรูปแบบขบวนและพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ เข้าสู่พิธี ณ วัดโพธิ์เก้าต้น พร้อมทั้งการแสดงให้ชม 1 ชุด
จากนั้นส่วนในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565 เริ่มพิธีตั้งแต่เวลา 09.09 น. จะเป็นพิธีบวงสรวงหลวงปู่ธรรมโชติและวีรชนค่ายบางระจัน ณ บริเวณด้านหน้าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของวัดโพธิ์เก้าต้นอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีเจ้าภาพแต่ละท่านจะทำพิธีหน้ารูปและองค์พระรูปปั้นของพระอาจารย์ธรรมโชติ และวีรชนชาวบ้านบางระจัน
งานสดุดีวีรชนชาวบ้านบางระจัน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 โดยทั้ง 5 วันนั้นจัดที่ภายในวัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี และที่สำคัญมีการแสดง แสง สี เสียงที่ยิ่งใหญ่ตระการตา ตลอดทั้งมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน มวยไทย ลิเก ดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย จึงขอเชิญชวนชาวสิงห์บุรี และชาวจังหวัดใกล้เคียง มาร่วมรำลึกถึงวีรชนผู้กล้าหาญอย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมทั้งมาเที่ยวชมงานระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566 อันเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
นายนุกูล โปรยเงิน ที่ปรึกษาตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน เปิดเผยว่า เป็นความรู้สึกจากใจของคนบ้านระจัน การที่เราทำงานเพื่อที่จะสดุดีปู่ย่าค่ายบางระจันนั้น พวกเราชาวบ้านทุกคนต่างร่วมมือร่วมใจกันทำด้วยจิตศรัทธาจากข้างในใจที่ว่า เราพร้อมที่จะอูทิศกาย อุทิศใจ อุทิศเวลา ตลอดทั้งเงินทอง ที่จะทำให้เกิดงาน "สดุดีวีรชนชาวบ้านระจัน" ณ บริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ในวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ได้ เพราะว่า "บ้านระจัน" นี่คือบ้านเกิดของเรา เราต้องดูแลปู่ดูแลย่าของเรา นี่คือสิ่งที่เราตั้งธงอยู่แล้วว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราต้องทำ พระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน ท่านก็ดำริมาเช่นกันและท่านเป็นแกนนำหลักที่สำคัญของคน "บ้านระจัน" ที่ทำให้บังเกิดงานต่างๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นงานสดุดีวีรชนชาวบ้านระจัน งานบวงสรวง, งานเชิญญาณ, งานค่ายแตก ตลอดทั้งประเพณีที่เกิดขึ้นที่นี่อีกหลายประเพณีมากครับ
อยากจะบอกว่าสำหรับงาน "สดุดีวีรชนชาวบ้านระจัน ณ บริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ในวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566" เราจัดสรรทุกวันให้เป็นวันที่วิเศษที่สุด มีความแตกต่างที่ไม่เหมือนกันเลยทั้ง 5 วัน ถ้าใครมาชมงานทุกวันจะรู้สึกว่าคุ้มค่า แต่วันที่มีงานแสงสีเสียงที่เป็นการ "สดุดีวีรชนปู่ย่าชาวบ้านระจัน" ก็คือ วันที่ 4,6 และวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 แต่วันอื่นๆ จะมีมหรสพหลากหลายมากมาย แม้กระทั่งศิลปินพื้นบ้าน อาทิ พรเทพ พรทวี ซึ่งเป็นศิลปินพื้นบ้านชาวสิงห์บุรี เรานำมาแสดงให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก และได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชาวสิงห์บุรีเป็นอย่างไรบ้าง ผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้ามาร่วมสดุดีวีรชนค่ายบางระจันด้วยกัน ที่วัดโพธ์เก้าต้น อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี วันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566 ไม่ได้มาเที่ยวอย่างเดียว แต่เรามาเพื่อแสดงจิต "กตัญญูกตเวทีตา" ต่อปู่ย่าวีรชนค่ายบางระจัน ขอเรียนเชิญครับ #เที่ยวใกล้เที่ยวง่ายสไตล์ภาคกลาง #เที่ยวภาคกลาง #เที่ยวสิงห์บุรี #บางระจัน #สิงห์บุรี #วิถีไทยวิถีสิงห์ #สิงห์บุรีเมืองน่าอยู่
เข้าสู่วันที่ 27 มกราคม 2566 วันบวงสรวงวีรชนชาวค่ายบางระจัน ณ บริเวณเยื้องสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
สำหรับพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระอาจารย์ธรรมโชติและชาวบ้านบางระจัน เ ป็นพิธีกรรมที่จัดสืบทอดกันมาช้านาน ทุกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้ดวงวิญญาณผู้เสียสละให้ประเทศชาติ มีการถวายพวงมาลัย ถวายเครื่องเซ่นไหว้ อาหารคาวหวานและผลไม้ เพื่อให้การจัดงานวีรชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นสิริมงคลผู้เข้าร่วมพิธี ป็นกาาทำบุญอุทิศส่วนกุศลรำลึกถึงวีรกรรมของชาวค่ายบางระจันผู้กล้าหาญ ที่เสียสละเลือดเนื้อเพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทยด้วยการสู้รบกับพม่า ชาวบ้านบางระจันทุกคนปักหลักต่อสู้อย่างองอาจกล้าหาญจนตัวตาย ด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว ที่ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลานสืบไป
จากนั้นพระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน เป็นประธานจุดเทียนบวงสรวงวีรชนค่ายบางระจัน
ในวันบวงสรวงมีการจุดเทียน 8 จุดรอบสระน้ำศักดิ์สิทธิ์
คุณความดีทั้งหมดทั้งมวลที่ "อุ้มสี" กระทำไปในวันนี้ ต่างดอกไม้ธูปเทียนสักการะแด่วีรชนชาวบ้านบางระจันทุกคนค่ะ
อนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจันตั้งอยู่ที่ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. นับเป็นหนึ่งสถานที่ได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ ความกล้าหาญ กว่าจะได้มาซึ่งแผ่นดินไทยมาจนถึงวันนี้ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ทำไมจังหวัดสิงห์บุรีแห่งนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
หนึ่งเมืองยุทธศาสตร์สำหรับการทำศึกสงครามในสมัยอยุธยา หนึ่งเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่ยกย่องวีรกรรมอันกล้าหาญของชาวบ้าน ผู้ไม่ยอมศิโรราบต่ออริราชศัตรู และหนึ่งชุมชนของภาคกลางที่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่สำคัญ "อนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน" ที่ควรค่าต่อการสดุดีวีรชนชาวบ้านค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี อุ้มสีขอเชิญชวนทุกท่านไปน้อมรำลึกถึงความกล้าหาญกันนะคะ วันที่ 4-8 กัมภาพันธ์ 2566 แล้วพบกันที่สิงห์บุรี
นายอภิศักดิ์ กิติเรียงลาภ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอบ้านค่าย เขต 1 เปิดเผยว่า งานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน จะเริ่มมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2566 ผมขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องมาร่วมงาน จะมีการแสดงแสงสีเสียงของเหล่าชาวบ้าน มีมหรสพ มีการแสดงแสงสีเสียง มีลิเก มีออกร้านจำหน่ายอาหารและสินค้ามากมายประมาณ 200 ร้าน ผมในฐานะเป็นคนที่อยู่ที่นี่ อยากขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว มาเที่ยวงานสดุดีวีรชนชาวบ้านบางระจัน 4-8 กุมภาพันธ์ 2566 ที่วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี เพราะงานนี้มีเสน่ห์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ขอเชิญชวนครับ
ขอขอบคุณ
พระครูวิชิตวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน
คุณแม่ภรณี ธนาคมาณุสรณ์ คุณแม่ดีเด่นประจำปี 2565 คุณแม่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
นายนุกูล โปรยเงิน ที่ปรึกษาตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน
นายอดิศักดิ์ กิติเรืองลาภ สจ. เขต 1 ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
นายคงเดช ทองนุ้ย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน
mabuna resort โทร.0618253535
ชาวบ้านบ้านระจันทุกคน
เพลง : เราสู้ BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า
Create Date : 29 มกราคม 2566 |
Last Update : 11 สิงหาคม 2566 15:56:10 น. |
|
40 comments
|
Counter : 2677 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณปัญญา Dh, คุณปรศุราม, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณSleepless Sea, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณทนายอ้วน, คุณhaiku, คุณกะว่าก๋า, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณสองแผ่นดิน, คุณนกสีเทา, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณplang_ks, คุณStand by bowky, คุณNoppamas Bee, คุณSertPhoto, คุณเจ้าการะเกด, คุณJohnV, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณnonnoiGiwGiw, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณตะลีกีปัส, คุณtoor36, คุณเริงฤดีนะ, คุณSweet_pills, คุณtanjira, คุณดาวริมทะเล, คุณกิ่งฟ้า, คุณทูน่าค่ะ, คุณnewyorknurse |
โดย: เสลาสีม่วง วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:10:28:19 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:14:55:01 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:16:48:24 น. |
|
|
|
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:20:48:38 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:22:11:48 น. |
|
|
|
โดย: นกสีเทา วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:23:17:32 น. |
|
|
|
โดย: SertPhoto วันที่: 29 มกราคม 2566 เวลา:23:25:50 น. |
|
|
|
โดย: JohnV วันที่: 30 มกราคม 2566 เวลา:0:03:48 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 มกราคม 2566 เวลา:5:11:27 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 มกราคม 2566 เวลา:12:44:02 น. |
|
|
|
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 30 มกราคม 2566 เวลา:15:37:11 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:0:02:00 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:5:22:29 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:6:36:39 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:7:01:08 น. |
|
|
|
โดย: tanjira วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:13:47:53 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:14:59:48 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:15:38:22 น. |
|
|
|
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:20:50:40 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:21:54:49 น. |
|
|
|
โดย: ทูน่าค่ะ วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:22:39:45 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:5:10:18 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:15:42:20 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:5:11:14 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:11:51:45 น. |
|
|
|
|
|