ทัวร์อินไทยแลนด์ พานักท่องเที่ยว VIP มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก จังหวัดยโสธร


พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก จังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เปิดให้เข้าชมเวลา 10.00-16.00 น. (จันทร์-ศุกร์) , 09.00-17.00 น. (เสาร์-อาทิตย์) หยุดทุกวันอังคาร มีค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท






จังหวัดยโสธรเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตภาคอีสานตอนล่าง ที่มีชื่อเสียงในการทำบั้งไฟจนได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟปัจจุบันมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองเกษตรกรรม โดยเฉพาะเป็นแหล่งปลูกข้ามหอมมะลิที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศยโสธร มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นในด้าน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ได้มาสัมผัสกับวิถีชีวิตอัน เรียบง่ายของชาวอีสานดั้งเดิม และวัฒนธรรมพื้นบ้านอันงดงามบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่นับวันจะหาได้ยากในสังคมเมืองปัจจุบัน จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร หรือ 2.6 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็น อันดับที่ 54 ของประเทศ มีแม่น้ำชีไหลผ่านและมีหนองบึงกระจายอยู่ทั่วไป เป็นแหล่งทำการเกษตร โดยเฉพาะ การทำนาปลูกข้าวหอมมะลิ มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำชี ลำน้ำทวน ลำโพง และลำน้ำยัง




ยโสธรเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุบลราชธานี โดยเริ่มก่อตั้งเป็นเมืองขึ้น ในราวปี พ.ศ. 2314 เมื่อพระเจ้าตาของเจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวาร มาตั้งเมืองใหม่ ชื่อ เมืองหนองบัวลุมภู ต่อมาเมื่อสิ้นเจ้าพระวอเจ้าคำผงผู้น้องและบริวารจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแม แล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ภายใต้ปกครอง ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองดังกล่าวนี้ว่า "เมืองอุบล" และเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล หลังจากนั้นเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็น น้องของเจ้าคำผง พร้อมกับไพร่พลและญาติอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่ที่บ้านสิงห์ท่า ซึ่งมีเจ้าคำสูปกครองอยู่ และได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2357 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และพระราชทานนามว่า"เมืองยศสุนทร" ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมือง มีราชทินนามว่า "พระสุนทรราชวงศา" เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร ส่วนชื่อเมือง "ยศสุนทร" นี้ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ยะโสธร" มีความหมายว่า "ทรงไว้ซึ่งยศ" และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น "ยโสธร" และใช้มาจนปัจจุบัน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ แต่อมาได้ยุบเลิกมณฑล อีสาน เมืองยโสธรก็ถูกรวมเข้ากับเมืองอุบล จนกระทั่งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 จึงได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็น จังหวัดยโสธร




อุทยานสวรรค์วิมานพญาแถน หรือ มหายุทธแดนอีสาน ตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำทวนฝั่งขวา ถนนมงคลบูรพา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของจังหวัดยโสธร เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยด้านวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เชื่อมโยงกับงานประเพณีบุญบั้งไฟประเพณีที่สำคัญของจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นประเพณีขอฝนให้ตกตามฤดูกาลเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลดีต่อเกษตรกรมีน้ำเพื่อทำการเกษตรกรรมอย่างพอเพียง


















พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่โดดเด่นแปลกตาของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สอดแทรกตำนานเรื่องเล่าพื้นเมืองของชาวอีสาน เกี่ยวกับตำนานพญาคางคกและประเพณีบุญบั้งไฟอันโด่งดัง ตัวอาคารถูกออกแบบให้เป็นรูปคางคกขนาดยักษ์เป็นอาคารสูง 5 ชั้น หรือประมาณ 19 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 835 ตารางเมตร และนิทรรศการภายในจะบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟ โดยจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่างๆ ที่พบได้ในเมืองไทยที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด มีการรวบรวมของดีทางด้านเกษตรกรรม ของเมืองยโสธรไว้ภายในพิพิธภัณฑ์








พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก เป็นตึกของพิพิธภัณฑ์รูปคางคก ที่มีความสูงกว่า 19 เมตร หรือประมาณตึก 5 ชั้น โดยคางคกเป็นสัตว์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และยังเป็นตำนานความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟที่มีมาตั้งแต่ในอดีตกาล และเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดยโสธรอีกด้วย โดยภายในพิพิธภัณฑ์พญาคันคากจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับคางคกกว่า 500 สายพันธุ์ทั่วโลก รวมไปถึงกบ อึ่ง เขียด ในประเทศไทยอีกด้วย และมีการจัดฉายตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟในรูปแบบภาพยนตร์ 4 มิติ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาศึกษาประเพณีและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปพร้อมกันเลย และที่นี่ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการเขาเล่าว่าของททท.อีกด้วย ที่สำคัญที่ชั้นบนสุด ณ บริเวณปากพญาคันคากยังเป็นจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของจังหวัดยโสธร
ตำนานของพญาคันคากนั้นเล่าขานกันมาว่าพญาคางคกนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ และสาเหตุที่ได้ชื่อว่า พญาคันคาก ก็เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติ มีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านชาวเมือง จนลืมที่จะเซ่นบูชาพระยาแถน พระยาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์ จึงทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี และเป็นที่มาว่าเมื่อถึงเดือนหกช่วงต้นเดือนฤดูฝนนั่น ชาวอีสานเลยทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถนเพื่อฝนจะได้ตกตามฤดูกาล


นอกจากนี้ข้างพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก มีประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟอันอ่อนช้อยและงดงาม สวนสาธารณะพญาแถนที่บรรยากาศชิลชิล อีกทั้งจำลองพญานาคขนาดใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในมีภาพถ่ายสามมิติให้นักท่องเที่ยวมาแชะชิล










ตำนานพญาคันคาก พญานาค พญาแถน เป็นตำนานความเชื่อของชาวอีสาน และยังมีตำนาน ผาแดงนางไอ่ ชาวอีสานจะ ทำบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ถึงปลายเดือนห้าย่างเดือนหก ชาวบ้านก็จะแสดงออกถึงความสามัคคี ร่วมกันทำบั้งไฟจุดขึ้นไปเพื่อแจ้งพญาแถน เพื่อให้บันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล เพื่อชาวโลกมนุษย์จะใช้น้ำฝนทำนา ตำนานเล่าสืบทอดกันมา พญาคางคก พญานาค รวมไพร่พลยกทัพขึ้นไปรบชนะพญาแถน และได้ทำสัญญาสงบศึก หากถึงฤดูกาลทำนามนุษย์จะส่งสัญญาน แจ้งพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้า และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโลกมนุษย์ก็จะใช้เสียงสนูจากว่าวแจ้งให้พญาแถนทราบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้าน


สำหรับการมาเยี่ยมชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก และการมาเยี่ยมชมอาคารพิพิธภัณฑ์พญานาค จะเปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันจันทร์ (ปิดวันอังคาร ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ)




ทุกคนมีความสุขและอิ่มเอมใจกลับพิพิธภัณฑ์คันคามากค่ะ

จากนั้นมากินข้าวเที่ยงโดย ททท.สำนักงานอุบลราชธานี แนะนำร้าน "ครัวบ้านคุณย่า" สาขาริมทวน ไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์คันคากเลยค่ะ

ร้านอาหารบ้านคุณย่า สาขาริมทวน จังหวัดยโสธร เป็นร้านอาหารขนาดใหญ่มีห้องแอร์นั่ง ตั้งอยู่ใกล้วิมานพญาแถน พิพิธภัณฑ์คันคาก มีมุมถ่ายรูปชิลชิลช้อปแชะ เป็นร้านที่เหมาะมากกับการมาเที่ยวชมพญาคันคาก อาหารออกเร็วบริการดี อาหารอร่อยทุกอย่างค่ะ โทร. 045 711 981 เปิดเวลา 09.00 - 22.00 น.









 กินอิ่ม enjoy eathing มากค่ะ ขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชบุรี

ขอขอบคุณ
นายธงชัย แสนทวีสุข ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี
นางรัตดาวรรณ์ แสนโยธะกะ รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี
นางสาวปาณิษา ตันติวงวาร บริษัท ทัวร์อินไทยแลนด์ จำกัด
เพลง : ยโส กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat โค้ดแต่ง BLOG : ป้ามด & น้องดอกหญ้าเมืองเลย ของแต่ง BLOG ทุกอย่างมาจาก : คุณป้าเก๋า ชมพร & น้องญามี่ & คุณเนยสีฟ้า
Create Date : 09 มีนาคม 2566 |
Last Update : 10 มีนาคม 2566 9:07:39 น. |
|
20 comments
|
Counter : 729 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณทนายอ้วน, คุณkae+aoe, คุณปรศุราม, คุณnonnoiGiwGiw, คุณปัญญา Dh, คุณThe Kop Civil, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณเริงฤดีนะ, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณนกสีเทา, คุณNoppamas Bee, คุณStand by bowky, คุณเจ้าการะเกด, คุณกระถินริมเล, คุณSertPhoto, คุณทูน่าค่ะ, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณtoor36 |
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 9 มีนาคม 2566 เวลา:7:57:19 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 9 มีนาคม 2566 เวลา:8:25:15 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 มีนาคม 2566 เวลา:14:37:28 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 9 มีนาคม 2566 เวลา:22:53:12 น. |
|
|
|
โดย: JohnV วันที่: 9 มีนาคม 2566 เวลา:23:18:02 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:4:37:42 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:6:56:37 น. |
|
|
|
โดย: นกสีเทา วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:7:50:28 น. |
|
|
|
โดย: SertPhoto วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:8:00:51 น. |
|
|
|
โดย: ทูน่าค่ะ วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:10:47:34 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:12:05:36 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 10 มีนาคม 2566 เวลา:23:21:03 น. |
|
|
|
|
|