พฤษภาคม 2550

 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์

ปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาใน 18 คณะ 1 สำนักวิชา 1 บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 492 สาขาวิชา รวมทั้ง เปิดหลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 70 สาขาวิชา

ประวัติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442 ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์ และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักเรียนไปรับราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ ไม่เฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งขึ้น และได้ใช้เงินคงเหลือจากการที่ราษฎรเรี่ยรายกันเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้านั้น มาใช้เป็นทุนของโรงเรียนแห่งนี้ นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียน โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา และโรงเรียนยันตรศึกษา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ เห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นอนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระหว่างปี พ.ศ. 2459 - 2465 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร พร้อมกับเริ่มเตรียมการเรียนการสอนระดับปริญญา โดยขณะนั้นจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และในระหว่างปี พ.ศ. 2481 - 2490 เริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดตั้งเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปัจจุบัน)

ระหว่างปี พ.ศ. 2491 - 2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่างๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และก่อตั้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม

ชื่อมหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ตั้งแต่ พ.ศ. 2459

เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ เช่น ยกเลิกการใช้อักษร "ฬ" ให้ใช้ "ร,ล" แทน และ ยกเลิกการใช้ "ณ" ให้ใช้ "น" แทน ดังนั้น จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย" ซึ่งสามารถพบได้ในพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2486 โดยเป็นการเขียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ในปี พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม

หลังจากนั้น ในช่วง พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2514 ยังสามารถพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่ "ณ" เช่น พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 4, 5 และ 6

ในปัจจุบันการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องนั้น คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการันต์บน ณ ตามชื่อที่ได้รับพระราชทานมาแต่เดิม

คณะและสำนักวิชา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ : สีเลือดหมู เพราะซึ่งเป็นสีเลือดของพระวิษณุกรรมเทพแห่งการช่าง สัญลักษณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ คือ เกียร์


คณะรัฐศาสตร์ : สีดำเพราะมีที่มาจากสีพระศอของพระศิวะ เมื่อครั้งทรงเสียสละดื่มยาพิษที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทรแทนคนทั้งโลก และคณะนี้ยังมีสัญลักษณ์เป็นสิงห์ดำประจำคณะอีกด้วย สิงห์ดำจึงเปรียบเสมือนนักปกครองที่เสียสละเพื่อมวลชน


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ : สีนํ้าตาลต้นไม้ เพราะไม้เป็นวัสดุของสถาปัตยกรรมมาแต่โบราณและคณะนี้ยังมีสัญลักษณ์ คือ หัวเม็ด ซึ่งเป็นยอดของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ


คณะศิลปกรรมศาสตร์ : สีแดงเลือดนก ซึ่งเป็นสีผิวของพระพิฆเนศวร เทพแห่งศิลปะและคณะนี้ยังมีสัญลักษณ์เป็นเจ้าตุ๊กแกยักษ์ (ที่เคยติดอยู่มุมบนขวาของตึกเรียน)


คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี : สีฟ้าใส เพราะสีฟ้าใสเป็นสีของนํ้าทะเลซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อค้าขาย โดยมียานพาหนะที่นำไปสู่จุดหมายคือ เรือสำเภา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำคณะนี้


คณะเศรษฐศาสตร์ : สีทอง เพราะสีทองนั้นเป็นเอกลักษณ์แสดงถึงความสามัคคีและยังหมายถึงสีของทองคำที่ใช้เป็นมาตรฐานของเงินตราอีกด้วย


คณะนิติศาสตร์ : สีขาว เพราะเป็นสัญลักษณ์ของความดีงามและความบริสุทธิ์ยุติธรรม มีตราชั่งเป็นสัญลักษณ์ประจำคณะ


คณะนิเทศศาสตร์ : สีน้ำเงิน สีของน้ำหมึกที่ใช้เขียนเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร คณะนี้ยังมีสัญลักษณ์เป็น "หอยสังข์" ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการป่าวประกาศ


คณะเภสัชศาสตร์ : สีเขียวมะกอก ซึ่งเป็นสีของพันธุ์พืชธรรมชาติ สัญลักษณ์ของคณะ ได้แก่ งูพันถ้วยยาไฮเกีย


คณะพยาบาลศาสตร์ : สีแดงชาด


คณะวิทยาศาสตร์ : สีเหลือง เพราะเป็นสีของ dicromate-ion ซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดี เปรียบเสมือนนิสิตที่พร้อมจะรับความรู้



คณะอักษรศาสตร์ : สีเทา เพราะเป็นสีของหลักศิลาจารึก หรือมาจากจิตใจมนุษย์ซึ่งมีทั้งสีดำและขาวปนกัน และเป็นสีแห่งสติปัญญา นอกจากนี้ คณะนี้ยังมีต้นชงโคเป็นต้นไม้ประจำคณะอีกด้วย สัญลักษณ์ ได้แก่ พระสุรัสวตี เทวีแห่งอักษรศาสตร์


คณะครุศาสตร์ : สีแดงเพลิง มาจากสีคบเพลิง เปรียบเหมือนคบเพลิงที่คอยส่องทางเพื่อมวลชน



สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา : สีส้ม เกิดจากการผสมสีแดงเพลิงของคณะครุศาสตร์และสีเหลืองของคณะวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน สีส้มจึงเป็นการรวมศาสตร์ 2 แขนงเข้าด้วยกัน สัญลักษณ์ ได้แก่ พระเกี้ยว ที่มีห่วง 5 วงด้านล่าง


คณะแพทยศาสตร์ : สีเขียวใบไม้ เพราะเป็นสีแห่งชีวิต


คณะทันตแพทยศาสตร์ : สีม่วง มีที่มาจากสีของดอกสุทธาสิโนบลที่มีกลีบสีม่วงและเกสรสีเหลืองตรงกลาง


คณะสหเวชศาสตร์ : สีม่วงคราม เป็นสีของ Indigo สัญลักษณ์ ได้แก่ งูพันเป็นอักษร AHS ซึ่งเป็นตัวย่อของคณะ อยู่เหนือฝ่ามือ (อรหันต์???)


คณะสัตวแพทยศาสตร์ : สีฟ้าหม่น สีเหล่าทหารม้ารักษาพระองค์


คณะจิตวิทยา : สีน้ำเงินขาบ



Create Date : 05 พฤษภาคม 2550
Last Update : 1 มีนาคม 2551 17:16:00 น.
Counter : 5007 Pageviews.

12 comments
  
รั้วฟ้า หลังคาชมพูค่ะ
โดย: MaRiMeKKo วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:19:39:55 น.
  
ชอบสีน้ำตาลค่ะ .. อิอิ

โดย: กรุ่นกลิ่นแก้ว วันที่: 7 พฤษภาคม 2550 เวลา:9:31:45 น.
  
อยากอยู่
"รั้วชมพู ประตูสีน้ำเงินขาบ"
จังเลย....
โดย: ตาข่ายขาว IP: 222.123.83.54 วันที่: 12 สิงหาคม 2550 เวลา:14:56:31 น.
  
อยากอยูคณเภสัชศาสตร์มากๆค่ะอยากมีที่ปรึกษา โทรหาหน่อยค่ะ0855934885
โดย: เด็โขทัยฮะ IP: 203.156.43.198 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:50:16 น.
  
23
โดย: 5 IP: 125.27.34.231 วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:26:21 น.
  
ขอบคุนมากมาย
โดย: news+p0p IP: 125.27.34.231 วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:27:21 น.
  
จะพยายามตั้งใจเรียน

เพื่อเข้าคณะที่ฝันไว้--ทันตแพทย์--

ต้องทำตามฝันให้ได้
โดย: ฝันไกล IP: 118.174.110.156 วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:03:15 น.
  
รักจุฬาค่ะ
โดย: puffin IP: 125.27.128.204 วันที่: 25 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:09:51 น.
  
อยากเข้า ทันตแพทยศาสตร์ จุฬา ค่ะ
รักจุฬามากๆๆๆๆๆ ^^

เราต้องทำให้ได้ สู้ๆ
โดย: รักจุฬา IP: 125.25.11.156 วันที่: 27 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:15:55 น.
  
รักสีม่วงเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ขอให้เข้าได้ด้วยเต๊อะ -/l\\-
โดย: mono IP: 124.121.225.91 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:03:24 น.
  
แย่ที่สุด ถ้ายังม่ายรุจาเริ่มต้นที่ไหน

จะจบมอ ปลายยุแล้ว

มีเราคนเดียวที่เครียด หรือ ต้องเป็นกันทุกคนนะ

โดย: ฟิล์ม IP: 124.122.179.100 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:12:35:00 น.
  
เป็นกันทุกคนครับ
โดย: Antares Kung วันที่: 1 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:19:10 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อยากขอบใจสักครั้งหนึ่ง
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]