Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
หนังสือนาฬิกาชีวิตตอน๒ มะรุม ต้นไม้เพื่อชีวิต โดย ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร



Link : ไปยังข้อมูลต่างๆ จากหนังสือ นาฬิกาชีวิตตอน ๒
มะรุม ต้นไม้เพื่อชีวิต
โดย ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร





คำนำ / บทสำนึกคุณ จากผู้เขียนหนังสือ

ข้อมูลคร่าวๆ จากแหล่งอ้างอิง

ประสบการณ์ตรงจากชีวิตจริง

มะรุมรักษาโรคเอดส์ (AIDS)

ตำราอาหารเกี่ยวกับมะรุมและธรรมชาติบำบัด








มะรุมรักษาโรคเอดส์

AIDS: Artemisia Annua Anamed (A.3)
and Moringa

เราได้รับข่าวมหัศจรรย์จากเมืองมูโซมา ประเทศแทนซาเนีย Africa Inland Church ใน Tanzania (AICT) ซึ่งมีศูนย์สุขภาพท้องถิ่นที่มีแพทย์ชาวแทนซาเนียเป็นผู้ดูแล ชื่อคุณหมอ Feleshi กับพยาบาลชาวเยอรมันชื่อ Maike Ettling ทำการช่วยเหลือกลุ่มคนที่กำลังเป็นโรคเอดส์ ที่เรียกตัวเองว่า เผ่า Kazo Roho

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พวกเขาได้ทำการรักษาคนไข้โรคเอดส์มากกว่า 100 คน โดยใช้ชา Artemisia Annua และมะรุมร่วมด้วยการดูแล อย่างใกล้ชิด ด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วย ผู้ป่วย 5 คนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นผู้ที่ได้เปลี่ยนจาก HIV+ เป็น HIV- และแต่ละกรณีได้รับการยืนยัน

ตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน มันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ถึงแม้ว่าคนป่วยจะได้รับการรักษาจนหายจากโรคเอดส์แล้ว เขาจะยังคงมี HIV+ อยู่อย่างเดิม ดังนั้น ผลการรักษาครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์และลึกลับมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือสุขภาพของคนป่วยทุกคนดีขึ้นอย่างมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น และสุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงขึ้น และผลการตรวจ CD4 cell count ก็เพิ่มขึ้น

หมอและพยาบาลได้ใช้การรักษาด้วยวิธีเพิ่มภูมิต้านทาน ให้คนไข้โรคเอดส์ที่ Musoma คุณหมอได้ใช้วิธีเดียวกันนี้และยาสมุนไพรธรรมชาติรักษาทุกโรค ตั้งแต่ไอ นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ และโรคต่างๆ และหมอยังให้ความช่วยเหลือด้านอารมณ์ และจิตวิญญาณของคนไข้อย่างมาก

คนไข้ # 1 C.M.
- อายุ 62 ปี มีภรรยา 3 คน และเมื่อพบว่าตัวเองเป็น HIV+ ได้ทิ้งภรรยาทั้ง 3 ไว้ที่หมู่บ้าน เพื่อไปรักษาตัว
-จาก HIV test ในปี 2002 ที่ AICT ศูนย์สุขภาพได้ผลบวก (จากการตรวจ 2 แบบ Capillar (เจาะเลือด) และ Determine (การวินิจฉัยของแพทย์))
- อาการขณะนั้น : อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และมีไข้
- เริ่มใช้ A-3, มะรุม และเมล็ด pawpaw
- อาการทั่วไปเริ่มดีขึ้น
- ตรวจดูอีกครั้งในปี 2003 (AICT ศูนย์สุขภาพ)
- ผล : บวก
- ตรวจอีก 3 ครั้งในเดือนมีนาคม 2004 (1.AICT ศูนย์สุขภาพ 2.DDH Bunda 3.โรงพยาบาลของรัฐ, Musoma) ทั้ง 3 ครั้งได้ผล : ลบ

คนไข้ # 2 T.C.
- เสียชีวิตในปี 2004 ด้วยปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเมื่ออายุ 45 ปี อย่างไรก็ตาม เธอเป็นตัวอย่างที่ดีที่ผลการรักษาทำให้เธอกลายเป็น ผลลบ
- แต่งงานและสามีเสียชีวิตปี 2000 มีบุตรธิดารวม 5 คน
- ตรวจที่ ร.พ. Musoma Government Hospital ปี 2001 ผลบวก
- เริ่มมารักษาที่ Kaza Roho ในปี 2003
- เริ่มทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขในเขต Mara & Ukerewe โดยการไปเยี่ยมคนไช้ตามบ้าน
- เริ่มใฃ้ยา A-3 และมะรุม
- ตรวจที่ศูนย์สุขภาพ AICT ในปี 2002 ก.พ. 2003 และ มิ.ย. 2003 ตรวจเลือดและหมอวินิจฉัยทั้ง 3 ครั้ง ได้ผลบวก
- ตรวจอีกครั้ง ก.ย. 2003 ที่ศูนย์สุขภาพ Musoma - ผลลบ
- ตรวจอีกที่ Muhmbili/dar, Musoma Government Hospital อีก 2 ครั้ง ผลทั้งหมดเป็นผลลบ

คนไข้ # 3 N.M.
- อายุ 25 ปี แต่งงานปี 2004
- เป็นพยาบาลและผดุงครรภ์ ทำงานที่ศูนย์สุขภาพ Bunda AICT จนถึงปี 2004
- ตรวจ ธ.ค. 2003 ที่ศูนย์สุขภาพ Bunda AICT - ผลบวก
- เริ่มใช้ A-3, กระเทียม และมะรุม
- ตรวจอีกครั้งที่ศูนย์สุขภาพ AICT มี.ค. 2003 - ผลบวก
- ตรวจอีกครั้ง ก.ค. 2004 ผล : ลบ

คนไข้ # 4 S.M.
- ตรวจปี 2002 ที่ศูนย์สุขภาพ AICT เมือง Musoma ผล : บวก
- เป็นวัณโรคในปี 2002
- เริ่มรับ A-3 และมะรุม
- 6 เดือนหลังจากนั้นอาการทั่วไปดีขึ้นมาก
- ตรวจอีกครั้ง ก.ย. ที่ศูนย์สุขภาพ AICT ผล:ลบ
- ตรวจในปี 1999 โดยวิธี Capillars (ตรวจเลือด) (โดยได้ไปบริจาคเลือดที่ศูนย์สุขภาพ AICT เมือง Kazilankanda ผล : ลบ
- ตรวจอีกครั้งปี 2000 ณ ทีเดิม ผล : ลบ

คนไข้ # 5 M.K.
- แต่งงานแล้ว
- ปี 2001 เริ่มจากรักษากับหมอท้องถิ่นท่ Ukerewe
- ตรวจ 2 ครั้งในปีนั้น ผลทั้ง 2 ครั้ง : ผลบวก
- ปี 2003 เริ่มใช้ A-3 ที่ศูนย์สุขภาพ AICT Mesoma ผล : บวก
- ตรวจ มิ.ย. 2004 ที่ ที่เดิม ทั้งตรวจเลือดและหมอวินิจฉัย ผล : ลบ
- ตรวจ 2 ครั้งที่ ร.พ. Bugando, Mwanza ผล : ลบ
- ตรวจ CD4 ในเดือน ก.ย. 2004 ได้ผล 815
- ตรวจอีกครั้งที่ศูนย์สุขภาพ Musoma ในเดือน ก.ย. 2004 ผล : ลบ
- ผลของการใช้ A-3 และมะรุมในการรักษา ช่วยเพิ่ม cell CD4 จะเห็นได้จากกรณีดังต่อไปนี้

คนไข้ # 6 M.N.
- อายุ 32 ปี
- มาที่ศูนย์สุขภาพ AICT Musoma ในปี 2002 ด้วยอาการค่อนข้างหนัก
- ตรวจพบผลบวกมาก่อนแล้ว
- ตรวจที่ศุนย์ ผล : บวก
- ขณะนั้น CD4 มีค่า 34
- เริ่มใช้ A-3 และมะรุมในการรักษา
- 3 เดือนหลังจากนั้น CD4 มีค่า 280


หมายเหตุ
ได้รับรายงานจากคุณไพลิน มีเดช กรุณาแจ้งมาด้วยความปรารถนาดีว่า ท่านใดที่เป็นโรคเม็ดโลหิตแดงแตกกระจาย TG6PD การทานมะรุมจะทำให้เป็นอันตรายต่อเม็ดโลหิตแดงอย่างมาก ขอขอบพระคุณในข้อมูลนี้เป็นอย่างสูงค่ะ

ข้อสรุป
การใช้วิธีธรรมชาติเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้โรคเอดส์เพิ่มขึ้นขอแนะนำให้คนไข้ใช้ 3 ข้อ จากข้อเสนอต่อไปนี้

1. กระเทียม Allium Sativum, ควรกินกระเทียมดิบอย่างน้อยวันละ 3 กลีบ
2. Artemisia Annua เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกได้ผลมากที่สุดในประเทศจีนเท่านั้น และยังไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยที่ถูกต้อง น่าจะหาได้ตามร้านขายยาจีนแผนโบราณ การใช้ในเดือนแรกให้ดื่มชานี้โดยใช้ใบแห้ง 5 กรัม ชงดื่มทุกวัน หลังจากนั้นเดือนละ 1 สัปดาห์ ให้ดื่มชานี้ซ้ำอีก
3. Neem ใบสะเดา, Azadirachta Indica : ให้รับประทานผงที่ทำจากใบ Neem ใบสะเดาแห้ง 1 ถึง 2 ช้อนชาพูนๆ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
4. ตะไคร้ (Lemon Grass) Cymbopogon Citratus: ให้ดื่มชาตะไคร้ 2 ลิตร โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ต้มน้ำ 1 ลิตร ต่อวัน
5. ว่านหางจระเข้ ดื่มน้ำว่าน (เป็นวุ้น) 1-2 ช้อนโต๊ะทุกวัน วุ้นว่านนี้อาจจะนำมาผสมกับน้ำผึ้งในปริมาณเท่ากับว่านก็ได้
6. มะนาว : ให้ดื่มน้ำมะนาว 1 ลูก / ต่อวัน
7. มะรุม : ใช้ใบมะรุมที่ป่นเป็นผง โรยใส่อาหารวันละ 3 เวลาทุกวัน ตลอดชีวิต

ในการศึกษานี้ เราสนใจผลของ Arternisia Tea และผงใบมะรุมเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าส่วนประกอบอื่นๆ จะใช้ก็ได้


มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์
จากหนังสือ นาฬิกาชีวิตตอน๒
เขียนโดย ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร











Create Date : 12 ธันวาคม 2551
Last Update : 7 มิถุนายน 2552 17:34:16 น. 4 comments
Counter : 1973 Pageviews.

 
NEEM ใบสะเดา คือ อะไรอะครับ


โดย: สารนารถ IP: 124.120.51.118 วันที่: 22 มกราคม 2552 เวลา:16:23:56 น.  

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Val.

ชื่อวงศ์ : Meliaceae

ชื่อสามัญ : SIAMESE NEEM TREE

ลักษณะทั่วไป : สะเดา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ขึ้นได้ในป่า หรือปลูกไว้ตามบ้าน เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆ ใบเป็นช่อแบบขนนก ใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักใบออกเรียงกัน ตรงปลายกิ่งสะเดา จะผลิใบใหม่ พร้อมผลิดอกออกเป็นช่อสีขาว


ทุกส่วนของสะเดามีรสขม นำยอดอ่อนและดอกสะเดาลวกน้ำร้อน 2 ครั้ง เพื่อให้หายขม รับประทานเป็นอาหารประจำครอบครัวในช่วงฤดูหนาว เพราะดอกสะเดาจะออกช่อในฤดูหนาว ปัจจุบันเราสามารถรับประทานสะเดาได้ตลอดทั้งปี โดยใช้ยอดอ่อนรับประทานแทนดอกรสชาติอร่อยพอกัน สะเดามี 2 ชนิด คือ ชนิดขม และชนิดมัน โดยจะสังเกตได้จากยอดอ่อน สะเดาชนิดขมจะมียอดอ่อนสีแดง ส่วนสะเดาชนิดมันจะมียอดอ่อนสีขาว



การปลูก : สะเดาเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนความร้อนได้ดี ปลูกได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นน้อย

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง



สรรพคุณทางยา : ทุกส่วนของสะเดาสามารถนำมาทำเป็นยาได้

ยอดและดอกสะเดา สามารถช่วยเจริญอาหารได้ เพราะใบสะเดามีสารที่มีรสขม คือ NIMBIDIN ช่วยกระตุ้นทำให้น้ำย่อยออก จึงทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น


ใบสะเดานำมาตำทำเป็นยาพอกฝี


ดอกใช้แก้พิษเลือดกำเดา


ผลใช้บำบัดอาการโรคหัวใจเต้นผิดปกติ


ราก ช่วยแก้เสมหะ เปลือกรากรักษาไข้ตัวร้อน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้อีกด้วย


รายการอาหาร : สะเดาน้ำปลาหวาน ยำดอกสะเดา


คัดลอกมาจาก //ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/herb/herb0002.html



โดย: นางฟ้าอรชร วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:11:28:18 น.  

 
จะว่าผมหรือเปล่า เนี้ย

NEEM ใบสะเดา คือ อะไรอะครับ

แหะ ๆ


โดย: Xeramos IP: 124.120.55.208 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:24:01 น.  

 
พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย อ.สอ เสถบุตร




neem (นีม)

n.

|-neem|pf.
ความหมาย

สะเดา



พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย NECTEC's Lexitron Dictionary




neem

ความหมาย

[n.] พืชเขตร้อนตระกูลมะฮอกกะนี มีมากในแถบเอเชีย ต้นสะเดา




โดย: นางฟ้าอรชร วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:10:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นางฟ้าอรชร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add นางฟ้าอรชร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.