|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
25 ธันวาคม 2554
|
|
|
|
ตามรอย ร.๕ (พระที่นั่งพุทไธสวรรย์)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕
สวัสดีค่ะ
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นสัปดาห์ของการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๕ ป้าแอ๊ดขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย คุณพระพุทธสิหิงค์ จงดลบันดาลให้ทุกๆ ท่าน มีแต่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง ตลอดปีและตลอดไปนะคะ
สาธุ สาธุ สาธุ
วันนี้จะพาไปท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมต่อจากครั้งที่แล้วนะคะ
สถานที่คณะของเราไปชมคือ พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภายใน พิพิธภันฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า (พื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวงตอนเหนือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ ๑
ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมานพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท
เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณพิพิธภัณฑ์ ด้านขวามือแรกเห็น เป็นพระที่นั่งองค์เล็กๆ สวยงามตามสถาปัตยกรรมไทย (ไม่ทราบชื่อว่าคือพระนั่งอะไร )
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ อยู่ถัดมา
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เดิมมีนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เดิมสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อทำการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ เป็นต้น
ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประเพณีทรงโรง ฐานสูง เครื่องบนประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์หน้าบันไม้จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจกรูปพระพรหมประทับในวิมาน ด้านข้างมีไพที และเสาสี่เหลี่ยมรองรับชายคาทั้ง 2 ด้าน ใช้เป็นที่ประกอบการพระราชพิธีต่างๆ ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล
หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐ พระองค์เสด็จไปยังเชียงใหม่ และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมา พระองค์จึงทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ปัจจุบัน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ธรรมดาพระที่นั่งองค์นี้จะไม่เปิดให้เข้าชมด้านใน แต่ในวันนั้นทางผู้จัดได้ขออนุญาตทางพิพิธภัณฑ์ เพื่อเข้าไปชมและศึกษาศิลปวัฒนธรรม
มีเจ้าหน้าที่มานำชม อธิบายเรื่องราวต่างๆ และอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ เป็นกรณีพิเศษ
คณะของเราเข้าไปภายในแล้วกราบพระพุทธสิหิงค์ จากนั้นฟังคำบรรยาย และเริ่มถ่ายภาพไปด้วย
เพดานพระที่นั่งฯ จำหลักด้วยไม้ มีดวงโคมให้แสงสว่างอยู่ตรงกลาง
ภาพจิตรกรมมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สร้างขึ้นในราวรัชกาลที่ 1-2 โดยเหนือช่องประตูและหน้าต่างแสดงภาพเทพชุมนุม
ภาพเทพชุมนุมบนฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ภาพขยายภาพเทพชุมนุม จิตรกรรมฝาผนังฝีมือเยี่ยม อ่อนช้อย แต่สีของภาพจืดจางไปกับกาลเวลา
ดูราวกับว่าเทวดามีอยู่ ๔ ชั้น หรืออย่างไร
กึ่งกลางท้องพระโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง ๗๙ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา
ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง ๑๐๕ ปี
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล นิยมเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ
ต้นไม้ทอง
สิ่งสำคัญภายในที่นั่งพุทไธสวรรย์ คือ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปนาก ศิลปะล้านนา และพระพุทธรูปสิลาขาว ของสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังบวร ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้น
ลวดลายบุษบกสวยงามมาก
คาดว่าจะเป็นพระพุทธรูปนาก พระที่สำคัญองค์หนึ่ง เพราะที่ฐานเป็นรูปครุฑ ด้วย
บานหน้าต่างขององค์พระที่นั่งฯ เขียนเป็นลายรดน้ำลงรักปิดทอง
รูปแบบที่เขียนแตกต่างกันไปหลายแบบ
เจ้าหน้าที่ได้นำไปชมตู้พระธรรมเก่าๆ ใบใหญ่ๆ ที่วางเรียงกันไว้ทางด้านหลัง
ตู้พระธรรมเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทองงามวิจิตร
ลวดลายรดน้ำปิดทองบนตู้พระธรรม ต้องเข้าไปดูอย่างละเอียดจึงจะทราบเรื่องราวค่ะ
ตู้พระธรรม เข้าแถวเรียงราย สูงท่วมหัว
ตู้บางใบเขียนเป็นภาพเหมือนจิตรกรรมฝาผนังก็มี โปรดสังเกตมีกุญแจปิดไว้ที่ประตูตู้ด้วย
ภาพเทวดารักษาประตู บนตู้ใบหนึ่ง ลวดลายที่เขียนอ่อนช้อยสวยงามยิ่งนัก
เทวดา ๒ องค์
ภาพงามๆ สมบูรณ์แบบอย่างนี้ หาชมได้ยากนัก
ภาพเขียนอันสวยงาม (ต่อกับภาพด้านล่างนะคะ)
ตู้บางใบเขียนเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ ลวดลายและสีซีดจางและบางแห่งก็หลุดลอกหายไปบ้างแล้ว
ฝาผนังด้านหลังเขียนเป็นเรื่องราวของพระพุทธองค์
ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน รวม 28 ภาพ ด้วยฝีมือจิตรกรสมัยรัชกาลที่ 1 จึงถือได้ว่ามีคุณค่าและเก่าแก่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สภาพของจิตรกรรมฝาผนังปัจจุบันชำรุดด้วยความเก่าแก่
พระพุทธองค์เสด็จจากสวรรค์ เพื่อโปรดพุทธมารดา
จริงๆ แล้วภาพจิตรกรรมที่มีตามฝาผนังของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ มีมากมายหลาหหลาย แล้วแต่ว่าจะจับตอนไหนมาอธิบาย ทั้งพุทธประวัติ ตลอดถึงชีวิตประจำวันของชาวบ้านสมัยนั้น ถ้าได้เข้าไปนั่งชมตลอดวันได้คงมีความสุขมากกว่านี้
ปิดท้ายกันด้วยภาพนี้นะคะ ทายสิว่า ภาพนี้คืออะไร
เฉลยละกันค่ะ นี่คือแท่นที่นั่งของพระ อยู่ทางด้านข้างขวามือค่ะ เป็นงานแกะสลักไม้ลายดอกพุดตานเก่ามากๆ
ถ่ายรูปคู่กับนกทัณฑิมา ที่ยืนอยู่หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ค่ะ
ครั้งหน้า จะพาไปชมพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ นะคะ ป้าแอ๊ดเคยมาพระที่นั่งอิศเรศฯ นี้ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ครั้งนั้นไม่ได้ถ่ายภาพด้านในค่ะ
ครั้งนี้ได้ถ่ายภาพมาเล็กน้อย อย่าลืมติดตามชมนะคะ
Create Date : 25 ธันวาคม 2554 |
Last Update : 26 พฤษภาคม 2555 14:14:36 น. |
|
18 comments
|
Counter : 10726 Pageviews. |
|
|
|
|
โดย: jewelmoda วันที่: 27 ธันวาคม 2554 เวลา:9:35:01 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:15:10:42 น. |
|
|
|
โดย: BabyGreace วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:19:39:22 น. |
|
|
|
โดย: หมูหวานน้อย วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:21:22:54 น. |
|
|
|
โดย: เอื้องใบไผ่ วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:23:37:10 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:0:52:43 น. |
|
|
|
โดย: รุ่งฤดี วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:12:34:34 น. |
|
|
|
โดย: โสดในซอย วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:16:45:07 น. |
|
|
|
โดย: ตรี (kate_tee ) วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:19:23:14 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มค่ะ IP: 93.146.219.111 วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:22:04:24 น. |
|
|
|
โดย: PhueJa วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:23:10:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:6:52:04 น. |
|
|
|
โดย: ผนังเก่าเล่าเรื่อง IP: 58.8.46.189 วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:11:41:08 น. |
|
|
|
โดย: peeamp วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:12:28:06 น. |
|
|
|
| |
|
|
addsiripun |
|
|
|
|