ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
23 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
พระปรางค์สามยอดลพบุรี

พระพุทธรูปประธาน “วัชรยานไตรลักษณ์” ภายในปรางค์สามยอด

ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ภายหลังที่ “เมืองลวปุระ” (lavapūr) หรือ “กัมโพช” ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ศูนย์กลางแค้วน“ศรีจานาศะปุระ” (Sri Canasa) กลับตกไปอยู่ในอำนาจทางการเมืองของราวงศ์มหิธระปุระอีกครั้ง  พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ส่งพระโอรสพระนามว่า “นฤปตีนทรวรมัน” มารั้งเป็นอุปราชผู้ปกครอง “ลโวทเยศ” และได้เรียกชื่อนามเมืองละโว้ ตามที่ปรากฏจารึกปราสาทพระขรรค์ (K.908) ขึ้นใหม่ว่า “ละโว้ทยปุระ (Lavodayapura)
.
ในช่วงเวลานี้ คติความเชื่อในพุทธศาสนาแบบมหายาน – วัชรยานตันตระ ใน“ลัทธิโลเกศวร” (Lokeśvara) ที่กำลังนิยมในราชสำนักเมืองพระนคร ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาสู่เมืองละโว้ทยปุระตามอำนาจทางการเมือง เกิดความนิยมการสร้างรูปประติมากรรมตามคติความเชื่อในนิกายวัชรยานบายน  ทั้งรูปพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิที่มีนาคปรก (Buddha Sheltered by a Naga) อันเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักร  ในความหมายของ “พระฌานิพุทธอมิตาภะ” (Amitābha Dhyāni Buddha) แสดงธยานะมุทรา (Dhyana Mudra) ในลักษณ์ (ความหมายเชิงบุคลาธิษฐานฉ ของการบรรลุ “นิรวาณ-นิพพาน” (nirāvana) หรือ “ความรู้แจ้ง - การหลุดพ้น” รูป “พระโพธสัตว์อวโลกิเตศวร” (Bodhisattva Avalokiteśvara ) ผู้ทรงไว้ซึ่งมหาเมตตากรุณาแก่มวลสัตว์โลกทั้งปวง รูปลักษณ์แทนการบำเพ็ญ “โพธิญาณบารมี” (ทาน ศีล ขันติ วิริยา ปัญญา ญาณ ปณิธาน อุบายะ พละ ชญาณ) และ “เทวีปรัชญาปารมิตา” (Prajñāpāramitā) (ศักติเพศ ในคติตันตระ) รูปลักษณ์ของการใช้ “ปัญญาและอุบายะที่ชาญฉลาด” สู่เป้าหมายครับ
.
คติของภาพแห่งลักษณ์ (มโนภาพ) ในบุคลาธิษฐาน (Personification) ของ “นิรวาณ โพธิญาณและปัญญา”  ตามแบบ “ตันตระ” (Tantra-Tantric) ที่ควรเรียกว่า “วัชรยานไตรลักษณ์” (Vajrayāna Triad -Trinity) มากกว่า “รัตนตรัยมหายาน” ได้ถูกนำใช้สร้างงานพุทธศิลป์ โดยวางรูปประติมากรรมในความหมายของบุคลาธิษฐานทั้งสาม เรียงรูปวิภัติ 3 รูป (Trinity) เรียงบนระนาบฐานไพทีเดียวกัน  มีรูปของพระพุทธเจ้าอมิตาภะนาคปรกเป็นประธานตรงกลาง
.
คติวัชรยานไตรลักษณ์ ได้นำไปสู่การสร้างปราสาทปรางค์สามยอด เพื่อแสดงความเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและความเชื่อของจักรวรรดิ ขึ้นบนเนินดินศักดิ์สิทธิ์ใจกลางเมือง เป็นปราสาทสามยอดองค์แรกในภูมิภาคลุ่มเจ้าพระยาครับ
.
---------------------------------
*** ภายในห้องคูหาครรภธาตุของปราสาททั้ง 3 ห้อง อาจเคยประดิษฐานรูปประติมากรรมพระพุทธเจ้าอมิตาภะปางนาคปรก แทนความหมายของการนิรวาณ-การบรรลุ ในห้องคูหาปราสาทองค์กลาง รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระญานิโพธิสัตว์ 4 กร  ถือดอกบัวปัทมะ ในพระหัตถ์ขวาล่าง ถืออักษมาลา (ลูกประคำ) ในพระหัตถ์ขวาบน ถือปุศตกะ คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาณหฤทัยสูตร (Prajñāpāramitā Hṛdaya Sūtra) ที่พระหัตถ์ซ้ายบนและถือกมัณฑลุ (หม้อน้ำนักบวช) ในพระหัตถ์ซ้ายล่าง แทนความหมายของโพธิญาณ –การปฏิบัติ ในห้องคูหาปราสาทฝั่งทิศใต้ และ รูปประติมากรรมเทวีปรัชญาปารมิตา พระหัตถ์ขวาถือดอกบัวปัทมะ พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ ปรัชญาปารมิตาณหฤทัยสูตร เป็นศักติของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และถือเป็นพระมารดาของเหล่าตถาคตที่กำเนิดจากอานุภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอันล้ำเลิศและอุยายะสู่พระนิพพาน ในห้องคูหาของปราสาทองค์ทิศเหนือ
.
แต่ร่องรอยที่เห็นในปัจจุบัน คงเหลือให้เห็นแต่เพียงฐานรูปเคารพ “สนานโทรณี” (Sanandorini) ที่ฝังอยู่ในพื้นภายในแต่ละห้องคูหาของปรางค์ทั้งสามหลัง โดยไม่เหลือร่องรอยที่บ่งบอกว่าเคยประดิษฐานรูปประติมากรรมทั้ง 3 วิภัติรูปตามคติวัชรยานไตรลักษณ์หรือไม่ ซึ่งก็คงเป็นการยากที่รูปประติมากรรมทั้งสามจะเหลือรอดมาจากอดีต ด้วยเพราะผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัย อาจได้เคลื่อนย้าย ดัดแปลงและทุบทำลายรูปประติมากรรมเดิม ไปตามคติความเชื่อและความนิยมของตน  โดยเฉพาะรูปประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและพระนางปรัชญาปารมิตาในคติโลเกศวร ที่ไม่ได้รับความนิยมภายหลังการสิ้นอำนาจของจักรวรรดิบายน อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงความนิยมมาเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาท - คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ (Kambojsanghapakkha) ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 และพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ - สยามวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้มีการดัดแปลงปรางค์สามยอดมาเป็นพระเจดีย์ประธานของวัด  มีการสร้างอาคารวิหารและระเบียงคดด้วยอิฐที่ด้านหน้าและด้านข้างฝั่งทิศเหนือ ดัดแปลงภายในคูหาของปรางค์บริวารและมุขกระสันเพื่อใช้ประโยชน์เป็นระเบียงวิหารด้วยการปิดช่องผนัง ทำช่องหน้าต่างใหม่ ประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักหินทรายในศิลปะอยุธยาเข้าไปเพิ่มเติมในส่วนต่าง ๆ ภายในพื้นที่โดยรอบครับ  
.
-------------------------------
*** แต่จากหลักฐานภาพถ่ายเก่าในช่วงทศวรรษที่ 1940 ของ Reginald Le May จากหนังสือ Culture of South-East Asia ตีพิมพ์ในปี 1954 ได้แสดงภาพของพระพุทธรูปนาคปรก พระประธานภายในคูหากลางของปรางค์สามยอดตั้งอยู่บนฐาน ที่แสดงว่า พระพุทธรูปประธานในคติวัชรยานไตรลักษณ์จากยุคจักรวรรดิบายน ยังไม่ได้ถูกรื้อถอนเคลื่อนย้ายออกไปในสมัยต่อมา ยังคงตั้งประดิษฐานอยู่ที่เดิม แต่ในภาพถ่ายก็แสดงให้เห็นว่า มีร่องรอยการทุบส่วนพระเศียรและส่วนนาคปรกจนเสียหาย จึงได้มีการดัดแปลงซ่อมแซมต่อพระเศียรขึ้นใหม่ มีการปั้นปูนประดับส่วนพระเศียร ปั้นมวยพระเกศาถี่แบบเปลือกขนุนและปั้นปูนในส่วนรูปนาคขึ้นใหม่ ยอดพระกรรณทำเป็นบายศรีแหลม ตามแบบศิลปะอยุธยา
.
ต่อมาตัวองค์พระประธานคงได้ถูกตัดพระเศียรและส่วนนาคปรกออกไปทั้งหมด และได้ถูกเคลื่อนย้ายมาวางไว้ในช่องผนังกำแพงมุขกระสันฝั่งทิศเหนือ โดยในรูปถ่ายเก่าได้แสดงร่องรอยของภูษาสมพตขาสั้นแบบพระพุทธรูปบายนตรงบริเวณใกล้กับพระที่นั่ง (บั้นท้าย) ที่ถูกกะเทาะขูดออกตอนปั้นปูนลงรักผิดทองในสมัยอยุธยา ที่ตรงกันกับรอยแตกกะเทาะของพระพุทธรูปในห้องมุขกระสันอย่างชัดเจนครับ
.
ส่วนพระวรกายที่ชำรุดของรูปประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่อาจเคยประดิษฐานในห้องคูหาปราสาทฝั่งทิศใต้ และรูปประติมากรรมพระนางปรัชญาปารมิตาที่อาจเคยประดิษฐานอยู่ที่ห้องคูหาปราสาทหลังฝั่งทิศเหนือ อาจเป็นหนึ่งในรูปประติมากรรมหินทรายที่ได้ถูกขนย้ายไปเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี และรูปประติมากรรมที่เก็บรักษาไว้ในอาคารคลังล้อมรั้วภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา ในช่วงที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่พบภายในเมืองอยุธยา ลพบุรีและเมืองใกล้เคียงมารวบรวมไว้ 
.
พระเศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของปรางค์สามยอดนั้น ก็อาจเป็นพระเศียรที่ปรากฏภาพถ่ายเก่าในหนังสือ Culture of South-East Asia ของ Reginald Le May ที่อธิบายภาพว่าพบมาจากเมืองลพบุรี  มีพุทธศิลป์ตามแบบศิลปะบายนหมวดช่างละโว้ ส่วนพระเศียรที่หายไปของรูปประติมากรรมเทวีปรัชญาปารมิตา จะมีเค้าพระพักตร์แบบเดียวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แต่มีมวยผมเป็นกรวยแหลม ซึ่งในรูปวิภัติ 3 รูป ตามศืลปะแบบบายน จะไม่มีการสลักรูปพระพุทธเจ้าอมิตาภะไว้ที่หน้ามวยผม ก็ยังไม่ปรากฏร่องรอยให้ตามเห็นได้เลยครับ
เครดิต:
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.




Create Date : 23 กันยายน 2563
Last Update : 8 มีนาคม 2564 14:46:23 น. 2 comments
Counter : 637 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 24 กันยายน 2563 เวลา:3:35:59 น.  

 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:14:45:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.