ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2564
 
All Blogs
 
นาคเกี้ยว

“นาคเกี้ยว” เรื่อง งู ๆ ใต้กอบัว ที่ปราสาทพระขรรค์แห่งกำปงสวาย
ภาพวาดลายเส้นภาพหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 2400 ของ “หลุยส์ เดอลาพอร์ต” (Louis Delaporte) นักสำรวจและจิตรกรชาวฝรั่งเศส เป็นภาพบริเวณเชิงสะพานข้ามคูเมือง ชาลาทางเดินเข้าสู่นครใหญ่ “พระขรรค์แห่งกำปงสวาย” (Preah Khan Kampog Svay) (ปราสาทบากัน เมืองขนาดใหญ่ทางตะวันออกของเมืองศรียโศธระปุระ ห่างจากเมืองเสียมเรียบประมาณ 160 กิโลเมตรตามเส้นทางถนน) ที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของซากปราสาทในไพรสณฑ์ สะพานชาลาทางเดินข้ามคูน้ำและภาพแกะสลักอันวิจิตรบรรจงบนผนังด้านข้าง
ถึงแม้เดอลาพอร์ต อาจจะได้เคยเดินทางมาสำรวจที่ซากเมืองร้างแห่งนี้ แต่ภาพวาดสะพานของเขาก็ได้แสดงให้เห็นว่า เขาอาจจะไม่ได้เดินเท้าลงไปพินิจพิจารณาดูรายละเอียดด้วยตนเอง แต่คงยืนมองดูในระยะที่ห่างมากพอสมควร จึงวาดภาพออกมาแบบจินตนาการ แตกต่างไปจากความเป็นจริงเป็นอยากมาก นั่นคือ เขาได้วาดเป็นรูปบุคคลอยู่เหนืองู/หรือนาคชูคอสามตัวในรูปแบบเดียวกัน มีปากและหน้าเป็นรูปครุฑเหิน ที่มีแผงคอและไรขนตามแบบศิลปะบายน กำลังทำท่ายกแขนแบกฐานหน้ากระดานของราวบันไดด้านบนเอาไว้ หน้าอกเป็นรูปลักษณ์หน้าอกถันของผู้หญิง เหมือนจะวาดเป็นรูปครุฑยุดนาค ระหว่างรูปครุฑนั้นก็วาดเป็นรูปเทพพนม แทรกเรียงสลับกันไปจนสุดปลายสะพาน
แต่ในความเป็นจริงที่เห็นในปัจจุบัน ภาพสลักที่ผนังข้างสะพานข้ามคูเมืองพระขรรค์แห่งกำปงสวายที่มีความยาว 55 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตรนั้น สลักเป็นรูปหงส์เหิน ส่วนหัวมีไรขนซ้อน 3 ชั้นดูเป็นเทริด กางปีกชี้ปลายขึ้นแสดงการบินทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ในความหมายเชิงนามธรรมว่าสะพานข้ามเข้าสู่เมืองนั้นก็คือสะพานสวรรค์ หรือ “สะพานสายรุ้ง หงส์ที่กำลังบินอยู่ ก็ยังอยู่ใต้ (แบก) สะพานสายรุ้งที่อยู่เหนือกว่าขึ้นไป
รูปสลักหงส์บนผนังสะพานมีรูปแบบทางศิลปะที่เหมือนกันทุกตัว อาจมีจำนวนเล็บต่างกัน 3 บ้าง 5 บ้าง เรียงรายยาวต่อเนื่องไปจนตลอดผนัง ปลายปีกด้านข้างของรูปหงส์เหินกางมาชนกัน เกิดเป็นช่องว่างพื้นที่สามเหลี่ยมด้านล่างระหว่างปีก ซึ่งช่างแกะสลักก็ได้เลือกเอารูปของ นาค-งู และกอบัวในน้ำ มาสลักคั่นระหว่างรูปหงส์เหิน
แต่รูปลักษณ์ของ “นาค-งูและกอบัว” นั้น กลับไม่ได้เป็นไปตามขนบแบบแผน ที่ต้องแกะสลักเป็นรูปแบบเหมือนกัน สลับวางกับรูปหงส์เหินตามความนิยมอย่างที่ควรเป็น แต่ช่างฝีมือที่พระขรรค์แห่งกำปงสวายนี้กลับได้ฉีกกฎเกณฑ์การจัดวางรูปสลัก ไม่เอาตามแบบแผนศิลปะช่างหลวง พวกเขาได้เอาเรื่องราวของงูและกอบัวในน้ำ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ของเมืองอุตสาหกรรมถลุงเหล็กขนาดใหญ่แห่งอาณาจักร นครที่มีแหล่งน้ำ บารายและคูคลองน้ำอันอุดมสมบูรณ์ มีบัวขึ้นดาษดื่น เป็นที่อาศัยของงู โดยรอบปราสาทอย่างชุกชม รูปลักษณ์ของพญานาคมีกระบังเทริดมีแผงคอในงานศิลปะบายนชั้นสูง ได้ถูกลดมาเป็นรูปงูใหญ่น้อยธรรมดา ทั้งแบบที่มีแม่เบี้ยพังพานจนถึงแบบงูธรรมดาจริง ๆ  
ภาพสลักงูและกอบัวบนผนังสะพานแต่ละช่องนั้น ยังเป็นภาพของงูที่มีท่าทางอิริยาบถแตกต่างกันไปในแต่ละภาพ ไม่เหมือนกัน ไม่มีแบบแผน ไม่มีลำดับความสำคัญชัดเจน ภาพสลักหินจึงดูเหมือนเป็นภาพที่มีชีวิต เหมือนงูกำลังเคลื่อนไหวอยู่ใต้กอบัวอยู่ตามธรรมชาติจริง ๆ เป็นเสน่ห์และความงดงาม ที่หาได้ยากในงานศิลปะของอาณาจักรเขมรโบราณทั้งหมดครับ
--------------------------------------
*** รูปศิลปะของภาพสลักงูใต้กอบัวบนผนังสะพานมีประมาณ 15 แบบ (หรืออาจมากกว่านั้น) แตกต่างกันไปแต่ละช่อง แต่เมื่อได้นำมาจัดเรียบเรียงเพื่อมาเล่าเรื่องราวของงูตามจินตนาการของผู้เขียน ก็คงจะเล่าไปตามภาพที่เห็น โดยอิงเข้ากับเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวและชายหญิงในเชิงสัญลักษณ์วิทยา (Symbology) ของลาย “นาคเกี้ยว-นาคเกี่ยวพัน” อันจะเป็นเนื้อความที่จะสร้างความเข้าใจได้โดยง่ายกว่า
รูปแรก เป็นแบบ “เด็กน้อยมาจีบกันใต้กอบัว” มีใบบัวมองภาพตัดทางขวาง (จึงดูเป็นเส้น) เป็นภาพสลักงูตัวเรียบหางสั้นสองตัว มีให้เห็นอยู่หลายรูป 
แบบที่สอง เป็นภาพ “วัยกระเตาะมาจีบกันใต้กอบัว” เป็นภาพสลักงูตัวเรียบหางสั้นสองตัว คล้ายกับแบบแรก แต่ยกหัวสูงกว่า
แบบที่สาม “ความรักมักมีอุปสรรค” โดนผู้ใหญ่กีดกัน เป็นภาพงูขนาดเขื่อง มีเกล็ดชัดเจนสองตัว ลำตัวถูกเล็บเท้าของหงส์เหินกำลังจิกยุดเอาไว้ เอาปลายหางตวัดรัดขาหงส์  
แบบที่สี่ “ความรักที่ไม่สมหวัง” โดนจับแยกทางกัน ปลายหางของงูทั้งสองถูกเล็บเท้าของหงส์เหินจิกเอาไว้ ลากแยกออกมาห่างจากกัน จนเห็นสายบัวชูช่อทั้งสามสาย ดูน่าสงสารจัง รูปแบบนี้มีอยู่มากที่สุด
แบบที่ห้า “บัวน้อยคอยรัก” งูหนุ่มสาวมาเจอกัน ยกหางขึ้นเหมือนกัน เหมือนจะต้องชะตาถูกใจกันและกันปากเกือบชิดกันใต้กอบัวแห่งความรัก ที่ช่างได้สลักเสลาสื่อความหมายเป็นก้านสายบัวตูมและบัวบานให้ไขว้เข้ามาสลับกันเป็นตัว X มีคู่นกบินอยู่ด้านบน 
แบบที่หก “รักแรกพบ” เป็นรูปงูสองตัว ม้วนปลายหางโค้งเข้าด้านในเข้ามาหากัน ปากเกือบชิดกันใต้กอบัว
แบบที่เจ็ด “หัวใจรักเราทั้งสอง” เป็นภาพงูหนุ่มสาวบรรจงจุ๊บ ๆ กัน เอียงตัวสลับกันเป็นรูปหัวใจ 
แบบที่แปด “เชยคาง” นอกจากจะเอียงตัวสลับกันเป็นรูปหัวใจแล้ว ภาพสลักแบบนี้หลายภาพแสดงให้เห็นว่า งูฝ่ายหนึ่ง (หญิง) กำลังเงยหน้า เอียงคางขึ้นแบบเคลิ้ม ๆ ลำตัวแนบอิงกับงูอีกตัวหนึ่ง (ฝ่ายชาย)
แบบที่เก้า “คลอเคลียใต้กอบัว” รูปแบบนี้ ยังเห็นอยู่รูปเดียว เป็นรูปงูสองตัว (หนุ่มสาว) ที่กำลังมีความรักต่างกอดรัดพัดเหวี่ยงกันใต้กอบัวที่เบ่งบาน ก้านสายบัวม้วนพันตามงู
แบบที่สิบ “ดื่มด่ำอภิรมย์” ภาพงูทั้งสองตัวพันกัน แต่ส่วนหางแยกกันไปอย่างผ่อนคลาย ส่วนหัวแยกออกชูโค้งเป็นรูปหัวใจในท่าทางกำลังจุมพิต
แบบที่สิบเอ็ด “ฮันนี่มูน” เป็นงูสองตัวกำลังพันกันเป็นเกลียวใต้ดอกบัวตูมใหญ่ ตวัดหางขึ้นด้านบน พบที่ปลายสะพานขาเข้าฝั่งทิศใต้มากที่สุด
แบบที่สิบสอง “โล้สำเภา” ลักษณะคล้ายกับรูปแบบที่สิบเอ็ด เป็นงูสองตัวกำลังพันกันเป็นเกลียว แต่การพันตัวของงูทั้งสองสลับด้านกัน ตวัดหางโค้งขึ้นด้านบนคล้ายท้องเรือ ภายใต้กอบัวตูมที่มีใบบัวชูขึ้นอยู่
แบบที่สิบสาม “มือที่สาม - มีกิ๊ก !!!”เป็นภาพของงู 3 ตัว กำลังพันตูกัน โดยมีงูใหญ่ด้านขวาบนพันตัวงูอีกสองตัวไว้ (มีตัวที่สามเข้ามาในชีวิต) แบบนี้เห็นอยู่เพียง 2 รูป
แบบที่สิบสี่ “ปรองดองกันเถอะนะ” เป็นภาพสลักสลักที่อยู่ติดกันเชิงสะพานฝั่งซ้ายก่อนข้ามเข้าเกาะเมือง มีภาพงูสามตัว ตัวกลางชูคอตั้งสูง มีก้านสายบัวพันตัว (ยุ่งเหยิง – วุ่นวาย) เหมือนกำลังขวางงูอีกสองตัวที่ขดหางเป็นวง หันเข้าประจันหน้ากันอยู่ (ไม่ให้ทะเลาะกัน)
แบบที่สิบห้า “ผู้ประสบความสำเร็จ” เป็นภาพสลักที่พบบริเวณปลายสะพานฝั่งเกาะเมือง เป็นรูปงูสามตัว งูใหญ่มีพังพานแบบงูจงอางหรืองูเห่า พันรัดงูขนาดเล็กกว่าที่ขนาบอยู่ด้านข้างทั้งสองฝั่ง (งูด้านข้างมีความสูงอย่างเท่าเทียมกัน เหมือนจะบอกว่า รักทั้งคู่นะ อยู่ด้วยกันอย่าทะเลาะกันเลย) มีรูปงูตัวเล็กหรือลูก ๆ แทรกอยู่ในกอบัวด้วย
------------------------------
*** ในทางมานุษยวิทยาและคติชนวิทยา ภาพสัญลักษณ์ “นาคเกี้ยว-นาคเกี่ยวพัน” งู กอบัว (ในน้ำ) เป็นคติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวการสังวาสของชายและหญิง ในความหมายเรื่อง “ความอุดมสมบูรณ์” (Fertility rite) และ “ความเจริญรุ่งเรือง” ตามความเชื่อของผู้คนในยุคโบราณครับ  
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................



Create Date : 18 มกราคม 2564
Last Update : 18 มกราคม 2564 13:27:43 น. 3 comments
Counter : 477 Pageviews.

 
ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 18 มกราคม 2564 เวลา:13:28:48 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 19 มกราคม 2564 เวลา:6:53:13 น.  

 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:14:41:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.