ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
13 กรกฏาคม 2556

ยุคกำเนิดภาพยนตร์ 1895 - ก่อนทศวรรษ 1910s

ยุคกำเนิดภาพยนตร์ 1895 - ก่อนทศวรรษ 1910s


นี่คือโฉมหน้าของ ของ Louis และ Auguste สองพี่น้อง Lumiere ผู้เป็นบิดาแห่งภาพยนตร์ยุคใหม่ ที่ได้ประดิษฐ์เครื่องถ่ายและฉายภาพยนตร์ที่อยู่ในเครื่องเดียวทีเรียกกัน ว่า Cinematographe

Cinema ที่เราเรียกภาพยนตร์ ก็มาจากคำ Cinematographe นี่แหละ



22 มีนาคม 1895 ในห้องใต้ดินของพวกเขา เขาได้ฉายภาพยนตร์ต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก เรื่อง Workers Leaving the Lumiere Factory และถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกอีกด้วย



28 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้จัดฉายภาพยนตร์ขึ้นเพื่อการค้า(เก็บค่าเข้าชม)ต่อหน้าสาธารณชนในโรง ภาพยนตร์เป็นครั้งแรกของโลกขึ้นที่ Grand Cafe ใครจะรู้ว่านี่ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่ถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์โลก ที่ต้องจดจำหรือถูกบันทึกตราบนานเท่านาน



ภาพยนตร์ที่ทำให้ตระกูล Lumiere ถูกจดจำได้มากที่สุดก็คือ เรื่องสั้นระยะเวลา 50 วินาที เรื่อง Arrivee d'un train en gare a La Ciotat (1895) (Arrival of a Train at La Ciotat) ซึ่งถูกรายงานว่ามันทำให้ผู้ชมเกิดอาการอกสั่นขวัญแขวนจนถึงขั้นลุกกระโจน ออกจากที่นั่งเพราะคิดว่ารถไฟจะวิ่งเข้าชนพวกเขา



พี่น้องลูมิแยร์ได้สร้างภาพยนตร์นับเป็นพันๆเรื่อง และสามารถจำหน่ายได้หมดตลอดระยะเวลา 5 ปี ภาพยนตร์ดังกล่าว เป็นการบันทึกเหตุการณ์จริง เช่น วิวทิวทัศน์ กระบวนการต่างๆ โดยไม่มีการตัดต่อ ดังเมื่อประดิษฐ์กรรมชิ้นนี้หมดความแปลกใหม่ในสายตาของประชาชน ธุรกิจการสร้างภาพยนตร์ของลูมิแยร์ก็ได้ยุติลง ภาพยนตร์ในยุคต่อมาก็เป็นบทบาทของนักธุรกิจและศิลปิน ต่อไป

แนะนำหนัง Lumière and Company(1995)



เมื่อประวัติศาสตร์ภาพยนตร์บรรจบครบรอบ 100 ปี

สารคดีชิ้นนี้จึงเกิดขึ้น นั่นคือเชิญผู้กำกับทั่วโลก 40 ประเทศ ให้ลองทำหนังสั้น ด้วยกล้อง Cinematographe เหมือนที่พี่น้องลูมิแยร์ทำ

ด้วยกฎ 3 ข้อ คือ

(1) ความยาวของฟิล์มจะไม่เกิน 52 วินาที(เหมือนข้อจำกัดของฟิล์มยุคนั้น)
(2) ไม่อนุญาติให้ซิงค์เสียง
(3) และห้ามถ่ายเกิน 3 เทค

นอกจากมันยังแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการถ่ายทำแล้ว มันยังต้องดึงความคิดของลูมิแยร์ออกมาว่าเขาคิดและจะถ่ายอะไร ซึ่งทำให้เห็นว่าเวลาผ่านไป 100 ปี ความคิดของคนร่วมสมัยจะทำอย่างไรกับข้อจำกัดในการทำภาพยนตร์ยุดเริ่มต้น

ผมชอบคำพูดของผู้กำกำกับคำหนึ่งในหนังที่ถูกถามว่า ภาพยนตร์จะมีวันตายมั้ย

เขาตอบว่า ภาพยนตร์ไม่มีทางตาย แต่คนนั้นแหละที่ตาย


Alice Guy (Blaché) : ผู้กำกับหญิงคนแรกของโลกในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เธอเริ่มทำภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอขึ้นในเดือนเมษายน ปี 1896 ชื่อว่า La Fée aux Choux (The Cabbage Fairy) มีความยาว 1 นาที บางตำราประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ได้พิจารณาให้ภาพยนตร์ของ



เธอ นั้นจัดเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการเล่าเรื่อง (narrative fiction film) เธอยังได้ถูกยกย่องว่ามีความสำคัญในการพัฒนาวงการภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นการ เล่าเรื่อง (narrative film)



Georges Melies จอมขมังเวทแห่งวงการภาพยนตร์ขออวย เมลิเยส์ ก่อนว่า บุคคลนี้คือคนแรกที่ทำให้ภาพยนตร์มันช่างสวยงามมีศิลปะและน่าค้นหาอย่างยิ่งยวด เมลิเยส์ เป็นนักมายากลอาชีพ ที่ได้เข้าชมหนังของพี่น้องลูมิแยร์และเกิดจินตนาการว่า ถ้าเอามายากลมาอยู่ในรูปแบบภาพยนตร์ มันคงต่อยอดความเพ้อฝันจินตนาการของเขาได้อย่างมากมาย แต่พี่น้องลูมิแยร์ไม่ยอมขาย Cinematographe ให้เขา เขาจึงพัฒนากล้องถ่ายภาพของเขาขึ้นมาเองซะเลย และได้ก่อตั้งสตูดิโอของเขาขึ้นในปี 1897 ซึ่งถือเป็นสตูดิโอแรกในยุโรป



Georges Melies ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาด้วยเทคนิคของการแทนที่ (เป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกสุดของเทคนิคการถ่ายภาพด้วยการหยุดเล่นกลางครัน (Stop-Action)

Stop-Action เป็นยังไง ก็เล่นๆอยู่ก็หยุดตัวแข็งแล้วก็ไม่ต้องบันทึกฟิล์ม เสร็จแล้วก็จัดฉาก ให้เป็นอีกแบบ แล้วเริ่มบันทึกใหม่ เมื่อเฟรมต่อกัน มันก็เลยเหมือนมีใครหายไป เป็นดังมากยากล

เรื่อง Hugo ทำให้เห็น วิธี Stop-Action ผมเห็นแล้วแอบขำเลย เหมือนสิ่งที่เราจิตนการภาพที่ไม่เคยเห็น หนังได้ถ่ายทอดให้เห็นหมดเลย



Melies ยังได้หาญกล้าบุกเบิกภาพยนตร์ไซไฟ 14 นาที เรื่อง Le Voyage Dans la Lune - A Trip to the Moon (1902) ) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำของเขา ด้วยจำนวนฉากทั้งหมดถึง 30 ฉาก บวกทั้งการใช้เทคนิคพิเศษที่มีความเหนือจริง และภาพสะดุดตาของจรวดที่เข้าไปชนกับดวงตาของดวงจันทร์ที่มีความละม้ายคล้าย หน้าคน Melies ยังได้ใส่เทคนิคหลายต่อหลายอย่างมากมายไว้ในเรื่องนี้ มันเป็นหนังที่คนรักภาพยนตร์ต้องดูก่อนตายจริงๆ



Edwin S. Porter บิดาแห่งภาพยนตร์เรื่อง (Father of the Story Film)

Porter เป็นหนึ่งในคนคุมเครื่อง Kinetoscope และผู้กำกับในบริษัทของเอดิสันช่วงก่อนทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา ผู้ซึ่งทำงานในหลายๆอย่าง และถูกเอดิสันแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับหนังสั้นแบบเล่าเรื่องในช่วงปลาย ทศวรรษ 1900 โดยเริ่มต้นทำภาพยนตร์สั้น 10 นาที เรื่อง Jack and the Beanstalk (1902)



The Life of an American Fireman (1903) - Edwin S. Porter

เป็นภาพยนตร์ที่ถูกกล่าวขานเป็นภาพยนตร์สารคดี,ละครกึ่งสาคดี, นวนิยายชีวประวัติ หรือ ภาพยนตร์ที่สมจริง แรกๆ ของสหรัฐฯ โดยภาพยนตร์เล่าเรื่องโดยใช้วิธีการแบบไม่ต่อเนื่องกัน แล้วนำซีนทั้งหลาย มาผสมกัน ฉากความฝันของนักดับเพลิงที่เห็นภายในกรอบวงกลม เหมือนลูกบอลลูน และการใช้ภาพจริงๆของการเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้จริงๆมาใช้ และนำมาตัดต่อเป็นแบบละคร โดยการตัดต่อแบบ Inter-Cut หรือ Jump-Cut ระหว่างเหตุการณ์ภายนอกและภายในของบ้านที่กำลังไฟไหม้ เอดิสันรู้สึกอึดอัดถึงเทคนิคการตัดต่อของ Porter อีกทั้งเขายังใช้การ close-ups ในการเล่าเรื่องราวให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินอีกด้วย



The Great Train Robbery (1903) คือหนึ่งในบรรดาเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ประเภทเล่าเรื่องแรกของโลก กำกับและถ่ายภาพโดย Edwin S. Porter (เคยเป็นช่างภาพของเอดิสัน)



-เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการเล่าเรื่อง โดยในโครงเรื่อง และสร้างลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์ตะวันตก

-เป็นภาพยนตร์ที่สรา้งเทคนิคใหม่ เช่น ถ่ายเรียงลำดังเหตุการณ์ ใช้วิธีการ Cross-cutting ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ เช่น ตำรวจ กับกลุ่มโจร กำลังปะทะกัน การใช้วิธี Pan กล้อง เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาเป็นศิลปะของภาพยนตร์ (Cinematic Art)

-เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สามารถทำเป็นธุรกิจและประสบความสำเร็จอย่างสูง มีผู้นำไปฉายต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี

ชมภาพยนตร์ :



ในช่วงทศวรรษแรกจะสังเกตเห็นว่า ยังไม่มีผู้สร้างภาพยนตร์คิดทำภาพยนตร์ยาวเลย เหตุเพราะ กังวลว่าผู้ชมจะอยู่ไม่ครบจนภาพยนตร์จบหากหนังยาวเกินชั่วโมง อีกเหตุผลหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจ ไม่กล้าเสี่ยงทำหนังยาวเกิน 1 ม้วนฟิล์มสตริป (ความยาวไม่เกิน 14 นาที) ทำให้ในช่วงแรก ภาพยนตร์จึงเหมือนความบันเทิงระยะเวลาที่สั้นที่ผ่อนคลาย จากการทำงาน ต้องไม่ลืมด้วยว่า ภาพยนตร์เกิดในช่วงหลังปฎิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนออกมาทำงานอยู่ในโรงงานเป็นส่วนใหญ่ ทำให้โรงหนังจึงเป็นที่ผ่อนคลายจากการทำงาน ดังนั้น ภาพยนตร์จึงเน้นสร้างให้ดูง่ายเพื่อการผ่อนคลาย และเข้าถึงคนได้จำนวนหมู่มาก และที่เห็นชัดคือตอบสนองชนชั้นแรงงาน เสียดสีชนชั้นนายทุน

The Story of the Kelly Gang (1906) ของผู้กำกับ Charles Tait เป็นภาพยนตร์ยาวเรื่องแรกของโลกครับ ถ้าจะให้ทายว่าของประเทศไหนคงเดาผิดกันแน่ๆ เพราะมันเป็นของประเทศออสเตรเลียครับ ความยาว 60-70 นาที เกี่ยวกับชีวประวัติของวีรบุรุษชนบท






Create Date : 13 กรกฎาคม 2556
Last Update : 13 กรกฎาคม 2556 20:24:11 น. 0 comments
Counter : 3086 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]