space
space
space
 
พฤศจิกายน 2562
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
13 พฤศจิกายน 2562
space
space
space

ไขปริศนา ทำไม PC Gaming ในญี่ปุ่นเคยตราหน้าเป็น “ตลาดเฉพาะกลุ่ม”

เมื่อช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมา นิตยสาร Famitsu เคยรายงานข่าวว่าตลาด SA Gaming ในประเทศญี่ปุ่น มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2017 ที่เพิ่มขึ้นถึง 50% และมีผู้เล่นเกมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เป็นหลักรวมแล้ว 15 ล้านคน

ข่าวดังกล่าวได้สร้างความประหลาดใจต่อกลุ่ม PC Master Race ทั่วโลก เพราะอุตสาหกรรมเกมของประเทศญี่ปุ่น จัดเป็นประเทศเดียวก็ว่าได้ ที่ตลาด PC Gaming ค่อนข้างเงียบเหงา แตกต่างจากตลาดเกมคอนโซลยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจจะช่วยให้ผู้พัฒนาเกมญี่ปุ่น เริ่มให้ความสนใจที่จะทำเกมลง PC มากยิ่งขึ้น

แต่เกมมอร์หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมเกมใหญ่โตระดับโลกมานาน แต่ PC Gaming ที่กำลังรับความนิยมเกือบทั่วโลกกลับจืดชืดจนน่าใจหาย แล้วมีสาเหตุอะไรบ้าง ก็สามารถรับชมได้เลยครับ

PC แพงและวุ่นวาย !

SA Gaming
LABI ห้างรวมสินค้า IT ตั้งที่ย่าน Akihabara

ผมไม่ค่อยเล่นเกมคอมพิวเตอร์แม้แต่เกมเดียว ผมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานเท่านั้น และผมไม่จำเป็นต้องมานั่งเครียดกับการลงโปรแกรมให้เยอะวุ่นวายอีกด้วย

– นักเขียนมังงะญี่ปุ่นคนหนึ่ง วัย 42 ปี ส่งจดหมายกับ Kotaku

เกมเมอร์ญี่ปุ่นหลายมองว่าเครื่อง PC ในประเทศญี่ปุ่น มีราคาค่อนข้างแพงเกินความจำเป็น มีตัวเลือกปรับแต่งเยอะเกินไป และต้องมานั่งศึกษาองค์ประกอบคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งที่กล่าวทั้งหมด ทำให้เกมเมอร์ญี่ปุ่นมองว่าเกมคอมพิวเตอร์ เข้าถึงยากกว่าเครื่องคอนโซลซึ่งมีราคาถูก และสามารถซื้อครั้งเดียวจบ

เติบโตมาด้วยเครื่องคอนโซล

PC-100
NEC PC-100 หนึ่งคอมพิวเตอร์ที่เคยได้รับความนิยมในญี่ปุ่น

ก็ต้องบอกก่อนว่าช่วงต้นยุค ’80s เกมเมอร์ญี่ปุ่นหลายคนก็เคยนิยมเล่นเกมบนเครื่อง PC แบรนด์ NEC, MSX คล้ายกับประเทศอเมริกาที่นิยมเล่นเกมจากเครื่อง Commodore, Amiga แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป การแข่งขันทางตลาดเครื่องคอนโซลในประเทศญี่ปุ่นเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น NEC, Nintendo, SEGA, SNK หรือเกมแบรนด์อื่น ๆ ล้วนต้องมีผลิตภัณฑ์เครื่องคอนโซล “สำหรับการเล่นเกม” เป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ต้องสั่นสะเทือนครั้งใหญ่

นอกจากนี้ ช่วงเวลานั้น เกม JRPG ตระกูล Final Fantasy และ Dragon Quest กำลังได้รับความนิยมสำหรับชาวญี่ปุ่นพอดี ก็มีส่วนช่วยทำให้กระแสเครื่องคอนโซลยิ่งเพิ่มความนิยมมากขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลทำให้ผู้สร้างเกมหลายเจ้า เริ่มพัฒนาเกมสำหรับเครื่องคอนโซลอย่างจริงจัง แล้วทิ้งเกมคอมพิวเตอร์ไว้ด้านหลัง เพราะนักพัฒนาเกมเชื่อว่าการสร้างเกมลง PC นั้น ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

เกม PC หลายเกม ไม่สนับสนุนภาษาญี่ปุ่น

 
คอม NEC PC-98 ส่วนใหญ่จะเป็นเกมของญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด

ในยุค 80’s ถึง 90’s เครื่องคอมพิวเตอร์แบรนด์ MSX และ NEC ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นอย่างท่วมท้น เพราะเป็น PC ไม่กี่เครื่องที่รองรับภาษาญี่ปุ่นเกือบทุกตัวอักษร เพื่อใช้ทำงานเอกสารตามสถานที่ออฟฟิศ ซึ่งหมายความว่าเครื่อง Commodore 64 หรือ Amiga ที่แม้จะมีเกมให้เลือกเล่นเยอะกว่า ไม่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นตามมา

รวมถึงช่วงกลางปี 80’s ตลาดเครื่องเกมคอนโซล เริ่มรับความนิยมอย่างถล่มทลายจากเกมเมอร์เหมือนที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องเกมเกือบทั้งหมด รองรับภาษาญี่ปุ่น และห้องสมุดเกมเยอะกว่าฝั่ง PC ญี่ปุ่นหลายเท่า ก็ยิ่งทำให้ตลาด PC Gaming ของญี่ปุ่น ถูกยกระดับกลายเป็นตลาดเกม “เฉพาะกลุ่ม” หนักกว่าเดิม

ไม่ใช่ว่าเกมเมอร์ญี่ปุ่นไม่ยอมเปิดใจกับเกมตะวันตกซะทีเดียว เพราะยังมีชาวญี่ปุ่นอีกมากมาย ที่อยากลองสัมผัสเกมดี ๆ จากทั่วมุมโลกเหมือนทุกคน แต่กำแพงภาษาเป็นตัวขัดขวางที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถสนุกสนานกับเกมตะวันตกได้

ฉันก็สนใจเกม Diablo นะ น่าเสียดายที่ฉันไม่เข้าใจภาษาอังกฤษเลย แต่เกมนั้นมีการออกแบบที่หาไม่ได้ในญี่ปุ่น ซึ่งฉันคิดว่ามันเจ๋งดี

– Shima ศิลปินที่ชื่นชอบเล่นเกม MMO เป็นชีวิตจิตใจ

ตลาดเฉพาะกลุ่ม ก็มาพร้อมกับเกมเฉพาะกลุ่มPC Gaming

ผมรักเกม RPG และผมก็ชอบเกม FPS บน PC ด้วย แต่เพื่อนผมไม่ค่อยเล่นเกมแบบนั้นเท่าไหร่นัก

– พนักงานร้านเกมร้านหนึ่ง ให้สัมภาษณ์กับ Kotaku

ภาพลักษณ์ PC Gaming จากผู้เล่นญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยังคงมีความเชื่อว่า “คนที่เล่นเกม PC มักเป็นเกมเมอร์สาย FPS” ซึ่งเกมดังกล่าว ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับชาวญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก นอกเหนือจากเกม RPG ที่ยังคงลงให้กับเครื่องคอนโซลเป็นหลัก

และหากย้อนกลับสู่ยุค 80’s ตลาดเกม Visual Novel โป๊ ที่อยู่คู่เกมเมอร์ชาวญี่ปุ่นมานานแสนนาน ก็ยังคงลงเครื่อง PC จนถึงปัจจุบัน เพราะตัวเกมสามารถใส่องค์ประกอบเนื้อหาโป๊เปลือยอย่างอิสรเสรี ซึ่งแตกต่างจากเครื่องคอนโซลที่มีข้อจำกัดเรื่องการลงคอนเทนต์เกี่ยวกับเพศ หลังจากหน่วยงาน CERO (องค์กรจัดอันดับความบันเทิงทางคอมพิวเตอร์) เริ่มเข้ามาตรวจสอบการนำเกมวางจำหน่ายลงเครื่องคอนโซล

ถึงแม้เกม Phantasy Star Online 2 เกม MMORPG ของ SEGA จะช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้ PC Gaming ได้กลับมารับความนิยมอีกครั้ง แต่ปีต่อมา ทีมงานก็ประกาศเปิดบริการ Phantasy Star Online 2 สำหรับเครื่อง PlayStation VITA จึงทำให้ตลาด PC Gaming กลับมาครึกครื้นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น




Create Date : 13 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2562 6:45:07 น. 0 comments
Counter : 234 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 5583783
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5583783's blog to your web]
space
space
space
space
space