bloggang.com mainmenu search





กระเบนชายธง (Pastinachus sephen)




วงศ์ปลากระเบนธง (วงศ์: Dasyatidae, อังกฤษ: Whipray) เป็นวงศ์ย่อยของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง

พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง

มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง

มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 มักมีคนถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะมันโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด



สกุลปัจจุบันพบประมาณ 7 สกุล ได้แก่

Himantura มี 28 ชนิด
Dasyatis มี 39 ชนิด
Makararaja มีเพียงชนิดเดียว
Pastinachus มี 4 ชนิด
Pteroplatytrygon มีเพียงชนิดเดียว
Taeniura มี 3 ชนิด
Urogymnus มี 2 ชนิด


ในประเทศไทยปลาในวงศ์ปลากระเบนธงที่พบในประเทศไทย อาทิ


ที่พบในน้ำจืด

ปลากระเบนลาว (Dasyatis laoensis)
ปลากระเบนราหู (Himantura chaophraya)
ปลากระเบนแม่กลอง (Himantura kittipongi)
ปลากระเบนขาว (Himantura signifer)


ที่พบในน้ำกร่อยหรือทะเล

ปลากระเบนบัว (Himantura bleekeri)
ปลากระเบนแมลงวัน (Himantura gerrardi)
ปลากระเบนลายเสือ (Himantura oxyrhynchus)
ปลากระเบนชายธง (Pastinachus sephen)
ปลากระเบนทอง (Taeniura lymma)


พิษปลากระเบน

เงี่ยงหางกระเบนเงี่ยงหางของปลากระเบนนั้น มีลักษณะเป็นแท่งแบนยาว มีส่วนปลายแหลม ขอบทั้งสองข้างมีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย ด้านบนมีร่องจากโคนถึงปลายกลุ่มเซลล์สร้างพิษหรือต่อมพิษ (venom gland) อยู่ใต้ผิวชั้นนอก (epidermis)

พิษจากเงี่ยงหางของปลาในวงศ์นี้ไม่อาจทำให้แก่ชีวิตได้ โดยพิษมีคุณสมบัติเป็นสารโปรตีนจะซึมผ่านทางบาดแผล โดยมีน้ำพิษสีเทาหรือใส และดูดซึมเข้าระบบทางเดินอาหาร จะเกิดการอักเสบ เจ็บปวด เช่นเดียวกับพิษของงูหางกระดิ่ง

นอกจากนี้แล้วยังมีเอนไซม์ในการทำลายเนื้อเยื่อได้อีกด้วย ในบุคคลที่มีอาการแพ้มากจะทำให้มีไข้ได้ และบาดแผลอาจลุกลามได้ แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ในกรณีที่ สตีฟ เออร์วิน พิธีกรรายการโทรทัศน์ชาวออสเตรเลียที่เสียชีวิต

เพราะถูกเงี่ยงของปลากระเบนชายธงแทงแล้วเสียชีวิตนั้น มิได้เกิดจากพิษโดยตรง แต่เป็นเพราะถูกแทงเข้าที่อวัยวะสำคัญคือ หัวใจ ประกอบอยู่ใต้น้ำด้วย ทำให้น้ำท่วมปอดจนเสียชีวิต

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีเซรุ่มแก้พิษปลากระเบน ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลขั้นต้น ให้กดบริเวณปากแผลด้วยผ้าสะอาดหนา ๆ เพื่อห้ามเลือด จากนั้นให้แช่บาดแผลในน้ำอุ่นจัดที่มีอุณหภูมิประมาณ 43-45 องศาเซลเซียส หรือใช้ผ้าชุบน้ำร้อนพันรอบบริเวณที่ปวดประมาณ 30–60 นาที

หรือเอาอวัยวะส่วนที่โดนแทงไปอังไฟ เพราะความร้อนจะทำลายโปรตีนของพิษ อาการปวดจะค่อยทุเลาลง พิษจะคลายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง หากมีอาการแพ้มากให้รีบนำส่งโรงพยาบาล


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ
Create Date :18 กรกฎาคม 2554 Last Update :18 กรกฎาคม 2554 21:08:30 น. Counter : Pageviews. Comments :0