bloggang.com mainmenu search





โครงกระดูกของกระซู่






อุทยานแห่งชาติทามันเนการา
เป็นที่แห่งเดียวที่ทราบว่ามีประชากรกระซู่อยู่





ลักษณะ

กระซู่ที่โตเต็มที่ มีความสูงจรดหัวไหล่ประมาณ 120–145 ซม. ลำตัวยาวประมาณ 250 ซม. มีน้ำหนัก 500–800 กก. ถึงแม้ว่าจะมีกระซู่บางตัวในสวนสัตว์ที่หนักมากกว่า 1000 กก.

กระซู่เหมือนกับแรดในแอฟริกาที่มีสองนอ นอใหญ่อยู่บริเวณจมูก โดยทั่วไปมีขนาด 15–25 ซม. ยาวสุดเท่าทีมีบันทึกไว้คือ 81 ซม. นอด้านหลังมีขนาดเล็กกว่ามาก ปกติแล้วจะยาวน้อยกว่า 10 ซม. และบ่อยครั้งที่เป็นแค่ปุ่มขึ้นมา

นอมีสีเทาเข้มหรือสีดำ เพศผู้มีนอใหญ่กว่าเพศเมียหรือในเพศเมียบางตัวอาจไม่มีนอใน และไม่ลักษณะแบ่งเพศที่เด่นชัดอื่นอีก กระซู่มีอายุโดยประมาณ 30-45 ปีเมื่ออยู่ตามธรรมชาติ มีบันทึกถึง D. lasiotis เพศเมียในกรงเลี้ยงว่ามีอายุ 32 ปี 8 เดือนก่อนที่จะตายลงในสวนสัตว์ลอนดอนในปี พ.ศ. 2443

มีหนังพับย่นขนาดใหญ่สองวงรอบที่ลำตัว บริเวณหลังขาหน้าและก่อนขาหลัง มีคอมีรอยพับย่นเล็กน้อยรอบคอและรอบตา ริมฝีปากบนแหลมเป็นจงอย หนังหนา 10-16 มม. มีสีน้ำตาลอมเทา ริมฝีปากและผิวหนังใต้ท้องบริเวณขามีสีเนื้อ

กระซู่ตามธรรมชาติไม่พบไขมันใต้หนัง มีขนปกคลุมหนาแน่นถึงเล็กน้อย (ในลูกกระซู่จะปกคลุมหนาแน่น) ปกติจะมีสีน้ำตาลแดง ในธรรมชาติกระซู่จะไม่ค่อยมีขนให้เห็นได้ชัดเจนนัก เพราะเกิดจากการลงแช่ปลัก

แต่ในกรงเลี้ยงกระซู่จะมีขนงอกออกมา หยาบ คาดว่าเพราะมีการเสียดสีกับพุ่มไม้ในเวลาเดินน้อยมาก กระซู่มีขนยาวบริเวณรอบหูและปกคลุมบริเวณหลัง ไปถึงปลายหางซึ่งมีผิวหนังบาง

กระซู่เหมือนกับแรดทุกชนิด มีสายตาที่แย่ แต่ประสาทหูและประสาทรับกลิ่นดีมาก กระซู่เคลื่อนที่ได้เร็วและกระฉับกระเฉง มันสามารถไต่เขาสูงชันและว่ายน้ำเก่ง

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

อุทยานแห่งชาติทามันเนการาเป็นที่แห่งเดียวที่ทราบว่ามีประชากรกระซู่อยู่
ป่าเมฆในรัฐซาบาห์, บอร์เนียวกระซู่อาศัยอยู่ได้ทั้งพื้นราบและที่สูงในป่าดิบชื้น ป่าพรุ และป่าเมฆ ในบริเวณที่เต็มไปด้วยเนินสูงชันใกล้กับแหล่งน้ำ โดยเฉพาะหุบลำธารสูงชันที่เต็มไปด้วยพุ่มไม้

กระซู่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของพม่า ทางตะวันออกของอินเดีย และบังคลาเทศ ยังมีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าพบกระซู่ในกัมพูชา ลาว และ เวียดนาม

แต่ประชากรเท่าที่ทราบว่ายังมีเหลือรอดนั้น อยู่ในคาบสมุทรมาเลเซีย เกาะสุมาตรา และรัฐซาบาห์บนเกาะบอร์เนียว นักอนุรักษ์ธรรมชาติบางคนหวังว่าอาจยังมีกระซู่หลงเหลืออยู่ในพม่า ถึงแม้ว่ามันอาจไม่น่าเป็นไปได้

ปัญหาความยุ่งเหยิงทางการเมืองของพม่า ทำให้การประเมินหรือการศึกษาของความน่าจะเป็นของกระซู่ ที่คาดว่าจะหลงเหลืออยู่ไม่สามารถกระทำได้

กระซู่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็นวงกว้างมากกว่าแรดเอเชียชนิดอื่น ทำให้ยากต่อการอนุรักษ์สปีชีส์นี้ให้ได้ผล มีเพียงหกแห่งเท่านั้นที่มีกระซู่อยู่กันเป็นสังคมคือ อุทยานแห่งชาติบุกิต บาริสซัน ซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) อุทยานแห่งชาติกุนนุง ลอุสเซร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติกรินจี เซอบลัต (Kerinci Seblat)

และ อุทยานแห่งชาติวาย์ กัมบัส (Way Kambas) บนเกาะสุมาตรา อุทยานแห่งชาติทามันเนการาในคาบสมุทรมาเลเซีย และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาบิน (Tabin) ในรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว

ในประเทศไทยเองก็มีรายงานถึงการพบกระซู่ในหลายๆ แห่งได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

แต่ในปัจจุบันคาดว่ายังมีกระซู่หลงเหลืออยู่ แค่ที่อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี บริเวณป่าฮาลาบาลา แต่ก็ไม่มีการพบเห็นมานานแล้ว ทำให้กระซู่จัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (EW) แล้วในประเทศไทย

การวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ในประชากรของกระซู่ สามารถระบุเชื้อสายทางพันธุกรรมที่ต่างกันได้สามสาย ช่องแคบระหว่างสุมาตราและมาเลเซียไม่เป็นอุปสรรคต่อกระซู่เหมือนกับภูเขาบารีซัน (Barisan)

ดังนั้นกระซู่ในสุมาตราตะวันออก และคาบสมุทรมาเลเซียจึงมีความใกล้ชิดกันมากกว่ากระซู๋ ในอีกด้านของภูเขาในสุมาตราตะวันตก กระซู่ในสุมาตราตะวันออกและมาเลเซียแสดงความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งหมายถึงประชาการไม่ได้แยกจากกันในสมัยไพลสโตซีน

อย่างไรก็ตามประชากรกระซู่ทั้งในสุมาตราและมาเลเซีย ที่มีความใกล้เคียงกันในทางพันธุกรรมมาก จนสามารถผสมพันธุ์กันได้อย่างไม่เป็นปัญหา

กระซู่ในบอร์เนียวนั้นต่างออกไปเป็นพิเศษว่า เพื่อการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมควรจะฝืนผสมข้ามกับเชื้อสายประชากรอื่น เมื่อเร็วๆ นี้ มีการศึกษาการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรม โดยศึกษาความหลากหลายของจีนพูล (gene pool) ในประชากรโดยการระบุบไมโครแซททัลไลท์ โลไซ (microsatellite loci)

ผลทดสอบในเบื้องต้นพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับของความหลากหลายในประชากร กระซู่นั้นมีความหลากหลายน้อยกว่าแรดแอฟริกาที่ใกล้สุญพันธุ์ แต่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกระซู่ ยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริศุกรวาร สิริมานรมณีย์ค่ะ
Create Date :11 มิถุนายน 2553 Last Update :31 กรกฎาคม 2553 16:12:14 น. Counter : Pageviews. Comments :0