bloggang.com mainmenu search





ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย





ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย (Latimeria menadoensis) (อินโดนีเซีย: raja laut) เป็นหนึ่งในสองชนิดของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำตาล

การค้นพบ

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1997 อาร์นาซ และมาร์ค เอิร์ดมันน์ ได้ท่องเที่ยวไปในอินโดนีเซียในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ เขาพบปลาตัวแปลกๆ ในตลาดที่มานาโด บนเกาะสุลาเวสี

มาร์คคิดว่าเป็นปลา “กอมเบสซ่า” (ปลาซีลาแคนท์จากโคโมรอส) แม้ว่ามันไม่เป็นสีน้ำเงินแต่กลับเป็นสีน้ำตาล

ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้พิจารณาภาพถ่าย ในอินเทอร์เน็ตของเขาแล้วให้ความเห็นว่า มันมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ

หลังจากนั้นคู่สามีภรรยาเอิร์ดมันน์ ได้ติดต่อกับชาวประมงในท้องที่และได้ร้องขอว่าหากจับปลาลักษณะดังกล่าวได้อีก ขอได้โปรดส่งให้เขา

ตัวอย่างที่สองจากอินโดนีเซียมีความยาว 1.2 เมตรและมีน้ำหนัก 29 กิโลกรัม ถูกจับได้ขณะยังมีชีวิตอยู่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1998

มันมีชีวิตอยู่ได้ 6 ชั่วโมง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพลักษณะของสี การเคลื่อนที่ของครีบ และพฤติกรรมอื่นๆทั่วไป

ตัวอย่างปลาถูกเก็บรักษาไว้ และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาโบกอร์ (MZB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย (LIPI)

ผลการตรวจสอบดีเอ็นเอชี้ชัดว่า ตัวอย่างปลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับปลาซีลาแคนท์โคโมรอสอย่างชัดเจน เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วปลาซีลาแคนท์จากอินโดนีเซียซึ่งในท้องที่เรียกกัน ว่า “ราชาลอต” (หมายถึงเจ้าแห่งทะเล) มีลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในโคโมรอส

ยกเว้นที่สีผิวที่เป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายรูปพรรณไว้ในวารสาร Comptes Rendus de l'Académie des sciences Paris ในปี 1999 โดย Pouyaud et al

และถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลาติเมอเรีย เมนาโดเอนซิส (Latimeria menadoensis) ผลการศึกษาทางโมเลกุลประมาณการได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดการแตกแขนงเป็นปลาซีลาแคนท์ 2 ชนิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 40 – 30 ล้านปีมาแล้ว


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานรมณีย์ค่ะ
Create Date :09 มิถุนายน 2553 Last Update :11 มิถุนายน 2553 16:07:06 น. Counter : Pageviews. Comments :0