bloggang.com mainmenu search

 

รายงานพิเศษ


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คนส่วนใหญ่อาจจะคุ้นเคยกับ 'เห็ด' ในแง่ของการเป็นอาหารจานอร่อย แต่ในทาง การแพทย์ เห็ดยังเป็นสิ่งใหม่ที่คนไทยจะต้องเรียนรู้

รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ผลการวิจัยระบุถึงประสิทธิภาพของเห็ดทางการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลีจำนวนมาก ส่งผลให้เห็ดทางการแพทย์มีการใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคมากยิ่งขึ้น

เห็ดทางการแพทย์ (Medicinal Mushrooms) เป็นเห็ดที่นอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและปลอดภัย เช่น เบต้า กลูแคน โพลีแซ็กคาไรด์ ไกลโคโปรตีน เลกติน และเทอร์ปีนอยด์ 3

ซึ่งกลุ่มของสารประกอบที่สกัดได้จากเห็ดทางการแพทย์ เชื่อว่าให้ผลในการรักษาโรคได้หลายกลุ่มอาการ ได้แก่ หอบหืดที่เกิดจากภูมิแพ้ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง การอักเสบต่างๆ ในร่างกาย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคผนังหลอดเลือดแข็งตัว ระดับน้ำตาลในเลือดสูง การติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้ม กันทำงานบกพร่อง เป็นต้น

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้าพบว่า สารประ กอบในกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์ที่สกัดได้จากเห็ด มีส่วนช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ซึ่งโดยทั่วไประบบภูมิคุ้มกันมีกลไกการทำงานที่ซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกับสารเคมีหลายชนิด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำหน้าที่หลักในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

มีการยืนยันด้วยรายงานการศึกษาทางวิชาการ วารสารเห็ดทางการแพทย์นานาชาติว่า มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพื่อปรับสมดุลการทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม กับการต่อต้านเชื้อโรคและเซลล์มะเร็ง

เปรียบได้กับการ 'ยกระดับภูมิคุ้มกัน' ให้กับร่างกาย และนอกจากนี้ยังมีบางชนิดที่มีประวัติการใช้ ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนในการบำรุงตับและรักษาโรคตับอักเสบและโรคตับแข็งด้วย

เห็ดทางการแพทย์หลายชนิดจึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมเสริมสุขภาพและใช้เป็นตัวยาในการรักษาโรค ได้แก่ เห็ดยามาบูชิตาเกะ เห็ดไมตาเกะ เห็ดหลินจือ เห็ดชิตาเกะ ถั่งเฉ้า เห็ดแครง เป็นต้น การใช้ในรูบแบบของผลิตภัณฑ์สกัดเข้มข้นจะช่วยให้ได้รับปริมาณของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มากกว่าการกินจากเห็ดสดหรือการเตรียมเอง

นักวิทยาศาสตร์จีน พบว่าสารสกัดจากเห็ดยามาบูชิตาเกะช่วยกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด B และ T ลิมโฟไซต์ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มระดับของเซลล์ CD4 และเม็ดเลือดขาวชนิดแม็กโครฟาจ ซึ่งช่วยในการจับกินเชื้อโรค

และพบว่าสารโพลีแซ็กคาไรด์ ที่สกัดได้จากเห็ดยามาบูชิตาเกะ มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญ

หน้า 28

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
รายงานพิเศษ

วุธวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

Create Date :02 พฤษภาคม 2555 Last Update :2 พฤษภาคม 2555 12:28:37 น. Counter : Pageviews. Comments :0