bloggang.com mainmenu search





ด้วงก้นกระดก
ถ่ายภาพโดยคุณ Josef Hlasek




ด้วงก้นกระดก หรือ ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน (Rove beetle, ชื่อวิทยาศาสตร์: Paederus fuscipes Curtis) เป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ 7 มม.

ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้ม และส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหว ได้รวดเร็ว และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลง เมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก"

จัดอยู่อันดับ Coleoptera วงศ์ Staphyinidae พบกระจายทั่วโลก กว่า 20 ชนิด สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมี ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟ โดยเฉพาะจะมีมากในฤดูฝน


พิษ

ด้วงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า paederin ออกมา สารชนิดนี้มีความเป็นพิษทำลายเนื้อเยื่อ ผู้ที่สัมผัสลำตัวด้วงชนิดนี้ จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน

ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้ปวดศีรษะ หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แผลจะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจจะพบเป็นตุ่มใส (vesicle) อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7 - 10 วัน

ควรทำความสะอาดแผลและปิดปากแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ อาจใช้ยาสมานแผลพวกยาแก้แพ้ได้ เบื้องต้นหลังจากทราบว่าสัมผัสด้วงชนิดนี้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์

ทางการเกษตรมีประโยชน์ ในทางเป็นการควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยด้วงก้นกระดกจะช่วยกำจัดไข่หนอนผีเสื้อ ทำลายไข่และหนอนของแมลงวัน


ขอขอบคุณ

- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- คุณ Josef Hlasek //www.hlasek.com


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานรมเยศนะคะ
Create Date :14 มีนาคม 2554 Last Update :14 มีนาคม 2554 7:11:40 น. Counter : Pageviews. Comments :0